ประวัติ Adam Neumann ผู้ก่อตั้ง WeWork จากดาวรุ่งสู่ดาวร่วง

Adam Neumann เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท WeWork ซึ่งเป็น บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เขาร่วมก่อตั้งขึ้นในปี 2010 เพื่อเป็นผู้นำในระดับโลกและเป็นสัญลักษณ์สำหรับสำนักงานระดับแนวหน้าด้วยแนวคิดแบบ Startup ยุคใหม่

โดย WeWork มีสถานที่ตั้งมากกว่า 500 แห่งใน 29 ประเทศและเมื่อเร็ว ๆ นี้ในเดือนสิงหาคม ทั่วทั้งโลกได้หันมาจับตามอง Neumann ในฐานะนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่กำลังมีบทบาทสำคัญ

แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา คำแถลงของ WeWork ประกาศว่าเขาจะก้าวลงจากตำแหน่งในฐานะหัวหน้าผู้บริหาร ซึ่งเป็นเพียงไม่นานหลังจากที่แผนการของบริษัทที่จะขายหุ้นออกสู่สาธารณะนั้นประสบกับปัญหา

นับเป็นการล่มสลายที่น่าตกใจ ดังนั้นเรื่องมันได้เกิดอะไรขึ้นกับเรื่องราวของเขาที่กำลังพุ่งแรงสุด ๆ แต่ต้องมาตกม้าตายในช่วงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานของบริษัทเช่นนี้?

จาก Kibbutz ไปสู่ Co-Working Space

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน เมื่อครั้งที่ชาวยิวที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก พากันอพยพกลับมาตั้งถิ่นฐานยังดินแดนที่เป็นประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน ในครั้งนั้นชาวยิวส่วนหนึ่งได้รวมตัวกันเป็นชุมชนเกษตรกรรมตามชนบท หรือที่เรียกว่า ‘คิบบุตซ์’ (Kibbutz) ซึ่งปัจจุบันทั่วทั้งประเทศอิสราเอลยังมีคิบบุตซ์อยู่มากกว่า 250 แห่ง

N์eumann เกิดที่อิสราเอล โดยเขาได้มีโอกาสรับใช้กองทัพเรืออิสราเอล ก่อนที่จะย้ายไปนิวยอร์กเพื่อ “รับงานที่ยอดเยี่ยม มีความสนุกสนานมากมาย และทำเงินได้อีกมากโข” ในขณะที่เขาให้สัมภาษณ์กับ TechCrunch ในปี 2017

เขาลงทะเบียนเรียนที่ Baruch College ที่ City University of New York ในปี 2002 แต่ต้องลาออกจากการเรียนเพื่อหันไปทำธุรกิจแบบเต็มตัว

หนึ่งในกิจกรรมแรก ๆ ของเขาคือ บริษัท เสื้อผ้าเด็กที่พัฒนาเป็นแบรนด์ Egg Baby สุดหรู

ต่อมาเขาและหุ้นส่วนทางธุรกิจ Miguel McKelvey ที่เป็นสถาปนิก ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่สำนักงานและให้เช่าช่วงทรัพย์สิน พวกเขาขายธุรกิจนั้นออกไป แต่นั่นได้กลายเป็นแนวคิดเริ่มต้นก่อนที่จะกลายมาเป็น WeWork อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

สองคู่หูที่ช่วยกันปลุกปั้นธุรกิจ WeWork
สองคู่หูที่ช่วยกันปลุกปั้นธุรกิจ WeWork

ในปี 2008 ณ จุดตกต่ำของวิกฤตการณ์ทางการเงินทั่วโลก Neumann และผู้ร่วมก่อตั้งของเขา Miguel McKelvey เริ่มให้เช่าพื้นที่สำนักงานชั่วคราวเพื่อ Freelance , Startup และใครก็ตามที่ต้องการสถานที่ทำงาน ที่มากกว่าแค่โต๊ะทำงานและเก้าอี้

สิ่งที่ Neumann เชื่อคือ พวกเขาขาย ความทุเลาจากความโกลาหลของโลกภายนอก WeWork มันเหมือนคลับเฮาส์ ที่หนุ่มสาวที่อาจจะไม่รู้จักกัน สามารถทำงานร่วมกนแบบไม่รู้สึกโดดเดี่ยว

จากจุดเริ่มต้นด้วยแนวคิดเล็ก ๆ ของ Neumann WeWork นั้นเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ระหว่างปี 2010 ถึงปี 2019 จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 450 เป็น 527,000  และมันทำให้เริ่มดึงดูดความสนใจของคนร่ำรวยและมีอำนาจเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ ตัว Neumann

ในการสัมภาษณ์ Neumann ผู้ซึ่งได้รับปริญญาของเขาในปี 2017 ได้มีการเชื่อมโยงเรื่องราวต้นกำเนิดของ WeWork เข้ากับตัวเขาเอง โดยเชื่อมโยงวัยเด็กของเขาและเวลาที่ใช้ในการเดินทางไป Kibbutz กับ WeWork

เขาบอกกับหนังสือพิมพ์อิสราเอล Haaretz ในปี 2017 ว่าบางครั้งเขาก็พูดถึง WeWork ว่าเป็น “Kibbutz 2.0”

วิธีการหาเงินง่าย ๆ

บุคลิกที่มีสีสันของ Neumann นั้นเป็นที่ดึงดูดใจนักลงทุนรวมถึง Softbank ยักษ์ใหญ่ด้านการลงทุนของญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของ WeWork

Masayoshi Son ผู้บริหาร Softbank รายงานว่าได้ตัดสินใจลงทุนใน WeWork นระหว่างการนั่งรถ หลังจากการที่เขาได้เข้าไปใช้เวลาประมาณ 12 นาทีในการสำรวจ สำนักงานของ WeWork ในนิวยอร์ก

การลงทุนของ Softbank ช่วยให้ บริษัท มีการประเมินมูลค่าสูงสุดที่ประมาณ 47,000 ล้านเหรียญ แม้จะมีการขาดทุนที่สูงอย่างต่อเนื่องก็ตามที

SoftBank ของ Son ยังลงทุนใน WeWork
SoftBank ของ Son ยังหลงมนต์เสน่ห์ Neumann และร่วมลงทุนใน WeWork

Neumann อธิบายการขาดทุนของ WeWork โดยบอกกับ Forbes ในปี 2017 ว่า : “การประเมินค่าและขนาดของเราในวันนี้นั้นขึ้นอยู่กับพลังงานและจิตวิญญาณของเรามากกว่ารายได้ที่เป็นตัวเลขหลายเท่า”

เส้นบาง ๆ ระหว่างธุรกิจหรือความเพ้อฝัน

การเติบโตของ WeWork ทำให้ Neumann กลายเป็นมหาเศรษฐีด้วยมูลค่าหุ้นของเขาที่มีสุทธิประมาณ 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

และชีวิตส่วนตัวอันน่าดึงดูดใจของเขา ภรรยาของเขาคือ เรเบคาห์ เป็นลูกพี่ลูกน้องของนักแสดงหญิง กวินเน็ธ พัลโทรว์ ในขณะที่น้องสาวของเขาอาดีเป็นอดีตนางแบบที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นมิสทีนอิสราเอล

Neumann กับ อาดี น้องสาวของเขา
Neumann กับ อาดี น้องสาวของเขา

แต่การผสมผสานระหว่างการทำงานและความสุขซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรมของ WeWork ได้กลายเป็นปัญหาเมื่อ บริษัทวางแผนที่จะเปิดตัวสู่สาธารณะ

นักลงทุนที่มีศักยภาพได้ตั้งคำถามถึงความเชื่อมโยงระหว่างการเงินส่วนบุคคลของ Neumann กับ WeWork รวมถึงการตัดสินใจที่จะขยายกิจการ WeWork ไปสู่ธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ เช่น การท่องเที่ยว และ การศึกษา

พวกเขายังตั้งคำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจของเขาท่ามกลางข้อร้องเรียนเกี่ยวกับวิธีการสังสรรค์ของเขา เนื่องจากเขาเป็นหนุ่มปาร์ตี้ ตัวยง นั่นเอง

เมื่อถึงยุคตกต่ำ

แม้ WeWork จะพยายามตอบสนองต่อข้อกังวลเหล่านั้น แต่ก็ยังีเรื่องราวอื้อฉาวอื่น ๆ เช่น กรณีที่ Neumann ขายเครื่องหมายการค้า “We” ให้กับบริษัท WeWork มูลค่า 5.9 ล้านเหรียญ ซึ่งถือเป็นเจตนาไม่ดีในทางจริยธรรม ในขณะที่บริษัทของเขากำลังจะเข้าตลาดหุ้น

แต่แม้จะมีการประกาศเมื่อไม่กี่วันทีผ่านมาว่า Neumann ยอมที่จะหลีกทางและลดอำนาจในการยุ่งเกี่ยวกับบริษัทของตัวเขาเองลง เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคำถามจากสื่อมวลชนมากมายในเรื่องเกี่ยวกับอนาคตระยะยาวของ WeWork

เหล่านักวิจารณ์ตามสื่อต่าง ๆ กล่าวมานานแล้วว่า WeWork นั้นมีขนาดเล็กกว่า บริษัท อสังหาริมทรัพย์ทั่วไปมาก และการเงินที่สั่นคลอนที่เป็นรายได้จากการทำธุรกิจจริง ๆ ของ WeWork นั้น ได้ถูกบดบังด้วยสไตล์ส่วนตัวของผู้ก่อตั้งอย่าง Neumann ที่ทำให้ WeWork นั้นก้าวมาไกลเกินความเป็นจริงของธุรกิจที่เขาทำ อย่างที่เราได้เห็นในตอนนี้นั่นเอง

References : https://www.bbc.com
https://www.fastcompany.com