การปฏิวัติยูเครน Winter On Fire (Ukraine’s Fight For Freedom)

เป็นเวลากว่าร้อยปี ที่ ประเทศยูเครน เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างฝั่งตะวันตก และ ตะวันออกของประเทศรัสเซีย ซึ่งในที่สุดในปี 1991 ยูเครนก็ได้รับเอกราช

การเมืองของยูเครนนิ่งมานาน จนการมาถึงของ วิคเตอร์ ยานูโควิช ในช่วงปี 2013 ผู้นำคนสำคัญที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ประเทศยูเครนอย่างสิ้นเชิง จากการที่เขาเป็นคนฝักใฝ่ฝ่ายรัสเซีย และออกห่างจากยุโรป ซึ่งเป็นวิธีการที่ชาวยูเครนส่วนใหญ่รับไม่ได้ เพราะเป็นการพาประเทศเดินถอยหลังกับการไปคบหากับรัสเซีย

จุดเริ่มต้นของการปฏวัตินั้นเริ่มที่จตุรัส ไมดาน กลางกรุงเคียฟ เมืองหลวงของรัสเซีย ซึ่งเริ่มมีประชาชนที่ไม่พอใจ ประธานาธิบดี ยานูโควิช ได้ทยอย ๆ เข้าร่วมร่วมกับผู้นำฝ่ายค้าน ที่มาเข้าร่วมชุมนุมกับประชาชน

ด้วยกระแสทาง Social Network อย่าง Facebook ทำให้ประชาชนเริ่มทยอยมาที่จตุรัสไมดานมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการต่อสู้ด้วยพลังของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่มีม๊อบจัดตั้งแบบบางประเทศแถวเอเชีย

ประชาชนต้องการเรียกร้องให้นำยูเครนเข้าสู่สหภาพยุโรป โดยวันแล้ววันเล่าที่ประชาชนต่างมาเรียกร้อง ก็ยังไม่มีการตอบสนองจากรัฐบาลเกิดขึ้น

เริ่มมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทางรัฐบาลส่งมาปราบปราม ภาพการปะทะนั้นได้รับการเผยแพร่ไปทั่ว Social Network รวมถึงช่องทีวีดัง ๆ จากทั่วโลก

หลังจากการถูกปราบปรามจากตำรวจที่จตุรัส ไมดานแล้วนั้น ผู้คนส่วนใหญ่ก็ได้หนีไปยังโบสถ์ เซ็นต์ไมเคิล หรือ วิหารทองคำ  และเริ่มมีการจัดระเบียบการชุมนุมมากขึ้น เริ่มมีส่วนของสเบียงอาหาร รวมถึง มีส่วนของศูนย์การแพทย์ เพื่อช่วยเหลือผู้ชุมนุม ซึ่งในช่วงเริ่มต้นของการชุมนุมนั้น ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นวัยรุ่นยุคใหม่ทั้งสิ้น

หลังจากการถูกปราบปรามในครั้งแรกก็ทำให้เริ่มมีประชาชนหลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ ทั่วประเทศเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงเฉพาะประชาชนเมืองเคียฟแล้วเท่านั้น ซึ่งทำให้ขนาดของการชุมนุมมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าครั้งแรกที่จตุรัสไมดานอย่างเห็นได้ชัด

คนนับแสนเริ่มหลั่งไหลเข้าสู่ใจกลางเมืองเคียฟ ไม่ใช่แค่เพียงเหล่านักศึกษารุ่นใหม่อีกต่อไป ชาวยูเครนต่างพร้อมใจกันเป็นฝ่ายเดียว ไม่มีแบ่งแยกสี จากนั้นก็เดินหน้ากลับไปที่จตุรัสไมดานอีกครั้ง

ซึ่งคราวนี้ เหล่าคนดังทั้งหลาย รวมถึง เซเลบชื่อดัง ต่างมาร่วมชุมนุมด้วยทั้งสิ้น ทำให้การชุมนุมกลับมาครึกครื้นขึ้นอีกครั้งหลังจากการถูกปราบปรามในครั้งแรก

หลายคนที่โกรธแค้นจากที่ถูกปราบปรามในครั้งแรกนั้น เริ่มคิดแผนที่จะยึดทำเนียบประธานาธิบดี ที่อยู่ไม่ไกลจาก จตุรัสไมดาน ซึ่งคราวนี้เริ่มมีการใช้ความรุนแรงขึ้นจากกลุ่มผู้ชุมนุมเอง ตำรวจก็ต้องเริ่มจัดการโดยใช้แก๊สน้ำตาอีกครั้ง และ ด้วยจำนวนตำรวจที่มาป้องกันนั้นมีมากกว่าชุมนุม พร้อมอาวุธคือ กระบอง ที่ใช้ในการจัดการผู้ชุมนุม

การปะทะกันรอบสองนี้ทำให้ผู้ชุมนุมบาดเจ็บไปเป็นจำนวนมากกว่าครั้งแรก หลายคนบาดเจ็บสาหัส จากการกระทำของกลุ่มตำรวจ ทำให้ภาพเหล่านี้กระจายไปยังวงกว้าง ผ่านทั้ง Social Media รวมถึงช่องทีวีต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

หลังจากนั้นเริ่มมีกระแสกดดันจากนานา ประเทศ เริ่มได้ส่งตัวแทนเข้ามาเจรจาปัญหากับรัฐบาลยูเครน เพื่อให้แก้ปัญหานี้อย่างสันติ

แต่ท่าทีของรัฐบาลนั้นเริ่มชัดเจนว่า ต้องการกวาดล้างผู้ชุมนุมสร้างความวุ่นวายให้หมด โดยยกกองกำลังตำรวจจำนวนมหาศาล มาล้อมจตุรัสไมดานไว้

ซึ่งในคืนวันที่ 11 ธันวาคมของ ปี 2013 สถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยน เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่พยายามผลักดันผู้ชุมนุมให้สลาย ไม่สามารถต้านทานพลังของผู้ชุมนุมที่เข้ามามากขึ้นได้ ทำให้ต้องถอนกำลังออกไป เริ่มมีการประนามจากนานาประเทศ เนื่องจากเหล่าผู้ชุมนุม ส่วนใหญ่ได้มีการชุมนุมอย่างสันติ

เมื่อถึงวันที่ 20 ของการชุมนุม รูปแบบการชุมนุม ก็พร้อมมากขึ้น มีการฝึกปฏิบัติกับสถานการณ์หากถูกสลายการชุมนุม เริ่มมีการตั้งสิ่งกีดขวาง ไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงได้ รวมถึง เริ่มมีหน่วยลาดตระเวนบริเวณที่ชุมนุม เพื่อรักษาความปลอดภัย และไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มมือที่สามที่มีโอกาสเข้ามาสร้างสถานการณ์ รวมถึงกลุ่มผู้นำศาสนาเริ่มเข้ามามีบทบาทกับการชุมนุมมากยิ่งขึ้น

ในที่สุด ชาวยูเครนก็ต้องมาฉลองปีใหม่ที่จตุรัสไมดาน ร่วมกัน เค้าดาวน์ ต้อนรับปีใหม่ 2014 ร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุม กว่าแสนชีวิต

หลังจากนั้นการชุมนุมก็ยืดเยื้อมากว่า 2 เดือน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นที่เป็นรุปธรรม ตามความต้องการของผู้ชุมนุมเลย พรรคฝ่ายค้านที่ไปทำหน้าที่ในสภาก็ไม่สามารถทำให้อะไรดีขึ้นไปได้ มีแต่การประชุม ๆ ซึ่งไม่มีอะไรคืบหน้าสำหรับเหล่าผู้ชุมนุมเลย รวมถึง ทาง ยานูโควิช ก็แสดงเจตจำนงให้ปล่อยให้การชุมนุมยืดเยื้อไปอย่างงี้ และไม่ได้ตอบสนองใด  ๆกับสิ่งที่ผู้ชุมนุมเรียกร้อง

กลุ่มผู้ชุมนุม เริ่มไม่เชื่อ กับการแก้ไขปัญหาโดยนักการเมือง เริ่มมีการต่อสู้อย่างจริงจรังกับตำรวจ โดยมีการปะทะกันหลายครั้ง ซึ่งรอบนี้ตำรวจเริ่มใช้ไม้แรงขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มยิงกระสุนยาง เพื่อต้านกลุ่มผุ้ชุมนุม แต่เนื่องจากสถานการณ์เริ่มยืดเยื้อมานาน ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุม ไม่กลัวตำรวจอีกต่อไป รวมถึง มีการฝึกรับมือมาอย่างดี ทำให้ เริ่มมีการใช้ความรุนแรงจากทั้งสองฝ่ายมากยิ่งขึ้น กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มใช้อาวุธอย่าง ระเบิดเพลิง  เริ่มมีการจุดไฟเผายาง เพื่อป้องกันไม่ให้ตำรวจเข้าจู่โจม สถานการณ์เริ่มเลวร้ายลงไปเรื่อย ๆ

พอถึงวันที่ 63 ของการชุมนุม เริ่มมีความอลหม่านมากยิ่งขึ้น ตำรวจเริ่มจะมีการสลายการชุมนุมอีกครั้ง ตอนนี้สถานการณ์เริ่มร้ายแรง ตำรวจเข้าทำลาย แม้กระทั่ง สถานพยาบาลชั่วคราวที่ไว้รักษาอาการบาดเจ็บของผู้ชุมนุม  เริ่มมีการใช้กระสุนจริง กับผู้ชุมนุม ทำให้มีคนตายในที่สุด

หลังจากยืดเยื้อไปถึงวันที่ 90  ก็ได้มีการปะทะครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง ณ ขณะนี้ จตุรัส ไมดาน กลายเป็นกองเพลิงขนาดใหญ่ ที่ผู้ชุมนุมต่างจุดไฟเผา เพื่อไล่กลุ่มตำรวจ ต้องบอกว่า สถานการณ์เลวร้ายแบบสุด ๆ เริ่มมีการเผาตึกรามบ้านช่อง ทำให้เคียฟ กลายเป็นทะเลเพลิง เริ่มมีผู้เสียชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งฝ่ายผู้ชุมนุม และ ตำรวจ  เริ่มกลายเป็นสงครามกลางเมืองเข้าไปทุกที ตอนนี้เริ่มมีการใช้อาวุธหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตำรวจเริ่มนำปืนกลมาใช้ รวมถึง สไนเปอร์ เพื่อดักยิงกลุ่มผู้ชุมนุม แต่กลุ่มผู้ชุมนุม ก็ยังไม่มีท่าทีจะยอมแพ้แต่อย่างใด แม้ต้องเอาตัวเองไปรับกระสุน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนที่บาดเจ็บออกมาก็ตาม

หลังจากผ่านวันสุดเลยร้าย รัฐบาลเริ่มโอนอ่อน เริ่มมีการเสนอทางเลือกให้ มีการเลือกตั้งในช่วงปลายปี 2014  แต่ต้องบอกว่าหลังจากความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงนั้น กลุ่มผู้ชุมนุม ไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว ต้องการให้ ยานูโควิช ลาออกเท่านั้น

สุดท้ายด้วยความกดดันจากทุกทาง ที่มีมาเรื่อย ๆ รวมถึงผู้คนที่ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ประชาชนก็ไม่ยอม ต้องให้เค้าออกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น สุดท้าย ยานูโควิช ก็ทนความกดดันไม่ไหว ต้องหนีออกจากเคียฟไปในที่สุด  และชัยชนะ ก็เป็นของเหล่าผู้ชุมนุมในที่สุด เป็นการสิ้นสุดการปฏิวัติ ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งนึงของโลกเราเลยก็ว่าได้

การปฏิวัติยูเครน บ่งบอกอะไร เมื่อ เปรียบเทียบกับการชุมนุมในไทย?

ต้องบอกว่าการปฏิวัติครั้งนี้ ถือเป็นผลสำเร็จของการชุมนุมโดยประชาชนโดยแท้จริง สุดท้ายรัฐบาลก็ไม่สามารถทนต่อแรงกดดัน ที่ประชาชนต่อสู้มาอย่างยาวนานต่อเนื่องได้ จุดเปลี่ยนสำคัญน่าจะเกิดจากการใช้กำลังจนเริ่มควบคุมไม่อยู่ ทำให้มีการสังหารประชาชนโดยใช้กระสุนจริง ๆ และอาวุธที่ร้ายแรงอย่างต่อเนื่อง ๆ

ต้องบอกว่าการชุมนุมประท้วงครั้งนี้นั้น เป็นพลังบริสุทธิ์ ที่มาจากประชาชนโดยแท้จริง  ๆ ซึ่งหากเราเทียบกับการประท้วงของประเทศเรา ซึ่งอยู่ในห้วงเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมของฝั่งเสื้อแดง หรือ รอบล่าสุดอย่าง การชุมนุม ของกปปส. นั้น มันมีนัยยะทางการเมือง ของนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง จะบอกว่าเป็นการชุมนุมที่เหมือนกับยูเครนมั๊ย ต้องบอกว่าต่างกันสิ้นเชิง

ที่ยูเครน เค้าสู้ด้วยพลังที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง แม้จะมีแกนนำที่เป็นนักการเมืองฝ่ายค้านอยู่ด้วย แต่สุดท้าย เค้าก็ไม่เชื่อแกนนำเหล่านี้อยู่ดี เพราะมีผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ถึงแม้จะมีคนตายจำนวนมาก เค้าก็พร้อมที่จะฝ่าดงกระสุน โดยใช้เพียงโล่เป็นเกราะป้องกันเท่านั้น จะเห็นได้ถึงความบริสุทธิของพลังมวลชนจริง ๆ

จุดจบของการประท้วงหลายครั้ง ก็ เริ่มมาจากความรุนแรง จากฝั่งรัฐบาลทั้งนั้น ถ้าปราบปรามได้สำเร็จก็ถือเป็นผู้ชนะ แต่ที่ยูเครน แม้จะใช้กำลังยังไง ประชาชนก็ต่อสู้จนหยดสุดท้ายของชีวิต โดยแทบไม่มีอาวุธในการต่อกรกับตำรวจเลย ต่างจากประเทศไทยเรา ที่ได้มีการนำกลุ่มกองกำลัง มาสู้กับรัฐ ซึ่งมันกลายเป็นสงครามกลางเมืองดี ๆ นี่เอง ซึ่งในไทยสุดท้ายแล้ว คนที่เป็นเหยื่อก็คือผู้ร่วมชุมนุม ที่ไปปฏิบัติตามแกนนำ เช่นการไปเผาสถานที่ราชการ หรือ การใช้อาวุธมาต่อสู้กับทหาร จุดจบของการชุมนุมทุกครั้งของประเทศไทย คือ ความพ่ายแพ้

แม้ใครจะบอกว่า กปปส สามารถชุมนุมจนชนะล้มล้างนายกยิ่งลักษณ์จนสุดท้ายหนีออกไปอยู่ต่างประเทศได้ แต่ต้องบอกว่า การยืมมือทหาร เข้ามาปฏิวัติ แบบที่ไทยเราเคยเจอมาตลอดในรอบ 20 ปีหลัง  นี่แหละเป็นความพ่ายแพ้อย่างแท้จริงของการชุมนุมในไทย ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับการปฏิวัติของยูเครน โดยพลังบริสุทธิ์ของประชาชนโดยแท้จริง

References : netflix.com

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol