Smartphone War ตอนที่ 14 : The Patent Fight

เกือบจะในทันทีที่ iPhone ได้ออกวางจำหน่ายในปี 2007 ทาง Nokia ก็ไม่รอช้าได้เริ่มฟ้องศาลในคดีละเมิดสิทธิบัตรหลายคดี โดยกล่าวหา Apple ว่าได้ทำการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของ Nokia ในเรื่องที่เกี่ยวกับจอสัมผัส และส่วนประกอบอื่น ๆ อีกมากมายที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ iPhone

เนื่องด้วยเรื่องของสิทธิบัตร เดิมทีนั้น ตั้งมาเพื่อเป็นการป้องกันบริษัทต่าง ๆ ไม่ให้ถูกลอกเลียนแบบหรือละเมิดการใช้งานสิ่งที่พวกเขาประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา แต่ในเรื่องเทคโนโลยีนั้น มันเต็มไปด้วยรายละเอียดยิบย่อยมากมายสำหรับการสร้างสิ่ง ๆ หนึ่งที่เป็นนวัตกรรมออกมา

ซึ่งตัวอย่างในธุรกิจมือถือนั้น มันมีส่วนประกอบต่าง ๆ มากมายที่จะมารวมกันให้กลายเป็นมือถือ 1 เครื่อง ทำให้ ไม่ว่าจะเป็น วิธีในการประหยัดแบตเตอรี่ การเชื่อมต่อสื่อสารให้ดีขึ้น เสารับสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่ง User Interface ที่ใช้งาน ก็สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้ มันเป็นขอบเขตที่กว้างขวางอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจดสิทธิบัตร

ยิ่งเรื่องของ Software นั้นมันยิ่งเป็นเรื่องยากมาก ๆ สิทธิบัตรนั้นมักจะอยู่ที่กระกวนการสร้างสิ่ง ๆ หนึ่งขึ้นมา ไม่ใช่ผลลัพธ์ที่เกิดสิ่ง ๆ นั้น และแน่นอนว่าการสร้าง Software นั้นมันมีวิธีต่าง ๆ มากมายที่จะให้ผลลัพธ์เดียวกันได้

ซึ่งสิทธิบัตรของ Nokia ส่วนใหญ่นั้นจะเกี่ยวข้องกับ Hardware และ Process ต่าง ๆ ทาง Apple ก็พยายามต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวว่ามันไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสร้าง iPhone มาเลยด้วยซ้ำ และมันไม่ได้สร้างความแตกต่างให้ iPhone ขึ้นมายืนบนตลาดมือถือได้

แต่เพื่อไม่ให้เรื่องบานปลาย สุดท้าย Apple ก็ยอมจ่ายให้กับ Nokia โดยมีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ทั้งแบบเงินก้อน และ ลิขสิทธิ์แบบต่อเนื่อง แต่ตัวเลขไม่มีการเปิดเผยออกมา

และเหตุนี้เอง Apple จึงต้องใช้เรื่องสิทธิบัตรมาปกป้องตัวเองบ้าง โดยหลังจากเริ่มเห็น Android เริ่มเลียนแบบหลาย ๆ อย่างของ Apple ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดน่าจะเป็น Features Pinch-to-Zoom ซึ่งเป็นสิ่งที่ Apple คิดค้นมาเป็นเจ้าแรก ซึ่ง จ๊อบส์นั้นโมโหเป็นอย่างมากในเรื่องดังกล่าว

จ๊อบส์โมโหกับการที่ Android พยายามเลียนแบบ iPhone เป็นอย่างมาก
จ๊อบส์โมโหกับการที่ Android พยายามเลียนแบบ iPhone เป็นอย่างมาก

Apple เริ่มทำสงครามกับ Android ในเดือนมีนาคม 2010 เมื่อมีการฟ้องร้อง บริษัท HTC Corp ของไต้หวันที่มีการละเมิดสิทธิบัตร มากกว่า 20 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับส่วนติดต่อผู้ใช้และระบบปฏิบัติการ นอกเหนือจากคดีความของรัฐบาลกลางแล้ว Apple ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาอีกครั้งโดยเป้าหมายคือระบบปฏิบัติการ Android ที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของ สมาร์ทโฟนของ HTC

คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศออกคำสั่งเมื่อปลายปี 2011 เพื่อให้อเมริกาหยุดการนำเข้า smartphone ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ในรุ่น HTC – One X และ LTE 4G EVO โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน การจัดส่งสมาร์ทโฟนทั้งสองรุ่นไปยังสหรัฐอเมริกาถูกเลื่อนออกไป Apple ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนเพิ่มเติมอย่างน้อยสองเรื่องกับคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศซึ่งเรียกร้องให้มีการดำเนินการฉุกเฉินกับอุปกรณ์ HTC มากกว่า 25 รายการ

ส่วนฝั่งของ Microsoft ก็จดสิทธิบัตร Software ทุกอย่างที่ทำได้ และยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทอื่น ๆ อีกมากมายที่ Microsoft ได้ไป take over มา และหลังจาก Windows Phone ดูท่าว่าสถานการณ์จะไม่ดีนัก และ Android กำลังตีปีกขยายตลาดอย่างรวดเร็ว

 Microsoft จึงตัดสินใจเริ่มฟ้องร้องโดยอ้างว่าโทรศัพท์มือถือ Android ได้มีการละเมิดสิทธิบัตรของ Microsoft ในหลาย ๆ ส่วน

พอดึงเดือนตุลาคมปี 2011 Microsoft ได้ลงนามกับเหล่าผู้ผลิต Android หลายสิบราย เพื่อให้จ่ายค่าอนุญาตสิทธิการใช้งาน ซึ่ง มีรายงานข่าวว่า HTC ต้องจ่ายสูงถึง 5 ดอลลาร์ให้กับ Microsoft ต่อการขายมือถือ Android ในแต่ละเครื่อง รวมถึง Samsung ด้วย

ซึ่งมันได้เหมือนกลายเป็น Business Model ใหม่ของ Microsoft ในตลาดมือถือได้เลยด้วยซ้ำ เพราะราคาค่าลิขสิทธิ์การใช้งาน Windows Phone ที่เดิม Microsoft หวังเป็นเรือธงนั้น ก็แทบจะไม่ต่างจากค่าอนุญาติสิทธิการใช้งานสิทธิบัตรต่าง ๆ ของ Microsoft เลยด้วยซ้ำ

ยิ่ง Android จากบริษัทเหล่านี้ขายได้มากขึ้นเท่าไหร่ Microsoft ก็ยิ่งรวยขึ้น และแทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเลยด้วยซ้ำ เหมือนกับใน Windows Phone ที่มีการลงทุนไปมหาศาลแต่แทบจะไม่ได้อะไรกลับมาเลย

Google ได้เรียกการฟ้องร้องของ Microsoft ในตลาด smartphone ว่าเป็นความล้มเหลวของ Microsoft ที่ไม่สามารถสร้างนวัตกรรมขึ้นมาสู้ได้ จึงใช้มาตรการทางกฏหมายเข้ามาช่วยเอากำไรจากการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาด smartphone จากผู้ผลิตรายใหญ่ ๆ แต่ Microsoft ก็ไม่เคยแคร์ในเรื่องดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากปัจจุบันที่ Windows Phone แทบจะสูญพันธุ์ไปแล้วแต่รายได้จากธุรกิจมือถือของ Microsoft ยังมีมากมายอยู่

Google ที่ดูเป็นรองจึงต้องหาวิธีบางอย่างมาสู้ จึงได้ไปเจรจากับ Motorola เพื่อคุยกันเรื่องความเป็นไปได้ในการซื้อบริษัทเพื่อนำสิทธิบัตรจำนวนมากที่ครอบคลุมฟังก์ชันสำคัญ ๆ ของ โทรศัพท์มือถือ ที่ Motorola ถืออยู่ 

หลังจากการเจรจากันอยู่นาน สุดท้าย Google ประกาศซื้อกิจการ Motorola Mobility ซึ่งรวมมูลค่าสูงถึง 1.25 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (หรือราว 3.75 แสนล้านบาท) ซึ่งนับว่าเป็นการซื้อกิจการที่ทาง Google ทุ่มเงินมากที่สุดในประวิติศาสตร์ของ Google เลยทีเดียว แต่มันเป็นทางเลือกไม่มากนักของ Google เพื่อที่จะปกป้อง Android

Google ทุ่มเต็มที่ในการซื้อ Motorola เพื่อปกป้อง Android
Google ทุ่มเต็มที่ในการซื้อ Motorola เพื่อปกป้อง Android

Google ไม่ได้ต้องการธุรกิจ Hardware ของ Motorola เลยด้วยซ้ำ ต้องการเพียงแค่สิทธิบัตรเท่านั้น แต่ก็ต้องทำเพื่อช่วยเหล่าผู้ผลิตมือถือที่ใช้ Android ไม่ว่าจะเป็น Samsung HTC เพื่อสู้กับการไล่ล่าทางกฏหมายจากทั้ง Apple และ Microsoft นั่นเอง

ซึ่งในเวลาเดียวกันนี่เอง ที่ Microsoft เริ่มเห็นว่า Android นั้นได้กลายเป็นโมเดลธุรกิจที่ดีกว่า Windows Phone ไปเสียแล้ว แทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเลยด้วยซ้ำ ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องผลิต Hardware อยู่เฉย ๆ เพียงรอการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ Android ก็ทำให้ Microsoft ได้เงินกว่าหลายพันล้านเหรียญจากค่าสิทธิบัตรต่าง ๆ เหล่านี้ และนั่นแทบจะไม่มีรายจ่าย มันมีแต่รายรับ และเป็นกำไรเน้น ๆ ให้กับ Microsoft และสุดท้าย อาจเรียกได้ว่า การเก็บค่าสิทธิบัตรเหล่านี้มันได้กลายเป็น Passive Income ดี ๆ นี่เองสำหรับธุรกิจมือถือกับ Microsoft 

–> อ่านตอนที่ 15 : The Winner Is (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

AI กำลังจะกลายเป็นผู้จดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ใหม่

นักวิทยาศาสตร์และนักกฎหมายจากสหราชอาณาจักรกำลังต่อสู้กับสำนักงานสิทธิบัตรในสามประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่สมควรได้รับเครดิตสำหรับสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ถูกคิดค้นโดยอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและวิศวกรชาวอเมริกัน Stephen Thaler ได้สร้างอัลกอริทึม AI ที่มีชื่อว่า Dabus AI ที่ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรในสหราชอาณาจักร, ยุโรปและสหรัฐอเมริกาใน ‘ ‘ชื่อ’ Dabus ซึ่ง Thaler ได้ถกเถียงถึงประเด็นที่ว่าอัลกอริทึมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ตามรายงาน ข่าวจาก BBC

แต่สำนักงานสิทธิบัตรได้ตีเรื่องนี้กลับไปเนื่องจากสิทธิบัตรตามกฎหมายในแบบดั้งเดิม นั้นเป็นของมนุษย์ ซึ่งมันกลายเป็นความขัดแย้งที่ไม่ธรรมดาที่แสดงให้เห็นว่าระบบกฎหมายของมนุษย์เราไม่ได้เตรียมไว้สำหรับรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า Dabus AI สมควรได้รับเครดิตตามกฎหมายในฐานะนักประดิษฐ์ของภาชนะบรรจุอาหารรูปแบบใหม่  ซึ่งสิทธิ์ทางกฎหมายในการสร้างนั้นไม่ควรตกเป็นของใครก็ตามที่สร้างอัลกอริทึมตัวนี้แต่เพียงผู้เดียวเหมือนในอดีต

และยังมองว่าบุคคลที่อยู่เบื้องหลัง Dabus AI ไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมายในการจดสิทธิบัตรสำหรับสิ่งประดิษฐ์ของอัลกอริทึมอีกด้วย

ถึงกระนั้นปัญหาในกรณีของพวกเขาก็คือแม้กระทั่งระบบ AI ที่ดีที่สุดในโลกก็เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น พวกเขาไม่ได้มีชีวิตหรือมีความรู้สึกและพวกเขาก็ไม่ได้ทำสิ่งที่เรียกว่า “การสร้างสรรค์” อย่างที่มนุษย์ทำ

โฆษกหญิงจากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปบอกกับ BBC ว่า มีความลังเลใจที่จะให้สิทธิบัตรแก่ AI เพราะการทำเช่นนั้นน่าจะเป็นการสร้างแบบอย่างทางกฎหมายที่คาดไม่ถึงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ 

ข้อกำหนดสำหรับการสร้างสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่อยู่เบื้องหลังทุกสิทธิบัตร นั้นหมายถึงการให้สิทธิบัตรในมือของนักประดิษฐ์แทนของให้มันตกเป็นเครื่องมือของบริษัท แต่การจัดการสิทธิบัตรมันไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่ออนาคตของ AI   

“สถานะปัจจุบันของการพัฒนาเทคโนโลยีแสดงให้เห็นว่าในอนาคตอันใกล้นี้ , AI คือ  เครื่องมือที่ถูกใช้โดยมนุษย์”  โฆษกหญิง บอกกับ BBC “ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ จะมีผลกระทบไกลเกินกว่ากฎหมายสิทธิบัตร คือ สิทธิของผู้สร้างสรรค์ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ นั้นรวมถึงความรับผิดทางแพ่ง แน่นอนว่า สำนักงานสิทธิบัตรยุโรป นั้นตระหนักถึงการอภิปรายในวงกว้างเกี่ยวกับว่า AI จะมีคุณสมบัติที่จะเป็นนักประดิษฐ์หรือไม่”

ซึ่งต้องยอมรับว่านี่เป็นเรื่องทางกฎหมายที่ซับซ้อน ซึ่งอาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะแยกแยะเรื่องดังกล่าวได้ เขาไม่ได้คาดหวังว่า Dabus จะได้รับสิทธิบัตรในชั่วข้ามคืน แต่ความจริงที่ว่าข้อโต้แย้งนี้แทนที่จะเป็นปัญหาก่อนหน้านี้ กลับกลายเป็นสัญญาณที่น่าเป็นห่วงว่ากฎหมายนั้นมีแนวโน้มที่จะเดินตามหลังเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วนั่นเอง 

References : 
https://www.bbc.com