Geek Daily EP11 : เมื่อวิศวกรซอฟต์แวร์ hack สร้างตับอ่อนเทียมเพื่อแก้ปัญหาโรคเบาหวาน

แผนการของ Liam Zebedee วิศวกรซอฟต์แวร์ชาวดัตช์ ก็คือกระบวนการในการบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดโดยอัตโนมัติกำหนดอินซูลินที่ต้องการและส่งผ่านปั๊มอินซูลินซึ่งให้อินซูลินที่ออกฤทธิ์สั้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน

เพื่อทำตามแผนของเขา Zebedee ใช้ CGS FreeStyle Libre สำหรับการตรวจสอบกลูโคสอย่างต่อเนื่อง และใช้เครื่องส่งสัญญาณ Miaomiao เพื่อส่งการอ่านไปยังโทรศัพท์ของเขาผ่านซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ Nightscout และการสร้างภาพกราฟฟิกผ่าน Intel Edison และ Explorer HAT

เมื่อทุกสิ่งรวมกัน การคุมเบาหวานนี้ดำเนินการโดยใช้ ‘OpenAPS’ ซึ่งจะดาวน์โหลด / อัพโหลดข้อมูลใน Nightscout และทำนายการส่งอินซูลินในปั๊มผ่านทางวิทยุนั่นเอง

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3ioO20u

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/2VEP66C

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2D2N1uR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/B6d70fbh2Bs

References : https://interestingengineering.com/software-engineer-with-diabetes-incredibly-builds-his-very-own-artificial-pancreas
https://www.intelligentliving.co/engineer-diabetes-built-own-artificial-pancreas/
https://www.newsbytesapp.com/timeline/world/52417/241435/dutch-software-engineer-with-diabetes-builds-artificial-pancreas
https://futurism.com/neoscope/artificial-pancreas

AI สามารถบอกได้ว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

ต้องบอกว่า ปัจจุบัน นั้นโรคซึมเศร้าถือว่ากลายมาเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง หลังจากที่มีข่าวทั้ง ดารา เซเลบริตี้ หรือ คนดัง ในวงการต่าง ๆ ต้องมาจบชีวิตตัวเองด้วยโรคซึมเศร้า

ทำให้คนเริ่มหันมาสนใจ โรคซึมเศร้า มากยิ่งขึ้น แม้กระทั่งในไทยเองก็ตามที่โรคทางด้านจิตเวชนั้น ถือว่ายังห่างไกลกับการยอมรับของคนไทย แต่หลังจากข่าวที่ออกมาตามสื่อต่าง ๆ ที่มีการฆ่าตัวตายเนื่องจากซึมเศร้านั้น ก็ทำให้คนไทยหันมาสนใจมากยิ่งขึ้น

ต้องบอกว่าเดิมทีนั้น การที่จะระบุได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือ ไม่นั้น ต้องมีการพบกับจิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ โดยจะเป็นรูปแบบของการซักถาม ซึ่งเป็นวิธีการของแพทย์ผู้เชี่ยวที่จะถามคำถามที่เกี่ยวกับ อารมณ์ พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึง ประวัติส่วนตัวโดยละเอียด

ซึ่งจิตแพทย์ ก็จะใช้คำตอบเหล่านั้นมาประมวลผลเพื่อทำการวินัจฉัย ว่าคนไข้นั้นเป็นโรคซึมเศร้า หรือไม่

แต่ข่าวล่าสุดนั้น นักวิจัยที่ MIT ได้ทำการสร้างโมเดลที่จะสามารถตรวจวินิจฉัยโรคซึมเศร้าโดยไม่ต้องมีการไปตอบคำถามดังที่กล่าวข้างต้นกับจิตแพทย์เลยด้วยซ้ำ โดยจะทำการตรวจจากพฤติกรรมการพูด รวมถึง พฤติกรรมของการเขียนของผู้ป่วยที่กำลังสงสัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

ซึ่งนักวิจัยเรียก model นี้ว่า “context-free” model  ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับชุดของคำถามหรือคำตอบ แบบเดียวกับที่จิตแพทย์ทำ โดยจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า “Sequence Modelling”  โดยนักวิจัยนั้นจะนำเอารูปแบบของ text ซึ่งอาจจะมาได้จากการ chat ของ ผู้ป่วย หรือถึง ส่วนของเสียง เพื่อนำมาวิเคราะห์ โดยจะทำการใช้ข้อมูลการ Training จากคนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้า และ คนไข้ที่ไม่เป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งจะวิเคราะห์ pattern ของคำที่เกิดขึ้น เช่น “Sad”  หรือ “Down” รูปถึงรูปแบบของ Pattern ของเสียงที่เป็น Flatter หรือ Monotone

ซึ่งรูปแบบของ Pattern ทั้งในรูปแบบข้อความ หรือ เสียงเหล่านี้จากผู้ป่าวนั้น จากการทดสอบของ MIT สามารถให้ความแม่นยำในการตรวจสอบว่าคนไข้เป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ มีความแม่นยำสูงถึง 77% เลยทีเดียว ซึ่งต้องบอกว่าโรคทางจิตเวชนั้น ค่อนข้างที่จะ Diagnostic ได้ยากกว่า เพราะเป็นเรื่องของจิตใจ ที่ไม่ได้เป็นรูปธรรมมากนัก เมื่อเทียบกับ โรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดัน หัวใจ ซึ่งเหล่านี้สามารถใช้เครื่องมือในการตรวจได้ง่ายกว่า

ซึ่งต้องบอกว่ารูปแบบ model เหล่านี้นั้น สามารถที่จะช่วยเหลือจิตแพทย์ได้ และสามารถช่วยระบุให้แพทย์เป็น Guideline ว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือไม่ ซึ่งในอนาคตนั้น ทางทีมนักวิจัยจาก MIT จะทำการสร้าง Mobile Application ที่สามารถที่จะตรวจสอบพฤติกรรมการใช้ข้อความ text หรือ เสียง แล้วแจ้งเตือนผู้ป่วยได้จาก app ทันที ซึ่งเป็นการช่วยคัดกรองเบื้องต้น ก่อนที่จะไปพบจิตแพทย์หากผู้ป่วยมี Pattern ในการเกิดรูปแบบนี้ ซึ่งก็ต้องบอกว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่รู้ตัวได้ดียิ่งขึ้นว่าตัวเองนั้นได้ป่วยเป็น “โรคซึมเศร้า” เรียบร้อยแล้ว

References : www.engadget.com

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage : facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit : blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter : twitter.com/tharadhol
Instragram : instragram.com/tharadhol