ตรรกะ ที่ไร้ซึ่ง ตรรกะ ของระบบกฏหมาย

หลังข่าวการถูกศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ให้หยุดการทำหน้าที่ ส.ส. ชั่วคราวของ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่อย่างคุณ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ทำให้กระแสการเมืองในไทยกลับมร้อนแรงขึ้นอีกครั้งหลังจากการประชุมสภานัดแรก และ ภาพการปรบมือกึกก้องห้องประชุมสภา ส่งนายธนาธร ออกจากห้องประชุม

มันเป็นภาพที่สวยงามของการกลับมาอีกครั้งของประชาธิปไตยไทย หลังจากอยู่ภายใต้รัฐบาลรัฐประหาร คสช. กว่า 5 ปี แม้การเลือกตั้งครั้งนี้ จะดูเหมือนถูกออกแบบมาเพื่อสานอำนาจต่อของคสช แต่ก็ถือได้ว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการก้าวสู่ประชาธิปไตยของประเทศไทย

การแจ้งเกิดอย่างสวยงามของพรรคน้องใหม่ที่เพิ่งตั้งมาไม่ถึงปีอย่าง พรรค อนาคตใหม่ ที่ต้องเรียกได้ว่า เป็นการฉีกกฏการเมืองแบบเดิม ๆ แบบขาดวิ่นเลยก็ว่าได้ ทั้งที่พรรคได้แจ้งเกิดมาเพียงไม่ถึงปี การได้มาถึง 5 ล้านกว่าเสียงต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียวสำหรับพรรคเกิดใหม่อย่างอนาคตใหม่

ผลการเลือกตั้งที่ผู้คนต่างเทคะแนนไปให้อนาคตใหม่เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นพรรคขนาดใหญ่ได้สำเร็จจากผลการเลือกตั้งครั้งแรก  เรียกได้ว่า ไม่ต้องพึ่งพาหัวคะแนนแบบการเมืองแบบเก่าเลยด้วยซ้ำ ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการเมืองไทย ของการเข้าสู่ยุคใหม่ของการเลือกตั้งอย่างแท้จริง

การได้เห็นเหล่าคนรุ่นใหม่ใน Social Network หันมาสนใจการเมืองนั้น เรียกได้เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของประเทศไทย ที่เหล่าวัยรุ่นนั้นหันมาสนใจการเมืองได้มากถึงเพียงนี้

ถึงขนาดที่ว่าการประชุมสภาวันแรกนั้น Trend ที่ขึ้นใน Twitter เป็นเรื่องการเมืองแทบจะทั้งสิ้นเรียกได้ว่าฉีกกฏเกณฑ์ที่เคยมีมาของการเมืองไทย ที่เมื่อก่อนวัยรุ่นแทบจะไม่สนใจการเมืองกันเลย

แต่การตัดสินเรื่องคุณธนาธรนั้นก็ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเรื่องความถูกต้อง จริงเท็จประการใดนั้น ผมไม่อาจล่วงคำตัดสินของศาล

แต่ ปัญหาใหญ่ของกฏหมายในหลาย ๆ เรื่องที่เราได้พบมาตามข่าว ไม่ว่าจะเป็นคดีเล็ก ๆ อย่างการลักทรัพย์ ไปจนคดีใหญ่ ๆ ระดับประเทศอย่างคดีเสือดำ เราจะเห็นได้ว่า มันขึ้นอยู่กับการตีความ รวมถึงความเทพของเหล่านักกฏหมาย หรือ อัยการ แทบจะทั้งสิ้นที่จะมาตีความตามกฏหมายต่าง ๆ เหล่านี้

และแน่นอน มันเกิดขึ้นมานับต่อนับแล้วในเรื่องของการ ทำถูกให้เป็นผิด และ ทำผิดให้เป็นถูก ซึ่งมันสามารถทำได้ในระบบกฏหมายที่ถูกออกแบบมาเป็นแบบนี้ และเป็นเหมือนกันทั่วโลก เพราะฉะนั้น คำว่าทำผิด กับ ทำผิดกฏหมาย มันได้กลายเป็นคนละความหมายกันอย่างสิ้นเชิงหากเรามองเรื่องการตีความกับกฏหมาย

ผมมองไปถึงยุคอนาคต ที่เราอาจจะไม่จำเป็นต้องมีทนาย และ ผู้พิพากษาอีกต่อไปเลยด้วยซ้ำ เมื่อ งานพวกนี้ Robot หรือ AI สามารถที่จะทำงานแทนได้หมด ตอนนี้โลกเราพัฒนา AI ทั้งเทคนิคของ Natural Language Processing , Machine Learning , Sentiment Analysis , Neural Network

ตัวอย่างในต่างประเทศก็เริ่มมีให้เห็น AI NOW ซึ่งวิจัยโดย สถาบันวิจัยตรวจสอบผลกระทบทางสังคมของ AI ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมผู้สนับสนุนด้านกฎหมายวิทยาศาสตร์และทางด้านเทคนิคที่จะมุ่งเน้นไปที่การตัดสินใจเชิงอัลกอริทึมในหลากหลายด้านของกฎหมาย (เช่นการจ้างงาน ผลประโยชน์สาธารณะ หรือ กฏหมายด้านแรงงาน)


ตัวอย่างความแม่นยำในการวิเคราะห์คดีความต่าง ๆ เมื่อมนุษย์เทียบกับ AI

ซึ่งจากงานวิจัยนั้น มันทำให้เหล่า AI สามารถอ่านกฏหมาย วิเคราะห์กฏหมาย เปรียบเทียบความถูกต้องที่เป็น Logic แบบชัดเจน ไม่คลุมเคลือ ไม่ศรีธนญชัย แถมยังไม่ BIAS เข้าข้างใคร หรือมีอิทธิพลต่อใคร เหมือนที่เคยมีมา เพราะยังไงมนุษย์เราไม่ว่าจะเที่ยงตรง ยุติธรรมขนาดไหน สุดท้ายก็ต้องมีความ BIAS ไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่งเสมอนั่นเอง การหาความเป็นกลางของมนุษย์นั้น เป็นเรื่องนามธรรม ที่มันจับต้องได้ยากจริง ๆ 

References Image : https://ichef.bbci.co.uk/news/660/cpsprodpb/123D7/production/_107111747_bwsw7906copy.jpg

เมื่อการ Like มีโอกาสที่จะทำผิดกฏหมาย

นั่งดูข่าวในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมามีการเถียงกันในประเด็นเรื่องการ like post ต่าง  ๆ ใน facebook ว่าผิดกฏหมายหรือไม่ ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าถกเถียงกันพอสมควรในเรื่องนี้เนื่องจากค่อนข้างเป็นประเด็นใหญ่ มีผลกระทบต่อประชาชันทั่วไปแทบจะทุกคนที่เล่น facebook เลยก็ว่าได้

สำหรับการ like ใน facebook ก่อนหน้าหน้าไม่น่าจะมีการนำมาเป็นประเด็นเหมือนการ share เนื่องจากการ share นั้นเป็นส่งที่ค่อนข้างชัดเจนว่าผู้ share นั้นตั้งใจ share ข้อมูลดังกล่าว ซึ่งตามกฏหมายก็ถือว่าเข้าข่ายการกระทำโดยเจตนาเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งหากข้อมูลนั้นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น ก็สามารถถือว่าได้เป็นการเจตนาทำผิดอย่างชัดเจน

แต่ในส่วนของการ like นั้นต่างออกไป เนื่องจากการ like ไม่ได้หมายความถึงการเห็นด้วยกับ post นั้น ๆ เพียงอย่างเดียว และเนื่องจาก facebook นั้นมีปุ่มให้แสดงอารณ์ต่อ post เพียงแค่ปุ่ม like นั้นทำให้คนทั่วไป ใช้ปุ่ม like ในอารมณ์ที่ต่างกันเช่น เห็นด้วยกับ post หรือ เห็นด้วยกับคนที่ share post ซึ่งมีความหมายที่ต่างกันมาก ๆ แต่เนื่องจาก algorithm ของ facebook ในการแสดงผล feed นั้นก็จะมีการแสดงการ like ของเพื่อนในบาง post ซึ่งทำให้มีการถกเถียงในประเด็นในเรื่องการเจตนาเผยแพร่ข้อมูลเหมือนกันเนื่องจาก ไปแสดงการ like post ใน feed ของเพื่อนซึ่งเมื่อตีความแล้วก็สามารถมองได้ว่าเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเหมือนกันแต่จะเจตนาหรือไม่นั้น ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า การ like นั้นบอกได้หลายอารมณ์ ไม่สามารถตีความว่าเห็นด้วยกับ post นั้น ๆ ได้อย่างเดียวซึ่งต้องเป็นที่ถกเถียงในเรื่องกฏหมายกันต่อไปว่า จะตีความกันอย่างไร

แต่ก็ถือเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อคนทั่วไปเป็นอย่างมากหลังจากได้ยินข่าวนี้ ซึ่งถือว่าการ like เป็นเรื่องปรกติของคนทั่วไปที่ใช้ facebook อยู่แล้ว และหากมีการตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับการ like แล้วผิดขึ้นมาในอนาคตก็คงต้องมีการระมัดระวังในเรื่องการ like ผ่าน post ใน facebook ให้รอบคอบมากยิ่งขึ้น

Img Ref : contentfac.com