AI สามารถวัดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

ความสามารถของ AI ในการทำนายภัยคุกคามต่อสุขภาพของคุณในไม่ช้าอาจรวมถึงภาวะหัวใจวาย นักวิจัยของ CSAIL จาก MIT ได้พัฒนาระบบ Machine Learning ที่ชื่อว่า RiskCardio ที่สามารถประเมินความเสี่ยงของการเสียชีวิตเนื่องจากปัญหาหัวใจและหลอดเลือดที่ปิดกั้นหรือลดการไหลเวียนของเลือดได้

ข้อมูลอินพุตที่ RiskCadio ต้องการคือ การอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจประมาณ 15 นาที – จากนั้นระบบจะวัดอันตรายจากข้อมูลของจังหวะต่อเนื่องของการเต้นของหัวใจ ซึ่งเมื่อข้อมูลถูกบันทึกได้ภายใน 15 นาที RiskCardio ก็สามารถทำนายได้ว่าจะมีใครเป็นผู้โชคร้าย ต้องตายภายใน 30 วันหรือไม่เกินหนึ่งปีหลังจากนั้น

โดยวิธีการของ RiskCardio จะขึ้นอยู่กับความคิดที่ว่าความแปรปรวนที่มีค่ามากขึ้นระหว่างการเต้นของหัวใจสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการ Training ระบบ Machine Learning โดยใช้ข้อมูลย้อนหลังเพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำต่อผู้ป่วย 

ซึ่งหากทำนายว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะรอดชีวิตแสดงว่าการเต้นของหัวใจของพวกเขาถือเป็นปกติ หากระบบทำนายว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตแสดงว่าลักษณะการเต้นของหัวใจของพวกเขาถือว่ามีความเสี่ยงนั่นเอง 

ซึ่งคะแนนความเสี่ยงขั้นสุดท้ายมาจากค่าเฉลี่ยการทำนายจากการเต้นของหัวใจแต่ละชุดที่มีความต่อเนื่องกัน

แต่นักวิจัยยังมีงานที่ต้องทำอีกมากมาย ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงข้อมูลการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มในส่วนของ อายุ คุณลักษณะของชาติพันธุ์ รวมถึงเพศ ชัดเจนว่าระบบดังกล่าวต้องมีความแม่นยำสูง เพราะเมื่อเกิดความผิดพลาดอาจมีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ 

ซึ่งงานวิจัยของ RiskCardio นั้นสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย โดยแพทย์สามารถประเมินสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและตัดสินใจในระดับการรักษาที่เหมาะสมนั่นเอง

References : https://www.engadget.com https://cdn.bdc-tv.com/2019/05/Artificial-Intelligence-960×585.jpghttps://cdn.bdc-tv.com/2019/05/Artificial-Intelligence-960×585.jpg

นักวิจัยออสเตรเลียใช้ AI เพื่อป้องกันอาการหัวใจวาย

งานวิจัยเชิงประยุกต์ในโรงพยาบาล Westmead ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ได้รับเงิน 1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หลังจากได้รับรางวัล Google.org AI Impact Challenge เพื่อพัฒนาโปรแกรมด้านสุขภาพโดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อป้องกันอาการหัวใจวาย 

โปรแกรมสุขภาพที่ใช้ข้อมูลทางดิจิทัลนี้ใช้ข้อมูลดิจิทัลของผู้ป่วยที่บันทึกไว้ในเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น แอพในโทรศัพท์มือถือ และ Wearable Device และนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ร่วมกับ AI เพื่อให้คำแนะนำที่ปรับแต่งตามอาการของผู้ป่วยด้วยรูปแบบของข้อความ message และมีการประเมินความเสี่ยงที่แม่นยำสำหรับผู้ป่วย ที่มีอาการเจ็บหน้าอก

ซึ่งโซลูชันด้านสุขภาพรูปแบบใหม่นี้ จะถูกส่งมอบเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ Living Lab ที่ Westmead ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ 

Clare Chow ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจที่โรงพยาบาล Westmead และโรงเรียน Westmead Clinical School ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ กล่าวว่าการมุ่งเน้นไปที่โปรแกรมในการป้องกันที่ปรับรูปแบบได้นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนการโจมตีจากอาการหัวใจวาย 

ใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในเทคโนโลยีต่าง ๆ มาวิเคราะห์ผ่าน AI
ใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในเทคโนโลยีต่าง ๆ มาวิเคราะห์ผ่าน AI

“อาการเจ็บหน้าอกเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับสองของผู้ป่วยที่พบเจอในแผนกฉุกเฉินในออสเตรเลีย และอาจเป็นสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งการตรวจติดตาม แต่เนิ่น ๆสามารถป้องกันผู้ป่วยที่กลับมาโรงพยาบาลด้วยอาการหัวใจวายได้

“การจัดการข้อมูลสุขภาพแบบดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI มีศักยภาพที่จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่สำคัญในธุรกิจทางการด้านการแพทย์  เนื่องจากเทคโนโลยีจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล และ แจ้งเตือน ในขณะที่พวกเขาดำเนินชีวิตประจำวันอยู่นั่นเอง

นอกเหนือจากการระดมทุนจาก Google แล้วนั้น ศูนย์วิจัยยังสามารถเข้าถึงผู้ให้คำปรึกษาจากบริษัท Google ซึ่ง Chow กล่าวว่าจะ “ช่วยเราในการแปลการวิจัยนี้เหล่านี้ให้กลายเป็นโปรแกรม หรือ Application ที่สามารถเข้าถึงได้มากที่สุด”

AI Impact Challenge ได้รับการพัฒนาขึ้นเมื่อ Google เปิดตัว AI สำหรับโครงการ Social Good เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญของบริษัท ไปช่วยเหลือโครงการที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ซึ่งความคิดริเริ่มดังกล่าวนี้เป็นความพยายามร่วมกันระหว่าง Google.org หน่วยงานการกุศลของบริษัท รวมถึงวิศวกรและนักวิจัยของ Google

References : 
https://www.zdnet.com/article/university-of-sydney-researchers-to-use-ai-to-help-prevent-heart-attacks/