One Man’s View กับมุมมองต่อประเทศไทย ของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งสิงค์โปร์

เพิ่งได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนึงที่มีชื่อว่า One Man’s View of the World โดย Lee Kuan Yew (ลี กวน ยู) อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งท่านได้ถ่ายทอดมุมมองความคิดที่มีต่อประเทศไทยที่น่าสนใจ ที่ผมอยากจะมาสรุปให้ฟัง

การมาของ นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ทำให้การเมืองไทยเปลี่ยนไปอย่างถาวร ก่อนที่เขาจะเข้ามา การแข่งขันทางการเมืองทุกด้านและการปกครองส่วนใหญ่เพื่อผลประโยชน์ของเมืองหลวงของประเทศอย่างกรุงเทพเป็นหลัก

สิ่งที่ทักษิณทำนั้น ทำให้สถานะทางการเมืองของไทยแย่ลง โดยการที่เขาได้หันเหการพัฒนาไปยังส่วนที่ยากจนกว่าของทรัพยากรของประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลส่วนใหญ่มักจะมีนโยบายที่เน้นไปที่คนกรุงเทพฯ และชนชั้นกลาง 

ทักษิณเป็นแบรนด์การเมืองที่ครอบคลุมมากขึ้นทำให้ชาวนาจากภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีส่วนร่วมในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งก่อนที่เขาจะมาถึงนั้น นโยบายส่วนใหญ่ของรัฐบาลนั้นมักจะโฟกัสให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของรุ่นก่อนหน้า 

สิ่งที่เขาทำคือปลุกผู้คนให้ตื่นขึ้น และพยายามแสดงให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรมของมัน และเสนอแนวทางแก้ไขเชิงนโยบาย ถ้าเขาไม่ทำเช่นนั้น ผม (ลี กวน ยู) เชื่อว่าก็จะมีคนอื่นเข้ามาทำเช่นเดียวกัน

เมื่อเขาเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ 2544 ทักษิณเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและเป็นมหาเศรษฐีอยู่แล้ว แต่ถ้ากลุ่มคนไทยที่ร่ำรวยหวังให้เขา (ทักษิณ) แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พวกเขาจะต้องผิดหวังอย่างมากในไม่ช้า 

เขาดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อคนยากจนในชนบทในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เขาขยายเงินกู้ให้กับเกษตรกร ทุนการศึกษาในต่างประเทศให้กับนักเรียนจากครอบครัวในชนบท และที่อยู่อาศัยที่รัฐบาลอุดหนุนให้กับคนยากจนในเมือง ซึ่งหลายคนอพยพเข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ

อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ผู้เปลี่ยนโฉมการเมืองไทยไปตลอดกาล
อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ผู้เปลี่ยนโฉมการเมืองไทยไปตลอดกาล

แผนการรักษาพยาบาลของเขามุ่งเป้าไปที่ผู้ที่ไม่สามารถจ่ายค่าประกันสุขภาพของตนเองได้โดยให้ความคุ้มครองเพียง 30 บาท (ประมาณ US $ 1) ต่อการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

สำหรับฝ่ายตรงข้ามของทักษิณ พวกเขาเสียผลประโยชน์อย่างชัดเจน และไม่เห็นด้วยกับนโยนบายของทักษิณ พวกเขาเรียกมันว่า ประชานิยม และอ้างว่านโยบายของทักษิณ จะทำให้รัฐล้มละลาย (น่าสังเกตว่านี่ไม่ได้หยุดพวกเขาจากการดำเนินนโยบายเหล่านี้ต่อไปและนำนโยบายอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันมาใช้เมื่อพวกเขากุมอำนาจตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 ถึงสิงหาคม 2554)

พวกเขากล่าวหาว่านายก ทักษิณ คอร์รัปชั่น และสนับสนุนธุรกิจครอบครัวของเขา ข้อหาที่เขาปฏิเสธ พวกเขาไม่พอใจกับ บริษัท ของทักษิณ – บางคนบอกว่าทักษิณเป็นเผด็จการ – การจัดการสื่อและการทำสงครามขัดแย้งกับยาเสพติดทางตอนใต้ของประเทศ

ซึ่งในบางครั้งทำให้สิทธิมนุษยชนอาจถูกมองข้ามไป อย่างไรก็ตามชาวนาจำนวนมากไม่สนใจคำวิพากษ์วิจารณ์และเลือกเขาใหม่ในปี 2548 และในที่สุดชนชั้นนำในกรุงเทพฯก็ทนไม่ได้

ตั้งแต่นั้นมาเมืองหลวงของประเทศไทยก็ประสบกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ฉากแห่งความโกลาหลเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าบนท้องถนนในกรุงเทพฯตั้งแต่ปี 2551 โดยมีการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อเหลืองที่ต่อต้านทักษิณ และหลังจากนั้นก็ทำเช่นนั้นแบบเดียวกัน ในนามของคนเสื้อแดงซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณ 

ปรากฏการณ์ม็อบบนท้องถนนในประเทศไทย ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า
ปรากฏการณ์ม็อบบนท้องถนนในประเทศไทย ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า

แต่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งซึ่งจัดขึ้นในปี 2554 ซึ่งส่งให้นางสาวยิ่งลักษณ์ น้องสาวของทักษิณได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการพิสูจน์ที่ชัดเจนของเขตเลือกตั้งของไทยในเส้นทางใหม่ที่ทักษิณเลือกสำหรับประเทศไทย

ชาวนาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเมื่อได้ลิ้มรสการเข้าถึงแหล่งทุนแล้วก็ไม่ยอมแพ้อีกต่อไป ทักษิณและพรรคพวกได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปถึง 5 ครั้งติดต่อกันในปี 2544 2548 2549 2550 และ 2554 สำหรับฝ่ายตรงข้ามของทักษิณที่พยายามต่อต้านทุกวิถีทางก็ไร้ผล

แม้จะมีการหมักหมมของปัญหาความแตกแยกในสังคมไทย แต่ก็มีสาเหตุของการมองโลกในแง่ดีในระยะยาว คนเสื้อแดงและกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณจะมีจำนวนมากกว่าคนเสื้อเหลืองไปอีกนาน เพราะกลุ่มหลังดึงมาจากเขตเลือกตั้งที่หดหาย คนรุ่นใหม่มีมุมมองที่นับถือราชวงศ์เริ่มน้อยลงไปแล้ว 

กองทัพมีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการเมืองไทยมาโดยตลอด ได้ทำให้แน่ใจว่าไม่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านสถาบันกษัตริย์  อย่างไรก็ตามมันก็ไม่มีทางเลือกอื่นมากนักสำหรับประเทศไทย ที่นอกจากยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 

หลังจากที่ทุกคนไม่สามารถต่อต้านเจตจำนงของการเลือกตั้งที่ยืดเยื้อได้ เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ตำแหน่งต่าง ๆ จะเต็มไปด้วยทหารจากคนรุ่นใหม่ซึ่งไม่ค่อยมีความสนใจในสถาบันกษัตริย์ แต่เหล่าผู้นำทางทหารจะยังคงยืนยันในสิทธิพิเศษ และจะไม่พอใจกับการถูกลดตำแหน่งให้เป็นกองทัพธรรมดาเหมือนในประเทศอื่น ๆ

แต่พวกเขายังจะได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับรัฐบาลที่ประกอบด้วยพันธมิตรของทักษิณ อาจเป็นไปได้ที่กองทัพจะยอมรับการกลับประเทศไทยของทักษิณในที่สุด หากเขาสามารถสัญญาว่าจะอยู่ร่วมกับพวกเขาได้อย่างปรองดอง

แน่นอนว่า สถานการณ์ของไทยนั้น จะไม่สามารถย้อนกลับไปสู่การเมืองแบบเก่าของไทยได้อีกต่อไปแล้วในยุคก่อนทักษิณที่ชนชั้นนำในกรุงเทพมีอำนาจผูกขาด ประเทศไทยจะเดินต่อไปตามเส้นทางที่ทักษิณนำพาประเทศไปเป็นครั้งแรก ช่องว่างของมาตรฐานการครองชีพทั่วประเทศจะแคบลง ชาวนาจำนวนมากจะถูกยกขึ้นเป็นชนชั้นกลางและจะช่วยขับเคลื่อนการบริโภคภายในประเทศ ประเทศไทยจะทำได้ดีในท้ายที่สุด

ต้องขอออกตัวก่อนว่า หนังสือเล่มนี้ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งอาจจะไม่ได้อัพเดทสถานการณ์การเมืองมาจวบจนถึงปัจจุบันนัก แต่ก็เห็นภาพใหญ่ ที่เขามองประเทศไทย จากอดีตผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของสิงค์โปร์อย่าง ลี กวน ยู นั้นมองมายังประเทศเรา ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจ และน่าคิด เป็นอย่างยิ่งครับผม

References : หนังสือ One Man’s View of the World by Lee Kuan Yew
https://www.asiaone.com/singapore/lee-kuan-yews-world-views-new-book

เมื่อยิ่งลักษณ์ยังต้องหนี

ไม่ค่อยเขียนเรื่องการเมืองเท่าไหร่ แต่ประเด็นที่โด่งดังในวันนี้ ในเรื่อง อดีตนายก ยิ่งลักษณ์ ที่มีข่าวหลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว ไม่มาฟังคำตัดสินของศาล โดยอ้าง ป่วย “น้ำในหูไม่เท่ากัน” นั้นก็อดที่จะเขียนถึงไม่ได้

ผมเป็นคนหนึ่งที่ติดตามข่าวการเมืองมาพอสมควร และไม่ค่อยออกความเห็นผ่านโลก social ในเรื่องการเมืองซักเท่าไหร่ เนื่องจากในโลก social นั้นหากออกความคิดเห็นใด ไปแล้วสาวกฝั่งนั้นไม่พอใจ ก็มักจะถูกถีบออกไปฝั่งตรงกันข้ามแทบจะทันที ซึ่งเราจะเห็นได้จากคนดังใน social หลายคน ที่ไม่สามารถที่จะออกความเห็นที่เป็นกลางทางการเมืองได้จริง ๆ เลย เพราะมักจะมองจากอีกฝั่งหนึ่งที่เสียประโยชน์ ว่าเป็นฝั่งตรงข้ามเสมอ

ความเชื่อส่วนตัวนั้นเชื่อว่าไม่มีประเทศไหนที่มีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ดังอุดมคติ อยู่แล้ว มันมักจะถูกปรับไปตามวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงความเชื่อเรื่องต่าง ๆ ของประเทศนั้น ๆ  และยิ่งพูดถึงเรื่องการคอร์รัปชั่นแล้วนั้น ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่เชื่อเลยว่าประเทศที่มีประชาธิปไตยสูงส่งอย่าง อเมริกา หรือ อังกฤษ ที่หลาย ๆ ประเทศยึดถือเป็นต้นแบบนั้น จะไม่มีการคอรัปชั่น

ส่วนตัวมองว่าสิ่งที่หลาย ๆ คนพูดเรื่องในอุดมคติ อย่างเรื่องการปลอดการคอร์รัปชั่นนั้น มันไม่มีจริง ๆ ในโลกใบนี้หรอก แม้กระทั่งอเมริกาเองก็ตาม ผมเชื่อว่า การได้มาซึ่งอำนาจ โดยเฉพาะ อำนาจทางการเมืองนั้น ทำให้คนสามารถเปลี่ยนได้ แม้ว่าจะเป็นคนดีแค่ไหน แต่อำนาจที่หอมหวนนั้น ก็อาจทำให้คนเปลี่ยนได้ ในอเมริกา เราอาจจะไม่เห็นการคอรัปชั่นกันตรง ๆ แต่ เค้าอาจจะมาในรูปแบบของ ล๊อบบี้ยิสต์ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่ลงตัวกันของแต่ละฝ่าย ซึ่งมองไปลึก ๆ แล้วนั้น มันก็ไม่ต่างจากการคอรัปชั่นตรงไหนเลย ซึ่งผลประโยชน์ที่ว่านั้น อาจจะมหาศาลกว่า ที่ประเทศไทยเราเสียหายจากคอรัปชั่นไปเสียอีกก็เป็นได้

กลับเข้ามาที่เรื่องของนายกยิ่งลักษณ์ ต้องยอมรับว่าตอนที่แกเข้ามาเป็นนายกนั้น ต้องยกให้ทีมที่ออกแคมเปญในด้านนโยบายให้กับพรรคจริง ๆ เพราะถ้ามองจริง ๆ นั้น แทบจะทุกชั้นชั้นในประเทศไทย จะได้ผลประโยชน์จากนโยบายของพรรคเพื่อไทย ทั้ง นโยบายจำนำข้าวที่มอบให้ชาวรากหญ้า นโยบายขึ้นค่าแรงสำหรับแรงงาน นโยบายรถคันแรกสำหรับคนที่ทำงานใหม่ ๆ ต้องการมีรถ หรือ นโยบายบ้านหลักแรก ไปโดนใจกลุ่มคนมีอายุขึ้นมาหน่อยที่พร้อมจะมีบ้าน  เป็นการหว่านนโยบาย แบบทั่วถึง ซึ่งถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ ที่ประเทศเราไม่ได้รับมานาน เพราะแทบจะทุกชนชั้น ได้ประโยชน์ จากภาษีที่เราเสียไป ไม่ใช่ไปเอาใจแต่คนจน หรือ ทำเพื่อคนรวยอย่างเดียว

แต่การนำนโยบายไปใช้จริง ๆ นั้นก็พบว่ามีปัญหามากมาย มีเพียงไม่กี่นโยบายที่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถึงประชาชนจริง ๆ และด้วยความยากในการนำนโยบายไปใช้เช่น การจำนำข้าว ก็พบกับปัญหามากมาย รวมถึงการทุจริตต่าง ๆ ซึ่งก็คงมีมาแทบทุกยุคทุกสมัยอยู่แล้ว แต่เนื่องด้วยตัวเลขจำนวนเงินมันค่อนข้างมาก เลยทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศมาก จึงทำให้คนไม่พอใจก็มากอยู่ เพราะมันกระทบกับภาษีที่ทุกคนเสียไป เลยเป็นปัญหาคาราคาซัง มาจนถึงวันนี้ ที่รัฐบาลคสช. เข้ามาบริหารประเทศ และ มีการเอาผิดกับโครงการต่าง ๆ ที่มีปัญหา

ซึ่งโครงการรับจำนำข้าวนั้นก็โดนไปเต็ม ๆ กับเรื่องนี้ มีผู้ที่เกี่ยวข้องมากมาย ทั้ง รัฐมนตรี ข้าราชการระดับสูงหลายคน รวมถึงพ่อค้าข้าว ก็โดนไปด้วย หากเราได้ติดตามมาตลอดกับเรื่องนี้ เราก็จะไม่สงสัยในการตัดสินของศาลวันนี้เลย หากเรามองให้เป็นกลางมาก ๆ ถึงแม้จะยาก แต่หากพิจารณารายละเอียดคดี มาตั้งแต่ที่มีการยื่นไม่ไว้วางใจรัฐบาลแล้วนั้น จะเห็นได้ว่า โครงการนี้ เป็นโครงการที่มีการคอรัปชั่นแบบน่าเกลียดมาก ๆ ผมไม่สงสัยกับคำตัดสินของศาลเลย ที่แต่ละคนโดนโทษจำคุกกันยาวหลาย ๆ ปีแทบจะทุกคน ซึ่งทีมงานของนายก ยิ่งลักษณ์ก็คงพิจารณากันถี่ถ้วนแล้วกับเรื่องนี้ว่า ยังไงก็แพ้ จึงชิงหนีไปก่อนดีกว่า ปล่อยให้ ลูกน้องรับกรรมไปแทน ซึ่งทำให้ท่านอาจจะหมดอนาคตทางการเมืองไปเลย และไม่ได้รับการนับถืออีกต่อไปจากลูกน้องที่ต้องมารับกรรมแทนลูกพี่ ที่ชิงหนีไปก่อนแบบนี้

ผมมองว่าการตัดสินครั้งนี้ เป็นบรรทัดฐานใหม่ ทำให้นักการเมืองนั้นเกรงกลัวต่อการคอรัปชั่นมากขึ้น ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี เหมือนการเขียนเสือให้วัวกลัวไว้ ต่อไปในอนาคต คงไม่กล้าทำอะไรแบบน่าเกลียดแบบนี้อีก ไม่ใช่ว่านโยบายจำนำข้าว เป็นสิ่งไม่ดี แต่การควบคุมไม่ให้เกิดการคอรัปชั่นนั้นผมมองว่า ท่านอดีตนายก บริหารได้ไม่มีประสิทธิภาพ ยิ่งเงินเป็นจำนวนมากขนาดนี้ ควรจะทำอะไรให้ละเอียดถี่ถ้วนกว่านี้ พูดแล้วก้เสียดายนโยบายดี ๆ หลายอย่างต้องมาพังเพราะ จำนำข้าว เจ้ากรรมนี่แหละ

Ref Image : manager.co.th

Book Review : คิดแบบ ลี กวน ยู

 

ถือเป็นหนังสือเล่มเล็กที่เปี่ยมไปด้วยเนื้อหาสรุปเรื่องราวความเป็นมาของประเทศสิงคโปร์ได้ดีทีเดียวสำหรับหนังสือ คิดแบบ ลี กวน ยู ของสำนักพิมพ์ แสงดาว

ความจริงแนวคิดการพัฒนาแบบสิงคโปร์นั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมาก สำหรับประเทศที่มีขนาดเล็กและแทบไม่มีทรัพยากรใด ๆ เลยอย่างประเทศสิงคโปร์ ลี กวน ยู นั้นถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศสิงคโปร์อย่างมากตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้งประเทศสิงค์โปร์ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

เราลองมองย้อนกลับไปในยุคหลังสงครามโลกใหม่ๆ  ตอนนั้นถือว่าประเทศไทยเรานั้นยังเจริญกว่าสิงคโปร์มาก ๆ แถมเราก็ไม่ได้เป็นประเทศแพ้สงครามเสียทีเดียว บ้านเมืองเราก็ไม่ได้เสียหายอะไรมากถ้าเทียบกับเพื่อนบ้านเราที่ใช้เป็นเขตสู้รบซะส่วนใหญ่ ในตอนแรกนั้น สิงคโปร์เป็นเพียงแค่สหพันธรัฐหนึ่งของมาเลเซียเท่านั้น หลังจากรวมได้ไม่นาน ลี กวน ยูก็ต้องแยกออกเป็นประเทศอิสระ ซึ่งตอนนั้นเขาก็ไม่ได้อยากจะแยกจากมาเลเซีย เสียทีเดียว เนื่องจาก ประเทศสิงคโปร์ นั้นแทบจะไม่มีอะไรเลยทั้งทรัพยากรธรรมชาติ และ ทรัพยากรมนุษย์ ยังต้องพึ่งพาน้ำสะอาดจากมาเลเซียเสียด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากความแตกต่างทางชาติพันธุ์มาก เนื่องจากส่วนใหญ่คนในเกาะสิงคโปร์นั้นเป็นชาวจีนอพยพ จึงมีวัฒนธรรมที่แตกต่างจาก มาเลเซีย ซึ่งเป็นชาวมุสลิม เสียเป็นส่วนใหญ่ทำให้อยู่ร่วมกันได้ยาก

หลังจากแยกออกมาเต็มตั้วนั้น แนวคิดหลักของ ลี กวน ยู ก็คือสร้างชาติใหม่ โดยเน้นเปิดรับการลงทันจากต่างชาติ และเนื่องจาก ที่ตั้งของสิงคโปร์นั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการเดินเรือที่สำคัญทำให้ เป็นข้อได้เปรียบเพียงข้อเดียวของสิงคโปร์ในขณะนั้น ที่จะทำให้เขาสร้างชาติขึ้นมาได้

ลี กวน ยู นั้นค่อนข้างจะเป็นผู้นำแบบแนวเผด็จการ โดยรวบอำนาจทั้งหมดไว้ และ ทำลายคู่แข่งด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ถือเป็นกลยุทธ หนึ่งที่ใช้ในการบริหารประเทศ เพราะมีนโยบายการพัฒนาระยะยาวที่ชัดเจนไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เมื่อเปลี่ยนผู้นำเหมือนหลายประเทศ และประชาชนก็มีชีวิต กินดีอยู่ดีขึ้นทำให้เลือกเขากลับมาทุกครั้งเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ และในสภานั้นก็มีอำนาจแทบจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

แนวทางในการบริหารนั้นเน้นพัฒนาคุณภาพของคนเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานของการพัฒนาสิงคโปร์มาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ และเน้นการลงทุนโดยภาครัฐ ทั้งหมดผ่านกองทุนของประเทศอย่าง Government of Singapore Investment  Corporation ( GIC ) โดยลงทุนในหลาย ๆ ธุรกิจที่สำคัญอย่าง ธุรกิจการบิน ธนาคาร การลงทุน การเดินเรือ หรือ ทางด้านการแพทย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ลี กวน ยู เน้นการพัฒนาด้านการค้าการลุงทุน มีการจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงิน เพื่อรองรับการเป็น hub ทางด้านการเงินของภูมิภาคนี้

ถ้าเปรียบกับประเทศไทยนั้นก็จะคล้ายกับในยุคของ นายก ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี จะเห็นได้ว่าเขาได้พยายามควบคุมอำนาจทุกอย่างไว้ และ บริหารแบบแนวเผด็จการ ซึ่งก็ไม่ต่างจากนาย ลี กวน ยูที่บริหารสิงคโปร์ ซึ่งผมมองว่า ถ้าเราบริหารประเทศไปด้วยแนวทางเดียวกันโดยใช้เวลาในช่วงเวลาหนึ่งนั้น ก็จะมีผลต่อการเติบโตของไทยเช่นเดียวกับการบริหารแบบสิงคโปร์ ซึ่งก็น่าคิดเหมือนกันว่า ถ้าหากนายก ทักษิณ นั้นได้บริหารประเทศมาต่อซัก 10-20 ปีนั้น ประเทศเราก็มีโอกาสที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วได้แบบสิงคโปร์หรือไม่ ซึ่งแนวคิดแบบนี้นั้นก็ work ในหลายประเทศ และก็ไม่ work ในหลายประเทศเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูงก็จะมีคนต่อต้านมากมายรวมถึงมีโอกาสที่ขัดกับผลประโยชน์กับบางกลุ่มได้เช่นเดียวกับในประเทศไทย

สุดท้ายหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ให้แนวคิดในการบริหารประเทศแบบเดียวกับสิงคโปร์ถึงจะมีเนื้อหาไม่มากนัก แต่ก็พอที่จะสรุปภาพรวมทั้งหมดของแนวคิดของลีกวนยูได้ ซึ่งก็แนะนำให้หามาอ่านเป็นอย่างยิ่งครับ

เก็บตกจากหนังสือ 

  • แนวความคิดแบบประชาธิปไตย แบบ กึ่งเผด็จการนั้น ในระยะสั้นเราอาจจะไม่เห็นภาพ แต่ถ้ามองในระยะยาวก็อาจจะ work ในการบริหารกับบางประเทศเช่นสิงคโปร์
  • ประเทศสิงคโปร์นั้น มีอายุเพียงแค่ 60 กว่าปีเท่านั้น แต่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ซึ่ง ก็มีโอกาสกับประเทศไทยเหมือนกัน ถ้าเดินเครื่องติด มันก็จะมีพลังงานในการขับเคลือนเศรษฐกิจไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและใช้เวลาเพียงไม่กี่สิบปี ในการก้าวขึ้นไปเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ได้เช่นเดียวกัน
  • ประเทศสิงคโปร์นั้นเน้นการพัฒนาคน โดยเน้นทางด้านการศึกษาเป็นอันดับแรกทำให้ผู้คนมีความรู้สูงและส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างดีเยี่ยมทำให้ไม่เป็นอุปสรรคในการติดต่อกับต่างชาติ

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage : facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit : blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter : twitter.com/tharadhol
Instragram : instragram.com/tharadhol