Lexus กับรถ EV ขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วยพลัง AI

ในที่สุด Lexus ก็พร้อมที่จะเปิดตัวรถต้นแบบไฟฟ้าคันแรก ที่งานโตเกียวมอเตอร์โชว์ในปีนี้บนแนวคิด LF-30 Electric ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์สำหรับ EVs รุ่นต่อไปของ Lexus

Lexus ได้ออกแบบรถแห่งอนาคตซึ่งเห็นได้จากรูปแบบ “hoodless” ของยานพาหนะหลังคากระจก และประตูแบบปีก โดยภายในนั้น Lexus ได้วางระบบควบคุมท่าทางเพื่อใช้และสร้างระบบข้อมูลยานพาหนะด้วยเทคโนโลยี AR ที่นั่งด้านหน้านั้นให้ความรู้สึกเหมือนนั่งเครื่องบินชั้นหนึ่งมากกว่า และเบาะหลังใช้สิ่งที่เรียกว่า ” artificial muscle technology ” เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้ผู้โดยสาร

เมื่อพูดถึงการขับขี่ผู้ใช้จะมีตัวเลือกของโหมดอัตโนมัติ พวกเขาจะได้รับ “การควบคุมท่าทางในระดับขั้นสูง” เพื่อรักษาระดับสายตาของผู้ขับขี่ระบบจะปรับแรงบิดให้กับแต่ละล้อ ซึ่งความสามารถดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นได้โดยรูปแบบของมอเตอร์ไฟฟ้าในแต่ละล้อนั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีพิเศษอื่น ๆ อีก เช่น Lexus Airporter ที่จะส่งกระเป๋าของคุณจากประตูบ้านของคุณไปที่ท้ายรถได้แบบอัตโนมัติ ซึ่ง LF-30 ใช้การชาร์จแบบไร้สายและ ด้วยเทคโนโลยี AI ก็สามารถซิงค์การชาร์จกับตารางประจำวันของคุณและรับรู้เสียงของคนขับผ่านเทคโนโลยี Voice Recognition และปรับรถตามความต้องการได้

Lexus วางแผนที่จะเปิดตัวยานพาหนะไฟฟ้ารุ่นใหม่ (BEV) ในเดือนหน้า นอกจากนี้ยังทำงานกับปลั๊กอินไฮบริดและแพลตฟอร์ม BEV โดยเฉพาะ ภายในปี 2025 โดย Lexus จะปรับไปใช้รูปแบบของรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่นในอนาคต

References : https://www.engadget.com/2019/10/23/lexus-electric-vehicle-lf-30-concept/ https://www.autocar.co.uk/sites/autocar.co.uk/files/styles/gallery_slide/public/images/car-reviews/first-drives/legacy/lexuslf30-6.jpg

อนาคตของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติจากการศึกษาของ Audi

ในขณะที่รถยนต์ที่ขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ รวมถึงเทคโนโลยีการขับขี่ด้วยตัวเองยังไม่พร้อมที่จะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้ ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีเหล่านี้จะมีความก้าวหน้าที่น่าสนใจ แต่ก็ยังมีอุปสรรค์หนึ่งอย่างที่ยังสามารถพิสูจน์ได้ยาก: นั่นก็คือการยอมรับของมนุษย์

การศึกษาใหม่จากออดี้แบรนด์หรูของเยอรมัน ได้วาดภาพสองภาพที่แตกต่างกันของผู้ขับขี่ทั่วโลก บริษัท สำรวจและศึกษาผู้ตอบแบบสอบถาม 21,000 คนจาก 9 ประเทศทั่วโลก พลเมืองจากประเทศจีน เกาหลีใต้ อิตาลี สเปน เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาต่างก็ให้คำตอบกับแบบสอบถามดังกล่าวนี้

สำหรับการสำรวจดัชนีความพร้อมของมนุษย์ในการยอมรับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ Human Readiness Index (HRI) ครอบคลุมกลุ่มอายุ เพศ สภาพแวดล้อม รายได้ การศึกษาและระยะทางที่ผู้ตอบแบบสอบถามใช้ขับขี่ในแต่ละวัน 

โดยคนรุ่นใหม่ที่อายุน้อยมีความคิดที่มองรถที่ขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติในแง่บวกมากขึ้น แม้ทั้ง 9 ประเทศนั้นผู้ที่อยู่ใน Generation Z (อายุต่ำกว่า 24 ปี) แสดงให้เห็นว่า “มีความพร้อมสูง” สำหรับเทคโนโลยีการขับขี่ด้วยตนเองและ 73% กล่าวว่าพวกเขาอยากรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าวมากขึ้น

สำหรับคนกลุ่ม Millennials ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับ แม้ว่าจะไม่ค่อยพร้อมเท่าคน Gen Z ก็ตาม ในขณะที่ Baby Boomers แสดงความพร้อมน้อยที่สุด โดยรวมแล้วเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจยังคงมองว่ายานพาหนะควรที่จะอยู่ในกำกับของรัฐ ซึ่งมันเป็นการมองด้วยความเป็นคนมองโลกในแง่ดีนั่นเอง

ผลการสำรวจของ Audy
ผลการสำรวจของ Audy

ในระดับสากลผู้คนจำนวน 82% ที่สำรวจระบุว่าพวกเขาสนใจเทคโนโลยีการขับขี่ด้วยตนเอง แต่แต่ละประเทศก็มีภาพที่แตกต่างกันมาก ผู้ที่อยู่ในประเทศจีนและเกาหลีใต้นั้นมีความกระตือรือร้นและสนใจ 98% และ 94%

แต่ในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกานั้นยังห่างไกลจากความกระตือรือร้นเหล่านี้อยู่มาก มีเพียง 74% และ 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามของชาวญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาตามลำดับที่กล่าวว่าพวกเขาสนใจในเทคโนโลยีรถขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ อย่างไรก็ตามทัศนคติทั่วไปเกี่ยวกับรถยนต์ขับเคลื่อนแบบอัตโนมัตินั้น มีอยู่ในแต่ละประเทศ และก็มีความแตกต่างกันไปตามพื้นที่

โดยทั่วไปแล้วชาวเอเชีย (นอกเหนือจากญี่ปุ่น) มองว่ารถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองเปรียบเสมือนรถยนต์แห่งอนาคต ในขณะที่ประเทศตะวันตกยังมีความสงสัยมากขึ้น เกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว และดูจะมีความสนใจน้อยกว่าอย่างชัดเจน

เมื่อพิจารณาถึงความกังวลของผู้ที่ไม่ได้ตื่นเต้นกับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ Audi พบข้อกังวลมากมายที่น่าสนใจ ส่วนใหญ่ (70%) เกี่ยวข้องกับการยกเลิกการควบคุมในเรื่องความเร็วของการขับขี่ 

วิธีที่รถยนต์ประเมินสถานการณ์ที่เป็นการขับเคลื่อนโดยปราศจากมนุษย์ นั้นมันยังเกี่ยวข้องกับผู้ตอบแบบสอบถามด้วย 65% ได้สังเกตเห็นถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเรื่องสำคัญคือการขาดกรอบทางกฎหมายในด้านความปลอดภัย และการขาดความสนุกสนานในการขับขี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขาดความกระตือรือร้นในความสนใจของการใช้รถยนต์แบบขับเคลื่อนอัตโนมัติน้อยลงไป

แม้จะได้รับความคุ้มครองจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถยนต์ที่ขับขี่ด้วยตัวเอง แต่ก็มีความเชื่อมั่นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยรวมแล้ว 61% ของผู้ที่เคยเห็นการรายงานข่าวเกี่ยวกับการชนของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ระบุว่าไม่ได้เปลี่ยนทัศนคติพวกเขาให้ดีขึ้นหรือแย่ลง

Audi ได้รวมรวมข้อมูลและแสดงใน Infographic วางไว้อย่างดี เทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติ แน่นอนว่าไม่ใช่ข้อเสนอที่เหมาะกับทุกคน ซึ่งผู้ที่มาจากชนบทหรือในเมืองและผู้ที่มีระดับรายได้ต่างกันต่างก็คาดหวังสิ่งต่าง ๆ จากโลกที่มีเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดความคล่องตัวในการขับขี่ 

โดยเป้าหมายต่อไปของ Audi คือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เพียง แต่ให้ความรู้แก่สาธารณชนในเทคโนโลยีดังกล่าว แต่เป็นการสร้างวิธีการในการรับประกันความปลอดภัยและผลประโยชน์ต่อสาธารชนที่บริษัทได้เดิมพันไว้กับเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่าง Self Drving Car นั่นเองครับ

References : https://www.cnet.com

Volkswagen กับการแปลงร่าง Beetle ให้กลายเป็นรถไฟฟ้า

Volkswagen ยักษ์ใหญ่ยานยนต์แห่งประเทศเยอรมนี ประกาศว่า ได้ผลิตชุดแปลงไฟฟ้าที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งสามารถแปลง Beetle ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันแบบคลาสสิกให้กลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นข่าวดีมาก ๆ สำหรับเจ้าของรถที่รักสิ่งแวดล้อม และ Beetle ยังเป็นรถยนต์ที่เป็นสัญลักษณ์ของรถยนต์เยอรมันมาอย่างยาวนาน

“การนำเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าผสมผสานกับเสน่ห์ของรถคลาสสิกของเราที่มีความคล่องตัวในการขับขี่ในอนาคต” Thomas Schmall ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโฟล์คสวาเกน กล่าวในการแถลงข่าว

จากการแถลงข่าวของ Volkswagen ชุดแปลง Beetle นี้จะผสมผสานเทคโนโลยีจากรถยนต์ e-Up ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าตัวเรือธงของบริษัท

ชุดอัปเกรดประกอบด้วยโมดูลแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสูงสุด 14 โมดูล และเมื่อติดตั้งไดรฟ์ไฟฟ้าแล้ว Beetle แบบคลาสสิคจะวิ่งได้สูงสุดที่ 200 กิโลเมตร (124 ไมล์) ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (93 ไมล์ต่อชั่วโมง).

โดย Volkswagen ไม่ได้วางแผนที่จะใช้พลังงานไฟฟ้าเฉพาะรุ่น Beetle เพียงเท่านั้น Schmall กล่าวว่าตอนนี้กำลังมองหาชุดแปลงสำหรับรถบัส Volkswagen และอาจมองไปถึงรถสปอร์ตอย่าง Porsche 356 ด้วยเช่นกัน

น่าเสียดายที่คนอเมริกันที่สนใจแปลง Beetle แบบคลาสสิกเป็นไฟฟ้าจะลำบากหน่อย โดย Volkswagen ได้ร่วมมือกับ บริษัท eClassics สำหรับการแปลงไฟฟ้าให้เจ้า Beetle และตอนนี้สามารถทำได้เฉพาะในประเทศเยอรมนีเท่านั้น

References : https://electrek.co

Formula E กับอนาคตวงการมอเตอร์สปอร์ต

การเริ่มต้นการแข่งรถกรังด์ปรีซ์นั้น ต้องมีการย้อนกลับไปกว่าศตวรรษ ในการแข่งขันที่จัดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสในช่วงต้นปี 1900 ซึ่งในตอนนี้เป็นที่รู้จักในนาม Formula 1 การแข่งรถยนต์ที่กลายเป็นปรากฏการณ์กีฬาในระดับนานาชาติได้สำเร็จ

แต่ลีกแข่งรถ อีกลีกหนึ่งที่กำลังยึดครองถนนในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก และในขณะที่มันมีความตื่นเต้นที่คล้ายคลึงกันกับของวงการ F1 แต่ไม่ได้ใช้องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งนั่นก็คือน้ำมันเบนซิน แน่นอนว่า ลีก Formula E ใช้ “e-racers” ซึ่งเป็นรถยนต์สมรรถนะสูงที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแทนนั่นเอง 

เสียงหวือหวาที่ไม่เหมือนใครของรถแข่ง Formula E เป็นหนึ่งในเสียงที่โดดเด่นที่สุดในการเล่นกีฬาเลยก็ว่าได้ มันต่างจากเสียงคำรามแบบปกติในสนามแข่งรถทั่วไป  “ ทุกอย่างของการแข่งขัน Formula E จะต้องถูกสร้างขึ้นในลักษณะที่มีการประสานกันเป็นอย่างมาก” Alejandro Agag ชายผู้ดูแล Formula E กล่าวกับ CBS News 

การแข่งขัน Formula E นั้นจะมีระยะทาง สั้น ๆ  ใช้เวลาเพียงประมาณ 45 นาที  และจะเข้าร่วมแข่งในเส้นทางถนนที่คับคั่งในใจกลางเมือง ความเร็วสามารถทำได้สูงสุด 175 ไมล์ต่อชั่วโมง มันเป็นระยะห่างจากการแข่งรถที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง Formula 1 ซึ่งเครื่องยนต์เผาไหม้แบบคลาสสิก แน่นอนว่ามันมีพลังมากกว่าและแข่งกับสนามที่กว้างและยาวกว่า แต่ Jean Eric Vergne อดีตนักแข่ง Formula 1 ก่อนที่จะมาเป็นนักขับรถอันดับหนึ่งของ Formula E กล่าวว่า มันไม่ง่ายนัก 

“ พูดแบบตรงไปตรงมา ผมกลัวรอบคัดเลือกใน Formula E มากกว่าที่ผมเคยเจอใน Formula 1” Vergne กล่าว “ เพราะคุณรู้ว่า แทร็กนั้นแคบมากมัน และด้วยรถที่หนักมากซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะขับขี่ได้ หากการจัดการไม่ดีเท่า F1 ดังนั้นจึงทำให้การขับขี่ยากขึ้นมาก ข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากและเกิดขึ้นได้รวดเร็วขึ้นเช่นกัน ”  

Formula E ในสนาม
Formula E ในสนาม

 ในรถยนต์สูตร E แบตเตอรี่จะกินพื้นที่ของเครื่องยนต์ถ้าเทียบกับรถแข่ง F1  และมีค่าใช้จ่ายประมาณหนึ่งล้านดอลลาร์สำหรับรถยนต์ 1 คัน โดยจะมีน้ำหนักประมาณ 1,500 ปอนด์ซึ่งมากกว่าครึ่งนั้นเป็นน้ำหนักของแบตเตอรี่นั่นเอง 

“ คุณต้องลองดูการแข่งขัน Formula E ตอนนี้เราเป็นจุดเริ่มต้นของบทใหม่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในการแข่งระดับโลก” Andre Lotterer เพื่อนร่วมทีมของ Vergne กล่าว 

ในฤดูกาลก่อน ผู้ขับขี่ต้องเปลี่ยนรถยนต์เพราะแบตเตอรี่ไม่สามารถอยู่ได้ตลอดการแข่งขัน ปีนี้จะไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวอีกต่อไปแล้ว: พลังงานแบตเตอรี่ได้รับการปรับปรุงอย่างมากในปีที่ผ่านมา

สำหรับการเคลื่อนย้ายแบตเตอรี่เหล่านั้น  จากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่งเป็นเรื่องเหลือเชื่อ ในบรูคลินของนิวยอร์ก ใช้คนเกือบ 700 คน ทำงานอย่างไม่หยุดในสัปดาห์ก่อนแข่งเพื่อสร้างแทร็กตั้งแต่ต้น ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้จะมีค่าใช้จ่ายของการแข่ง Formula E ราว ๆ   10-15 ล้านดอลลาร์ต่อหนึ่งสนามแข่ง

Agag กล่าวว่า มันเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต และการเสียเงินในตอนนี้ถือว่าคุ้มค่าเพราะลีกของเขานั้นมีเป้าหมายไม่เพียงแค่เป็นซีรีย์การแข่งขันไฟฟ้าชั้นนำเท่านั้น 

“ ผมไม่มีปัญหากับ Formula 1” Agag กล่าว “ผมชอบ Formula 1 ผมคิดว่ามันยอดเยี่ยม แต่เห็นได้ชัดว่า เมื่ออุตสาหกรรมเปลี่ยนไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า การแข่งขันรถยนต์ Formula 1 ก็ต้องมีการปรับตัวตามอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน”

Agag กล่าวว่าเขาไม่แน่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับวงการ Formula 1 ในอนาคต แต่ในอีกสิบปีเขาคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน วันนั้น Formula E อาจจะกลายมาเป็นลีกชั้นนำก็เป็นไปได้

รถแข่งในสนาม Formula E
รถแข่งในสนาม Formula E

เทรวิส โอคุลสกี้หัวหน้าบรรณาธิการของ Road & Track กล่าวว่ารถแข่งไฟฟ้าไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่สำหรับผู้ผลิตอีกต่อไป    

“Formula 1 มีมาตั้งแต่ปี 1950 แน่นอนว่าพวกเขามีประวัติศาสตร์เกือบ 70 ปีกับกีฬาชนิดนี้เพื่อพัฒนาให้กลายเป็นจุดสูงสุดของวงการมอเตอร์สปอร์ต ส่วน Formula E นั้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่และนี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาพยายามสร้างความประทับใจให้กับแฟน ๆ มอเตอร์สปอร์ตทั่วโก ” โอคุลสกี้ กล่าว “ แน่นอนว่ามันต้องใช้เวลา เพื่อที่จะเป็นจุดสุดยอดของวงการมอเตอร์สปอร์ตแบบที่ Formula 1 ทำได้นั่นเอง”

การแข่งขัน Formula E ได้พัฒนาลูกเล่นใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ในปีนี้ลีกได้ทำการเปิดตัวโหมดการโจมตีซึ่งช่วยให้ผู้ขับขี่ได้รับพลังที่มากขึ้น เหมือน เช่นในวิดีโอเกม Mario Kart นั่นเอง

“ เราต้องปรับตัวให้ไปทางวิดีโอเกมให้มากยิ่งขึ้น” Agag กล่าว “และตอนนี้เรายังไม่ถึงครึ่งทาง”

“ อนาคตคือรถยนต์ไฟฟ้า และการแข่งขันจะเป็นการผสมผสานระหว่างชีวิตจริงและในวิดีโอเกม ระหว่างของจริงและสิ่งที่เสมือนจริงที่อยู่ในเกม” เขากล่าวเสริม 

สำหรับตอนนี้ Agag ต้องการให้ผู้ชมเข้าใจถึงศักยภาพของยานพาหนะไฟฟ้า “ผมคิดว่าถ้าคุณเห็นการแข่งขันครั้งนี้ คุณจะเริ่มสนใจที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า  ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่เหล่าผู้คนเข้ามาที่นี่เพื่อมาชมพวกเรานั่นเอง “

References : 
https://www.cbsnews.com/news/formula-e-the-electric-car-league-vying-become-future-auto-racing-2019-07-13/

Reinventing The Wheel : Future of EV Car

ยานพาหนะขับเคลื่อนไฟฟ้าในปัจจุบันแทบจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการออกแบบมาจากดีไซต์ของรถเครื่องยนต์กินน้ำมันแบบเดิม ๆ  ซึ่งอาจจะมีข้อยกเว้นที่พบได้บางอย่างเช่น มีการนำเอามอเตอร์เกียร์และส่วนประกอบอื่น ๆ ไปอยู่ภายใต้ตัวรถนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม REE บริษัท Startup จากอิสราเอล ได้ตัดสินใจที่จะใช้แนวทางที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงในการออกแบบรถยนต์ EV แบบไฟฟ้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทุกสิ่งที่อยู่ใต้กระโปรงหน้ารถนั้น จะถูกติดตั้งเข้ากับล้อของรถ

“จนถึงขณะนี้บริษัทได้ดำเนินการโดยการปรับปรุงการออกแบบแบบยานยนต์ใหม่แบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน”  CEO ของ REE (Daniel Barel) กล่าวในการแถลงข่าว “  ที่ REE เราเชื่อว่าเพื่อเร่งการปฏิวัติยานยนต์เราจำเป็นต้องบูรณาการ การออกแบบล้อใหม่ทั้งหมด”

แนวคิดการออกแบบรถยนต์แบบใหม่ฉีกกฏเกณฑ์เดิม ๆ ที่เคยมี
แนวคิดการออกแบบรถยนต์แบบใหม่ฉีกกฏเกณฑ์เดิม ๆ ที่เคยมี

REE แพลตฟอร์มรถเปิดตัวในงาน TechCrunch Mobility ที่ผ่านมา ซึ่งมันดูไม่เหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้าแต่มันดูเหมือนกับสเก็ตบอร์ดขนาดใหญ่เสียมากกว่า ซึ่งสร้างความสนใจให้กับผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก

แนวคิดของ REE ก็คือเหล่าผู้ผลิตรถยนต์สามารถสร้างยานพาหนะไฟฟ้าประเภทใดก็ได้ตั้งแต่รถกอล์ฟไปจนถึงรถกระบะที่อยู่ด้านบนของแพลตฟอร์มรถยนต์แบบแยกส่วนดังกล่าวนี้

“ค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ OEM คือ แพลตฟอร์มของการพัฒนา สายการผลิต และ Process ในการตรวจสอบความถูกต้องของการผลิต” Barel บอกกับสำนักข่าว NewAtlas “ มันมีค่าใช้จ่ายหลายพันล้าน และใช้เวลาหลายปี เราจึงสร้าง Model แบบใหม่  ที่เปิดโอกาสให้เหล่าผู้ผลิตหน้าใหม่ฉีกกรอบรูปแบบการผลิตแบบเดิม ๆ  ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีสายการผลิตขนาดใหญ่ สามารถผลิตเพียงไม่กี่คันก็ได้ คล้ายกับชิ้นส่วนทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาประกอบกันได้นั่นเอง”

References : 
https://newatlas.com/ree-modular-mobility-platform/60486/