มารู้จักการออกแบบหุ่นยนต์ที่สร้างมาเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันเถอะ

อาคารและแนวชายฝั่งสามารถตรวจสอบได้โดยกลุ่มหุ่นยนต์ที่สามารถซ่อมแซมได้แบบอิสระ ตามความคิดริเริ่มของบริษัท Startup จากเดนมาร์กที่ให้การสนับสนุนเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่จะมาแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมทั่วโลก

ซึ่งความคิดริเริ่มดังกล่าวนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัทจากเดนมาร์กที่มุ่งเน้นในเทคโนโลยีในอนาคต 3 บริษัท คือ GXN Innovationซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของสถาปนิกที่ชื่อว่า 3XN ; แพลตฟอร์มที่ช่วยเหลือในการผลิตอย่างThe AM AM Hub ; และบริษัทMap Architects

การแก้ปัญหาเรื่องความเสื่อมของสภาพแวดล้อม

บริษัท ต่าง ๆ เชื่อว่าความท้าทายระดับโลก เช่น ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และการเสื่อมสภาพของโครงสร้างพื้นฐานทางชีวภาพในท้องทะเล สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

พวกเขามองเห็นกลุ่มยานยนต์แบบ 3D ที่สัญจรไปมาทั้งทางบก ทางอากาศและทางทะเล

หุ่นยนต์หกขาเป็นหนึ่งในแนวคิดที่จินตนาการโดย Break the Grid
หุ่นยนต์หกขาเป็นหนึ่งในแนวคิดที่จินตนาการโดย Break the Grid

“ การเพิ่มจำนวนเครื่องพิมพ์ 3 มิติเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้อาจเป็นการปฏิวัติรูปแบบการผลิตของโลกเรา” ผู้ก่อตั้ง GXN อธิบาย

“ด้วยการเปิดใช้งานหุ่นยนต์ผ่านเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถที่จะคลาน ว่ายน้ำ และบินได้ จะทำให้เราสามารถรับมือกับภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาเร่งด่วนที่มีอยู่ทั่วโลกด้วยต้นทุนที่ต่ำลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

หุ่นยนต์สามตัวสำหรับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

บริษัทได้ออกแบบแนวคิดที่แตกต่างกันสามแบบเพื่อจัดการกับกรณีการใช้งานแยกกันทั้งสามกรณี ซึ่งหุ่นยนต์เหล่านี้จะทำการสแกนสภาพแวดล้อมโดยอัตโนมัติเพื่อระบุพื้นที่ปัญหาและดำเนินการแก้ไขทันที

ซึ่งตัวอย่างแรกในการออกแบบหุ่นยนต์นั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายวัตถุใต้น้ำได้ เช่น การสร้างแนวปะการังเทียม หรือ โครงสร้างที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องแนวชายฝั่งจากการกัดเซาะและการให้ที่อยู่อาศัยสำหรับสิ่งมีชีวิตทางทะเล

หุ่นยนต์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวปะการังเทียมเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
หุ่นยนต์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวปะการังเทียมเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

มันจะทำงานโดยการพ่นทรายผสมจากพื้นมหาสมุทร และทำงานร่วมกับกาวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากกาวธรรมชาติซึ่งผลิตจากหอยนางรมและสารที่ยึดเกาะได้แบบเปียก

ในขณะเดียวกันหุ่นยนต์หกขาจะวิ่งไปตามเมืองต่าง ๆ ทำการ Scan หา และซ่อมแซมรอยแตกขนาดเล็กในคอนกรีต ซึ่งช่วยลดความเสียหาย โดยจะสามารถแก้ไขได้ก่อนที่น้ำและออกซิเจนจะซึมเข้าไปข้างในซึ่งนำไปสู่การกัดกร่อนต่อไปนั่นเอง

ศักยภาพของวัสดุในการ “รักษาด้วยตัวเอง”

ทีมงาน Break the Grid จินตนาการว่าหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่บนบกเหล่านี้สามารถที่จะพิมพ์ฟิลเลอร์รูพรุนแบบ 3 มิติ ซึ่งจะผสมกับเชื้อรา trichoderma reesei ซึ่งมันจะช่วยในการก่อตัวของแคลเซียมคาร์บอเนต และทำให้การรักษาวัสดุได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

หุ่นยนต์ตัวนี้สามารถลาดตระเวนบริเวณที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นคอนกรีตได้จากระยะไกลจากสภาพแวดล้อมแบบเมืองได้

หุ่นยนต์ที่ทำงานบนยอดตึกสูงเพื่อซ่อมแซมความเสียหาย
หุ่นยนต์ที่ทำงานบนยอดตึกสูงเพื่อซ่อมแซมความเสียหาย

แนวคิดที่สามคือ หุ่นยนต์โดรน ที่จะทำงานในรอบ ๆ ตัวอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่ออาคารเหล่านี้เก่าและเสื่อมสภาพลง ทำให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานลดลง พวกโดรนเหล่านี้จะเข้ามาช่วยซ่อมแซมความเสียหาย

แนวคิดนี้นำมาจากการวิจัยวัสดุใหม่ที่ใช้แก้วและโพลีเมอร์ที่สามารถปรับแต่งได้ เพื่อสร้างฉนวนกันความร้อนบนโครงสร้างอาคารที่มีอยู่นั่นเอง

แนวคิดบนพื้นฐานของเทคโนโลยีที่ใหม่ ๆ

ในขณะที่การออกแบบของ Break the Grid นั้นเป็นเพียงแค่ทฤษฎี แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจริง ทีมยังได้ทำการแฮ็กเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่มีอยู่ เพื่อสร้างต้นแบบหุ่นยนต์ตามแนวคิดของพวกเขา

“ เราหวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้อุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ ในปัจจุบันนั้นมองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ซึ่งจะต้องมีการผสมผสานการออกแบบและเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนค่านิยมของพวกเราและปรับเปลี่ยนวิธีคิดในปัจจุบันของเรา” เขากล่าวเสริม

Break The Grid เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Moonshots ของ AM-Hub ของเดนมาร์กซึ่งมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ ที่มีแนวคิดหลักว่าจะสามารถสร้างโลกที่ดีขึ้นได้อย่างไร

References : 
https://www.dezeen.com

3D Printing กับหัวใจดวงแรกที่ทำจากเนื้อเยื่อมนุษย์จริง

และแล้วมันก็มาถึงวันที่นักวิทยาศาสตร์หวังว่าเราจะสามารถผลิตหัวใจที่สามารถปลูกถ่ายให้กับมนุษย์ได้ ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟในอิสราเอลได้ทำให้เป้าหมายที่ไกลเกินจริงเหมือนเรื่องในนิยายนั้นมาสู่ความเป็นจริงได้สำเร็จ

ทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยี 3D Printing มาสร้างหัวใจโดยใช้เนื้อเยื่อของมนุษย์ ซึ่งพวกเขาได้ตีพิมพ์ใน Advanced Science เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ในการทดลองนั้นจะได้หัวใจแบบไม่เต็มขนาด ซึ่งมันใหญ่พอ ๆ กับหัวใจของกระต่ายเพียงเท่านั้น แต่มันยังคงเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญ ทีมวิจัยกล่าว

“นี่คือครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในการออกแบบและพิมพ์หัวใจทั้งหมด ซึ่งประกอบไปด้วย
cells, blood vessels, ventricles และ chambers ” ศาสตราจารย์ทาล Dvir ที่นำทีมกล่าวกับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ผู้คนสามารถพิมพ์โครงสร้างของหัวใจในแบบสามมิติได้ในอดีต แต่มันไม่ได้อยู่กับเซลล์หรือหลอดเลือดเหมือนหัวใจจริง ๆ “

หัวใจ จาก 3D Printing ที่เข้าใกล้ความเป็นจริงขึ้นเรื่อย ๆ
หัวใจ จาก 3D Printing ที่เข้าใกล้ความเป็นจริงขึ้นเรื่อย ๆ

นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติทางการแพทย์มากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยโตรอนโตกำลังทำงานเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อพิมพ์ผิวหนังในบริเวณที่มีแผล และมหาวิทยาลัยมินนิโซตาได้พัฒนาหัวกะโหลกแบบโปร่งใสที่ช่วยให้นักวิจัยเข้าใจการทำงานของสมองได้ดีขึ้น

ทีมงานเทลอาวีฟทำการสกัดเนื้อเยื่อไขมันจากผู้ป่วยและใช้สิ่งนี้เปรียบเสมือนเป็นน้ำหมึก สำหรับการพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งเป็นพิมพ์เขียวสำหรับสร้างแบบจำลองเนื้อเยื่อ ในขณะที่พวกเขาพบว่าแม้ยังคงมีข้อบกพร่องในการทำงาน ซึ่งหัวใจสามารถหดตัว แต่ไม่สูบฉีดเลือด  พวกเขาวางแผนที่จะทดสอบหัวใจที่พิมพ์ 3 มิติกับสัตว์จริง ๆ 

“ บางทีใน 10 ปีข้างหน้านั้นอาจมีเครื่องพิมพ์อวัยวะในโรงพยาบาลที่ดีที่สุดทั่วโลกและขั้นตอนเหล่านี้จะดำเนินการเป็นประจำจนกลายเป็นเรื่องปรกติไปในที่สุด” Dvir กล่าว

References : 
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1002/advs.201900344


https://www.cnet.com/news/heres-the-first-3d-printed-heart-made-from-actual-human-tissue/