เมื่อสถิติบอกว่า แนวโน้ม มลพิษทางอากาศของกรุงเทพกำลังลดลง

ขึ้นหัวข้อมาคิดว่าหลาย ๆ คนอาจจะงงกับหัวข้อที่ผมจะเขียนในวันนี้ เมื่อพิจารณาจากปัญหามลพิษทางอากาศ PM 2.5 ที่กำลังโจมตีกรุงเทพของเราอย่างหนัก และมีรายงานข่าวมาอย่างต่อเนื่องถึงวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ซึ่งเรียกได้ว่ามีการโหมกระแสกันอย่างต่อเนื่องสำหรับปัญหา PM 2.5 ในประเทศไทย ที่ดูเหมือนจะไม่ได้รับการแก้ไขเสียทางจากทุกภาคส่วน และดูปัญหามันจะทวีความรุนแรงยิ่ง ๆ ขึ้น

แต่วันนี้ผมมีข้อมูลที่น่าสนใจอย่างนึงที่ถือเป็นข้อมูลในอีกแง่มุมหนึ่ง ที่น่าสนใจมาก ๆ ซึ่งนั่นก็คือ ค่าเฉลี่ยของฝุ่น PM2.5 ของเมืองหลวงของประเทศไทย ในปี 2017 – 2018 นั้นบอกอะไรเราได้บ้าง?

คราวนี้เราลองมาไล่ดูกันว่า ต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริงมันมาจากไหนกันแน่ ซึ่งเมื่อลองมองดูเมืองที่มีมลพิษเฉลี่ยมากที่สุด เรียกได้ว่า อากาศแย่สุด ๆ ของเมืองไทยนั้น คือ เมืองสมุทรสาคร (ข้อมูล chart จาก references ด้านล่าง)

และเมื่อเทียบกับอันดับต้น ๆ จาก chart จะพบว่า ล้วนเป็นเมืองที่เป็นฐานการผลิตของอุตสากรรมแทบจะทั้งสิ้น ซึ่งคล้าย ๆ กับ สมุทรสาคร ที่ติดอันดับที่ 223 ด้วยความที่มีโรงงานจำนวนมากและปล่อยมลพิษออกมาเป็นจำนวนมากซึ่งมันไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเป็นเมืองที่อากาศแย่ที่สุดในไทยโดยเฉลี่ย

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดที่แสดงความสัมพันธ์ของเขตอุตสาหกรรมกับปัญหา PM 2.5 นั้น ก็คือเมืองในแถบยุโรปตะวันออกที่เป็นฐานการผลิตแหล่งใหญ่ของยุโรป ตัวอย่างเช่น เมือง dolni lutyne ของสาธารณรัฐ เชก ที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ติดอันดับมลพิษสูงในระดับต้น ๆ ของยุโรป เช่นเดียวกับหลาย ๆ เมืองในประเทศจีน อินเดีย ซึ่งล้วนแล้วแต่เห็นความสัมพันธ์ว่าเมืองใดที่มีปัญหามลพิษทางอากาศสูงนั้นจะเป็นเมืองที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมแทบจะทั้งสิ้น

ส่วนไทยนั้น ก็จะเห็นได้ชัดว่าเมืองที่ติดอันดับต้น ๆ นั้น เป็นเมืองอุตสาหกรรมทั้งนั้น ไมว่าจะเป็น สมุทรสาคร สมุทรปราการ ชลบุรี หรือ นครราชสีมาที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย

กรุงเทพที่มาอันดับ 498 ใกล้เคียงกับ Modena ของ Italy
กรุงเทพที่มาอันดับ 498 ใกล้เคียงกับ Modena ของ Italy

ส่วนกรุงเทพ เมื่อมามองตัวเลขโดยเฉลี่ย กลายเป็นเมืองที่อากาศดีเลยด้วยซ้ำ หากคิดโดยเฉลี่ยในเมื่อเทียบกับเมืองต่าง ๆ ทั่วเอเชีย มลพิษของกรุงเทพยังใกล้เคียง เมืองในประเทศยุโรปอย่าง Modena ของประเทศ อิตาลี เ หากมาคิดค่าเฉลี่ยจริง ๆ เพราะติดอันดับที่ 498 โน่นเลย สำหรับกรุงเทพ

เราไม่ควรมองจีนเป็น Role Model ในการแก้ปัญหาเรื่อง PM2.5

จะเห็นได้ชัดเจนว่าจาก chart ในตัวอย่างท้ายบทความนั้น พบว่า จีนติดอันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลกใน 400 อันดับแรก เรียกได้ว่า จีน ครองอันดับไปกว่าครึ่ง รวมถึงอินเดียเองด้วย

และปัญหานี้ มันไม่ได้เพิ่งเกิด มันเกิดมานานแล้ว และตอนนี้ จีน ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ และดูเหมือนว่าจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นตามการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศจีน

เราจะเห็นข่าวการจะแก้ไขปัญหานี้ของจีน ตั้งแต่การจัด olympic ปี 2008 แล้ว ที่จีนคิดจะแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ก็แก้ไม่ได้สามารถซึ่งเมื่อเราพิจารณษข้อมูล AQI แบบ Realtime ในปัจจุบัน ในประเทศจีน ระดับของมลพิษนั้นสูงกว่าไทยเยอะมาก และอยู่ในระดับร้ายแรงเลยด้วยซ้ำในบางเมือง ซึ่งถือเป็นระดับที่อันตรายมาก ๆ

จีนที่ปัญหามลพิษเลวร้ายขั้นสุด ที่ยังไม่มีวี่แววแก้ปัญหานี้ได้เลย
จีนที่ปัญหามลพิษเลวร้ายขั้นสุด ที่ยังไม่มีวี่แววแก้ปัญหานี้ได้เลย

ซึ่งสาเหตุหลักก็แน่นอนว่า จีนมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ทำให้ตอนนี้แทบจะกลายเป็นโรงงานของโลก ซึ่งแน่นอนว่าจีนต้องแลกกับมลพิษทางอากาศอย่างที่เราได้เห็น ซึ่งหากจีนยังต้องการเติบโตในระดับนี้ต่อไป ปัญหามลพิษของจีนก็ดูเหมือนไม่มีวี่แววที่จะแก้ไขได้ในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน ยกเว้นข่าว PR ที่เราเห็นออกมาจากหน้าสื่อที่เหมือนว่าเขาแก้ปัญหานี้ได้

การแก้ปัญหาที่ถูกจุดที่สุด

แน่นอนว่าแทนที่จะเดินรอยตามประเทศจีน เหมือนที่หลาย ๆ สื่อหลายช่องทางพยายามนำเสนอ ประเทศเราควรที่จะเดินตามรอยประเทศที่แก้ปัญหานี้สำเร็จไปแล้ว ดูจะเป็นเรื่องสมเหตุสมผลกว่า นั่นก็คือ ประเทศอเมริกา , ยุโรป หรือ ญี่ปุ่น

ถ้าดูจากสีจะพบว่าประเทศที่ไม่มีปัญหานี้จริง ๆ คือ อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรีย มากกว่าจะเป็นจีน
ถ้าดูจากแผนที่โลกจะพบว่าประเทศที่แทบจะไม่มีปัญหานี้จริง ๆ คือ อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น มากกว่าจะเป็นจีน

แน่นอนว่าผมเป็นอีกหนึ่งคนที่เห็นด้วยว่ารัฐบาลควรจะมีนโยบายจัดการเรื่องนี้ออกมาเพราะปัญหามันดูไม่มีทีท่าว่าจะแก้ได้ในเร็ววัน แต่ผมมองว่ามันคงเป็นการแก้ไขปัญหาได้แค่ปัญหาเฉพาะหน้าเพียงเท่านั้น

ซึ่งตัวเลขค่ามลพิษที่สูงมากในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง อย่างที่เราเจอในตอนนี้นั้น ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และ มันก็เกิดจากหลายปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องไฟป่า เรื่องของมลพิษของรถยนต์ หรือ เรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย และที่สำคัญมันอาจจะไม่ได้เกิดจากสิ่งที่เราสร้างมาเอง 100% เช่น การเผาไฟในกัมพูชา อาจจะส่งผลกระทบต่อมลพิษในไทยได้เช่นกัน หรือ การเผาป่าในอินโดนีเซีย ที่ทำให้ภาคใต้ของเรารับมลพิษเข้าไปเต็ม ๆ อย่างที่เราเห็นกันในทุกปีนั่นเอง เพราะฉะนั้น มันไม่ใช่ปัญหาเฉพาะบุคคล เฉพาะประเทศ แต่มันเป็นปัญหาร่วมกันของคนทั้งโลกต่างหาก

ซึ่งตัวเลขค่าเฉลี่ยตลอดปีจากข้อมูลที่ผมได้เสนอในบทความนี้นั้น แม้มันจะเป็นช่วงปี 2017-2018 ก็ตาม แต่มันก็เป็นข้อมูลอีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะมันได้บอกถึง ต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริงว่า มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นบนโลกนั้น มันเกิดจากอะไรกันแน่ ซึ่งจากตัวเลขเฉลี่ย อย่างที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ก็พอจะเป็นหลักฐานเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งอุตสาหกรรม กับ ปัญหามลพิษทางอากาศ

แน่นอนว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ มันต้องแลกกับ มลพิษที่เพิ่มขึ้นอย่างที่จีนทำ ทางแก้ของอเมริกา , ยุโรป หรือ ญี่ปุ่น ก็คือ ย้ายฐานการผลิตมาต่างประเทศให้หมด โดยเฉพาะประเทศที่อ้าแขนรับมากที่สุดนั่นก็คือประเทศจีนนั่นเอง สุดท้ายมันเลยมาสร้างมลพิษที่จีนแทน เป็นการจบปัญหาจากประเทศต้นทางได้สำเร็จ

ซึ่งหากไทยคิดจะแก้ปัญหานี้จริง ๆ จัง ๆ ก็คงต้องนำอุตสาหกรรมของไทย ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หรือ ไปให้ไกล ๆ จากประเทศไทยน่าจะเป็นคำตอบที่ถูกจุดที่สุดในการแก้ปัญหาเรื่อง PM2.5 ได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

แต่แน่นอนว่า มันคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเรายังอาศัยอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นเครื่องจักรที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศอยู่ แต่สุดท้าย วิธีการนี้ มันก็เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุดที่สุด และเด็ดขาดที่สุด เหมือนที่ อเมริกา , ยุโรป หรือ ญี่ปุ่น ทำได้สำเร็จนั่นเองครับ

References : https://www.airvisual.com/world-most-polluted-cities?page=1&perPage=50&cities=&fbclid=IwAR2XjgxabjHcTw51r0tsZP9denj0xMhelQgtekklbg3ocVqOUvCIeJrYLno

แค่นี้ขี้ประติ๋ว สีจิ้นผิง ประกาศกร้าว ศึกนี้พร้อมสู้กันอีกนาน

เนื่องจากข้อพิพาททางการค้าทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเปรียบย้อนไปในภาพยนตร์จีนแบบคลาสสิกที่เกี่ยวกับ “สงครามต่อต้านอเมริกาและช่วยเหลือชาวเกาหลี” ของสงครามเกาหลีในปี 1950 ซึ่งเป็นสงครามที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีของชาวจีน

นี่เป็นหนึ่งในสัญญาณหลายอย่างในประเทศจีนที่บ่งบอกถึงสิ่งที่นักวิเคราะห์เชื่อว่าตอนนี้จะเป็นข้อขัดแย้งทางการค้าที่ยืดเยื้อกับสหรัฐ และทางจีนเต็มใจที่จะยอมรับ  เงื่อนไขที่โดนัลด์ทรัมป์เรียกร้องเพื่อยุติการทะเลาะวิวาทกันทางการค้าที่มีมากว่า 2 ปี

สีจิ้นผิง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ และผู้นำสูงสุดของจีน กำลังเตรียมการที่จะนำประเทศของเขาสู่ความขัดแย้งทางการค้าที่เต็มไปด้วยขุมทรัพย์พลังงานและความเกี่ยวข้องกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เช่น เดียวกับเมื่อคราวที่เหมาเจ๋อตงส่ง “อาสาสมัคร” ของจีนไปสู้รบกับกองกำลังสหรัฐในช่วงสงครามเกาหลีในช่วงปี 1950 เป็นเวลากว่าสี่ปี 

เช่นเดียวกับการตัดสินใจของเหมาเพื่อเข้าสู่ความขัดแย้งของเกาหลี เมื่อหกสิบปีก่อนกองทหารที่มีอาวุธที่ไร้ประสิทธิภาพของเหมาต้องเผชิญกับกองกำลังทหารอเมริกันที่เหนือกว่าในเรื่องเทคโนโลยีในสงครามเกาหลี 

ทุกวันนี้เศรษฐกิจของจีนขึ้นอยู่กับการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามากกว่าสหรัฐอเมริกาที่จะส่งออกไปยังประเทศจีน หลังจาก 30 ปีของการเติบโตใกล้ตัวเลขสองหลักจนเศรษฐกิจของจีนก้าวขึ้นมาจนใหญ่เป็นอันดับสองของโลก

แต่ในขณะที่กองกำลังจีนที่กำลังจนตรอกต่อสู้กับสหรัฐในสงครามเกาหลีในท้ายที่สุด ทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับกองกำลังติดอาวุธของอเมริกา

ทหารจีนที่ส่งไปช่วยรบในสงครามเกาหลี ต้องล้มตายเป็นจำนวนมากด้วยเทคโนโลยีที่เหนือกว่าของสหรัฐ
ทหารจีนที่ส่งไปช่วยรบในสงครามเกาหลี ต้องล้มตายเป็นจำนวนมากด้วยเทคโนโลยีที่เหนือกว่าของสหรัฐ

แต่ในศึก Trade War ครั้งนี้ สีจิ้นผิง แสดงให้เห็นว่าเขาสามารถควบคุมการต่อสู้ในศึกครั้งนี้ให้สามารถประสบความสำเร็จได้ และ กองกำลังจากจีนจะไม่มีทางซ้ำรอยเดิมในเหตุการณ์สงครามเกาหลี อย่างแน่นอน

โดยเจ้าหน้าที่จีนเชื่อว่าพวกเขามีข้อได้เปรียบที่แตกต่างกันสองอย่างเมื่อเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้ามในช่วงสงครามการค้า สิ่งแรกคือ การควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จ ที่ สีจิ้นผิงนั้น ต้องการเพียงแค่นิ้วมือของเขาและรัฐบาลที่ควบคุมโดยพรรค, ฝ่ายนิติบัญญัติ, สื่อและระบบธนาคารของจีน ซึ่งเขาควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จ ต่างจากทรัมป์ ที่สามารถควบคุมได้แค่ใน Twitter ของเขาเพียงเท่านั้น

สีจิ้นผิง นั้นสามารถควบคุมทุกอย่างในประเทศจีนได้แบบเบ็ดเสร็จเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญ
สีจิ้นผิง นั้นสามารถควบคุมทุกอย่างในประเทศจีนได้แบบเบ็ดเสร็จเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญ

พรรคคอมมิวนิสต์จีนมี “ทีมชาติ” ของนายหน้าธนาคารและ บริษัท ยักษ์ใหญ่ในการจัดการเพื่อ “ซื้อ” แบบทุ่มตลาดในจีนเมื่อมีความจำเป็น เมื่อดัชนีคอมโพสิตเซี่ยงไฮ้ร่วงลงเกือบ 6% มาอยู่ที่ 2,906 จุดในวันนี้หลังจากการเพิ่มขึ้นของสงครามการค้าครั้งล่าสุดของนายทรัมป์ การตอบสนองของรัฐบาลจีนโดยเหล่าทีมชาติของพวกเขาสามารถเสก ให้วันรุ่งขึ้น ดัชนีคอมโพสิตเซี่ยงไฮ้ ดีดตัวขึ้นได้ทันที เพราะพวกเขาพร้อมจะรบในศึกนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

ข้อได้เปรียบที่สองของ สีจิ้นผิง คือความรู้สึกเดือดดาลในอดีตที่เกี่ยวข้องกับความไม่พอใจในอดีตต่ออำนาจจากต่างประเทศที่ก่อนหน้านี้เขามองว่าจีนนั้น “ถูกกลั่นแกล้ง” และ “ถูกทำให้ดูต่ำต้อย” เกินไปเมื่อเทียบกับสภาพความเป็นจริงของจีนในปัจจุบัน

เมื่อความต้องการการเจรจาการค้าของทรัมป์เริ่ม  รั่วไหลในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วความโกรธเคืองที่คนจีนหลายคนรู้สึกได้ ฟรีดริชวู ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางแห่งสิงคโปร์ สรุปความรู้สึกของหลาย ๆ คนเมื่อเขาอธิบายว่าสิ่งที่ทรัมป์ และ สหรัฐต้องการนั่นก็คือ “การบังคับให้จีนนั้นยอมรับความพ่ายแพ้”

“ซึ่งมันเหมือนการดูถูกจีนในยุคปัจจุบัน ภาพแบบนั้นมันต้องมองย้อนกลับไป ถึงศตวรรษที่ 19 เมื่ออำนาจของตะวันตกและญี่ปุ่นกำหนดเงื่อนไขทั้งหมดในสนธิสัญญาไม่เท่าเทียมกันที่น่าอับอายต่อราชวงศ์ชิงของจีนที่กำลังอ่อนแออยู่ในขณะนั้น” 

ดูเหมือนว่าศึกนี้ คงจะไม่จบลงง่ายๆ  อย่างแน่นอน การควบรวมอำนาจแบบเบ็ดเสร็จของ สีจิ้นผิง นั้น ต้องเรียกได้ว่า มีพลังมากกว่าที่ ทรัมป์มีเยอะ แม้อเมริกาจะเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็จริง แต่ทรัมป์ ยังมีแผลเบื้องหลังที่คอยทิ่มแทงเขา หากสงครามครั้งนี้ ทรัมป์แพ้ มันส่งผลโดยตรงต่อ ตำแหน่งประธานาธิบดีในสมัยหน้าอย่างแน่นอน ต้องเรียกว่าศึกครั้งนี้มีการเดิมพันสูง กับอนาคตทางการเมืองของทั้งทรัมป์ และ สีจิ้นผิง เลยก็ว่าได้

References : 
https://www.ft.com/content/52a6731c-7882-11e9-be7d-6d846537acab 

ฺBook Review : ดาวหางเหนือทางรถไฟ

หนังสือเล่มนี้เป็นของ คุณ ทรงกลด บางยี่ขัน บก.ใหญ่แห่ง A day  เล่มนี้เป็นหนังสือเล่มแรกที่มีโอกาสได้อ่านจากคุณ ทรงกลด ซึ่ง แนวหนังสือ ของ A day นั้น จะออกมา Style คล้าย ๆ นิตยสาร A day ซึ่งส่วนใหญ่ ก็จะเป็น columnist ในหนังสือ A day แล้วมาออกหนังสือ เป็นจำนวนมาก ซึ่งหนังสือของ เครือ A day นั้นเป็นหนังสือที่อ่านค่อนข้างง่าย ๆ ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่สามารถสนุกไปกับมันได้อย่าง ดี ซึ่งผมก็เป็นแฟนพันธ์แท้  ของนิตยสาร A day เช่นกัน ได้รอซื้อในทุก ๆ  เล่มที่ ออกมา

ว่ากันด้วยเรื่องของหนังสือ ดาวหางเหนือทางรถไฟ  ซึ่งเป็นหนังสือแนวบันทึกการเดินทาง โดยเนื้อหาจะเป็นการนั่งรถไฟ สาย ทรานไซบีเรีย จากปักกิ่งไปยัง มอสโคว์ ซึ่งเป็นทริปในฝันของนักเดินทางหลายๆ  คน เชื่อว่าหลายคนคงคิดว่า การนั่งรถไฟเป็นสัปดาห์ จะมีอะไรมากมายนัก ซึ่งโดยส่วนตัวก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่ ที่ควรที่จะลองซักครั้งหนึ่งในชีวิต

หนังสือเล่มนี้ บันทึกการเดินทางตั้งแต่การเที่ยวที่เมืองปักกิ่ง  มองโกเลีย  รัสเซีย ซึ่งเป็นทางผ่านของทางรถไฟสายนี้ โดยที่ คุณทรงกลด ได้แวะเยี่ยมเมืองต่าง ๆ ระหว่างทาง เพื่อบันทึกการเดินทางของรถไฟสายนี้  เนื้อหาโดยรวม ถือว่า เป็นสไตล์ ที่อ่านง่าย ๆ จะดูคล้าย ๆ หนังสือ โตเกียวไม่มีขา ของคุณนิ้วกลม ซึ่ง จากการอ่านเล่มนี้ พบว่า สไตล์การเขียนจะคล้าย ๆ กันมาก แต่ ในเล่มนี้นั้นไม่ได้พบเจอประสบการณ์ที่แปลกประหลาดอะไรมากมาย ๆ เป็นการเดินทางที่เรียบง่าย แต่เล่าเรื่องได้สนุกพอสมควร ก็เป็นหนังสือที่อ่าน และสะสม สำหรับนักอ่าน ยามว่างที่ดีอีกเล่มนึงเลยทีเดียว

เก็บตกจากหนังสือ

  • ชาวรัสเซียเป็นคนที่ยิ้มยาก อย่างยิ่ง
  • เราสามารถนั่งรถไฟ จากหัวลำโพงไปยัง ยุโรปได้ จริง ๆ
  • หนังสือ ใช้ภาษาอ่านง่าย ๆ เล่าเรื่องได้สนุก
  • ยังไม่มีส่วนเนื้อหาที่พบเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ระหว่างการเดิน ซึ่งการเดินทางในเล่มนี้ค่อนข้างราบเรียบ