PayPal Wars ตอนที่ 3 : Mega-Merger

FEBRUARY—MARCH 2000

X.com ก่อได้ก่อให้เกิดภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อการแข่งขันกับ PayPal ของ Confinity ซึ่งแม้ว่าความสำเร็จของ PayPal ใน ebay จะช่วยเร่งการเติบโตให้ PayPal ได้มากเพียงใด แต่การเปิดตัวที่ฉูดฉาดกว่าของ X.com รวมถึงเงินทุนสำรองที่มีมหาศาลจาก Elon Musk เมื่อเทียบกับสถานะของ PayPal ที่ดูเหมือนทุนจะร่อยหรอลงไปทุกที

แม้การแข่งขันจะเป็นเรื่องดีต่อผู้บริโภค แต่เมื่อมองเกมนี้ในระยะยาวแล้วนั้น PayPal จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ X.com เป็นอย่างมาก เพราะทาง X.com นั้นพร้อมที่จะกระโจนมาเล่นในตลาดเดียวกับ PayPal ด้วยข้อเสนอที่เย้ายวนกว่านั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโบนัส หรือ ค่าธรรมเนียม ที่ X.com นั้นพร้อมจะตัดราคาสู้

สุดท้าย Thiel จึงต้องตัดสินในครั้งสำคัญ นั่นก็คือ การควบรวมกิจการกับ X.com โดยให้คนกลางอย่าง Bill Harris ซึ่งมีชื่อเสียงจากการที่เคยเป็น CEO ของ Intuit บริษัที่สร้าง Quicken และ QuickBooks

Thiel จะรับตำแหน่งรองประธานอาวุโสด้านการเงิน ส่วน Elon Musk ประธานของ X.com จะเป็นประธานของบริษัทใหม่นี้ เนื่องจาก Musk จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดของบริษัทใหม่ และให้ Max รับตำแหน่ง CTO ของบริษัท

โดยในขณะที่ทั้ง PayPal และ X.com กำลังจูบปากกันอย่างดูดดื่มนั้น มันก็ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับพวกเขาทั้งสอง เพราะบริการของพวกเขาที่ตอนนี้มีผู้ใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในเว๊บไซต์ประมูลชื่อดังอย่าง ebay นั้น กำลังจะมีคู่แข่งคนสำคัญโผล่ขึ้นมาอีก 1 ราย

เพราะ ebay ได้ประกาศเปิดตัว Billpoint บริการชำระเงินออนไลน์ของตัวเองขึ้นมา เนื่องจากเห็นความสำเร็จของทั้ง PayPal และ X.com ที่กำลังไปได้ดีบนแพลตฟอร์มของ ebay

แล้วทำไม ebay จะไม่ทำเสียเอง เพราะเป็นบริการที่ช่วยตอบโจทย์ลูกค้าของพวกเขาเองแทบจะทั้งสิ้นอยู่แล้ว ซึ่งการสร้างบริการประมวลผลบัตรเครดิตที่ใช้งานได้สำหรับผู้ขายใน ebay ผ่าน Billpoint นั้น มีจุดประสงค์ก็เพื่อปรับปรุงธุรกิจหลักของ ebay เอง

ซึ่งรูปแบบการประมูลที่มีการหมุนเวียนอยู่ในระบบของ ebay นั้นจะเกิด transaction จำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของค่าธรรมเนียมซึ่งเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของ ebay และมันจะเพิ่มขึ้นได้หากมีบริการของ Billpoint เข้ามาเสริมในจุดนี้ และที่สำคัญยังได้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Wells Fargo เข้ามาร่วมลงทุนใน Billpoint เพิ่มเติมอีกด้วย

ebay ส่งบริการอย่าง Billpoint มาสู้กับ X.com และ PayPal
ebay ส่งบริการอย่าง Billpoint มาสู้กับ X.com และ PayPal

และการชำระเงินออนไลน์ ก็ได้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่แข่งกันอย่างดุเดือด ในเดือนมีนาคมปี 2000 การที่ Confinity และ X.com ได้รวมตัวกัน รวมถึง ebay ที่ได้ผนึกหุ้นส่วนกับ Wells Fargo หรือ รายอื่น ๆ อย่าง dotBank และ PayMe ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาด มันทำให้ศึกนี้เต็มไปด้วยความดุเดือด

Yahoo ที่เป็นยักษ์ใหญ่ด้าน เว๊บไซต์พอร์ทัล ในขณะนั้น ก็เริ่มสนใจในตลาดนี้เช่นกัน ซึ่ง Yahoo ก็มองว่าบริการชำระเงินออนไลน์นั้นจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการซื้อขายบนเว๊บไซต์ของ Yahoo เช่นเดียวกัน จึงมีความคิดที่จะซื้อกิจการของ PayPal ที่ควบรวมกับ X.com แต่โดน Thiel และ Musk ปฏิเสธไป

หรือแม้กระทั่ง ebay เองก็ตาม Yahoo ก็เคยพยายามตามตื้อที่จะเข้าซื้อกิจการอยู่เช่นเดียวกัน เนื่องจากมีเงินสดจำนวนมากหลังจากได้ทำ IPO ได้สำเร็จ แต่ ebay เองที่มีผู้บริหารคือ Meg Whitman ก็ต้องการที่จะนำ ebay ทำ IPO เช่นเดียวกัน Deal ดังกล่าวจึงไม่ได้เกิดขึ้น

สุดท้าย Yahoo จึงได้ไปทำการซื้อกิจการของ Dotbank แทน แต่ตอนนั้นมันก็ช้าไปเสียแล้วเนื่องจากดูเหมือนว่า Dotbank จะตามคนอื่นไม่ทันแล้วในตลาดชำระเงินออนไลน์ โดย Yahoo ได้ประกาศปิดเว๊บไซต์ Dotbank และเปลี่ยนบริการมันให้กลายเป็น Yahoo PayDirect แทนในที่สุด

และภายในเพียงแค่ 6 เดือนหลังจากนั้น ตลาดบริการชำระเงินออนไลน์ ก็มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามามากมาย นั่นคือ บริษัท startup 4 แห่ง (X.com ,PayMe, PayPlace และ gMoney) บริการพอร์ทัลอย่าง Yahoo PayDirect รวมถึงบริการของธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง eMoneyMail ของ Bank One และ พันธมิตร ebay-Wells Fargo (Billpoint) ซึ่งทุกฝ่ายต่างต้องการรที่จะก้าวไปสู่จุดสูงสุดด้วยการครอบงำตลาดการชำระเงินออนไลน์ให้ได้ทั้งหมด

Yahoo ก็ลงมาเล่นในตลาดนี้ด้วยบริการ Pay Direct
Yahoo ก็ลงมาเล่นในตลาดนี้ด้วยบริการ Pay Direct

แต่ดูเหมือนว่าในบรรดาคู่แข่งทั้งหมดนั้น บริการที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดของ X.com (หลังควบรวมกับ PayPal) ก็คือ Billpoint ที่มี ebay คอยหนุนหลังอยู่นั่นเอง เพราะเป็นตลาดใหญ่ของ X.com เช่นเดียวกันในขณะนั้น

ebay เริ่มเล่นงาน X.com ทันทีด้วยการประกาศนโยบายใหม่ โดยอ้างเรื่องความจำเป็นในการรักษาภาพลักษณ์ของเว๊บไซต์ ebay ให้ไม่ดูรกตา เพราะตอนนั้น X.com ได้เข้าไปสร้างบริการที่ ผูกไว้กับ ebay แบบหลวม ๆ และเต็มไปด้วยหน้าจอต่างๆ มากมายสำหรับลูกค้าไว้ใช้งานบริการของ X.com ในการชำระเงินผ่านการประมูล

การอ้างเรื่องนโยบายใหม่ของ ebay นั้นต้องบอกว่าทำให้ X.com นั้นลำบากขึ้นมากในการให้บริการบน ebay ซึ่ง Reid Hoffman ได้กล่าวถึงภัยคุกคามดังกล่าว ไม่เพียงแต่ทำให้ PayPal เสี่ยงต่อการสูญเสียลูกค้าปัจจุบันเพียงเท่านั้น แต่นโยบายนี้ ยังขัดขวางไม่ให้พวกเขาสามารถหาลูกค้าใหม่ได้สะดวกเหมือนเก่าอีกต่อไป มันเป็นการเล่นเกมสงครามประสาทจาก ebay แทบจะทั้งสิ้น แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะมันเป็นแพลตฟอร์มของพวกเขา

และที่สำคัญ ณ ขณะนั้น PayPal เริ่มมีอัตราการเผาเงินที่เพิ่มสูงขึ้น และธุรกรรมต่าง ๆ ของ PayPal และ X.com นั้นยังคงฟรีสำหรับผู้ใช้งานทุกคน โดยในไตรมาสแรกของปี 2000 นั้นพวกเขามีรายรับเพียงแค่ 1.2 ล้านเหรียญ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงถึง 23.5 ล้านเหรียญ ทำให้ดุลบัญชีเงินสดของพวกเขาเริ่มร่อยหรอ ลงไปทุกที

ซึ่งเป็นหน้าที่ของ Thiel ที่จะต้องปิดการระดมทุนเงินเข้าบริษัท ให้ได้ 100 ล้านเหรียญโดยเร็วที่สุด โดย Thiel และ ทีมงานของเขาได้เดินทางรอบโลก เพื่อเข้าแถวหานักลงทุน เพราะในขณะนั้น ต้องบอกว่า ตลาดทุนทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั่วโลกมีความกระหายที่ไม่รู้จักพอสำหรับบริษัทเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท ที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจดอทคอม

โดยในช่วงเวลาดังกล่าวอเมริกา มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางด้านการเงินบางอย่างที่ทำให้ปริมาณเงินในระบบลดลง รวมถึงราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุด และเศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว แม้นักลงทุนส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานั้น

แต่มันมีสัญญาณบางอย่าง ที่เริ่มส่งสัญญาณไม่ดีออกมา ซึ่ง Thiel นั้นสังเกตเห็นก่อนใคร รีบพยายามปิดดีลการลงทุนทั้งหมด สั่งทีมงานของเขาให้เร่งโทรศัพท์อย่างไม่หยุดยั้งจนกระทั่งได้เงินครบ 100 ล้านเหรียญตามความต้องการของเขาในที่สุด

ฟองสบู่ดอทคอมแตก ที่ X.com และ PayPal รอดมาได้อย่างหวุดหวิด
ฟองสบู่ดอทคอมแตก ที่ X.com และ PayPal รอดมาได้อย่างหวุดหวิด

และวันแห่งความวิบัติ ก็มาถึงอย่างรวดเร็ว ในวันที่ 3 เมษายน ปี 2000 หุ้น NASDAQ ทรุดตัวลงสู่ 4,223 จุด เกิดฟองสบู่ดอทคอมแตก ทำให้บริษัทมากมายต้องล้มหายตายจากไปจากธุรกิจดอทคอม ซึ่งต้องบอกว่าเป็นสถานการณ์ที่หวุดหวิดมาก ๆ สำหรับ Thiel เพราะหากเขาปิดดีลเงินลงทุนช้าไปเพียงแค่ 2-3 วัน การล่มสลายของตลาดหุ้นจะทำให้ X.com ล้มครืนลงไปได้ทันที

และการที่รอดมาได้อย่างหวุดหวิด ด้วยเงินทุน 100 ล้านเหรียญก้อนนั้น การควบรวมกิจการ และการเติบโตอย่างรวดเร็วของพวกเขา ก็พร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปแล้ว แล้วบททดสอบครั้งต่อไปของพวกเขาจะต้องเจอกับอะไรอีกบ้าง กับเป้าหมายที่พวกเขาต้องการที่จะปฏิวัติระบบชำระเงินแบบออนไลน์ให้สำเร็จให้ได้ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 4 : Growing Pains

อนกลับไปตอนที่ 1 :The New Recruit *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 7 : Dotcom Bubble

อินเตอร์เน็ต มันเป็นเป็นโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจริง ๆ ในปี 2000 มันเริ่มจากวิกฤติ Y2K ซึ่งคนทั่วโลกต่างกังวลกันขณะนั้น มีการกลัวว่าระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลกจะล่มสลาย ผู้คนคิดแม้กระทั่งมันจะส่งผลให้เครื่องบินที่ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์นั้นร่วงลงมาจากท้องฟ้าเลยด้วยซ้ำ มันเป็นปรากฏการณ์ที่ผู้คนทั่วโลกต่าง Panic กับปรากฏการณ์ Y2K

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ร่วงลงมาอย่างชัดเจนคือ ยอดขายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรวมถึงสินค้าเทคโนโลยีอื่น ๆ ซึ่งมันเริ่มมีทิศทางดิ่งลงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2000 ทันที และร่วงลงอย่างรวดเร็ว ภายในไม่กี่เดือนหลังจากเข้ายุค 2000 ยอดขายอันย่ำแย่ก็เริ่มปรากฏออกมาในรายงานผลประกอบการของบริษัททางด้านเทคโนโลยี จากนั้นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีก็ร่วงตามไปทันที ฟองสบู่ดอทคอม ก็แตกดังโพละ และมันส่งผลกระทบต่อ amazon.com ทันที

แน่นอนว่าการล้มครืนลงครั้งนี้มันส่งผลชัดเจนต่อราคาหุ้นของ amazon ทันที แม้มันจะไม่ได้ทำให้รายได้ของ amazon ลดลงมากนัก เพราะส่วนใหญ่รายได้ของ amazon มาจากสินค้าที่ไม่ได้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เพราะตอนนั้น amazon ได้ขยายหมวดหมู่สินค้าไปครอบคลุมสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น CD เพลง แฟนชั่น เครืองมือช่าง ฯลฯ ซึ่งดูแล้วมันไม่น่าจะส่งผลเสียต่อ amazon มากเท่ากับบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ 

แต่ปัญหาของ amazon มันไม่ใช่เรื่องของรายได้ ในเดือนธันวาคม ปี 1999 นักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ว่าตัวเลขขาดทุนของ amazon จะอยู่ที่ 350 ล้านเหรียญ แต่ตัวเลขจริงกลับสูงถึง 720 ล้านเหรียญและปัญหาก็เริ่มเลวร้ายขึ้นไปอีกในปี 2000 amazon ได้เผยตัวเลขขาดทุนซึ่งสูงถึง 1,400 ล้านเหรียญ

เกิดฟองสบู่ดอทคอม หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ดิ่งลงเหว
เกิดฟองสบู่ดอทคอม หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ดิ่งลงเหว

แม้กลยุทธ์การเติบโตอย่างรวดเร็วของเจฟฟ์ เบซอส นั้นมันช่วยให้บริษัทอยู่ในสถานะที่ไม่มีใครสามารถไล่ทันได้ แต่บริษัทมันก็เริ่มเติบโตเร็วเกินไปจนไม่สามารถควบคุมได้อยู่ การบริหารงานเริ่มไร้ประสิทธิภาพ ด้วยความที่จำนวนพนักงานก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การบริหารจัดการสินค้าคงคลังก็ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้สินค้าในคลังเริ่มล้นทะลัก ซึ่งเป็นภาระทางการเงินที่มหาศาลต่อ amazon

และมันก็เริ่มส่งสัญญาณที่ไม่ดีชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ กับ amazon ในเดือนมกราคมปี 2000 amazon ได้มีการ lay-off พนักงานกว่า 150 คน เจฟฟ์ ได้เริ่มว่าจ้างผู้บริหารชุดใหม่ที่รู้วิธีบริหารอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

แต่ดูเหมือนสถานการณ์มันยังไม่ดีขึ้น เหมือน ๆ กับบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ในขณะนั้นที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ราคาหุ้นของ amazon นับจากช่วงกลางเดือนธันวาคมปี 1999 ถึงสิ้นปี 2000 หุ้นของ amazon สูญเสียมูลค่าไป 90% จนเหลือราคาแค่ 15 เหรียญต่อหุ้นเพียงเท่านั้น

amazon เป็นบริษัทที่ผลาญเงินมากที่สุดในโลกออนไลน์ ตลอด 5 ปีนับแต่ก่อตั้งในปี 1995 เจฟฟ์ เบซอส กู้ยืมเงินไปกว่า 2,000 ล้านเหรียญ และสูญเสียเงินตรงนี้ไปกับการลงทุนในด้านต่าง ๆ ถึงกว่า 1,740 ล้านเหรียญ โดยที่บริษัทแทบจะไม่สามารถทำกำไรได้เลย สถานะของ เจฟฟ์ เบซอส ในสายตาสื่อ รวมถึงนักวิเคราะห์ เปลี่ยนจาก ดาวรุ่งกลายเป็นดาวร่วงทันที เขาจึงต้องตัดสินใจเปลี่ยนกลยุทธ์การขับเคลื่อนบริษัทจาก เติบโตให้เร็วที่สุด เปลี่ยนเป็นมาเริ่มหาวิธีทำกำไรจาก amazon เสียที

amazon เริ่ม lay-off พนักงานเพื่อลดต้นทุน
amazon เริ่ม lay-off พนักงานเพื่อลดต้นทุน

เขาเริ่มเปลี่ยนแปลงการบริหารงานทันที ทำสิ่งที่ผู้ถือหุ้นรวมถึงนักลงทุนต้องการอย่าง การลดต้นทุนด้วยการปลดพนักงานและลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เขาเริ่มบริหาร amazon ให้เหมือนกับธุรกิจค้าปลีกมากกว่าบริษัทดอทคอม 

เจฟฟ์ เริ่มพุ่งเป้าไปที่ผลประกอบการเป็นหลัก ไม่ผลาญเงินแบบไม่จำเป็นเหมือนก่อน เขาสั่งปิดธุรกิจที่ไม่ทำกำไรทันที กำจัดการลงทุนแย่ ๆ ลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด เริ่มจัดการกับงบประมาณให้สอดคล้องกับความเป็นจริงยิ่งขึ้น ปรับทัศนคติของเหล่าผู้บริหาร amazon เสียใหม่ ผู้บริหารแต่ละรายต้องยื่นของงบประมาณพร้อมกับเป้าหมายในการสร้างรายได้ และเวลาที่ใช้ในการบรรลุเป้าหมาย

แต่ไม่ใช่การตัดจะตัดทุกสิ่ง แต่เป็นการทำงานที่โฟกัสมากขึ้นไม่ซื้อกิจการบ้าคลั่งเหมือนเก่า เขาขยายกิจการของ amazon ไปยังสินค้าชนิดใหม่ ๆ ที่น่าจะสร้างกำไรได้ ในปี 2000 ได้เริ่มรุกเข้าสู่ตลาดเฟอร์นิเจอร์ในสวน ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม รวมถึงสินค้าเครื่องครัว นอกจากนี้ยังลงทุนกับ เว๊บไซต์ living.com  , audible.com และบริษัทขายรถยนต์ออลไน์อย่าง greenlight.com มันแสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานของ เจฟฟ์ เบซอส ที่ไม่ได้ลดลงไปเลย

และในที่สุด ในเดือนตุลาคมปี 2000 สถานการณ์ของ amazon ก็เริ่มเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น เริ่มมีตัวเลขต่าง ๆ ดีขึ้น ตัวเลขการขาดทุนจากการดำเนินงานเหลือ 11% ของรายได้ ลดลงครึ่งหนึ่งจากปีก่อนหน้า ขณะที่อัตรกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นเป็น 26% เทียบกับ 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และมันทำให้มูลค่าหุ้นของ amazon ดีตตัวกลับมาประมาณ 30% ทันที

แต่ปัญหาของ amazon ยังไม่จบลงเพียงเท่านั้น บริษัทยังต้องดิ้นรนต่อสู้กับตลาดที่ปั่นป่วนตลอดปี 2001 ส่งผลให้หุ้นของบริษัทร่วงลงอีกครั้ง ในช่วงต้นปี 2001 เจฟฟ์ เบซอส ตัดสินใจปลดพนักงานอีก 1,300 คน หรือ เป็นจำนวนกว่า 15% ของพนักงานทั้งหมดที่เขามี และทำการปิดศูนย์บริการลูกค้าในเมืองซีแอตเทิลและคลังสินค้าในรัฐจอร์เจียด้วย

และในระหว่างนี้ เจฟฟ์ ก็เริ่มหาช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ ๆ ให้กับบริษัท นั่นคือการสร้างและบริหารเว๊บไซต์ให้บริษัทอื่นอย่างเช่น Toy R US , Target หรือ Circuit City หรือแม้แต่อดีตคู่แข่งร้านค้าปลีกหนังสืออย่าง Borders

หาช่องทางทำเงินใหม่เช่นรับบริหารเว๊บไซต์ให้เครือของเล่นยักษ์ใหญ่อย่าง Toy R US
หาช่องทางทำเงินใหม่เช่นรับบริหารเว๊บไซต์ให้เครือของเล่นยักษ์ใหญ่อย่าง Toy R US

เจฟฟ์ ยังใช้นโยบายรัดเข็มขัดอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2001 โดยสามารถที่จะลดต้นทุนการดำเนินงานลงมาได้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ส่งผลให้สามารถที่จะลดราคาสินค้า ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ เพลง และภาพยนต์ ลงไปได้อีก โดยหวังว่าจะทำให้รายได้ของ amazon มากขึ้น เมื่อลูกค้าซื้อสินค้ามากขึ้น

และแล้วในที่สุด ความพยายามของ เจฟฟ์ ทั้งหมดทั้งมวลก็เป็นผล ในเดือนมกราคม ปี 2002 เขาทำให้บริษัทมีผลกำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายได้ครั้งแรกเป็นประวัติศาสตร์ของบริษัท ในที่สุด amazon ก็สามารถทำกำไรได้เหมือนธุรกิจปรกติเสียที แม้มันจะไม่ใช่ตัวเลขที่สูงนักเพียงแค่ 5 ล้านเหรียญ แต่มันคือจุดพลิกผันที่สำคัญที่ช่วยให้ amazon กลายเป็นบริษัทที่สามารถทำกำไรได้ในอนาคต ไม่ใช่บริษัทจอมผลาญเงินเหมือนก่อนหน้านี้ และเมื่อเจฟฟ์ บริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มันก็ยิ่งตอกย้ำให้ภาพของ amazon กลายเป็นศูนย์รวมสินค้าออนไลน์ที่ทุกคนนึกถึงได้

จะเห็นได้ว่า สุดท้ายแล้วนั้น เจฟฟ์ เบซอส ก็สามารถพิสูจน์ตัวเองได้ว่าเขาสามารถที่จะบริหารธุรกิจให้ทำกำไรได้ ซึ่งมันเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการที่เจฟฟ์ ได้นำพา amazon พ้นวิกฤติครั้งสำคัญอย่าง ฟองสบู่ดอทคอมได้สำเร็จ ไม่ล้มหายตายจากเหมือนธุรกิจเทคโนโลยีอื่นๆ  ทีไม่รอดพ้นเงื้อมมือของฟองสบู่ดอทคอม ถึงตอนนี้ amazon ก็พร้อมที่จะเติบโตไปอีกขั้นแล้ว และที่สำคัญสินค้าใหม่ที่สำคัญที่สุดของเจฟฟ์ เบซอส ยังไม่ถือกำเนิดขึ้น มันคือเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อ amazon โดยเฉพาะ ชื่อของมันคือ kindle แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับ เจฟฟ์ และ amazon ต่อไป โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 8 : Kindle

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 10 : Let’s Expand

หลังจากได้รับเงินทุนกว่า 25 ล้านเหรียญทั้งจาก โกลด์แมนซาคส์ และ มาซาโยชิ ซัน แจ๊ค ก็ได้เริ่มทำการขยายกิจการอย่างบ้าคลั่ง สิ่งแรกที่เขาต้องทำคือ ย้ายฐานบัญชาการหลักจากบ้านเขาที่ริมทะเลสาบหังโจว ไปยังอาคารซิงหัวเทคโนโลยี ซึ่งเป็นอาคารขนาดใหญ่กว่า 9 ชั้น ที่จะสามารถรองรับการเจริญเติบโตของอาลีบาบาไปได้อย่างไม่มีปัญหา

ส่วนเรื่องคนนั้น แจ๊ค ก็ได้เริ่มหาพนักงานมืออาชีพในแผนกต่าง ๆ ตอนนี้เงินทุนไม่ใช่ปัญหาของแจ๊คอีกต่อไปแล้ว และมันทำให้เขาได้พนักงานระดับเทพอีกคน ที่ชื่อ จอห์น วู ซึ่งเป็นอดีตพนักงานของ YAHOO ที่ได้รับการขนานนามว่า “ราชาแห่งเสิร์ซเอ็นจิน” 

การได้พนักงานระดับเทพอย่าง จอห์น วู มานั้น แจ๊คให้เขาไปดูแลศูนย์ R&D ในประเทศอเมริการในซิลิกอน วัลเลย์ และยังได้ทำการย้าย server ทั้งหมดของอาลีบาบาไปไว้ที่ซิลิกอน วัลเลย์ ที่เรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงแห่งโลกเทคโนโลยี

ได้มือระดับพระกาฬอย่างจอห์น วู มาดูเรื่องเทคโนโลยี
ได้มือระดับพระกาฬอย่างจอห์น วู มาดูเรื่องเทคโนโลยี

สาเหตุหลักที่ จอห์น วู ตัดสินใจมาอยู่กับอาลีบาบา นั้น คือการที่อาลีบาบาไม่ได้ลอกเลียนแบบโมเดลธุรกิจจากต่างประเทศแล้วมาสร้างในประเทศจีน เหมือนบริการดัง ๆ อื่น ๆ แต่มันเป็นโมเดลใหม่ที่แจ๊ค คิด และสร้างขึ้นมาเอง  ซึ่งโมเดลนี้เป็นการอ้างอิงสภาพเศรษฐกิจของประเทศจีนเป็นหลัก เป็นการสร้างมาเพื่อ SME ในประเทศได้ลืมตาอ้าปาก ขยายธุรกิจออกไปต่างประเทศได้ผ่าน อีคอมเมิร์ซ

จากพนักงานเริ่มต้นเพียง 18 คนนั้น ตอนนี้ อาลีบาบาขยาย จนมีพนักงานหลายพันคน ซึ่งเป็นการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของอาลีบาบา ที่ตอนนี้เริ่มมีลูกค้าใช้งานเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าจากตอนเริ่มต้นกิจการใหม่ ๆ 

เริ่มขยายพนักงานจาก 18 คนเริ่มต้น จนกลายเป็นพันกว่าคน
เริ่มขยายพนักงานจาก 18 คนเริ่มต้น จนกลายเป็นพันกว่าคน

ปี 2000 เป็นปีที่แจ๊ค ทำการขยายกิจการอาลีบาบาอย่างบ้าคลั่ง เริ่มมีการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ ตอนนี้เงินยังเหลือมากพอให้แจ๊คผลาญไปได้อีกนาน  มีการตั้งสำนักงานในฮ่องกง อังกฤษ  มีการตั้งศูนย์ R&D ที่ซิลิกอนวัลเลย์ ในประเทศอเมริกา มีการตั้งบริษัทร่วมทุนที่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และ เกาหลี

ที่ซิลิกอน วัลเลย์ ภายใต้การรับผิดชอบของ CTO (Chief Technology Officer) จอห์น วู ทำให้ที่ซิลิกอน วัลเลย์ กลายเป็นศูนย์รวมของอัจฉริยะทางด้านเทคโนโลยี และ internet ซึ่งการจ้างคนระดับเทพในซิลิกอนวัลเลย์นั้นต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล พนักงานเพียง 20 คนในซิลิกอน วัลเลย์นั้น มีค่าจ้างรวมกัน มากกว่า พนักงานกว่า 200 คนในออฟฟิสหลักของอาลีบาบาที่หังโจวเสียอีก

ซึ่งเหล่าบรรดาวิศวกรอัจฉริยะเหล่านี้ ก็ได้สร้างเว๊บไซต์อาลีบาบาในรูปแบบภาษาอังกฤษ เพื่อความอินเตอร์ขึ้น และเริ่มสร้างเว๊บในภาษาต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นภาษาเกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น หรือ ออสเตรเลีย มันเป็นการ Go Inter โดยไม่สนในรากเหง้าในความเป็นจีนของแจ๊คโดยแท้

ในเวลานั้นแจ๊ค ค่อนข้างมั่นใจในตัวเองเป็นอย่างมากว่าอาลีบาบานั้นจะกลายเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก และจะต้องเป็นเว๊บไซต์ที่ติดหนึ่งในสิบอันดับแรกของโลกได้อย่างแน่นอน

แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็ได้เกิดขึ้น ในวันที่ 10 มีนาคมปี 2000 ดัชนีแนสแด็กของอเมริกาลงต่ำสุดไปแตะที่ 5,132 จุด จากนันก็ร่วงลงมาอย่างรวดเร็ว ในปลายปี 2000 แนสแด็กร่วงหล่นลงไปถึง 2,600 จุด เป็นการลดลงถึง 50% ภายในระยะเวลาไม่ถึงปี ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดในประวัติกาล

ตอนนี้ แนสแด็ก ซึ่งเคยเป็นที่ฝากความหวังและความฝันของธุรกิจดอทคอม กำลังพังพินาศลงทั้งระบบ

เกิดฟองสบู่ดอทคอมแตกในปี 2000 ตลาดหุ้นแนสแด็กล้มครืน
เกิดฟองสบู่ดอทคอมแตกในปี 2000 ตลาดหุ้นแนสแด็กล้มครืน

สิ่งที่ตามมาหลังจากแนสแด็กล้มทั้งกระดาน คือ บรรดาบริษัทดอทคอมของจีนต่างพากันล้มหายตายจากไปอย่างรวดเร็ว ธุรกิจ internet ของจีนได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า ธุรกิจ internet ขนาดเล็กหรือขนาดกลางของจีน บ้างก็ล้มละลาย บ้างก็ต้องทำการปลดพนักงานจำนวนมหาศาล 

ขณะที่ธุรกิจ internet ต่างกำลังผลาญเงินกันจนใกล้จะหมดสิ้นแล้วนั้น ธุรกิจส่วนใหญ่ก็ยังหาช่องทางการทำกำไรไม่ได้ นักลงทุนต่างกำเงินของตัวเองไว้อย่างแน่น ไม่มีใครที่จะกล้าใส่เงินเข้าไปในระบบอีกแล้วในช่วงเวลานั้น 

และนั่นมันทำให้เป็นเวลาที่อาลีบาบาตกอยู่ในจุดที่อันตรายที่สุด แต่แจ๊ค นั้นยังคงเชื่อมั่นใน internet และไม่เคยสงสัยในธุรกิจของอาลีบาบาเลยแม้แต่น้อย

เขากล่าวกับทีมงานว่า ภายในหกเดือนบริษัท internet ของจีนจะหายไป 80% ซึ่งหากบริษัท internet ต้องตายหมด อาลีบาบา ก็ต้องขอตายเป็นรายสุดท้าย แจ๊คให้คำมั่นกับทีมงานของเขา

ต้องเรียกว่าได้ ฟองสบู่ ดอทคอม ได้แตกเป็นเสียง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วในปี 2000 เหล่านักลงทุนทั้งหลายแทบจะไม่มีใครกล้าเข้ามายุคกับธุรกิจ internet แล้วเงินทุนของอาลีบาบา ก็ใช้ไปอย่างมากมายในการขยายกิจการอย่างบ้าคลั่งของแจ๊ค แม้เขาจะปลอบใจพนักงานว่ายังไงอาลีบาบาก็ต้องอยู่รอด แล้วอาลีบาบาจะอยู่รอดได้อย่างไร ในเมื่อเพื่อนร่วมธุรกิจ ต่างล้มหายตายจากไปแทบจะหมดสิ้น โปรดติดตามในตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 11 : Good Boss , Bad Boss

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ