ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 10 : Let’s Expand

หลังจากได้รับเงินทุนกว่า 25 ล้านเหรียญทั้งจาก โกลด์แมนซาคส์ และ มาซาโยชิ ซัน แจ๊ค ก็ได้เริ่มทำการขยายกิจการอย่างบ้าคลั่ง สิ่งแรกที่เขาต้องทำคือ ย้ายฐานบัญชาการหลักจากบ้านเขาที่ริมทะเลสาบหังโจว ไปยังอาคารซิงหัวเทคโนโลยี ซึ่งเป็นอาคารขนาดใหญ่กว่า 9 ชั้น ที่จะสามารถรองรับการเจริญเติบโตของอาลีบาบาไปได้อย่างไม่มีปัญหา

ส่วนเรื่องคนนั้น แจ๊ค ก็ได้เริ่มหาพนักงานมืออาชีพในแผนกต่าง ๆ ตอนนี้เงินทุนไม่ใช่ปัญหาของแจ๊คอีกต่อไปแล้ว และมันทำให้เขาได้พนักงานระดับเทพอีกคน ที่ชื่อ จอห์น วู ซึ่งเป็นอดีตพนักงานของ YAHOO ที่ได้รับการขนานนามว่า “ราชาแห่งเสิร์ซเอ็นจิน” 

การได้พนักงานระดับเทพอย่าง จอห์น วู มานั้น แจ๊คให้เขาไปดูแลศูนย์ R&D ในประเทศอเมริการในซิลิกอน วัลเลย์ และยังได้ทำการย้าย server ทั้งหมดของอาลีบาบาไปไว้ที่ซิลิกอน วัลเลย์ ที่เรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงแห่งโลกเทคโนโลยี

ได้มือระดับพระกาฬอย่างจอห์น วู มาดูเรื่องเทคโนโลยี
ได้มือระดับพระกาฬอย่างจอห์น วู มาดูเรื่องเทคโนโลยี

สาเหตุหลักที่ จอห์น วู ตัดสินใจมาอยู่กับอาลีบาบา นั้น คือการที่อาลีบาบาไม่ได้ลอกเลียนแบบโมเดลธุรกิจจากต่างประเทศแล้วมาสร้างในประเทศจีน เหมือนบริการดัง ๆ อื่น ๆ แต่มันเป็นโมเดลใหม่ที่แจ๊ค คิด และสร้างขึ้นมาเอง  ซึ่งโมเดลนี้เป็นการอ้างอิงสภาพเศรษฐกิจของประเทศจีนเป็นหลัก เป็นการสร้างมาเพื่อ SME ในประเทศได้ลืมตาอ้าปาก ขยายธุรกิจออกไปต่างประเทศได้ผ่าน อีคอมเมิร์ซ

จากพนักงานเริ่มต้นเพียง 18 คนนั้น ตอนนี้ อาลีบาบาขยาย จนมีพนักงานหลายพันคน ซึ่งเป็นการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของอาลีบาบา ที่ตอนนี้เริ่มมีลูกค้าใช้งานเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าจากตอนเริ่มต้นกิจการใหม่ ๆ 

เริ่มขยายพนักงานจาก 18 คนเริ่มต้น จนกลายเป็นพันกว่าคน
เริ่มขยายพนักงานจาก 18 คนเริ่มต้น จนกลายเป็นพันกว่าคน

ปี 2000 เป็นปีที่แจ๊ค ทำการขยายกิจการอาลีบาบาอย่างบ้าคลั่ง เริ่มมีการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ ตอนนี้เงินยังเหลือมากพอให้แจ๊คผลาญไปได้อีกนาน  มีการตั้งสำนักงานในฮ่องกง อังกฤษ  มีการตั้งศูนย์ R&D ที่ซิลิกอนวัลเลย์ ในประเทศอเมริกา มีการตั้งบริษัทร่วมทุนที่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และ เกาหลี

ที่ซิลิกอน วัลเลย์ ภายใต้การรับผิดชอบของ CTO (Chief Technology Officer) จอห์น วู ทำให้ที่ซิลิกอน วัลเลย์ กลายเป็นศูนย์รวมของอัจฉริยะทางด้านเทคโนโลยี และ internet ซึ่งการจ้างคนระดับเทพในซิลิกอนวัลเลย์นั้นต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล พนักงานเพียง 20 คนในซิลิกอน วัลเลย์นั้น มีค่าจ้างรวมกัน มากกว่า พนักงานกว่า 200 คนในออฟฟิสหลักของอาลีบาบาที่หังโจวเสียอีก

ซึ่งเหล่าบรรดาวิศวกรอัจฉริยะเหล่านี้ ก็ได้สร้างเว๊บไซต์อาลีบาบาในรูปแบบภาษาอังกฤษ เพื่อความอินเตอร์ขึ้น และเริ่มสร้างเว๊บในภาษาต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นภาษาเกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น หรือ ออสเตรเลีย มันเป็นการ Go Inter โดยไม่สนในรากเหง้าในความเป็นจีนของแจ๊คโดยแท้

ในเวลานั้นแจ๊ค ค่อนข้างมั่นใจในตัวเองเป็นอย่างมากว่าอาลีบาบานั้นจะกลายเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก และจะต้องเป็นเว๊บไซต์ที่ติดหนึ่งในสิบอันดับแรกของโลกได้อย่างแน่นอน

แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็ได้เกิดขึ้น ในวันที่ 10 มีนาคมปี 2000 ดัชนีแนสแด็กของอเมริกาลงต่ำสุดไปแตะที่ 5,132 จุด จากนันก็ร่วงลงมาอย่างรวดเร็ว ในปลายปี 2000 แนสแด็กร่วงหล่นลงไปถึง 2,600 จุด เป็นการลดลงถึง 50% ภายในระยะเวลาไม่ถึงปี ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดในประวัติกาล

ตอนนี้ แนสแด็ก ซึ่งเคยเป็นที่ฝากความหวังและความฝันของธุรกิจดอทคอม กำลังพังพินาศลงทั้งระบบ

เกิดฟองสบู่ดอทคอมแตกในปี 2000 ตลาดหุ้นแนสแด็กล้มครืน
เกิดฟองสบู่ดอทคอมแตกในปี 2000 ตลาดหุ้นแนสแด็กล้มครืน

สิ่งที่ตามมาหลังจากแนสแด็กล้มทั้งกระดาน คือ บรรดาบริษัทดอทคอมของจีนต่างพากันล้มหายตายจากไปอย่างรวดเร็ว ธุรกิจ internet ของจีนได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า ธุรกิจ internet ขนาดเล็กหรือขนาดกลางของจีน บ้างก็ล้มละลาย บ้างก็ต้องทำการปลดพนักงานจำนวนมหาศาล 

ขณะที่ธุรกิจ internet ต่างกำลังผลาญเงินกันจนใกล้จะหมดสิ้นแล้วนั้น ธุรกิจส่วนใหญ่ก็ยังหาช่องทางการทำกำไรไม่ได้ นักลงทุนต่างกำเงินของตัวเองไว้อย่างแน่น ไม่มีใครที่จะกล้าใส่เงินเข้าไปในระบบอีกแล้วในช่วงเวลานั้น 

และนั่นมันทำให้เป็นเวลาที่อาลีบาบาตกอยู่ในจุดที่อันตรายที่สุด แต่แจ๊ค นั้นยังคงเชื่อมั่นใน internet และไม่เคยสงสัยในธุรกิจของอาลีบาบาเลยแม้แต่น้อย

เขากล่าวกับทีมงานว่า ภายในหกเดือนบริษัท internet ของจีนจะหายไป 80% ซึ่งหากบริษัท internet ต้องตายหมด อาลีบาบา ก็ต้องขอตายเป็นรายสุดท้าย แจ๊คให้คำมั่นกับทีมงานของเขา

ต้องเรียกว่าได้ ฟองสบู่ ดอทคอม ได้แตกเป็นเสียง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วในปี 2000 เหล่านักลงทุนทั้งหลายแทบจะไม่มีใครกล้าเข้ามายุคกับธุรกิจ internet แล้วเงินทุนของอาลีบาบา ก็ใช้ไปอย่างมากมายในการขยายกิจการอย่างบ้าคลั่งของแจ๊ค แม้เขาจะปลอบใจพนักงานว่ายังไงอาลีบาบาก็ต้องอยู่รอด แล้วอาลีบาบาจะอยู่รอดได้อย่างไร ในเมื่อเพื่อนร่วมธุรกิจ ต่างล้มหายตายจากไปแทบจะหมดสิ้น โปรดติดตามในตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 11 : Good Boss , Bad Boss

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 9 : The Rising Son

หลังจากได้รับเงินทุนก้อนแรกจาก โกลด์แมนซาคส์ แล้วนั้น แจ๊คก็เริ่มวุ่นวายกับการ หาที่ตั้งบริษัทใหม่ จากออฟฟิส ที่ใช้บ้านของเขาริมทะลาสาบเมืองหังโจว แจ๊คต้องการขยายพื้นที่ให้มากขึ้น รวมถึงการเฟ้นหาพนักงานใหม่ เพื่อมาขยายกิจการของอาลีบาบา

แต่มีการนัดสำคัญครั้งหนึ่งที่เพื่อนของเขาในปักกิ่ง ต้องการให้แจ๊คมาพบบุคคลลึกลับจากญี่ปุ่น ผู้ซึ่งต้องการที่จะพบปะกับแจ๊ค

และในที่สุดตัวละครลับนั้นก็เผยโฉมออกมาได้เสียที เขาคือ มาซาโยชิ ซัน (Masayoshi son) ผู้โด่งดังจากญี่ปุ่นนั่นเอง สิ่งที่ทำให้ มาซาโยชิ ซัน ดังเป็นพลุแตกคือการเข้าไปลงทุนใน YAHOO กว่า 355 ล้านเหรียญ ซึ่งมีผลทำให้ ณ ขณะนั้น YAHOO กลายเป็นบริษัท internet ที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก และเขายังเป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นอีกด้วย

มาซาโยชิ ซัน ผู้โด่งดังจากซอฟต์แบงค์
มาซาโยชิ ซัน ผู้โด่งดังจากซอฟต์แบงค์

ตอนนั้นเป็นฤดูหนาวในปี 1999 มาซาโยชิ มาประเทศจีนครั้งนี้เพื่อขยายอาณาจักรด้าน internet ของเขา ซึ่งการพบปะกับแจ๊คนั้น เกิดขึ้นในอาคารพาณิชย์ทางตะวันออกของปักกิ่ง ตึกนี้มีชื่อเสียงโด่งดังว่าอาคารฟู่หัว

ตอนนั้น มาซาโยชิ มาพร้อมกับกลุ่มนักลงทุนหลายรายเพื่อมาดูกิจการที่น่าสนใจที่จะลงทุน และแจ๊ค เป็นหนึ่งผู้ที่จะต้อง พรีเซ็นต์กิจการ เพื่อดึงดูดนักลงทุนเหล่านี้ หลังจากฟังหลาย ๆ กิจการอย่างน่าเบื่อ เพราะมาซาโยชิ นั้น ฟังเรื่องราวของกิจการหน้าใหม่มามากมายทั่วโลกแล้ว ซึ่งยังไม่เห็นมีอะไรที่น่าสนใจ จึงชี้ไปยังแจ๊ค ให้ขึ้นไป พรีเซ็นต์บริษัทของเขาให้ฟัง

บริษัทอื่น ๆ นั้นใช้เวลาเป็นชั่วโมง เพื่อร่ายยาว คุณสมบัติของบริษัท เพื่อดึงเงินจากมาซาโยชิให้ได้ แต่ แจ๊คกลับใช้เวลาเพียงแค่ 6 นาทีเท่านั้น ก็สิ้นสุดการพรีเซ็นต์ เพราะตอนนั้นแจ๊คไม่ได้ต้องการเงินเลย เขาเพิ่งได้รับเงินลงทุนก้อนแรกจาก โกลด์แมนซาคส์ ซึ่งยังพอเลี้ยงดูบริษัทไปได้อีกเป็นปี ๆ 

แต่นั่น มันทำให้ มาซาโยชิ สนใจ เว๊บไซต์ อาลีบาบาของแจ๊คเป็นพิเศษ โดยให้แจ๊คทำการเปิดตัวเว๊บไซต์ ให้ดู ซึ่งตัวมาซาโยชิ นั้นแทบจะไม่ได้ตรวจสอบอะไรอาลีบาบาเลยสักนิด มาซาโยชิ ตัดสินใจอย่างรวดเร็วทันที ต้องการลงทุนในอาลีบาบาทันที 49% แต่แจ๊คซึ่งตอนนั้นไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงิน ก็ยังไม่ได้ตกปากรับคำอะไรทั้งสิ้น แต่ มาซาโยชิ ได้ทิ้งท้ายไว้โดยทำการเชื้อเชิญแจ๊ค มาที่โตเกียว เพราะเขาอยากคุยกับแจ๊ค ตัวต่อตัว ที่โตเกียว

มาซาโยชิ สนใจอาลีบาบาเป็นพิเศษ จึงเชิญแจ๊คมาที่โตเกียว
มาซาโยชิ สนใจอาลีบาบาเป็นพิเศษ จึงเชิญแจ๊คมาที่โตเกียว

ในเดือนมกราคม ปี 2000 แจ๊ค ได้หนีบโจเซฟ ไช่ เดินทางมาโตเกียวด้วย โดยเป้าหมายอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของซอฟต์แบงก์ เพื่อมาเจรจาเรื่องการลงทุนกับ มาซาโยชิ โดยทั้งคู่มีการหารือกันว่าจะจัดการกับมาซาโยชิ อย่างไร ซึ่งสรุปกันว่า คนหนึ่งจะรับบทพระเอก อีกคนเล่นบทผู้ร้าย แน่นอน พระเอกก็คือ โจเซฟ ส่วน ผู้ร้ายคือ แจ๊ค นั้นเอง

นัดเจรจากันที่สำนักงานใหญ่ซอฟต์แบงค์ กลางกรุงโตเกียว
นัดเจรจากันที่สำนักงานใหญ่ซอฟต์แบงค์ กลางกรุงโตเกียว

มันเป็นการเจรจาที่แจ๊ค เป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมาก ฝ่ายอาลีบาบานั้นมีเพียงแค่แจ๊ค กับ โจเซฟ แต่ฝ่ายซอฟต์แบงค์มีคนเรียงเป็นหน้ากระดาน โดยมีมาซาโยชิ อยู่ตรงกลาง เปรียบเทียบกับแล้วฝ่ายซอฟต์แบงค์ มีคนมากว่าหลายเท่า

แต่ต้องเข้าใจการบริหารสไตล์ ญี่ปุ่น ในสายตาของลูกน้อง มาซาโยชิ นั้นเปรียบเสมือนองค์จักรพรรดิ หลังฟองสบู่แตกในปี 2000 นั้น การลงทุนทั่วโลกของซอฟต์แบงค์ลดลง 90% ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการตัดสินใจตามลำพังของมาซาโยชิ แทบจะทั้งสิ้น

เขาเป็นผู้ก่อตั้งซอฟต์แบงค์ เป็นประธานและ CEO ซึ่งมีอำนาจเต็มที่ในการจัดสรรเงินทุนของบริษัท ต่อให้การลงทุนนั้นจะล้มเหลวยังไงก็ตาม ยังไงสิทธิ์ขาดเด็ดขาดก็อยู่ที่มาซาโยชิ เพียงคนเดียวเท่านั้น

การเจรจาเป็นไปอย่างเคร่งเครียด แจ๊ค นั้นต้องการเงื่อนไขสามข้อ ถึงจะเจรจาต่อ โดย เงื่อนไขข้อแรก คือ อาลีบาบาจะรับการลงทุนจากซอฟต์แบงค์รายเดียว ( ไม่มีการร่วมลงขันกันกับบริษัทอื่น) ส่วนข้อสองนั้น แจ๊คกล่าวถึงเรื่องการถือหุ้น ซอฟต์แบงค์จะต้องไม่มุ่งแต่ผลประโยชน์ระยะสั้น และต้องถือลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ยึดถือรูปแบบการพัฒนาอาลีบาบาในระยะยาวเป็นหลัก  ส่วนข้อสุดท้าย ต้องให้ มาซาโยชิมานั่งเป็นกรรมการของบริษัท

แจ๊คยื่นเงื่อนไขสามข้อให้กับมาซาโยชิ
แจ๊คยื่นเงื่อนไขสามข้อให้กับมาซาโยชิ

ดูเหมือนสองข้อแรก จะไม่มีปัญหาอะไรกับ มาซาโยชิ แต่ปัญหาใหญ่คือข้อสาม ที่ต้องไปนั่งเป็นกรรมการบริษัทนั้นดูท่าจะไม่เหมาะสม เพราะมาซาโยชิไม่เคยเป็นกรรมการของบริษัทที่ตัวเองลงทุน แม้จะใส่เงินไปจำนวนมหาศาลให้กับหลาย ๆ บริษัท เขาต้องการคงบทบาทสำคัญคือผู้ลงทุนเพียงเท่านั้น

แต่แจ๊ค ก็ยังยืนกรานที่จะให้มาซาโยชิ มาเป็นกรรมการให้ได้ สุดท้ายจึงเจรจากันที่ตรงกลางโดย มาซาโยชิรับเป็นกรรมการ แต่คงไม่ได้เข้าร่วมประชุมบ่อย ๆ เหมือนกรรมการคนอื่น ๆ เพราะเขาเป็นคนที่ยุ่งมาก โดยเสนอตัวเป็นที่ปรึกษา แต่ยังนั่งในตำแหน่งกรรมการของอาลีบาบาให้แจ๊คได้ตามที่เขาต้องการ

สุดท้ายก็เป็นเรื่องเงิน ซึ่ง เป็นหน้าที่ของ โจเซฟ ที่จะทำการเจรจาต่อรอง การเสนอราคาในครั้งแรกจากมาซาโยชิ นั้นถูกปฏิเสธไปแบบไร้เยื่อใย มาซาโยชิ พยายามยื่นข้อเสนออีก 2 ครั้งโดยนั่งเคาะตัวเลขในเครื่องคิดเลขแล้วยื่นไปให้ โจเซฟ ตัดสินใจ และก็เหมือนครั้งแรก มาซาโยชิ ถูกปฏิเสธถึงสามครั้ง เรืองแบบนี้ เขาแทบไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต

สุดท้ายด้วยความโมโห มาซาโยชิ จึงเสนอราคาครั้งสุดท้าย ลงทุน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ แลกกับหุ้นอาลีบาบา 30% ในที่สุดหลังจากหารือกันอย่างถี่ถ้วนแล้วนั้น แจ๊ค และ โจเซฟ ก็ตอบตกลงในข้อเสนอดังกล่าว 

แต่แล้วสุดท้าย deal 30 ล้านเหรียญของมาซาโยชิ แลกกับหุ้น 30% นั้นมันเริ่มทำให้แจ๊ครู้สึกลำบากใจ เพราะมันเป็นเงินจำนวนมากโขเลยทีเดียว และที่สำคัญ เขายังไม่รู้ว่าจะเอาเงินไปทำอะไรด้วยซ้ำ แถมมันยังทำให้สิทธิการถือครองหุ้นของระดับผู้บริหารในอาลีบาบาหายไปเกือบหมด และมันยังทำให้โครงสร้างผู้ถือหุ้นเสียสมดุล และทำให้มาซาโยชิ กลายเป็นผู้ควบคุมหุ้นไปโดยปริยาย

ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่า ถ้าตอนนี้ให้มาซาโยชิถือหุ้นมากมายนั้น การดึงดูผู้ลงทุนใหม่เพื่อเพิ่มทุนในอนาคต อาจจะมีปัญหาขึ้นมาก็ได้ ซึ่งเป็นสภาพที่แจ๊ครับไม่ได้ และผู้ถือหุ้นอื่น ๆ เช่นโกลด์แมนซาคส์ ก็รับไม่ได้เช่นเดียวกันแม้จะแจ๊ค จะถืออำนาจตัดสินใจอยู่ก็ตาม

วันรุ่งขึ้นหลังจากการเจรจาครั้งแรก แจ๊ค จึงไปหาผู้ช่วยของมาซาโยชิ แล้วเสนอเงื่อนไขใหม่ โดยขอลดเงินลงทุนเหลือเพียง 20 ล้านเหรียญ ทำให้ผู้ช่วยของมาซาโยชิถึงกับงงงวยกับความคิดของแจ๊ค ที่ต้องการเงินน้อยลง

แต่ผู้ช่วยของมาซาโยชิ นั้นพยายามเจรจาให้รับเงื่อนไขเดิม เพราะมันจะเป็นเรื่องยุ่งยากวุ่นวายเปล่าๆ  กับนายของเขา ซึ่งสุดท้าย โจเซฟ จึงให้แจ๊ค ติดต่อไปหามาซาโยชิโดยตรงจะดีกว่า ผ่าน email ซึ่งสุดท้าย มาซาโยชิ ก็ยอมรับการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงเงินลงทุนของแจ๊ค ซึ่งเขาก็มองเป็นผลดี เพราะจะคงสถานะความเป็นเจ้าของอาลีบาบาให้กับแจ๊คได้มากที่สุด เพื่อให้แจ๊คได้ทุ่มเทกับ อาลีบาบาให้เต็มที่

สุดท้าย deal ก็จบลงด้วยดี
สุดท้าย deal ก็จบลงด้วยดี

หลังจากนั้นไม่นาน อาลีบาบา ก็ลงนามอย่างเป็นทางการกับซอฟต์แบงค์ โดยบริษัทซอฟต์แบงค์ออกทุน 20 ล้านเหรียญ เป็นเงินลงทุนครั้งที่สองของประวัติศาสตร์อาลีบาบา ซึ่งหลังจากนั้น แจ๊ค ก็ได้ใช้เงินที่ได้มารวม 25 ล้านเหรียญในมือ เริ่มขยายกิจการอย่างบ้าคลั่ง มีการตั้งบริษัทร่วมทุนที่ญี่ปุ่น และ เกาหลี ตั้งศูนย์ R&D ที่สหรัฐอเมริกา ตั้งสำนักงานในยุโรป และการสร้างสำนักงานใหญ่ในฮ่องกง

–> อ่านตอนที่ 10 : Let’s Expand

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ