เมื่อการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์กำลังจะอยู่ภายใต้การตัดสินใจของ AI

นักวิจัยของกองทัพอากาศสหรัฐกำลังมีความพยายามที่จะให้รหัสนิวเคลียร์แก่ AI หรือ ระบบปัญญาประดิษฐ์ในการตัดสินใจเรื่องการโจมตี

โดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งกองทัพอากาศ นักวิจัย Curtis McGiffin และนักวิจัยสถาบันวิจัย Louisiana Tech อดัม โลว์เธอร์ ได้ร่วมกับกองทัพอากาศเพื่อเขียนบทความ   “America Needs a ‘Dead Hand’” โดยมีการถกในประเด็นที่ว่าสหรัฐอเมริกา ต้องพัฒนา“ ระบบตอบสนองเชิงกลยุทธ์อัตโนมัติบนพื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์”

กล่าวอีกนัยหนึ่งพวกเขาต้องการให้ AI เป็นผู้ถือครองรหัสนิวเคลียร์ และแน่นอนว่าตามที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงมันฟังดูคล้ายกับในหนังสือชื่อดังอย่าง “ Doomsday Machine” จากถ้อยคำของ Stanley Kubrick ในปี 1964“ 

“Dead Hand” ที่อ้างถึงในชื่อหมายถึงระบบกึ่งอัตโนมัติของสหภาพโซเวียตที่จะมีการเปิดตัวอาวุธนิวเคลียร์หากเงื่อนไขบางอย่างถูกพบ เช่น การตายของผู้นำของสหภาพโซเวียต

อย่างไรก็ตามในครั้งนี้ระบบที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่พัฒนาโดย Lowther และ McGiffin จะไม่รอจนกว่าจะโดนการโจมตีครั้งแรกกับสหรัฐ โดย AI มันจะรู้ว่าต้องทำอะไรก่อนเวลาอันควร

“ มันอาจจำเป็นต้องพัฒนาระบบบนพื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์ด้วยการตัดสินใจตอบสนองที่กำหนดไว้ล่วงหน้าซึ่งตรวจจับตัดสินใจและชี้นำกองทัพด้วยความรวดเร็ว ” พวกเขาเขียน

การใช้เวลาอย่างรวดเร็วในการโจมตีเป็นปรากฏการณ์ที่เทคโนโลยีสมัยใหม่รวมถึงเรดาร์ความไวสูงและสามารถสื่อสารได้ทันที ทำให้สามารถลดเวลาในการตรวจจับและการตัดสินใจลงอย่างมาก 

“ เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้กำลังลดระยะเวลาการตัดสินใจของผู้นำระดับสูงของอเมริกา ซึ่งในไม่ช้ามันอาจที่จะเป็นไปไม่ได้ที่จะตัดสินใจและบังคับใช้พลังงานนิวเคลียร์ได้ทันอย่างทันท่วงที หากยังใช้มนุษย์ในการตัดสินใจ” Lowther และ McGiffin โต้แย้ง

ความคิดคือการใช้โซลูชั่น AI ในการขับเคลื่อนซึ่งมันมีความสามารถในการตรวจจับการเปิดการโจมตีก่อนที่เกิดขึ้นที่ใดก็ได้ในโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังมีความสามารถในการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ไปยังฝ่ายตรงข้าม”

และจากข้อเท็จจริงที่ว่า AI ไม่ได้มีข้อมูลมากนักที่จะดำเนินการ นั่นหมายความว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่ส่งไปยัง AI จะเป็นข้อมูลจำลองการรบเพียงเท่านั้น ซึ่งเราก็ต้องชั่งใจดูว่า อย่างไหนมันจะมีประสิทธิภาพมากกว่ากันระหว่างความสามารถของ AI และการตัดสินใจของมนุษย์ หากเกิดสงครามขึ้นมาจริง ๆ นั่นเอง

References : 
https://thebulletin.org