Geek Daily EP4 : เทคโนโลยีสร้างตับขนาดเล็กของมนุษย์เพื่อปูทางสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะจริงของผู้ป่วย

เป้าหมายระยะยาวคือการสร้างอวัยวะที่สามารถทดแทนการบริจาคอวัยวะ แต่ในอนาคตอันใกล้ เทคโนโลยีนี้จะเป็นสะพานสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะ” Soto-Gutiérrez กล่าว “ตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยที่มีอาการตับวายเฉียบพลัน คุณอาจต้องมีการเพิ่มตับสักระยะหนึ่งแทนที่จะเป็นการรอตับใหม่ทั้งชิ้นจากผู้บริจาคอวัยวะ”

ทีมงานนักวิจัย กำลังก้าวไปสู่การสร้างเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถเข้าถึงการปลูกถ่ายตับมนุษย์ตามความต้องการได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ Soto-Gutiérrez กล่าวเสริม การพัฒนานี้จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนประมาณ 30 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาที่มีอาการความผิดปกติของตับ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2N0NTSc

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3htvw6z

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2AtuB5y

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/2kW7vTJNbdc

References : https://www.inverse.com/mind-body/lab-grown-mini-human-livers
https://futurism.com/neoscope/grow-mini-human-livers-transplant-rats

นักวิทยาศาสตร์กำลังสร้างสิ่งมีชีวิตลูกผสมระหว่างมนุษย์กับหนู

ในที่สุดแพทย์ก็หวังว่า สิ่งมีชีวิตที่ออกแบบใหม่ที่มีลูกผสมระหว่างมนุษย์กับหนู จะสามารถนำมาใช้เป็นรูปแบบที่ถูกต้องมากขึ้นสำหรับการวิจัยทางการแพทย์ หรือแม้แต่เพื่อเป็นอวัยวะมนุษย์ที่ใช้สำหรับทดแทนเพื่อผู้ป่วยที่กำลังรอการบริจาคอวัยวะอยู่

ในทางพันธุกรรม chimera หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่สร้างขึ้นจากกลุ่มประชากรเซลล์ที่มีต้นกำเนิดทางพันธุกรรมแตกต่างกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป มาเจริญอยู่ร่วมกัน แต่แยกกันอยู่คนละชั้น

พูดแบบง่ายๆ ก็คือคล้ายๆ กับสองคนในร่างเดียว เหมือนมีแฝดแฝงอยู่ ซึ่งถ้าเป็นในสัตว์ก็มักจะมีลักษณะทั้งสองเพศอยู่ร่วมกันเช่นมีทั้งรังไข่ และอัณฑะ อย่างเช่นในแมวบางตัวที่เป็นลายกระ (tortoiseshell cat) เป็นต้น

แม้เรื่องราวของ chimeras นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ลูกผสมระหว่างมนุษย์และสัตว์เช่นหนูนั้น มันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่เทคนิคทางชีววิทยา ขณะสร้าง chimeras ใหม่นี้ อาจนำไปสู่อนาคตทางการแพทย์ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

แม้เซลล์ต้นกำเนิดของมนุษย์นั้นยากที่จะรวมเข้ากับสัตว์อื่น ๆ เนื่องจากเซลล์ชนิดต่าง ๆ พัฒนาในอัตราที่ต่างกัน แต่เคล็ดลับที่ทำให้เกิดขึ้นได้ในการสร้างลูกผสมระหว่างมนุษย์กับหนู ตามการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวันพุธที่ผ่านมาใน Science Science Advance คือ งานวิจัยนี้ได้ทำการย้อนเวลาของเซลล์มนุษย์ให้กลับไปสู่ในช่วงระยะต้นๆ ของการเจริญเติบโต

แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็มีอยู่อย่างจำกัด ตัวอ่อนของลูกผสมระหว่างมนุษย์กับหนู ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ ได้ลูกผสมที่เป็นมนุษย์เพียงแค่ 4 เปอร์เซ็นต์ในแง่ของจำนวนเซลล์ แต่สำหรับเซลล์อื่น ๆ ในการทดลองนั้นมีเซลล์มนุษย์เพียงแค่ 0.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

เซลล์ของมนุษย์ได้แบ่งตัวออกไป และรวมตัวให้เป็นอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และตับ นักวิจัยพบว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงของมนุษย์มีความอุดมสมบูรณ์เป็นพิเศษในตัวอ่อนหนู เซลล์มนุษย์จำนวนเล็กน้อยปรากฏตัวในเนื้อเยื่อที่จะสร้างสมอง 

แต่มันไม่มีเซลล์มนุษย์อยู่ในเซลล์ที่ใช้ในการสร้างอสุจิและไข่ และความสามารถของ chimeras ในการทำซ้ำเป็นหนึ่งในคำถามด้านจริยธรรมที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่นักวิทยาศาสตร์ยังคงกังวลอยู่

เมื่ออยู่ในตัวอ่อนของหนู การเจริญเติบโตของเซลล์มนุษย์จะช้าลง เพื่อให้เข้ากับโฮสต์ของพวกมัน โดยปกติเซลล์ต้นกำเนิดของมนุษย์นั้น จะใช้เวลานานก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นเซลล์รับแสง

แต่มันไม่ใช่เมื่อเซลล์ของมนุษย์อยู่ในตัวอ่อนของหนู “หากคุณใส่เซลล์ของมนุษย์ตัวเดียวกันในตัวอ่อนหนูมันจะตายไปอย่างรวดเร็ว” นักวิจัย กล่าว “ใน 17 วันคุณจะได้รับเซลล์ที่ครบกำหนดเหล่านี้ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะได้รับตัวอ่อนมนุษย์ที่เป็นปกติ”

นักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ได้ให้ความเห็นว่า ห้องปฏิบัติการที่แตกต่างกันจำเป็นต้องทำซ้ำกับผลลัพธ์ดังกล่าว และถ้ามันได้ผล มันจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของวงการวิทยาศาสตร์เลยทีเดียว”

เนื่อจากบทความนี้เป็นงานวิจัยที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน จาก paper ใน References ซึ่งโดยสรุปก็คือ เทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคใหม่ ที่ ทำการย้อนเวลาของเซลล์มนุษย์ให้กลับไปสู่ในช่วงระยะต้นๆ ของการเจริญเติบโต

ซึ่งผลลัพธ์ หากสามารถทำได้จริง และทดสอบซ้ำได้สำเร็จนั้น ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการสร้างอวัยวะเทียมให้กับผู้ป่วย ในอนาคตได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอการบริจาคอวัยวะอีกต่อไปนั่นเองครับ

References : https://futurism.com/the-byte/scientists-creating-mouse-human-hybrids https://www.sciencenews.org/article/mouse-human-chimera-hybrid-embryos https://advances.sciencemag.org/content/6/20/eaaz0298