ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 10 : From Zero to No.1

จากจุดเริ่มต้นของความฝันในวัยเด็กคนนึง ที่ฝันอยากจะเป็นผู้ประกอบการมาตั้งแต่เล็ก การเกิดมาในครอบครัวที่ไม่ได้สมบูรณ์มากนัก ไม่เกินเลยที่จะกล่าวได้ว่า เจฟฟ์ เบสซอส นั้นแทบจะเริ่มต้นจากศูนย์ แต่ด้วยความอัจฉริยะ และการมุ่งมั่นกับสิ่งที่ทำในที่สุดมันก็นำพาเขามาถึงจุดที่สูงสุดในโลกธุรกิจจนได้ นั่นคือการพา amazon ก้าวขึ้นสู่บริษัททีมีมูลค่ามากที่สุดในโลก และที่สำคัญเขายังกลายเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกอีกด้วย

และมันมีอีกหนึ่งความฝันของเจฟฟ์ ที่เขาอยากทำก็คือ การพยายามทำให้มนุษย์เดินทางสู่อวกาศได้อย่างปลอดภัยและใช้ต้นทุนต่ำลง มันเป็นอีกความฝันตั้งแต่วัยเยาว์ของเขา ซึ่งเป็นที่มาของการสร้างบริษัทอย่างบลูออริจิน

มันเป็นส่วนประกอบเล็ก ๆ ของความพยายามอันยิ่งใหญ่ ท้าทาย และเป็นเรื่องยากในแง่ของเทคโนโลยี และใช้เงินทุนสูงมาก เขาปรารถนาที่จะทำให้การเดินทางสู่อวกาศมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเหนือกว่าทุกโครงการที่หน่วยงานของรัฐบาลทำอยู่

เขาตั้งชื่อยานอวกาศลำแรกของบริษัทว่า กอดดาร์ด ตามชื่อของ โรเบิร์ต ฮัตซิงส์ กอดดาร์ด นักฟิสิกส์ชาวอเมริกันผู้ประดิษฐ์จรวดเชื้อเพลงเหลวได้เป็นคนแรกในปี 1926 ตอนนั้นกอดดาร์ดก็ถูกล้อเลียนเพราะความฝันอันยิ่งใหญ่ของเขาในการส่งคนขึ้นไปบนอวกาศเช่นกัน

อีกหนึ่งความฝันด้านอวกาศในบริษัทบลูออริจิน
อีกหนึ่งความฝันด้านอวกาศในบริษัทบลูออริจิน

ถึงตอนนี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเจฟฟ์ เบซอส นั้นเป็นผู้ประกอบการที่ยอดเยี่ยมขนาดไหน amazon สามารถนำหน้าคู่แข่งก็เพราะวิสัยทัศน์ ของ เจฟฟ์ เบซอส เขามองว่า internet จะมอบบริการที่มีเอกลักษณ์พิเศษให้แก่ลูกค้า ไม่ใช่เพียงแค่ระบบสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ มีเพียงผู้ประกอบการที่มีวิสัยทัศน์เท่านั้นจึงจะมองเห็นคุณสมบัติต่างๆ  ที่ช่วยให้บริษัททิ้งห่างคู่แข่งได้ตลอดเวลาแบบที่เขาทำ

ถึงแม้เขาจะกลายเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่เจฟฟ์ เบซอสนั้นไม่เหมือนผู้บริหารดอทคอมจำนวนมากที่เข้าสู่วงการทีหลังเขา เพราะเขามองว่าการสร้างบริษัทอันยอดเยี่ยมมีความสำคัญมากกว่าการสร้างฐานะที่มั่งคั่งร่ำรวย ถึงเขาจะรวยระดับหมื่นล้านเหรียญไปแล้วก็ตาม แต่เขาก็ยังประกาศให้ผู้คนรู้กันว่าเขายังขับรถยี่ห้อฮอนด้าและอาศัยอยู่ในห้องพักเล็ก ๆ ในเมืองซีแอตเทิล แม้ภายหลังเขาจะย้ายไปอยู่ในบ้านหลังงามริมทะเลสาบวอชิงตันใกล้ ๆ กับคฤหาสน์ของบิลล์ เกตส์

กลายเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กลายเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เจฟฟ์ เบซอส นั้นเป็นแบบอย่างของผู้บริหารสายพันธุ์ใหม่ที่ผงาดขึ้นมาพร้อมกับบริษัทเทคโนโลยีซึ่งพลิกโฉมวงการธุรกิจไปอย่างสิ้นเชิง เจฟฟ์ นั้นมีความกระตือรือร้นที่แพร่ระบาดไปสู่คนอื่น ๆ ในบริษัทได้อย่างง่ายดาย

เขามีความสามารถอันน่าทึ่งในการโน้มน้าวพนักงาน ให้เชื่อว่าการทำงานที่ amazon ไม่ได้เป็นเพียงแค่งานเท่านั้น แต่เป็นภารกิจในฝันที่ช่วยเติมเต็มความหมายให้กับชีวิต เขามักถูกเรียกว่าเป็นผู้นำที่หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง ซึ่งผู้นำลักษณะแบบเขานั้นจะคิดว่าตัวเองมีดีมากพอจนคิดค้นหลักการทำธุรกิจของตัวเองขึ้นมา แต่พวกเขาไม่เหมือนคนที่หมกมุ่นอยู่กับตัวเองรายอื่น ๆ ตรงที่สามารถทำงานให้สำเร็จลุล่วงได้

เจฟฟ์ เบซอส สามารถโน้มน้าวผู้ร่วมงานให้เห็นถึงภารกิจที่ยิ่งใหญ่ของ amazon
เจฟฟ์ เบซอส สามารถโน้มน้าวผู้ร่วมงานให้เห็นถึงภารกิจที่ยิ่งใหญ่ของ amazon

เจฟฟ์ เบซอส นั้นยังเป็นผู้นำที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีช่วยให้เขามองออกว่าคุณสมบัติอะไรที่จะทำให้บริษัทเจริญรุ่งเรืองหรือล้มเหลว เขาเข้าใจถึงเทคโนโลยี ปัญหา และทางออก ทั้งยังสามารถรับฟังและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ได้ 

ความมุ่งมั่นของเจฟฟ์ เบซอส นั้นสร้างความแตกต่างให้บริษัทได้อย่างแท้จริง การทำเรื่องเดิมซ้ำ ๆ จนกว่าจะทำถูกต้อง แต่หากบางเรื่องไม่มีวี่แววว่าจะสำเร็จ เขาก็ยินดีที่จะล้มเลิกความคิดนั้นเสีย แม้แต่เครื่อง Kindle ที่เขามองว่ามีความสำคัญต่ออนาคตของบริษัทก็ยังต้องใช้เวลาพัฒนาถึง 3 ปี และใช้ความพยายามอีกหลายปีกว่าจะเป็นที่นิยม

ในซิลิกอน วัลเลย์ เราเรียกความเชื่อกึ่งลิทธิที่มีต่อตัวบริษัทว่า วิสัยทัศน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ CEO ชั้นยอดทุกคนต้องมี แน่นอนว่า เจฟฟ์ เบซอส เองก็มีเช่นกัน ถึงแม้บ้างครั้งนั้นการร่วมงานกับเขาจะเป็นเรื่องยากก็ตาม และพนักงานสำคัญที่สุดของ amazon ส่วนหนึ่งก็รู้สึกว่า บ้างครั้งเขาก็เป็นคนที่ทำงานด้วยยากเหมือนกับสตีฟ จ๊อบส์ จริง ๆ  ซึ่งนั่นแหละที่เป็นสาเหตุให้เราเห็นว่า ผู้นำระดับท็อปนั้นมักมีลักษณะนิสัยไม่ต่างกัน ซึ่งดูจากผลงาน amazon ตอนนี้สิ ที่กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก และที่สำคัญมันยังทำให้ เจฟฟ์ เบซอส กลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกด้วย ซึ่งมันพิสูจน์แล้วว่า สิ่งที่เจฟฟ์ เบซอส ทำให้ amazon นั้นมันยิ่งใหญ่แค่ไหน

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวของ Jeff Bezos จาก Blog Series ชุดนี้

เรื่องราวของ เจฟฟ์ เบซอส นั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เขามีความฝันตั้งแต่เล็กว่าจะเป็นผู้ประกอบการมาตั้งแต่เยาว์วัย และในที่สุดเขาก็สามารถทำตามความฝันของเขาได้สำเร็จ มันไม่แค่สำเร็จเหมือนนักธุรกิจอื่นๆ  แต่ตอนนี้เขาสามารถสร้างบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกได้สำเร็จ

ซึ่งมันเป็นจุดสูงสุดของนักธุรกิจทุกคนในโลกที่จะก้าวไปได้ และเขาทำได้สำเร็จแล้ว มันพิสูจน์ได้ว่า พื้นฐานทางด้านวิศวกรของเขา ความอัจฉริยะที่หาตัวจับได้ยาก รวมกับความมุ่งมั่น และ โฟกัสกับทุกสิ่งที่เขาทำ มันได้แสดงให้เห็นและให้ทุกคนประจักษ์ในความสามารถของเขาแล้ว

มันเป็นความเหมือนที่ นักธุรกิจระดับท็อป ไม่ว่าจะเป็น สตีฟ จ๊อบส์ , มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก หรือ แจ๊ค หม่า มีเหมือน ๆ กัน คือ ความมุ่งมั่น การโฟกัส กับสิ่งที่ทำ เราจะเห็นได้จากหลาย ๆ Series ที่ผมได้เขียนมาว่า ผู้คนเหล่านี้มักจะทำงานกับผู้อื่นได้ยาก เพราะเป้าหมายของพวกเขานั้นยิ่งใหญ่กว่าที่เราจะคาดคิดถึง มันจึงเป็นที่มาของนิสัยที่คล้าย ๆ กันของนักธุรกิจระดับท็อปเหล่านี้

การเริ่มต้นจากแทบจะศูนย์ ครอบครัวแตกแยก ไม่รู้จักแม้กระทั่งพ่อตัวเองของ เจฟฟ์ เบซอส นั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ที่มีมาตั้งแต่เล็กของเขาเลยด้วยซ้ำ มันทำให้เราได้เรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องธุรกิจ , กีฬา หรือการแข่งขันในด้านในก็ตาม การเริ่มต้นจากศูนย์จนกลายเป็นที่หนึ่งของโลกนั้นมันสามารถเกิดขึ้นได้ ดังที่เจฟฟ์ เบซอส นั้นพิสูจน์ให้เราได้เห็นแล้วกับ amazon

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม

ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 9 : Amazon Web Service

แม้ Kindle นั้นจะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญที่ เจฟฟ์ เบซอส ได้สร้างขึ้นมาและพา amazon ขึ้นสู่บริษัทนวัตกรรม แบบเดียวที่ สตีฟ จ๊อบส์ ทำกับ apple ได้สำเร็จ แต่ความพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์ของ amazon จากบริษัทค้าปลีกให้กลายเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีนั้น มันยังไม่สำเร็จเสียทีเดียว โครงการใหม่ ๆ เช่น Search Engine อย่าง A9.com  ล้มเหลวและถูกปิดตัวลงไปหลังจากออนไลน์ได้ไม่นาน โครงการ BlockView โดน StreetView ของ google แซงหน้าไป บริการค้นหาในเล่ม (Search Inside Book) น่าสนใจแต่ไม่สามารถช่วยให้ amazon ผงาดขึ้นมาได้

ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่ เจฟฟ์ และ amazon เจอคือ บรรดาวิศวกรที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกกำลังหนีตาย จากวัฒนธรรมองค์กรที่เริ่มล้าหลังของ amazon แห่กันไปหา google รวมถึง startup เปิดใหม่แห่งอื่นใน ซิลิกอน วัลเลย์ ซึ่งหาก เจฟฟ์ เบซอส ต้องการพิสูจน์ให้โลกรู้ว่าแท้จริงแล้ว amazon เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีอย่างที่เขามักกล่าวอยู่เสมอ เขาต้องอาศัยการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่

ทิม โอไรล์ลี นักเผยแพร่การใช้เว๊บและผู้จัดพิมพ์หนังสือคอมพิวเตอร์ ได้บินมาซีแอตเทิลเพื่อมาพูดคุยกับ เจฟฟ์ เบซอส โดย โอไรล์ลี นั้นได้กล่าวกับ เจฟฟ์ ว่า amazon ทำตัวเหมือนเว๊บปลายทางโดดเดี่ยวและไม่ยอมข้องแวะกับใคร เขาอยากให้ amazon เปิดเผยข้อมูลของ amazon ให้แก่สังคมภายนอก

ทิม โอไรลีย์ ผู้เปิดแนวคิดให้ amazon สร้าง API ให้นักพัฒนาภายนอก
ทิม โอไรลีย์ ผู้เปิดแนวคิดให้ amazon สร้าง API ให้นักพัฒนาภายนอก

โอไรล์ลี ได้สร้างเครื่องมือที่เรียกว่า amarank ซึ่งเป็นเครื่องมืออันซับซ้อนมาให้เจฟฟ์ ได้ดู โดยเครื่องมือดังกล่าวนั้นจะทำการเข้าเยี่ยมชมเว๊บไซต์ amazon ทุก ๆ สองสามชั่วโมง และคัดลอกการจัดอันดับหนังสือของสำนักพิมพ์โอไรล์ลีมีเดีย รวมถึงหนังสือของคู่แข่ง แต่มันเป็นกระบวนการที่ช้าอืดอาดมาก เพราะใช้เทคนิคแบบเก่า และรูปแบบการทำงานคล้าย ๆ hack ข้อมูลจากหน้าจอ amazon.com

โอไรล์ลี แนะนำว่า amazon ควรที่จะพัฒนาชุดเครื่องมือออนไลน์ที่เรียกว่า ส่วนต่อประสานประยุกต์ ( application programming interface) หรือ API เพื่อให้บุคคลภายนอกติดตามข้อมูลเรื่องราคา ผลิตภัณฑ์ และอันดับการขายได้อย่างง่ายดาย

เจฟฟ์ เบซอส เริ่มเห็นโอกาสบางอย่างจากการพบกับ โอไรล์ลี ครั้งนี้  เขาคิดถึงเรื่องของความสำคัญของการเป็นแพลตฟอร์ม และการพัฒนา API เพื่อให้คนภายนอกได้ใช้งานเป็นเรื่องที่น่าสนใจ

เขาจึงสั่งดำเนินการให้ทีมงานสร้า API ชุดใหม่เพื่อให้นักพัฒนาเชื่อต่อเข้าเว๊บ amazon ได้ ซึ่งมันจะทำให้ เว๊บไซต์อื่นสามารถเผยแพร่รายการสินค้าจากแคตตาล็อกของ amazon ได้ รวมถึงแสดงราคา และ คำอธิบายประกอบสินค้าอย่างละเอียด ทั้งยังอนุญาติให้ใช้ระบบชำระเงินและตะกร้าสินค้าของ amazon ได้อีกด้วย

ตัวเจฟฟ์ เบซอส เองนั้นก็ได้ยอมรับหลักคิดใหม่เกี่ยวกับการเปิดกว้างขึ้นของเว๊บ amazon ได้เริ่มมีการจัดประชุมนักพัฒนาครั้งแรกขึ้น และได้เชิญบุคคลภายนอก ที่เดิมเคยคิดจะเจาะเข้ามาระบบของ amazon ให้มาร่วมพัฒนา API กับ amazon เสียเลย  ซึ่งมันทำให้นักพัฒนากลายมาเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของ amazon ecosystem และเจฟฟ์ นั้นได้ตั้งชื่อโครงการนี้อย่างเป็นทางการว่า บริการ amazon web service (AWS) 

จากแนวคิด API พัฒนาจนกลายมาเป็น Amazon Web Service ( AWS)
จากแนวคิด API พัฒนาจนกลายมาเป็น Amazon Web Service (AWS)

และมันทำให้ในปัจจุบันนั้น บริการ amazon web service หรือ AWS กลายเป็นธุรกิจขายโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล หรือระบบการคำนวณแบบสมรรถนะสูง มันทำให้บริษัทเกิดใหม่อย่าง Pinterest หรือ Instragram สามารถกำเนิดขึ้นมาได้ โดยมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นไม่สูงมากนัก 

หรือแม้กระทั่งบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Netflix ก็ใช้บริการของ amazon เพื่อทำการสตรีมภาพยนต์ส่งให้ลูกค้า และ AWS เองก็จำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำรายได้ในอนาคตของบริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ ซึ่งมันก็กลายเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของ amazon ที่ไม่ได้พึ่งพาแค่ อีคอมเมิร์ซอีกต่อไป

ให้บริการตั้งแต่บริษัท startup ขนาดเล็กไปจนถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix
ให้บริการตั้งแต่บริษัท startup ขนาดเล็กไปจนถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix

ต้องบอกว่าการเกิดขึ้นของ AWS นั้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน บริการเว๊บเซอร์วิส ที่เข้าถึงง่าย และราคาไม่แพงของ amazon ช่วยให้เกิดบริษัทตั้งใหม่ด้าน internet อีกเป็นพัน ๆ แห่ง ซึ่งไม่สามารถที่จะตั้งขึ้นมาได้เลยหากไม่มีบริการดังกล่าว

นอกจากนี้ บริการ AWS ของ amazon ยังส่งผลให้บริษัทขนาดใหญ่เช่า super computer ในระบบ cloud ได้ จนนำไปสู่ยุคใหม่แห่งนวัตกรรมแขนงต่าง ๆ เช่น การเงิน น้ำมันและก๊าซ สุขภาพ และวิทยาศาสตร์ มันไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงเลยที่จะพูดได้ว่า AWS ช่วยฉุดเทคโนโลยีทั้งหมดขึ้นมาหลังจากป่วยเรื้อรังจากยุคดอทคอม และกำหนดนิยามใหม่ของคลื่นลูกถัดไปในเรื่องการประมวลผลระดับองค์กรธุรกิจขึ้นมาใหม่

และการปฏิรูปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอาจเป็นภาพลักษณ์ของ amazon นั่งเอง AWS นั้นขยายขอบข่ายความเป็นสรรพสินค้าออกไปอีก อีกทั้งยิงมีสินค้าอื่นๆ  ที่ดูจะแตกต่างออกไปด้วย amazon จึงได้ฉีกหนีคู่แข่งไปอีกขั้น ไม่ว่าจะเป็นวอลมาร์ต และบริษัทค้าปลีกที่เป็นคู่แข่งรายอื่น ๆ amazon ได้สร้างเสน่ห์ใหม่ ๆ ให้บริษัทสามารถดึงดูดเหล่าวิศวกรอัจฉริยะให้เข้ามาทำงานได้อีกครั้ง และที่สำคัญหลังผ่านความล้มเหลวและความขมขื่นภายในมานานนับปี ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ตอนนี้ amazon ได้กลายเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีแล้ว อย่างที่เจฟฟ์ เบซอส นึกฝันอยากให้เป็นเสมอมา

–> อ่านตอนที่ 10 : From Zero to No.1 (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 7 : Dotcom Bubble

อินเตอร์เน็ต มันเป็นเป็นโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจริง ๆ ในปี 2000 มันเริ่มจากวิกฤติ Y2K ซึ่งคนทั่วโลกต่างกังวลกันขณะนั้น มีการกลัวว่าระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลกจะล่มสลาย ผู้คนคิดแม้กระทั่งมันจะส่งผลให้เครื่องบินที่ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์นั้นร่วงลงมาจากท้องฟ้าเลยด้วยซ้ำ มันเป็นปรากฏการณ์ที่ผู้คนทั่วโลกต่าง Panic กับปรากฏการณ์ Y2K

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ร่วงลงมาอย่างชัดเจนคือ ยอดขายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรวมถึงสินค้าเทคโนโลยีอื่น ๆ ซึ่งมันเริ่มมีทิศทางดิ่งลงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2000 ทันที และร่วงลงอย่างรวดเร็ว ภายในไม่กี่เดือนหลังจากเข้ายุค 2000 ยอดขายอันย่ำแย่ก็เริ่มปรากฏออกมาในรายงานผลประกอบการของบริษัททางด้านเทคโนโลยี จากนั้นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีก็ร่วงตามไปทันที ฟองสบู่ดอทคอม ก็แตกดังโพละ และมันส่งผลกระทบต่อ amazon.com ทันที

แน่นอนว่าการล้มครืนลงครั้งนี้มันส่งผลชัดเจนต่อราคาหุ้นของ amazon ทันที แม้มันจะไม่ได้ทำให้รายได้ของ amazon ลดลงมากนัก เพราะส่วนใหญ่รายได้ของ amazon มาจากสินค้าที่ไม่ได้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เพราะตอนนั้น amazon ได้ขยายหมวดหมู่สินค้าไปครอบคลุมสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น CD เพลง แฟนชั่น เครืองมือช่าง ฯลฯ ซึ่งดูแล้วมันไม่น่าจะส่งผลเสียต่อ amazon มากเท่ากับบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ 

แต่ปัญหาของ amazon มันไม่ใช่เรื่องของรายได้ ในเดือนธันวาคม ปี 1999 นักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ว่าตัวเลขขาดทุนของ amazon จะอยู่ที่ 350 ล้านเหรียญ แต่ตัวเลขจริงกลับสูงถึง 720 ล้านเหรียญและปัญหาก็เริ่มเลวร้ายขึ้นไปอีกในปี 2000 amazon ได้เผยตัวเลขขาดทุนซึ่งสูงถึง 1,400 ล้านเหรียญ

เกิดฟองสบู่ดอทคอม หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ดิ่งลงเหว
เกิดฟองสบู่ดอทคอม หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ดิ่งลงเหว

แม้กลยุทธ์การเติบโตอย่างรวดเร็วของเจฟฟ์ เบซอส นั้นมันช่วยให้บริษัทอยู่ในสถานะที่ไม่มีใครสามารถไล่ทันได้ แต่บริษัทมันก็เริ่มเติบโตเร็วเกินไปจนไม่สามารถควบคุมได้อยู่ การบริหารงานเริ่มไร้ประสิทธิภาพ ด้วยความที่จำนวนพนักงานก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การบริหารจัดการสินค้าคงคลังก็ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้สินค้าในคลังเริ่มล้นทะลัก ซึ่งเป็นภาระทางการเงินที่มหาศาลต่อ amazon

และมันก็เริ่มส่งสัญญาณที่ไม่ดีชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ กับ amazon ในเดือนมกราคมปี 2000 amazon ได้มีการ lay-off พนักงานกว่า 150 คน เจฟฟ์ ได้เริ่มว่าจ้างผู้บริหารชุดใหม่ที่รู้วิธีบริหารอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

แต่ดูเหมือนสถานการณ์มันยังไม่ดีขึ้น เหมือน ๆ กับบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ในขณะนั้นที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ราคาหุ้นของ amazon นับจากช่วงกลางเดือนธันวาคมปี 1999 ถึงสิ้นปี 2000 หุ้นของ amazon สูญเสียมูลค่าไป 90% จนเหลือราคาแค่ 15 เหรียญต่อหุ้นเพียงเท่านั้น

amazon เป็นบริษัทที่ผลาญเงินมากที่สุดในโลกออนไลน์ ตลอด 5 ปีนับแต่ก่อตั้งในปี 1995 เจฟฟ์ เบซอส กู้ยืมเงินไปกว่า 2,000 ล้านเหรียญ และสูญเสียเงินตรงนี้ไปกับการลงทุนในด้านต่าง ๆ ถึงกว่า 1,740 ล้านเหรียญ โดยที่บริษัทแทบจะไม่สามารถทำกำไรได้เลย สถานะของ เจฟฟ์ เบซอส ในสายตาสื่อ รวมถึงนักวิเคราะห์ เปลี่ยนจาก ดาวรุ่งกลายเป็นดาวร่วงทันที เขาจึงต้องตัดสินใจเปลี่ยนกลยุทธ์การขับเคลื่อนบริษัทจาก เติบโตให้เร็วที่สุด เปลี่ยนเป็นมาเริ่มหาวิธีทำกำไรจาก amazon เสียที

amazon เริ่ม lay-off พนักงานเพื่อลดต้นทุน
amazon เริ่ม lay-off พนักงานเพื่อลดต้นทุน

เขาเริ่มเปลี่ยนแปลงการบริหารงานทันที ทำสิ่งที่ผู้ถือหุ้นรวมถึงนักลงทุนต้องการอย่าง การลดต้นทุนด้วยการปลดพนักงานและลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เขาเริ่มบริหาร amazon ให้เหมือนกับธุรกิจค้าปลีกมากกว่าบริษัทดอทคอม 

เจฟฟ์ เริ่มพุ่งเป้าไปที่ผลประกอบการเป็นหลัก ไม่ผลาญเงินแบบไม่จำเป็นเหมือนก่อน เขาสั่งปิดธุรกิจที่ไม่ทำกำไรทันที กำจัดการลงทุนแย่ ๆ ลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด เริ่มจัดการกับงบประมาณให้สอดคล้องกับความเป็นจริงยิ่งขึ้น ปรับทัศนคติของเหล่าผู้บริหาร amazon เสียใหม่ ผู้บริหารแต่ละรายต้องยื่นของงบประมาณพร้อมกับเป้าหมายในการสร้างรายได้ และเวลาที่ใช้ในการบรรลุเป้าหมาย

แต่ไม่ใช่การตัดจะตัดทุกสิ่ง แต่เป็นการทำงานที่โฟกัสมากขึ้นไม่ซื้อกิจการบ้าคลั่งเหมือนเก่า เขาขยายกิจการของ amazon ไปยังสินค้าชนิดใหม่ ๆ ที่น่าจะสร้างกำไรได้ ในปี 2000 ได้เริ่มรุกเข้าสู่ตลาดเฟอร์นิเจอร์ในสวน ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม รวมถึงสินค้าเครื่องครัว นอกจากนี้ยังลงทุนกับ เว๊บไซต์ living.com  , audible.com และบริษัทขายรถยนต์ออลไน์อย่าง greenlight.com มันแสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานของ เจฟฟ์ เบซอส ที่ไม่ได้ลดลงไปเลย

และในที่สุด ในเดือนตุลาคมปี 2000 สถานการณ์ของ amazon ก็เริ่มเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น เริ่มมีตัวเลขต่าง ๆ ดีขึ้น ตัวเลขการขาดทุนจากการดำเนินงานเหลือ 11% ของรายได้ ลดลงครึ่งหนึ่งจากปีก่อนหน้า ขณะที่อัตรกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นเป็น 26% เทียบกับ 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และมันทำให้มูลค่าหุ้นของ amazon ดีตตัวกลับมาประมาณ 30% ทันที

แต่ปัญหาของ amazon ยังไม่จบลงเพียงเท่านั้น บริษัทยังต้องดิ้นรนต่อสู้กับตลาดที่ปั่นป่วนตลอดปี 2001 ส่งผลให้หุ้นของบริษัทร่วงลงอีกครั้ง ในช่วงต้นปี 2001 เจฟฟ์ เบซอส ตัดสินใจปลดพนักงานอีก 1,300 คน หรือ เป็นจำนวนกว่า 15% ของพนักงานทั้งหมดที่เขามี และทำการปิดศูนย์บริการลูกค้าในเมืองซีแอตเทิลและคลังสินค้าในรัฐจอร์เจียด้วย

และในระหว่างนี้ เจฟฟ์ ก็เริ่มหาช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ ๆ ให้กับบริษัท นั่นคือการสร้างและบริหารเว๊บไซต์ให้บริษัทอื่นอย่างเช่น Toy R US , Target หรือ Circuit City หรือแม้แต่อดีตคู่แข่งร้านค้าปลีกหนังสืออย่าง Borders

หาช่องทางทำเงินใหม่เช่นรับบริหารเว๊บไซต์ให้เครือของเล่นยักษ์ใหญ่อย่าง Toy R US
หาช่องทางทำเงินใหม่เช่นรับบริหารเว๊บไซต์ให้เครือของเล่นยักษ์ใหญ่อย่าง Toy R US

เจฟฟ์ ยังใช้นโยบายรัดเข็มขัดอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2001 โดยสามารถที่จะลดต้นทุนการดำเนินงานลงมาได้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ส่งผลให้สามารถที่จะลดราคาสินค้า ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ เพลง และภาพยนต์ ลงไปได้อีก โดยหวังว่าจะทำให้รายได้ของ amazon มากขึ้น เมื่อลูกค้าซื้อสินค้ามากขึ้น

และแล้วในที่สุด ความพยายามของ เจฟฟ์ ทั้งหมดทั้งมวลก็เป็นผล ในเดือนมกราคม ปี 2002 เขาทำให้บริษัทมีผลกำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายได้ครั้งแรกเป็นประวัติศาสตร์ของบริษัท ในที่สุด amazon ก็สามารถทำกำไรได้เหมือนธุรกิจปรกติเสียที แม้มันจะไม่ใช่ตัวเลขที่สูงนักเพียงแค่ 5 ล้านเหรียญ แต่มันคือจุดพลิกผันที่สำคัญที่ช่วยให้ amazon กลายเป็นบริษัทที่สามารถทำกำไรได้ในอนาคต ไม่ใช่บริษัทจอมผลาญเงินเหมือนก่อนหน้านี้ และเมื่อเจฟฟ์ บริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มันก็ยิ่งตอกย้ำให้ภาพของ amazon กลายเป็นศูนย์รวมสินค้าออนไลน์ที่ทุกคนนึกถึงได้

จะเห็นได้ว่า สุดท้ายแล้วนั้น เจฟฟ์ เบซอส ก็สามารถพิสูจน์ตัวเองได้ว่าเขาสามารถที่จะบริหารธุรกิจให้ทำกำไรได้ ซึ่งมันเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการที่เจฟฟ์ ได้นำพา amazon พ้นวิกฤติครั้งสำคัญอย่าง ฟองสบู่ดอทคอมได้สำเร็จ ไม่ล้มหายตายจากเหมือนธุรกิจเทคโนโลยีอื่นๆ  ทีไม่รอดพ้นเงื้อมมือของฟองสบู่ดอทคอม ถึงตอนนี้ amazon ก็พร้อมที่จะเติบโตไปอีกขั้นแล้ว และที่สำคัญสินค้าใหม่ที่สำคัญที่สุดของเจฟฟ์ เบซอส ยังไม่ถือกำเนิดขึ้น มันคือเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อ amazon โดยเฉพาะ ชื่อของมันคือ kindle แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับ เจฟฟ์ และ amazon ต่อไป โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 8 : Kindle

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 4 : The Innovator

หลังจากพยายามพัฒนาและปรับปรุงเว๊บไซต์ amazon ในช่วงทดลองมาหลายเดือน สุดท้าย amazon.com เวอร์ชั่นแรกที่สมบูรณ์ที่สุดก็ได้เริ่มออนไลน์ ในวันที่ 16 กรกฏาคม 1995 ถือเป็นวันที่ประวัติศาสตร์ของ amazon.com ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างสมบูรณ์

มันเป็นช่วงเวลาที่ดีมาก ๆ เพราะขณะนั้น internet เริ่มแพร่กระจายไปสู่คนหมู่มากในอเมริกาแล้ว และทีสำคัญ มันเป็นการออกตัวก่อนคู่แข่ง ที่ตอนนั้นหลาย ๆ บริษัทเริ่มตื่นตัวกับ internet แล้ว และกำลังสร้างบริการคล้าย ๆ กันอยู่

amazon.com เป็นเว๊บไซต์ค้าปลีกแรกๆ  ที่ดูจะมีความสมบูรณ์ที่สุด การปรุงแต่งด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด รวมถึง การ design ที่ดูสะอาดตา และมีความเรียบง่าย ทำให้สามารถเป็นที่ต้องตาของเหล่าหนอนหนังสือตัวยงได้อย่างรวดเร็ว

ต้องเรียกได้ว่าเรียบง่าย ใช้งานง่าย โหลดเร็ว ทำให้ลูกค้าติดใจอย่างรวดเร็ว
amazon.com ยุคแรก ต้องเรียกได้ว่าเรียบง่าย ใช้งานง่าย โหลดเร็ว ทำให้ลูกค้าติดใจอย่างรวดเร็ว

หลังจากเปิดตัว คำสั่งซื้อเริ่มหลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้แคปแฟน และ เดวิส โปรแกรมเมอร์หลัก ต้องสร้างระบบ เพื่อแจ้งเตือน เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา โดยให้มีเสียงกระดิ่งเตือนเมื่อมีคำสั่งซื้อใหม่เข้ามา แต่มันก็ใช้งานได้ไม่นาน เพราะคำสั่งซื้อมันเข้ามาอย่างรวดเร็วและเริ่มเยอะขึ้นเรื่อย ๆ  จนเสียงกระดิ่งไปรรบกวนการทำงานทุกคนในทีม

ในช่วงแรกของการเปิดตัวเว๊บไซต์ต้องบอกว่า เจฟฟ์ นั้นจัดโปรโมชั่นหนักมากหวังดึงลูกค้ามาใช้อย่างเต็มที่ โดยลดราคาของหนังสือ จนแทบจะไม่มีกำไรเลยด้วยซ้ำ หนังสือชื่อดังถูกนำมาลดราคาบ้างครั้งสูงถึง 40% เรียกได้ว่าในช่วงแรกนั้นยิ่งขายได้มากก็ยิ่งติดลบมาก

และปัจจัยอย่างนึงที่ทำให้ amazon.com นั้นดังอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจาก เจอร์รี่ หยาง CEO ของ YAHOO ในขณะนั้น ได้เห็นเว๊บไซต์ amazon ในไม่กี่วันแรก หลังจากที่เว๊บออนไลน์

ตอนนั้นหน้าหลักของ YAHOO มี Section ที่เรียกว่า What’s Cool Page ซึ่งเป็นส่วนแนะนำเว๊บไซต์ใหม่ ๆ ที่เจ๋ง ๆ และน่าสนใจสำหรับชาว internet ซึ่งต้องบอกว่าในยุคนั้น YAHOO ถึอเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการผู้คนมักมาที่ YAHOO ก่อนเป็นดับแรกเพื่อหาเว๊บไซต์ที่น่าสนใจที่ทาง YAHOO ได้ทำเป็นระบบไดเร็คทอรี่ไว้

ได้แรงโปรโมตจาก YAHOO ทำให้เว๊บ amazon ดังอย่างรวดเร็ว
ได้แรงโปรโมตจาก YAHOO ทำให้เว๊บ amazon ดังอย่างรวดเร็ว

และการขึ้นไปอยู่ในส่วนของ What’s Cool Page ของ YAHOO นั้นทำให้ amazon โด่งดังภายในพริบตาเดียวเลยก็ว่าได้ เพียงสัปดาห์แรกหลังจากถูกแนะนำใน YAHOO มีคำสั่งซื้อมูลค่ารวมกว่า 12,000 เหรียญ  หลังหลังจากนั้นอีกสัปดาห์ถัดไปก็พุ่งขึ้นไปถึง 15,000 เหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนคำสั่งซื้อที่น่าเซอไพรซ์มากสำหรับเว๊บไซต์เปิดใหม่อย่าง amazon.com

ตอนที่เว๊บไซต์ amazon ออนไลน์อย่างเป็นทางการนั้น ทีมงานโปรแกรมเมอร์ รวมถึง เจฟฟ์ ก็ทำการตรวจสอบในระดับหนึ่งแล้วว่า สามารถทำงานได้  แต่ พอใช้งานจริง ๆ ก็พบเจอกับหลากหลายปัญหามากเพราะจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เจฟฟ์ และทีมจึงทยอยปรับแก้ปัญหาไปเรื่อย ๆ และเจฟฟ์นั้นต้องการให้ amazon.com ยึดหัวหาดในตลาดหนังสือออนไลน์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ปัญหาอีกประการก็คือ ตอนนั้น เจฟฟ์ นั้นไม่ได้นึกถึงทีมงานที่จะต้องมานั่งแพ็คสินค้า หรือ จัดการด้านคลังสินค้าเลยด้วยซ้ำ แรกเริ่มเขาจึงต้องใช้ทีมงานเท่าที่มีอยู่มาช่วยกันแพ็คหนังสือลงกล่องเพื่อจัดส่งให้ลูกค้า ซึ่งต้องใช้เวลาในช่วงกลางคืนหลังจากแต่ละคนเคลียร์งานของตัวเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำให้บางคืนต้องทำงานกันจนถึงเกือบเช้าเพื่อจัดการคำสั่งซื้อที่เข้ามาทั้งหมด

มันเป็นการเริ่มต้นอย่างทุลักทุเลเลยก็ว่าได้ เพราะการเติบโตอย่างรวดเร็วของ amazon ทำให้ตอนนั้น เจฟฟ์ก็ยังไม่ได้วางแผนว่ามันจะเติบโตได้เร็วถึงเพียงนี้  พนักงานช่วงยุคแรกเริ่มนั้นทำงานกันหลายตำแหน่งมาก ๆ บางคนเป็นทั้งโปรแกรมเมอร์ และต้องมาตอบคำถามลูกค้าในหน้าเว๊บ หรือ พนักงานบัญชีที่ต้องมานั่งช่วยแพ็คสินค้า รวมถึงจ่าหน้าสินค้า แม้กระทั่งเรื่องการ print เอกสารต่าง ๆ  พนักงานยังต้องไป print ที่ร้านข้างนอก การประชุมก็อาศัยร้านกาแฟ ที่อยู่ใกล้ ๆ ออฟฟิส เป็นที่ประชุมงาน

ถึงแม้บริษัทจะไม่มีงบโฆษณาใด  ๆเลยด้วยซ้ำในช่วงเริ่มก็ตั้ง แต่ amazon.com มันกลายเป็นกระแสบอกปากต่อปาก โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ มีแต่ผู้คนกล่าวถึง เว๊บไซต์หน้าใหม่ไฟแรงอย่าง amazon.com และด้วยการที่มันขึ้นด้วยตัว A ทำให้เวลามีการเรียงลำดับเว๊บไซต์ มันก็ทำให้ amazon ขึ้นไปอยู่อันดับต้น ๆ เสมอ

ซึ่งร้านหนังสือยักษ์ใหญ่อย่างบาร์นแอนด์โนเบิล นั้นก็เริ่มเห็นกระแสของ amazon ที่เริ่มเป็นที่น่าสนใจในวงกว้างมากยิ่งขึ้น จึงได้ทำการริเริ่มสร้างเว๊บไซต์มาแข่ง แต่ เจฟฟ์ และทีมงาน amazon เตรียมการเรื่องนี้ไว้อย่างดีแล้ว 

ทีมงานเร่งปรับตัวเว๊บไซต์ เพิ่ม features ต่าง ๆ มากมาย ที่ไม่เคยมีเว๊บไซต์ไหนทำมาก่อน ตัวอย่างเช่นการ review หรือแสดงความคิดเห็นต่อหนังสือ นั้น amazon ก็เป็นเจ้าแรก ๆ ที่ได้คิดฟังก์ชั่นนี้ขึ้นมา และสร้างเป็นเครือข่ายสังคมขนาดย่อมของคนรักหนังสือขึ้นมา ต้องบอกว่า amazon ตอนนี้ไม่ใช่เป็นแค่เพียงเว๊บไซต์ขายหนังสือเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นเครือข่ายสังคมรุ่นแรก ๆ สำหรับแฟนหนังสืออีกด้วย

ระบบ review หรือ rating amazon เป็นคนริเริ่มขึ้นมาก่อนที่จะถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย
ระบบ review หรือ rating amazon เป็นคนริเริ่มขึ้นมาก่อนที่จะถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย

เจฟฟ์ นั้นมีไอเดียใหม่ ๆ เสมอสำหรับเว๊บไซต์ amazon.com ของเขา ในเดือน กรกฏาคม ปี 1996 มีหญิงคนหนึ่งชอบเขียนแนะนำหนังสือลงเว๊บไซต์ของตนเอง และทำลิงก์มายังเว๊บไซต์ของ amazon เพื่อให้สะดวกกับคนที่สนใจจะซื้อหนังสือ

เจฟฟ์เห็นไอเดียว่า การมีทราฟฟิกจากภายนอก ลิงก์มายัง amazon นั้นจะช่วยสนับสนุนการขายได้อย่าดี เขาจึงตั้งโปรแกรมที่เรียกว่า โครงการพันธมิตรการขาย (Associates Program) ขึ้นมา โดยบุคคุลภายนอกที่สร้างลิงก์มายังเว็บไซต์ amazon จะได้รับค่านายหน้าจากการขายหากมีคนคลิกผ่านเว๊บไซต์ของตัวเองมาสั่งซื้อหนังสือในเว๊บไซต์ amazon.com

เจฟฟ์ได้คิดค้น amazon Associates Program ขึ้น ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการค้าออนไลน์ ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ที่มีเว๊บไซต์
เจฟฟ์ได้คิดค้น amazon Associates Program ขึ้น ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการค้าออนไลน์ ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ที่มีเว๊บไซต์

และมันยังทำให้ เครือข่ายของ amazon กระจายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และถือว่าเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่สรรค์สร้างโดย เจฟฟ์ เบซอส เลยก็ว่าได้ ซึ่งบางครั้งนวัตกรรมเล็ก ๆ อย่างเครือข่าย Associates Program ที่คิดโดยเจฟฟ์ นั้นมันก็สร้าง Impact ครั้งยิ่งใหญ่ให้กับ amazon  มันเป็นความแตกต่างระหว่างผู้ประกอบการรุ่นใหม่อย่างเจฟฟ์ กับผู้บริหารหัวโบราณที่ไม่เข้าใจและลังเลที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโลกออนไลน์

การอ่านเกมขาดของเจฟฟ์ เบซอส ในเรื่องนี้นั้นมันช่วยให้เขาเดินหน้าไปในธุรกิจดอทคอมได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และตอนนี้ amazon.com กำลังเดินในเส้นทางนั้นเรียบร้อยแล้ว แต่ปัญหาคือ การที่ยิ่งขายได้มากในช่วงแรก ๆ นั้น มันจะยิ่งใช้ทุนมากมายมหาศาลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และตอนนี้เงินทุนของเจฟฟ์ นั้นก็เริ่มร่อยหรอแล้วหลังจากการเติบโตอย่างไม่คาดคิดของ amazon.com แล้วเขาจะทำอย่างไรต่อ ปัญหาเรื่องเงินทุนเป็นปัญหาใหญ่มาก ๆ ของเจฟฟ์ โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 5 : Growth Fund

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

 

 

Blog Series : Jeff Bezos and the rise of amazon.com

หลังจาก Blog Series ชุดที่แล้วว่าด้วยเรื่องของ แจ๊ค หม่า ราชัน อีคอมเมิร์ซแห่งแดนมังกรกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใน Series ชุดใหม่นี้ ผมขอนำเสนอเจ้าพ่อ อีคอมเมิร์ซ แห่งโลกตะวันตกอย่าง Jeff Bezos แห่ง amazon.com กันบ้างครับ

ทั้งสองต่างเป็นราชันผู้ยิ่งใหญ่ของโลกอีคอมเมิร์ซ และมีบทบาทสำคัญต่อวงการการค้าโลก เรื่องของ Jeff Bezos นั้นก็น่าสนใจไม่แพ้เรื่องราวการต่อสู้ของแจ๊ค หม่า จากจุดเริ่มต้นจากร้านหนังสือออนไลน์ จนกลายเป็นร้านค้าที่มีสินค้าและบริการทุกอย่าง มียอดขายกว่าแสนล้านเหรียญ และมีลูกค้าอยู่ทั่วโลกได้อย่างไร

Blog Series ชุดนี้จะนำเสนอเรื่องราวทุกแง่มุมของ Amazon ทั้งความสำเร็จ และความล้มเหลวที่ Jeff Bezos ประสบพบเจอตอนสร้าง Amazon.com ให้กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

สำหรับข้อมูลที่จะใช้เขียนใน Blog Series ชุดนี้ จะมาจากหนังสือ สองเล่ม คือ One Click:Jeff Bezos and the rise of amazon.com จากผู้เขียน Best Seller อย่าง Richard L.Brandt และ หนังสือ the everything store (Jeff Bezos and The Age of Amazon) โดยผู้เขียนอย่าง Brad Stone ซึ่งหนังสือทั้งสองเล่มเป็นหนังสือ Best Seller ของ อเมริกาทั้งสิ้น

หนังสือ One Click : Jeff Bezos and the Rise of amazon.com
หนังสือ One Click : Jeff Bezos and the Rise of amazon.com
หนังสือ the everything store (Jeff Bezos and the age of amazon)
หนังสือ the everything store (Jeff Bezos and the age of amazon)

และเหมือนเคย สำหรับผู้ที่เคยอ่านหนังสือเหล่านี้มาแล้ว อาจจะผ่านเลยก็ได้นะครับ ผมจะนำเรื่องราวทั้งหมดมาเล่าใหม่ในสไตล์ของผมเอง เหมือนเดิม และเพิ่มเติมข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ทั้ง wikipedia รวมถึงข้อมูลจากออนไลน์ แหล่งต่าง ๆ ที่รับรองว่าท่านจะไม่เคยได้อ่านจากที่ไหนมาก่อนอย่างแน่นอน โปรดอย่าพลาดติดตามนะคร้าบผม

–> อ่านตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

หนังสือ One Click:Jeff Bezos and the rise of amazon.com
เขียนโดย : Richard L.Brandt
แปลโดย : พรเลิศ อิฐฐ์,วิโรจน์ ภัทรทีปกร

หนังสือ The everything store (Jeff Bezos and The Age of Amazon)
เขียนโดย : Brad Stone

https://www.businessinsider.com/jeff-bezos-amazon-history-facts-2017-4

https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_Amazon

https://www.bbc.com/news/business-48884596

https://interestingengineering.com/a-very-brief-history-of-amazon-the-everything-store