ทำไมรัฐบาลต้องแจกเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

เราจะเห็นได้ว่าในหลาย ๆ ครั้งที่ประเทศเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ เกิดวิกฤติด้านเศรษฐกิจ นโยบายอย่างนึง ที่หลาย ๆ ประเทศนำมาใช้นั้นก็คือการแจกเงิน หรือ “Stimulus Checks” ที่ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาก็เคยใช้มาแล้วในวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008

ซึ่งแน่นอนว่า นโยบายเหล่านี้ หลาย ๆ คนอาจจะก่นด่ารัฐบาล ว่าทำไปเพื่ออะไร ในภาวะเศรษฐกิจดิ่งเหวขนาดนี้ หรือ รัฐบาลรวยนักหรือ ที่มาไล่แจกเงินตอนนี้ หรือ ทำไมข่าวนึงแจกเงิน ข่าวนึงขอรับบริจาค ตามที่เราได้เห็นในหน้าข่าวในปัจจุบัน

แต่เราต้องแยกประเด็นกันก่อน เพราะนโยบาย การแจกเงิน นั้น ถือเป็นนโยบายหนึ่งที่มีการใช้ในหลาย ๆ ประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งผมคิดว่า นโยบายก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลทำอย่าง ชิม ช็อป ใช้ นั้น ก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดีเลยทีเดียว ทำให้เงินมาหมนุเวียนในเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

และ ประเทศเราไม่ใช่เป็นเพียงประเทศเดียวที่ใช้นโยบายเหล่านี้ เพราะเค้าก็ใช้กันหลายประเทศ ซึ่งเป็นวิธีการที่เร็วที่สุด และเห็นผลชัดเจนที่สุดในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในหลาย ๆ ครั้ง แต่ภาพลักษณ์ของนโยบายนี้มักจะติดลบเนื่องจากดูเหมือนเป็นการนำเงินภาษีมาผลาญ ทำให้ทุกคนต่างมองในแง่ลบ

ตัวอย่างของ Stimulus Check ที่รัฐบาลอเมริกาใช้ในวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ โดยใช้เช็คกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเช็คที่ส่งไปยังผู้เสียภาษีโดยรัฐบาลสหรัฐฯ โดยเช็คกระตุ้นเศรษฐกิจมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยให้ผู้บริโภคใช้จ่ายเงินบางส่วน เมื่อผู้เสียภาษีใช้จ่ายเงินจำนวนนี้จะช่วยกระตุ้นการบริโภคและสร้างรายได้ให้กับผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตและกระตุ้นเศรษฐกิจนั่นเอง

การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรงหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2008

รัฐบาลได้ส่งเช็คในปี 2009 แก่ผู้ที่มีรายได้อย่างน้อย 3,000 เหรียญสหรัฐหรือรวมกับสิทธิประโยชน์ประกันสังคมสวัสดิการ ทหารผ่านศึก สวัสดิการเกษียณอายุรถไฟ

มาตรการแจกเงินเหล่านี้มันส่งผลกระทบอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจ ?

หนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ รายงานจากการศึกษา 6 ใน 9 การวิจัยเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว สรุปได้ว่า ” Stimulus Check มีแรงกระตุ้นที่มีนัยสำคัญผลบวกต่อการจ้างงานและการเจริญเติบโตและ อีก 3 งานวิจัยที่เหลือ พบว่าผลที่ได้มีขนาดเล็กมากหรือเป็นไปไม่ได้ในการตรวจสอบ.”

สำนักงบประมาณรัฐสภาสหรัฐ พบบว่า การตรวจสอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมกับมาตรการอื่น ๆ ในการก้าวสู่เศรษฐกิจที่มีในปี 2011 สร้างงานใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น 1.6 – 4.6 ล้านงาน มีอัตราการเพิ่มขึ้นของ GDP ที่ระหว่าง 1.1 – 3.1% และลดการว่างงานโดยระหว่าง 0.6 และ 1.8 เปอร์เซ็นต์

นักวิจารณ์ยืนยันว่าการกระตุ้นจะเพิ่มการขาดดุล 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นการเปลี่ยนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นต่อไป หลังจากออกนโยบายดังกล่าว

การศึกษาของ Mercatus ได้ชี้ไปที่อัตราการว่างงานซึ่งเพิ่มขึ้นแม้จะมีการดำเนินการตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหลักฐานว่าการตรวจสอบการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ประสบผลสำเร็จในช่วงเศรษฐกิจถดถอยในปี 2008 จากการศึกษาพบว่าระยะเวลาเฉลี่ยของการว่างงานสูงถึง 25.5 สัปดาห์ในเดือนมิถุนายน 2010 หลังจากเฉลี่ย 7.2 สัปดาห์ตั้งแต่ปี 1967 ถึง 2008

ส่วนคนอื่น ๆ เช่น Paul Krugman ได้โต้แย้งว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (และการขยายจำนวนเช็ค) เป็นจำนวนเงินที่น้อยเกินไปที่จะมีประสิทธิภาพ

ซึ่งจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า นโยบายการแจกเงิน นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่เร็วที่สุด ที่ออกมาหลายๆ ครั้งในหลายๆ ประเทศซึ่งความเห็นส่วนตัวผมก็เชื่อว่านโยบาย ชิม ช็อป ใช้ เมื่อปีที่แล้วนั้นถือเป็นอีกนโยบายหนึ่ง ที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้มีประสิทธิภาพ​

และด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Big Data นั้น ผมก็คิดว่ารัฐบาลน่าจะเห็นผลสำเร็จบางอย่างจากข้อมูลจาก นโยบาย รูปแบบนี้ ซึ่งคงไม่คิดจะใช้มันอีกครั้ง ให้โดนด่าแน่ๆ ถ้ามันไม่ได้ผลที่ดีออกมาจริงๆ

และปัจจัยสำคัญอีกอย่างนึงก็คือ การวาง infrastructure พื้นฐานทางด้านการเงินอย่าง promptpay ทำให้นโยบายการแจกเงินแบบนี้ทำได้แม่นยำ ตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับการแจกเงินในรัฐบาลก่อนๆ แม้จะไม่ 100% ก็ตามทีซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก

แต่สิ่งที่ต้องคำนึงที่สุดก็คือ การตรวจสอบผลที่ได้รับจากนโยบายเหล่านี้นั้น มันคุ้มค่ากับเงินที่หว่านลงไปหรือไม่ นั่นคือ คำตอบที่เราต้องค้นหากัน แต่นโยบายการแจกเงินไม่ได้เป็นนโยบายที่แปลกประหลาดหรือสิ้นคิด พิศดารแต่อย่างใด มันเป็นนโยบายหนึ่งที่ใช้กันอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งบางครั้งก็ได้ผลดี บางครั้งก็ได้ผลที่แย่ เหมือนในหลาย ๆ นโยบายที่รัฐบาลออกมานั่นเองครับผม

ข้อมูลน่าสนใจเพิ่มเติม :

ฮ่องกง ‘แจกเงินสด’ สู้พิษเศรษฐกิจหลัง ‘โควิด-19’

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/868048

References : https://www.thebalance.com/stimulus-checks-3305750 https://www.investopedia.com/terms/s/stimulus-check.asp https://en.wikipedia.org/wiki/Direct_Payments https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/597505