Book Review : คิดแบบ ลี กวน ยู

 

ถือเป็นหนังสือเล่มเล็กที่เปี่ยมไปด้วยเนื้อหาสรุปเรื่องราวความเป็นมาของประเทศสิงคโปร์ได้ดีทีเดียวสำหรับหนังสือ คิดแบบ ลี กวน ยู ของสำนักพิมพ์ แสงดาว

ความจริงแนวคิดการพัฒนาแบบสิงคโปร์นั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมาก สำหรับประเทศที่มีขนาดเล็กและแทบไม่มีทรัพยากรใด ๆ เลยอย่างประเทศสิงคโปร์ ลี กวน ยู นั้นถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศสิงคโปร์อย่างมากตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้งประเทศสิงค์โปร์ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

เราลองมองย้อนกลับไปในยุคหลังสงครามโลกใหม่ๆ  ตอนนั้นถือว่าประเทศไทยเรานั้นยังเจริญกว่าสิงคโปร์มาก ๆ แถมเราก็ไม่ได้เป็นประเทศแพ้สงครามเสียทีเดียว บ้านเมืองเราก็ไม่ได้เสียหายอะไรมากถ้าเทียบกับเพื่อนบ้านเราที่ใช้เป็นเขตสู้รบซะส่วนใหญ่ ในตอนแรกนั้น สิงคโปร์เป็นเพียงแค่สหพันธรัฐหนึ่งของมาเลเซียเท่านั้น หลังจากรวมได้ไม่นาน ลี กวน ยูก็ต้องแยกออกเป็นประเทศอิสระ ซึ่งตอนนั้นเขาก็ไม่ได้อยากจะแยกจากมาเลเซีย เสียทีเดียว เนื่องจาก ประเทศสิงคโปร์ นั้นแทบจะไม่มีอะไรเลยทั้งทรัพยากรธรรมชาติ และ ทรัพยากรมนุษย์ ยังต้องพึ่งพาน้ำสะอาดจากมาเลเซียเสียด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากความแตกต่างทางชาติพันธุ์มาก เนื่องจากส่วนใหญ่คนในเกาะสิงคโปร์นั้นเป็นชาวจีนอพยพ จึงมีวัฒนธรรมที่แตกต่างจาก มาเลเซีย ซึ่งเป็นชาวมุสลิม เสียเป็นส่วนใหญ่ทำให้อยู่ร่วมกันได้ยาก

หลังจากแยกออกมาเต็มตั้วนั้น แนวคิดหลักของ ลี กวน ยู ก็คือสร้างชาติใหม่ โดยเน้นเปิดรับการลงทันจากต่างชาติ และเนื่องจาก ที่ตั้งของสิงคโปร์นั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการเดินเรือที่สำคัญทำให้ เป็นข้อได้เปรียบเพียงข้อเดียวของสิงคโปร์ในขณะนั้น ที่จะทำให้เขาสร้างชาติขึ้นมาได้

ลี กวน ยู นั้นค่อนข้างจะเป็นผู้นำแบบแนวเผด็จการ โดยรวบอำนาจทั้งหมดไว้ และ ทำลายคู่แข่งด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ถือเป็นกลยุทธ หนึ่งที่ใช้ในการบริหารประเทศ เพราะมีนโยบายการพัฒนาระยะยาวที่ชัดเจนไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เมื่อเปลี่ยนผู้นำเหมือนหลายประเทศ และประชาชนก็มีชีวิต กินดีอยู่ดีขึ้นทำให้เลือกเขากลับมาทุกครั้งเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ และในสภานั้นก็มีอำนาจแทบจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

แนวทางในการบริหารนั้นเน้นพัฒนาคุณภาพของคนเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานของการพัฒนาสิงคโปร์มาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ และเน้นการลงทุนโดยภาครัฐ ทั้งหมดผ่านกองทุนของประเทศอย่าง Government of Singapore Investment  Corporation ( GIC ) โดยลงทุนในหลาย ๆ ธุรกิจที่สำคัญอย่าง ธุรกิจการบิน ธนาคาร การลงทุน การเดินเรือ หรือ ทางด้านการแพทย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ลี กวน ยู เน้นการพัฒนาด้านการค้าการลุงทุน มีการจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงิน เพื่อรองรับการเป็น hub ทางด้านการเงินของภูมิภาคนี้

ถ้าเปรียบกับประเทศไทยนั้นก็จะคล้ายกับในยุคของ นายก ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี จะเห็นได้ว่าเขาได้พยายามควบคุมอำนาจทุกอย่างไว้ และ บริหารแบบแนวเผด็จการ ซึ่งก็ไม่ต่างจากนาย ลี กวน ยูที่บริหารสิงคโปร์ ซึ่งผมมองว่า ถ้าเราบริหารประเทศไปด้วยแนวทางเดียวกันโดยใช้เวลาในช่วงเวลาหนึ่งนั้น ก็จะมีผลต่อการเติบโตของไทยเช่นเดียวกับการบริหารแบบสิงคโปร์ ซึ่งก็น่าคิดเหมือนกันว่า ถ้าหากนายก ทักษิณ นั้นได้บริหารประเทศมาต่อซัก 10-20 ปีนั้น ประเทศเราก็มีโอกาสที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วได้แบบสิงคโปร์หรือไม่ ซึ่งแนวคิดแบบนี้นั้นก็ work ในหลายประเทศ และก็ไม่ work ในหลายประเทศเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูงก็จะมีคนต่อต้านมากมายรวมถึงมีโอกาสที่ขัดกับผลประโยชน์กับบางกลุ่มได้เช่นเดียวกับในประเทศไทย

สุดท้ายหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ให้แนวคิดในการบริหารประเทศแบบเดียวกับสิงคโปร์ถึงจะมีเนื้อหาไม่มากนัก แต่ก็พอที่จะสรุปภาพรวมทั้งหมดของแนวคิดของลีกวนยูได้ ซึ่งก็แนะนำให้หามาอ่านเป็นอย่างยิ่งครับ

เก็บตกจากหนังสือ 

  • แนวความคิดแบบประชาธิปไตย แบบ กึ่งเผด็จการนั้น ในระยะสั้นเราอาจจะไม่เห็นภาพ แต่ถ้ามองในระยะยาวก็อาจจะ work ในการบริหารกับบางประเทศเช่นสิงคโปร์
  • ประเทศสิงคโปร์นั้น มีอายุเพียงแค่ 60 กว่าปีเท่านั้น แต่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ซึ่ง ก็มีโอกาสกับประเทศไทยเหมือนกัน ถ้าเดินเครื่องติด มันก็จะมีพลังงานในการขับเคลือนเศรษฐกิจไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและใช้เวลาเพียงไม่กี่สิบปี ในการก้าวขึ้นไปเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ได้เช่นเดียวกัน
  • ประเทศสิงคโปร์นั้นเน้นการพัฒนาคน โดยเน้นทางด้านการศึกษาเป็นอันดับแรกทำให้ผู้คนมีความรู้สูงและส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างดีเยี่ยมทำให้ไม่เป็นอุปสรรคในการติดต่อกับต่างชาติ

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage : facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit : blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter : twitter.com/tharadhol
Instragram : instragram.com/tharadhol