ประวัติ Reader’s Digest หนังสือขวัญใจนักอ่านทั่วโลก

ในปี 1922, วิลเลียม รอย เดอวิตต์ วอลเลซ (William Roy Dewitt Wallace) ได้ก่อตั้งนิตยสารฉบับหนึ่งตามความใฝ่ฝันของเขา ในขณะที่เขากำลังฟื้นตัวจากบาดแผลจากกระสุนที่ได้รับในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

โดยวอลเลซ มีความคิดที่จะรวบรวมตัวอย่างของบทความที่ชื่นชอบในหลาย ๆ เรื่องจากนิตยสารรายเดือนต่าง ๆ และในบางครั้งก็ทำการกลั่นกรองและนำมาเขียนใหม่และทำการรวมเรื่องน่าสนใจเหล่านี้ให้กลายเป็นนิตยสาร

โดย วอลเลซ นั้นได้ตกผลึกแนวคิดธุรกิจของตัวเองขึ้นมา โดยเขาคิดจะทำนิตยสารที่พร้อมสรรพทุกด้านทุกมุม มีความหลากหลายและเป็นบทความที่อ่านได้ง่าย เข้าถึงผู้คนได้จำนวนมาก

และเขากับภรรยา ไลลา เบลล์ แอชีสัน (Lila Bell Acheson)  ได้ร่วมกันปั่นต้นฉบับ และทำการตั้งสำนักงานใหญ่ของ Reader’s Digest กันที่โรงรถบนถนน Eastview Avenue ในพลีแซนต์วิลล์

และได้ทำการออกฉบับแรกสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1922 โดยปกแรกสุดนั้นได้ทำการตีพิมพ์ออกมาจำนวน 5,000 เล่ม ขายในราคาเล่มละเพียง 25 เซ็นต์ และเพียงฉบับแรกก็ได้รับผลตอบรับอย่างล้นหลามจากเหล่าหนอนหนังสือทั่วประเทศอเมริกา

Reader's Digest ฉบับแรกในปี 1922
Reader’s Digest ฉบับแรกในปี 1922

นับตั้งแต่ก่อตั้ง บริษัท Reader’s Digest  มีจุดยืนอย่างแข็งแกร่งในเรื่องของความเป็นอนุรักษ์นิยม และต่อต้านคอมมิวนิสต์ โดยมุมมองเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองและสังคมผ่านการสะท้อนตัวตนของผู้ก่อตั้งอย่างวอลเลซได้เป็นอย่างดี

ขึ้นสู่จุดสูงสุด

พวกเขาใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปี Reader’s Digest ก็สามารถคืนทุนทั้งหมดได้สำเร็จ และชดใช้หนี้สินที่พวกเขาทั้งคู่ได้กู้มาทำหนังสือได้จนหมดสิ้น และในปี 1926 มีผู้สมัครสมาชิกถึง 30,000 ราย ก่อนที่ตัวเลขจะพุ่งขึ้นไปสูงถึง 290,000 รายในปี 1929

โดยหนังสือในฉบับนานาชาติครั้งแรกถูกตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรในปี 1938 เมื่อครบรอบ 40 ปี Reader’s Digest มีฉบับต่างประเทศถึง 40 ฉบับใน 13 ภาษาและยังมีเวอร์ชั่นอักษรเบรลล์ และ ณ จุดหนึ่งมันได้กลายเป็นนิตยสารที่มียอดขายสูงที่สุดในหลาย ๆ ประเทศ เช่น แคนาดา, เม็กซิโก , สเปน , สวีเดน , เปรู และประเทศอื่น ๆ ด้วยยอดขายรวมระหว่างประเทศ กว่า 23 ล้านเล่ม 

เข้าสู่ประเทศไทย

สำหรับคนไทยรู้จักหนังสือ Reader’s Digest ที่แปลเป็นภาษาไทย ในนาม “Reader’s Digest สรรสาระ” ที่เข้ามาบุกตลาดคนไทยเมื่อปี 1995 และเล่มแรกที่ออกวางจำหน่ายเมื่อเดือนเมษายน 19969 ขนถึงปัจจุบันมียอดจำหน่ายต่อเดือนสูงถึง 116,314 ฉบับ 

จุดเริ่มต้นของ Reader’s Digest ในไทย เกิดจากความมั่นใจของบริษัทแม่ที่อเมริกาคาดว่าในอนาคต ตลาดนักอ่านในไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากประสบความสำเร็จในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือญี่ปุ่นมาแล้ว 

ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการบุกตลาดไทย
ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการบุกตลาดไทย

และจากตัวเลขยอดขายที่ทำได้ระดับแสนเล่มภายในระยะไม่ถึง 2 ปี นับว่าประสบความสำเร็จมากทีเดียววในประเทศไทย ซึ่งเป็นการทำตลาดโดยใช้การส่งจดหมายไปตามที่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งในจดหมายนั้นจะมีทั้งใบตอบรับสมาชิก ใบชิงโชครางวัลต่างๆ โดยผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกก็สามารถมีสิทธิ์ชิงรางวัลได้ ด้วยวิธีการทำตลาดดังกล่าวในไทยนี้ถือว่ายังใหม่อยู่มากและก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศไทย

แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ต่อกระแส Digital Disruption

กลุ่มนักลงทุนเอกชน บริษัท โฮลดิงส์ แอลแอลซี ที่ซื้อรีดเดอร์ส ไดเจสท์ มาในปี ค.ศ. 2007 ด้วยมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.8 หมื่นล้านบาท) ก่อให้เกิดหนี้สินราว 800 ล้านดอลลาร์สหัรฐ (ราว 2.4 หมื่นล้านบาท) 

ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจากที่ทุกสื่อเจอกัน ก็คือผลมาจากชาวอเมริกาเหนือนั้นได้หันไปบริโภคข่าวสารทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งสุดท้าย เป็นผลให้บริษัทถูกฟ้องล้มละลายในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 เนื่องจากขาดทุนในการใช้จ่ายด้านการโฆษณาและมีภาระหนี้สินที่มากขึ้นจากการซื้อกิจการครั้งนั้น

แต่ท้ายที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี  2014 Mike Luckwell นักลงทุนจากอังกฤษก็เข้ามาซื้อกิจการ Reader’s Digest ในสหราชอาณาจักรไปและได้ทำการลงทุนเพิ่มเติม โดยตอนนี้ Reader’s Digest กำลังพยายามปรับตัวให้เข้าสู่โลกออนไลน์ ( https://www.rd.com)อย่างที่เราได้เห็นจนถึงทุกวันนี้นั่นเองครับ

References : 
https://en.wikipedia.org
http://info.gotomanager.com
https://www.mikeluckwell.com
https://stanglibrary.files.wordpress.com/2014/09/rd000.jpg