Check & Balance กับปัญหาคลาสสิกของระบอบประชาธิปไตย

คำว่า ประชาธิปไตย ปรากฏขึ้นครั้งแรกในแนวคิดทางการเมืองและทางปรัชญาในยุค กรีซโบราณ นักปราชญ์ชื่อดังอย่าง เพลโตเปรียบเทียบประชาธิปไตย ซึ่งเขาได้ให้ความหมายไว้ว่า “เป็นการปกครองโดยผู้ถูกปกครอง”

แต่ก็ต้องบอกว่า แม้ในยุคสาธารณรัฐโรมันจะมีการสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น การออกกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ชาวโรมันเลือกผู้แทนตนเข้าสู่สภาก็จริง แต่นั่นไม่ได้รวมถึงสตรี ทาสและคนต่างด้าวจำนวนมหาศาล และยังมีการให้น้ำหนักของอำนาจกับเหล่าเศรษฐีและเจ้าหน้าที่ระดับสูง ซึ่งการจะได้เป็นซึ่งสมาชิกวุฒิสภามักมาจากครอบครัวที่มีชื่อเสียงและร่ำรวยที่มีจำนวนน้อยเท่านั้น

แน่นอนว่าโลกเราก็หมุนไปอย่างรวดเร็ว ประชาธิปไตย ก็ยังคงมีการพัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อย ๆ แต่ยังคงยึดไว้ที่ฐานของการให้อำนาจแก่ประชาชนทุกคนเป็นหลัก และมีหลักการสำคัญ ซึ่งก็คือ Check & Balance

เพื่อเป็นการยับยั้งการฉ้อฉลที่อาจเกิดขึ้น การปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงต้องยึดหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check & Balance) เช่น ในการตรากฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายต่างๆ ต้องผ่านความเห็นชอบทั้งสองสภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อให้มีการตรวจสอบและคัดกรองให้รอบคอบและคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากที่สุดนั่นเอง

ซึ่งการถ่วงดุล การถ่วงดุลอำนาจโดย ตุลาการ นิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ก็ต้องตรวจสอบกันเอง ซึ่งการใช้อำนาจตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญ ที่เป็นข่าวดังในครั้งนี้ ก็ถือเป็นหลักในการปกป้องไม่ให้มีการใช้เสียงข้างมากไปสร้างความเสียหาย ให้กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย

แต่ก็ใช่ว่า Check & Balance นั้นจะถ่วงดุลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมอไป ซึ่งก็ต้องบอกว่าประเทศเราก็ได้แก้ไขเรื่องนี้มาหลายสิบรอบ กับ จำนวน รัฐธรรมนูญ ที่ฉีกบ้าง แก้บ้าง สร้างใหม่บ้าง จนแทบจะมีจำนวนฉบับที่ร่างขึ้นมามากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้

ตัวอย่างที่ชัดเจน และดูจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่น่าสนใจมากที่สุด ก็คือ ฉบับ ปี 40 ที่ให้อำนาจกับฝ่ายบริหาร จนทำให้อดีตท่านนายกทักษิณ สามารถกุมอำนาจต่าง ๆ ได้แบบเบ็ดเสร็จ แต่สุดท้ายการให้อำนาจที่สูงเกินไปก็จะเกิดปัญหาตามมาอย่างที่เราได้เห็นภาพกัน เพราะสุดท้ายก็มีการประท้วง และ ทะเลาะกันอยู่ดี แม้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เหมาะอย่างมากในการขับเคลื่อนประเทศเราไปข้างหน้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ซึ่งแน่นอน หลักจากฉบับ ปี 40 มันก็ตามมาด้วยฉบับที่ เกิดจากการรัฐประหารของประเทศ ที่ focus ไปที่การตรวจสอบแบบเข้มข้น และทำให้อำนาจมันถูกย้ายไปฝั่งตุลาการอย่างเห็นได้ชัด จนประเทศเรากลายเป็นประเทศที่มีการยุบพรรคมากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้

ซึ่งแน่นอนว่า การยุบพรรค แต่ละพรรค มันมีเหตุผลรองรับ ตามกฏหมายของมันอยู่แล้ว และแน่นอนว่า มันเป็นผลพวงมากจากการ Design รัฐธรรมนูญให้อำนาจมันดูผิดเพี้ยน ไม่ยึดโยงกับประชาชน อย่างที่เราได้เห็นกันในฉบับปัจจุบัน ที่ไม่อาจปฏิเสธได้

สุดท้าย รัฐธรรมนูญที่เป็นกฏหมายสูงสุด ของประเทศเรา ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ตามสถานการณ์ของประเทศในขณะนั้น ซึ่งการที่จะทำให้ประเทศขับเคลื่อนไปข้างหน้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งผมมองว่าสุดท้าย ก็ต้องใช้ กลไก check & balance ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ให้อำนาจแก่ฝ่ายหนึงฝ่ายใด มากกว่ากันมากจนเกินไปนั่นเองครับผม

References : Wikipedia.org https://www.freshwatercleveland.com/features/civicsessential032819.aspx