ข้อคิดสำคัญสำหรับ Driver ที่จะยึด Delivery Platform เป็นช่องทางทำมาหากินหลัก

พอดีผมได้มีโอกาสนั่งอ่าน ข่าวเกี่ยวกับ การรวมตัวประท้วงของพนักงานขนส่งของ Grab ที่ด้านหลังลานจอดรถห้างบิ๊กซีพัทยาใต้ เกี่ยวกับการเรียกร้องผลตอบแทนที่ดูเหมือนจะต่ำเตี้ยเรี่ยดินลงเรื่อย ๆ

นี่คือประเด็นสำคัญที่เหล่าพนักงาน Grab เข้ามาเรียกร้อง

“ครั้งล่าสุดที่เราชุมนุมประมาณเดือน พ.ย.62 ปรับจาก 50 กว่าบาทเหลือ 30 กว่าบาท และมาให้เราเก็บสะสมคะแนนเพื่อจะได้โบนัสมากขึ้น แต่ปัจจุบันมันลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ซึ่งเรามันไม่ไหวกับสิ่งที่ตอบแทน คือเก็บสะสมเพชรถ้าได้ 250 เพชรขึ้นไป เราจะได้เพชรเม็ดละ 30 สตางค์ ตีเป็นเงิน 75 บาท รวมกับค่ารอบที่เราได้ 30 บาท ซึ่งบางคนเคยได้ 1,000 กว่าบาท เหลือ 300-400 บาท ซึ่งรายได้นั้นมันก็พออยู่ได้แต่มันไม่คุ้มในการที่เอารถเรามาวิ่ง ไหนจะค่าสึกหลอของรถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ากิน ค่าโรงเรียนลูก ซึ่งวันนี้พวกเราจะหยุดบริการทั้งวันไม่รับออเดอร์ลูกค้า”

ซึ่งต้องมองตามความเป็นจริงว่า สิ่งที่บริษัทพวกนี้โดยเฉพาะบริการที่แข่งกันหนักอย่าง Delivery Service หรือ แม้กระทั่ง Platform Ecommerce อย่าง Shopee , Lazada ยอมขาดทุนมหาศาลทุก ๆ ปี

แน่นอนอยู่แล้วว่าพวกเขาต้องการ Data จากพฤติกรรมผู้บริโภคของเรา ว่าชอบสั่งอาหารแบบไหน มูลค่าเท่าไหร่ หรือช่วงเวลาใด และสุดท้ายพฤติกรรมเหล่านี้ก็จะกลายเป็นพฤติกรรมที่เราเคยชิน เหมือนที่เราเห็นใน platform Ecommerce อย่าง Lazada , Shopee ที่คนไทยเริ่มเสพติดกันหนักขึ้นเรื่อย ๆ

ด้วยการอัดโปรโมชั่นมากมายที่ดูเหมือนเป็นการสปอย Driver ที่เข้ามาร่วมในระบบ ทำให้มีคนเข้าไป join ใน platform เหล่านี้ แน่นอนว่า รายได้ในช่วงแรก ๆ ต้องกระฉูด เพราะเป็น เฟส เผาเงินที่ได้รับจากนักลงทุน มันไม่ใช่เงินจากการทำธุรกิจจริง ๆ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยในการอัดเงินให้ Driver มากมายขนาดนี้ ถ้าพวกเขาคิดจะใช้ Model นี้แบบยั่งยืนจริง ๆ

แต่บริษัทเหล่านี้ ไม่ใช่นักบุญแน่นอน มาหว่านเงินแจกเล่น เหมือนช่วงแรก ๆ พวกเขาเอาข้อมูลไปวิเคราะห์อยู่แล้ว ซึ่งสุดท้ายแล้วนั้น ธุรกิจ มันก็คือ ธุรกิจ ที่ต้องทำเงินสร้างผลกำไรออกมา

ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลย ในโมเดลก่อนหน้าที่เราได้เห็นกันอยู่ มันเป็นคณิตศาสตร์ตัวเลขง่าย ๆ ว่าทำยังไงก็ขาดทุน สอดคล้องกับข่าวที่ออกมาช่วง COVID-19 ที่บริการพวกนี้ขาดทุนกันเป็นว่าเล่น เรียกได้ว่า ยิ่งโตยิ่งขาดทุน

เพราะฉะนั้น สิ่งที่พี่ ๆ Driver ควรทำ platform กับเหล่านี้ คือ รีบโกยมาให้มากที่สุด ให้เร็วที่สุด และควรหาทางเลือกสำรองไว้ ที่เราสามารถ control ทุกอย่างได้บ้าง (ตัวอย่างกรณี Ecommerce เช่น การสร้างเว๊บไซต์ของตัวเองขึ้นมาแทน) เพราะยังไงหากเป็นบ้านของตัวเองก็ไม่มีใครสามารถมาเปลี่ยนอะไรเราได้อยู่แล้ว

แล้วเปลี่ยนมุมมองกับพวก platform ต่าง ๆ เหล่านี้ ที่เรากำลังพึ่งพานั้นเป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการหารายได้เพียงเท่านั้น อย่ามองเป็นช่องทางทำรายได้หลักเด็ดขาด เพราะวันนึง เค้าจะเปลี่ยนนโยบายอะไรก็ได้ เราไม่สามารถที่จะ control ได้เลย

ตัวอย่างมีให้เห็นมากมายแล้วที่อยู่ดี ๆ ก็เปลี่ยน policy ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสุดท้ายเราก็อยู่ไม่ได้ อย่างเช่นใน platform ใหญ่ ๆ อย่าง facebook , shopee , lazada หรือ อะไรก็แล้วแต่ ซึ่งสุดท้ายพวกนี้เค้าก็ต้องสร้างกำไรให้กับพวกเขาในท้ายที่สุดนั่นเองครับ

References Images : https://siamrath.co.th/