Geek Talk EP9 : ทำความรู้จัก CRISPR-Cas9 กับงานวิจัยที่คว้ารางวัลโนเบลสาขาเคมี 2020

ศาสตราจารย์ เอ็มมานูเอล ชาร์เพนทิเยร์ ชาวฝรั่งเศส และศาสตราจารย์ เจนนิเฟอร์ เดาด์นา ชาวอเมริกัน เป็นสองนักชีวเคมีและพันธุศาสตร์หญิง ที่สามารถพิชิตรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปีนี้ไปครอง ด้วยผลงานการคิดค้นและพัฒนาเทคนิคใหม่เพื่อตัดต่อข้อมูลพันธุกรรมหรือจีโนม (Genome) ซึ่งวิธีนี้มีชื่อเรียกกันว่า “คริสเปอร์-แคสไนน์” (CRISPR-Cas9)

แม้เทคนิคนี้จะเพิ่งคิดค้นขึ้นมาในช่วงปี 2012 แต่ก็มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางและหลากหลายอย่างยิ่งในปัจจุบัน โดยคณะกรรมการผู้ตัดสินรางวัลโนเบลสาขาเคมีของปีนี้กล่าวว่า “การที่เราตัดต่อแก้ไข DNA ตรงจุดไหนก็ได้ตามต้องการนั้น เท่ากับเราสามารถจะสร้างรหัสแห่งชีวิตเสียใหม่ และปฏิวัติวงการชีววิทยาศาสตร์”

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3dhAmC8

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3djJ2Ie

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/pb8CQIEQx7A

References : https://www.bbc.com/thai/international-54451257
https://www.businesstoday.in/current/world/emmanuelle-charpentier-jennifer-doudna-win-nobel-prize-2020-in-chemistry-for-developing-method-genome-editing/story/418152.html