การปลูกถ่ายเส้นประสาทกับการช่วยผู้ป่วยอัมพาตให้เคลื่อนไหวได้อีกครั้ง

Natasha van Zyl ศัลยแพทย์ชาวออสเตรเลีย ได้ช่วยเหลือ ผู้ป่วย 13 ราย ที่มีอาการอัมพาต ให้มีอาการดีขึ้นอย่างมาก หลังจากได้รับการผ่าตัดเพื่อถ่ายโอนเส้นประสาทของพวกเขาได้สำเร็จ รายงานจาก The Guardian

ซึ่งก่อนที่จะถึงมือของศัลยแพทย์ชาวออสเตรเลียนั้น แขน ขา ทั้งสี่ ของผู้ป่วยแต่ละรายเป็นอัมพาตเนื่องจากอุบัติเหตุทางกีฬาหรืออุบัติเหตุจากการจราจร

ศัลแพทย์ชาวออสเตรเลียได้ใช้เทคนิคที่รู้จักกันในชื่อ การถ่ายโอนเส้นประสาท ซึ่ง Van Zyl ได้รับการฟื้นฟูความสามารถในการยืดข้อศอก รวมถึงการจับและบีบมือได้สำเร็จ – และเธอคิดว่าคนอื่น ๆ จะได้รับประโยชน์เช่นนี้เหมือนกัน

เธอและทีมงานของเธอที่ Austin Health ในเมืองเมลเบิร์นประเทศออสเตรเลียเริ่มต้นด้วยการนำเส้นประสาทที่ใช้งานได้ออกจากการบาดเจ็บกระดูกสันหลัง จากนั้นพวกเขาย้ายประสาทเข้าไปในแขนขาที่เป็นอัมพาตของผู้ป่วย

สองปีหลังจากการผ่าตัดตามรายงานผู้ป่วยมีการปรับปรุงการทำงานของมืออย่างมีนัยสำคัญ

ดังที่ Van Zyl บอกกับ The Guardian ว่าเทคนิคการถ่ายโอนเส้นประสาทมีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ไม่ได้ผลที่ชัดเจนนัก จนกระทั่งในปี 2014 ที่เธอและทีมของเธอออกแบบการปลูกถ่ายเส้นประสาทสามเส้นเพื่อรักษาอาการอัมพาตได้สำเร็จ

ความสำเร็จของการผ่าตัดครั้งแรกนั้นนำไปสู่การศึกษาใหม่ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหวังว่าจะสนับสนุนให้ผู้อื่นเลือกใช้เทคนิคการถ่ายโอนเส้นประสาทนี้ ในการแก้ไขอาการอัมพาตจากอวัยวะส่วนต่าง ๆ

“อาจจะมีคนที่ไม่เห็นว่านี่เป็นตัวเลือก” เขาบอกกับ The Guardian “มันทำให้ชีวิตฉันเปลี่ยนไปอย่างมาก หวังว่ามันจะช่วยคนอื่นได้เช่นกัน มันเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตฉันได้จริงๆ”

อย่างไรก็ตามนักวิจัยเตือนว่าการผ่าตัดถ่ายโอนเส้นประสาทนั้นมีก็ยังมีข้อจำกัดอยู่

ตัวอย่าง เช่น อาจต้องใช้เวลาเป็นเดือนในการเคลื่อนไหว และอาจใช้เวลาหลายปีที่ผู้ป่วยจะประสบความสำเร็จอย่างเต็มที่ในกล้ามเนื้อ นอกจากนี้การถ่ายโอนเส้นประสาทต้องเกิดขึ้นนานถึง 12 เดือนหลังจากได้รับบาดเจ็บเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ในผู้เข้าร่วมทดลองทั้งหมดนั้น พบว่าจากการถ่ายโอนเส้นประสาทมีถึง 4 ครั้งที่เกิดความล้มเหลว นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อลดความล้มเหลว และประเมินว่าผู้เข้าร่วมรายใดเหมาะสมที่สุดในการผ่าตัดถ่ายโอนเส้นประสาทในเทคนิคดังกล่าวนี้นั่นเอง

ต้องถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจกับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ให้กลับมาเคลื่อนไหวร่างกายได้อีกครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นความหวังสูงสุดของผู้ป่วยเหล่านี้ แต่แน่นอนว่า เทคนิคนี้อาจจะให้ผลลัพธ์ที่ยังอยู่ในช่วงการทดลอง แต่ถือเป็นก้าวที่สำคัญมาก ๆ สำหรับผู้ป่วยอัมพาตที่จะได้รับความช่วยเหลือในอนาคตนั่นเองครับ

References : https://www.theguardian.com/world/2019/jul/04/pioneering-surgery-brings-movement-back-to-paralysed-hands https://www.medicalnewstoday.com/articles/325688.php

การถ่ายโอนเส้นประสาทกับการช่วยผู้ป่วยอัมพาตให้เคลื่อนไหวได้อีกครั้ง

Natasha van Zyl ศัลยแพทย์ชาวออสเตรเลีย ได้ช่วยเหลือ ผู้ป่วย 13 ราย ที่มีอาการอัมพาต ให้มีอาการดีขึ้นอย่างมาก หลังจากได้รับการผ่าตัดเพื่อถ่ายโอนเส้นประสาทของพวกเขาได้สำเร็จ รายงานจาก The Guardian

ซึ่งก่อนที่จะถึงมือของศัลยแพทย์ชาวออสเตรเลียนั้น แขน ขา ทั้งสี่ ของผู้ป่วยแต่ละรายเป็นอัมพาตเนื่องจากอุบัติเหตุทางกีฬาหรืออุบัติเหตุจากการจราจร

ศัลแพทย์ชาวออสเตรเลียได้ใช้เทคนิคที่รู้จักกันในชื่อ การถ่ายโอนเส้นประสาท ซึ่ง Van Zyl ได้รับการฟื้นฟูความสามารถในการยืดข้อศอก รวมถึงการจับและบีบมือได้สำเร็จ – และเธอคิดว่าคนอื่น ๆ จะได้รับประโยชน์เช่นนี้เหมือนกัน

เธอและทีมงานของเธอที่ Austin Health ในเมืองเมลเบิร์นประเทศออสเตรเลียเริ่มต้นด้วยการนำเส้นประสาทที่ใช้งานได้ออกจากการบาดเจ็บกระดูกสันหลัง จากนั้นพวกเขาย้ายประสาทเข้าไปในแขนขาที่เป็นอัมพาตของผู้ป่วย

สองปีหลังจากการผ่าตัดตามรายงานผู้ป่วยมีการปรับปรุงการทำงานของมืออย่างมีนัยสำคัญ

ดังที่ Van Zyl บอกกับ The Guardian ว่าเทคนิคการถ่ายโอนเส้นประสาทมีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ไม่ได้ผลที่ชัดเจนนัก จนกระทั่งในปี 2014 ที่เธอและทีมของเธอออกแบบการปลูกถ่ายเส้นประสาทสามเส้นเพื่อรักษาอาการอัมพาตได้สำเร็จ

ความสำเร็จของการผ่าตัดครั้งแรกนั้นนำไปสู่การศึกษาใหม่ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหวังว่าจะสนับสนุนให้ผู้อื่นเลือกใช้เทคนิคการถ่ายโอนเส้นประสาทนี้ ในการแก้ไขอาการอัมพาตจากอวัยวะส่วนต่าง ๆ

“อาจจะมีคนที่ไม่เห็นว่านี่เป็นตัวเลือก” เขาบอกกับ The Guardian “มันทำให้ชีวิตฉันเปลี่ยนไปอย่างมาก หวังว่ามันจะช่วยคนอื่นได้เช่นกัน มันเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตฉันได้จริงๆ”

References : https://www.theguardian.com/world/2019/jul/04/pioneering-surgery-brings-movement-back-to-paralysed-hands https://www.medicalnewstoday.com/articles/325688.php