Digital Music War ตอนที่ 11 : The End at Last?

ถึงสิ้นไตรมาสแรกของปี 2011 Apple สามารถที่จะขาย iPod ไปได้กว่า 208 ล้านเครื่อง และยังขายได้ต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่่งรวม ๆ แล้วนั้น Apple สามารถจำหน่าย iPod ตั้งแต่มีการผลิตออกมาไปกว่า 307 ล้านเครื่อง แต่ดูเหมือนวัฏจักร ของเครื่องเล่นเพลงจะค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงไปแล้ว เพราะการมาของ iPhone สินค้าเรือธงใหม่ของ Apple นั่นเอง

แต่อย่างไรก็ตาม iTunes ก็ยังกลายเป็น แพลตฟอร์มที่ขายเพลง ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ ซีรีส์ รวมถึงเสนอ podcast และสุดท้ายก็เป็นที่ขาย Application ของ iPhone มันเป็นที่มาของรายได้ให้กับ Apple รวมถึงบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ ecosystem นี้อีกมากมายมหาศาล

ผลกระทบที่สำคัญ คือ การปฏิวัติวงการเพลงในรูปแบบดิจิตอลของ iPod แน่นอน มันมีผลกระทบต่อค่ายเพลงต่าง ๆ ทั่วโลก โดยในช่วงทศวรรษ 1990 เหล่าบริษัทค่ายเพลงต่าง ๆ นั้นจะมีรายได้หลักมาจาก การขาย CD และแน่นอนว่า วิธีแบบเก่า  ๆ  เหล่านี้ ใช้ไม่ได้ผลอย่างแน่นอนกับออนไลน์

iTunes จึงเปรียบเสมือนร้านขายแผ่นเสียงสำหรับผู้คนจำนวนมาก และแน่นอนว่า มันได้ทำให้ธุรกิจจำหน่ายแผ่น CD เพลงเหล่านี้ต้องล้มหายตายจากไปจากวงการ ต้องเลิกกิจการไปมากมาย แต่อย่างน้อยมันยังทำให้วงการเพลงยังขับเคลื่อนต่อไปได้ แม้ยอดขายจะตกลงไปก็ตาม แต่ต้นทุนก็ลดลงตามไปด้วย ไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่อง CD ไม่มีค่าใช้จ่าย fix cost อื่น ๆ ที่ต้องลงทุนอย่าง หน้าร้าน หรือ จ้างพนักงาน

เพราะ iTunes Store ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีเวลาหยุดพัก ซึ่งอย่างน้อยบรรดาค่ายเพลงก็ยังสามารถมีตัวตนอยู่บนโลกออนไลน์ได้ ไม่ถูกการโจมตีจากเหล่าบริการเถื่อน ๆ ที่แทบจะไม่แบ่งส่วนรายได้ให้กับศิลปิน หรือ ค่ายเพลงเลยด้วยซ้ำ

ฝั่ง Microsoft เอง เมื่อถึงต้นปี 2011 Zune ก็ยังไม่ได้ออกไปวางขายนอกตลาดอเมริกาเหนือแต่อย่างใด ชื่อของ Zune เริ่มจางหายไปจากผลิตภัณฑ์หลักของ Microsoft ซึ่ง Microsoft เอง ก็ได้เริ่มลดบทบาทของ Zune ลง จนปิดฉากไปในที่สุด

สุดท้าย Zune ก็ต้องปิดฉากลงไปในปี 2011
สุดท้าย Zune ก็ต้องปิดฉากลงไปในปี 2011

Microsoft นั้นดูเหมือน GE (General Electric) ตรงที่มีแนวคิดว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขานั้นต้องเป็นที่ 1 หรือ ที่ 2 ในตลาดเพียงเท่านั้น หากไม่ใช่ ก็เตรียมตัดผลิตภัณฑ์ตัวนั้นออกไปจากตลาดได้เลย

Apple ได้ก้าวล้ำไปไกลในตลาดเครื่องเล่นเพลงแบบดิจิตอล และกำลังก้าวไปอีกขั้นกับ iPhone ในตลาดมือถือ Apple แทบจะไม่มอง Zune เป็นคู่แข่งเลยด้วยซ้ำ 

มันน่าแปลกใจไม่ใช่น้อยเพราะ DRM (Digital Right Management) เทคโนโลยีในการจัดการลิขสิทธิ์ดิจิตอลนั้น Microsoft เป็นคนสร้างมันมากับมือแท้ ๆ แต่ Apple เป็นเจ้าแรกที่ทำให้ผู้ใช้พอใจกับ DRM ด้วย iTunes Store ของพวกเขานั่นเอง

และในที่สุด Microsoft ก็ต้องเผชิญกับความเป็นจริง ๆ ที่ Apple ที่ตอนนั้น มีทีมงานที่เล็กกว่า แถมเงินทุนก็ยังน้อยกว่า Microsoft อย่างมาก แต่ Apple ทำในสิ่งที่เปลี่ยนโลกของการฟังเพลงไปตลอดกาลด้วย iPod และ iTunes และมันได้ทำให้ สตีฟ จ๊อบส์ สามารถที่จะเอาชนะเหนือศัตร์เก่าอย่าง บิลล์ เกตส์ ได้สำเร็จ มันเป็นการล้างแค้นหลังจากที่จ๊อบส์ได้พ่ายแพ้อย่างหมดรูปในธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ทำให้เขาต้องโดนไล่ออกจาก Apple ไป และ iPod ยังนำไปสู่ก้าวใหม่ของบริษัท Apple ในที่สุด ดั่งที่เราได้เห็นในทุกวันนี้นั่นเองครับ

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวของ สงคราม Digital Music War จาก Blog Series ชุดนี้

การกลับมาในคำรบที่สองของ จ๊อบส์ ครั้งนี้ มาพร้อมกับพลังที่ล้นเหลือ ด้วยความพร้อมที่จะมาพิสูจน์ตัวเองอีกครั้งในฐานะ CEO ตัวจริงของ Apple ที่ไม่มีใครในโลกนี้เลียนแบบเขาได้ ผู้นำที่สามารถสร้างสิ่งที่ไม่มีทางเป็นไปได้ให้เป็นไปได้ มานับต่อนับ

เรียกได้ว่า iPod เครื่องเล่นเพลงแบบดิจิตอล ของ Apple นั้นถือเป็นต้นแบบสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมของ Apple เรื่อยมาในยุคหลังไม่ว่าจะเป็น iPhone , iPad หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของ Apple ซึ่งล้วนแล้วมาจากทีมงาน Dream Team ชุดที่สร้าง iPod มาแล้วแทบจะทั้งสิ้น

และสิ่งสำคัญที่จ๊อบส์ทำมาตลอดในช่วงการสร้าง iPod  คือ การโฟกัส ซึ่ง เขาโฟกัส ในสิ่งที่ทำ การสร้าง iPod นั้นเต็มไปด้วยอุปสรรค ทั้งทางด้านวิศวกรรม และ การออกแบบมากมาย แต่จ๊อบส์ เชื่อมั่นว่า ทีมของเขาจะทำได้ เขาทำให้ทีมของเขาทำสิ่งที่ใครในโลก ไม่คิดว่าจะทำได้  iPod มันจึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่วิเศษที่สุด มันเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมดนตรีได้เลยด้วยซ้ำ และมันเป็นการพลิกโฉมของ Apple เข้าสู่ยุคใหม่อย่างที่เห็นในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน

ส่วน Microsoft นั้นเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นองค์กรที่ใหญ่ และมีอุปสรรคมากมายต่อการเติบโต ซึ่งแน่นอนว่า องค์กรใหญ่ ๆ หลาย ๆ องค์กรต้องเคยเจอ เมื่อตัวเองเติบโตไม่ใช่บริษัทเล็ก ๆ อีกต่อไป การขับเคลื่อนเพื่อที่จะสู้กับบริษัทเล็ก  ๆ นั้นก็เป็นเรื่องยาก ซึ่งมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใดกับสิ่งที่ Microsoft เจอ เพราะเราเห็นบทเรียนเหล่านี้มามากมายกับบริษัทยักษ์ใหญ่จำนวนมาก

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าแม้หลาย ๆ ครั้ง Microsoft จะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ แต่อย่างน้อยพวกเขาก็ได้ลองแข่งขัน และได้เรียนรู้วิธีที่จะสู้กับบริษัทเล็ก ๆ เหล่านี้  ซึ่งสุดท้ายในปัจจุบัน เราจะเห็น Microsoft สามารถปรับตัวให้เข้ากับการแข่งขันในธุรกิจยุคใหม่ได้ในที่สุด ไม่ได้ล้มหายตายจากเหมือนยักษ์ใหญ่บริษัทอื่น ๆ  และสามารถก้าวอย่างมั่นคงมาจวบจนถึงปัจจุบันนั่นเองครับ

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : Digital Hub *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม

Digital Music War ตอนที่ 4 : Digital Home

ต้องบอกว่า Microsoft นั้นเติบโตมากับผลิตภัณฑ์ที่เป็น Software ล้วน ๆ ไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ Microsoft Office ที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักคอยผลิตเงินให้กับ Microsoft ในขณะนั้น แต่อย่างไรก็ดี Microsoft นั้นก็ตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าถึงผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ 

ในขณะที่ iPod ได้ทำการออกวางตลาดกลายเป็นสินค้ายอดฮิตไปแล้วนั้น แต่ทางฝั่ง Microsoft ก็ดูเหมือนจะยังไม่ได้สนใจมากนัก เหล่าผู้บริหารต่างมองว่า การดาวน์โหลดเพลงแบบดิจิตอล ที่ Apple กำลังจะทำนั้น เป็นเรื่องเล็กน้อยในธุรกิจของบริษัทดนตรีที่มียอดขาย CD ต่อปี ราว ๆ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในขณะนั้น

ซึ่งรูปแบบแนวคิดนั้น จะคล้ายคลึงกับ Apple แต่ Focus ไปที่ความบันเทิงในบ้านใน Concept ข อง ดิจิตอลโฮม โดยจะเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกันผ่าน Software ของ Microsoft และตอนนั้น Microsoft ได้เปิดตลาดเครื่องเกมส์อย่าง Xbox ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยในปี 1998 วิศวกร 3 คนจากทีม DirectX ของไมโครซอฟท์ ได้แก่ Kevin Bachus, Seamus Blackley, Ted Hase และผู้นำทีม DirectX ในเวลานั้นอย่าง Otto Berkes ร่วมทีมกันเพื่อทำการแกะแล็ปท็อปยี่ห้อ Dell เพื่อสร้างตัวต้นแบบของเกมคอนโซลที่มีพื้นฐานซอฟต์แวร์เป็นซอฟต์แวร์จากไมโครซอฟท์

โดยทีมนี้หวังว่าจะสามารถสร้างเกมคอนโซลที่สามารถมีอาร์ดแวร์มาตรฐานเทียบเท่ากับเกมคอนโซลตัวถัดไปจาก Sony อย่าง Playstation 2 ซึ่งพวกเขาได้ดึงนักพัฒนาบางส่วนไปจากการพัฒนาเกมบน Windows

Microsoft ต้องการสร้างเครื่องเกมส์ให้ได้มาตรฐานเดียวกับ Playstation 2 ของ Sony
Microsoft ต้องการสร้างเครื่องเกมส์ให้ได้มาตรฐานเดียวกับ Playstation 2 ของ Sony

โดยหลังจากทำการประกอบเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ทีมนี้ได้เข้าไปพบกับ Ed Fries ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายธุรกิจเกมของ Microsoft ณ เวลานั้น เพื่อนำเสนอ “DirectX Box” ตัวต้นแบบ ซึ่งเป็นเกมคอนโซลที่มีพื้นฐานมาจากเทคโนโลยี DirectX ซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มของ Berkes โดยหลังจากได้เห็นผลิตภัณฑ์แล้ว Fries จึงได้ตัดสินใจสนับสนุนไอเดียของทีมที่จะสร้างเกมคอนโซลที่มีพื้นฐานมาจาก Microsoft DirectX

ระหว่างการพัฒนา ชื่อเดิมของเกมคอนโซลเครื่องนี้อย่าง DirectX Box ถูกย่อให้เหลือเพียง “Xbox” ทั้งนี้ฝ่ายการตลาดของ Microsoft ไม่ได้ชอบชื่อนี้และพยายามเสนอชื่ออื่นขึ้นมาทดแทน ระหว่างการทดสอบในวงจำกัด ชื่อ “Xbox” นั้นเป็นหนึ่งในรายการชื่อที่เป็นไปได้ที่จะแสดงให้เห็นว่าชื่อนี้จะไม่เป็นที่นิยมต่อผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตามภายหลังการทดสอบกลับพบว่าชื่อ “Xbox ” นั้นเป็นที่ต้องการมากกว่าชื่ออื่น ๆ ทำให้ชื่อ “Xbox”กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของผลิตภัณฑ์นี้

ในยุคที่เรียกได้ว่าเครื่องเล่นเกมส์ PlayStation ครองตลาดได้อย่างเหนียวแน่น Microsoft ก็ปล่อย Xbox ออกมาท้าชนกับทาง Sony ที่เป็นเจ้าตลาดในขณะนั้น  โดยได้เปิดตัวเครื่อง Xbox  อย่างเป็นทางการในปี 2002 ซึ่งถ้าเราเทียบด้านประสิทธิภาพนั้นถือว่ามีความใกล้เคียงกับ PS2 แต่เรื่องยอดขายนั้นกลับสู้เจ้าตลาดอย่าง Sony ไม่ได้เลย

บิลล์ เกตส์ เปิดตัว Microsoft Xbox รุ่นแรก ลุยสู่ธุรกิจบันเทิงแบบดิจิตอลเต็มตัว
บิลล์ เกตส์ เปิดตัว Microsoft Xbox รุ่นแรก ลุยสู่ธุรกิจบันเทิงแบบดิจิตอลเต็มตัว

Microsoft นั้นยอมขายเครื่องแบบขาดทุนด้วยซ้ำ แล้วมาเอากำไรจากค่าธรรมเนียมของผู้จำหน่ายเกมส์แทน ซึ่งคล้าย ๆ กับ Sony ที่การขายฮาร์ดแวร์ในธุรกิจเครื่องเล่นวีดีโอเกมนั้นจะขาดทุนอย่างแน่นอน เพราะกำไรมันอยู่ที่ Sofware ต่างหาก 

มันเป็นการวางกลยุทธ์ของทั้ง เกตส์ และ บอลเมอร์ ที่มีการวางให้ Microsoft มีการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีของ PC ซึ่ง เป็นการมองที่ขาดมาก เพราะ โลกนี้มีผู้บริโภคมากกว่าธุรกิจที่ Microsoft กำลัง Focus อยู่ และตลาดของผู้บริโภคเป็นตลาดที่ใหญ่โตมหาศาลกว่าตลาดธุรกิจมาก และทำการนำร่องโดยยอมขาดทุนหลายพันล้านดอลลาร์ด้วย XBox

ทั้งเกตส์และ บอลเมอร์นั้น มองไปที่ตลาดที่เป็นการผสานการทำงานกัน ระหว่าง Hardware และ Software ที่อยู่รอบ ๆ บ้าน ซึ่ง Microsoft มองไปที่ใจกลางห้องนั่งเล่นของทุกบ้าน ต้องมี Service และ บริการของ Microsoft เป็นศูนย์กลาง คล้าย ๆ กับ แนวคิด ดิจิตอลฮับ ของ Apple นั่นเอง แต่ Microsoft นั้นจะโฟกัสไปที่ความบันเทิงภายในห้องนั่งเล่นมากกว่า ผ่านการนำร่องด้วย XBox

เมื่อเข้าสู่ยุคปี 2000 เราจะเห็นได้ว่า แนวคิดของ Microsoft และ Apple นั้นเริ่มเข้ามาคล้ายคลึงกันในเรื่องการปฏิวัติความบันเทิงแบบดิจิตอล โดย Apple นั้นเลือกดนตรี สร้าง iPod ขึ้นมาเพื่อเป็นสินค้า Consumer Product ส่วน Microsoft นั้นจะเน้นความบันเทิงภายในบ้านใน Concept ของ Digital Home และได้เลือกสร้างเครื่องเล่นวีดีโอเกมส์อย่าง Xbox ขึ้นมา แน่นอนว่ามันต้องมีการ Conflict เกิดขึ้นระหว่างสองยักษ์ใหญ่อย่างแน่นอน เพราะความคล้ายคลึงกันของวิสัยทัศน์ใหม่ในยุคหลังปี 2000 แล้วการปะทะกันจริง ๆ มันจะเกิดขึ้นตอนไหน เพราะต่างฝ่าย ต่างมองไปที่สินค้า Consumer Product เหมือน ๆ กัน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 5 : Music Revolution

Search War ตอนที่ 9 : Bing (But It’s Not Google)

ในปี 2004 เริ่มมีพนักงานเก่าของ Microsoft ย้ายมาทำงานกับ google มากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงขนาดที่ว่า google ได้มาเป็นสำนักงานใหม่ในเมือง ซีแอตเทิล ซึ่งเเป็นฐานที่มั่นใหญ่ และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ HQ ของ Microsoft เลยก็ว่าได้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนของ Microsoft นั้นย้ายมาอยู่กับ google ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ในขณะที่เดือน พฤศจิกายนในปีเดียวกันนั้น Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Search Engine อย่างเป็นทางการอีกครั้ง นั่นก็คือ MSN Search ซึ่งทาง Microsoft ได้คุยโวไว้ว่า “จะให้คำตอบที่เป็นประโยชน์มาขึ้นจากคำค้นหาของผู้ใช้งาน และผู้ใช้งานสามารถควบคุมประสบการณ์การค้นหาของตัวเองได้ดีขึ้น”

แต่ข่าวร้ายก็เกิดขึ้นทันที เพราะหลังจากเปิดใช้งานเพียงชั่วครู่ เว๊บไซต์ก็ล่ม ซึ่งใช้เวลาเป็นวัน ๆ กว่าจะแก้ไขให้มันกลับมาใช้งานได้ปรกติอีกครั้ง เหล่าสื่อชื่อดังต่างสับ Microsoft เละเทะ มันทำให้ความน่าเชื่อถือของ Microsoft ในธุรกิจ Search Engine เสียหายมาก ๆ 

และสิ่งที่ช้ำใจที่สุดคือ ตอนนี้ เหล่าวิศวกรหัวกะทิทั้งหลายต่างรู้ดีว่า Microsoft ไม่ใช่สถานที่ทำงานที่สุดยอดเหมือนในอดีตอีกต่อไป และ google กำลังทำสิ่งที่เป็นนวัตกรรมใหม่ มีการเปิดโลกของ Software ใหม่ เมื่อเข้าสู่ปี 2005 มีพนังงาน Microsoft กว่า ร้อยคนลาออกไปทำงานกับ google 

ถึงช่วงกลางปี 2005 Microsoft ได้ทุ่มเงินไปกับโปรเจค Underdog ไปกว่า 150 ล้านเหรียญ แต่ดูเหมือนว่า Search Engine ของพวกเขานั้นยังตามหลัง google อยู่ไกลแสนไกล

และแน่นอนว่า เกตส์ เริ่มจะหงุดหงิด ที่ไม่ได้เข้ามาในธุรกิจการค้นหาก่อนคนอื่น และยังมอง google เป็นภัยคุกคามครั้งสำคัญของ Microsoft ซึ่ง เกตส์มองว่า google ไม่ใช่เป็นเพียงแค่โปรแกรมการค้นหาเท่านั้น พวกเขาพยายามใช้การค้นหาไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของ Software และดูเหมือนว่า google จะเป็นคู่แค่ที่เหมือน Microsoft มากกว่ารายอื่น ๆ ที่เขาเคยแข่งด้วย

และ Microsoft คงจะใช้แผนเดิมอีกครั้งไม่ได้อีกแล้วในการให้ Search Engine ของพวกเขา กลายเป็นค่าเริ่มต้นในผลิตภัณฑ์ของพวกเขาอย่าง Internet Exproler เพราะมีความเสี่ยงมากต่อการเจอกฏหมายต่อต้านการผูกขาดทางการค้า เหมือนที่ Windows เคยเจอ ซึ่งดูแล้วมันจะไม่คุ้มเสีย

Microsoft ที่เคยโดนคดีต่อต้านการผูกขาด คงไม่คิดจะใช้วิธีเดิม ๆ เพราะส่งผลเสียอย่างมาก
Microsoft ที่เคยโดนคดีต่อต้านการผูกขาด คงไม่คิดจะใช้วิธีเดิม ๆ เพราะส่งผลเสียอย่างมาก

ในปี 2006 Microsoft ได้ขุนพลคนใหม่อย่าง สตีฟ เบอร์โควิตช์ ที่มาจาก Askjeeves บริษัททางด้าน Search Engine ที่เป็นคู่แข่ง และเขาก็มองว่า Microsoft นั้นหลงใหลใน Software มาเกินไป ซึ่งการตัดสินใจมากมายของ Microsoft นั้นถูกกำหนดโดยเทคโนโลยีไม่ใช่เหล่าผู้บริโภค

มีการเปลี่ยน Brand จาก MSN Search เป็น Windows Live Search ในปี 2007 แต่ถึงตอนนี้ ความพยายามของทีม Underdog ก็ยังไม่บรรลุผล Microsoft ยังคงตามหลัง google อย่าง สุดกู่ google ก็ได้พัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ 

พอดึงเดือนพฤษภาคม ปี 2009 เพียงไม่ถึงสามปีหลังจากเปลี่ยนชื่อเป็น Windows Live Search  ก็ยังไม่มีความก้าวหน้าใด ๆ และไม่มีทีท่าที่จะไล่ตาม google ทันแต่อย่างใด ต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “Bing” ซึ่งมาที่มาจาก “But It’s Not Google” และเป็นครั้งแรกที่ทีม Underdog รู้สึกว่าผลงานของพวกเขาหลุดพ้นเงาของ Windows เสียที และมาเกิดใหม่ในชื่อที่มีชีวิตชีวา และ เข้าถึงผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น

และถึงตอนนี้ ภายใน Microsoft นั้นเป้าหมายหลักของพวกเขาคือ การแข่งขันกับ google เป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งเหนือสิ่งอื่นใด เพราะ google เริ่มเข้ามารุกรานในตลาดโปรแกรม office หลังจากทำการปล่อยบริการออนไลน์อย่าง google docs ออกมาเรียกได้ว่าเป็นการก้าวขึ้นมาท้าทาย Microsoft โดยตรงเป็นครั้งแรก

ตอนนี้ google เริ่มเปิดแนวรบใหม่ รุกมายังผลิตภัณฑ์หลักอย่างชุดโปรแกรม office ของ Microsoft เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และทำให้ทางฝั่ง Microsoft โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เรียกไ้ดว่า google นั้นใช้ Search Engine ผลักดันให้ตัวเองมาสร้างผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งอีกไม่นอนก็คงจะเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Microsoft ทั้งหมด แล้ว Microsoft จะทำอย่างไรต่อ กับความพลาดพลั้งในครั้งนี้ Bing จะกลับมาสู้กับ google ได้อีกครั้งหรือไม่ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 10 : Partnership

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Beginning of Search *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

ความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตของ Bill Gates

Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้งของ Microsoft ได้กล่าวถึงช่วงเวลาของเขากับบริษัท Microsoft เมื่อมีการตัดสินใจครั้งสำคัญในเรื่องระบบปฏิบัติการมือถือ ในระหว่างการสัมภาษณ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ Village Global ซึ่งเป็น บริษัทร่วมทุน โดย Gates เปิดเผยว่า “ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต” ของเขาคือ Microsoft การปล่อยให้ Android นั้นถือกำเนิดขึ้นมา :

“ ในโลกของซอฟต์แวร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแพลตฟอร์มที่ใหญ่อย่างมือถือนั้น เป็นตลาดที่สามารถพลิกเกมธุรกิจได้ ดังนั้นความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการจัดการผิดพลาดที่ผมมีส่วนร่วมซึ่ง Microsoft นั้นมองตลาดพลาดไป และปล่อยให้ Android เติบโตขึ้นมาจากลายเป็นแพลตฟอร์มมาตรฐานของโลกที่นอกเหนือจาก Apple 

ซึ่งส่วนนั้นมันควรเป็นของ Microsoft  ซึ่งมันมีที่ว่างสำหรับระบบปฏิบัติการที่ไม่ใช่ของ Apple และผลตอบแทนที่ Android ได้รับกว่า 400 พันล้านเหรียญที่ผ่านมา ที่จะถูกโอนจาก บริษัท google ไปยัง บริษัท Microsoft แทนนั่นเอง”

อดีต CEO ของ google อย่าง Eric Schmidt ยอมรับว่าจุดเริ่มต้นของ Google คือการพยายามเอาชนะ Windows Mobile ในช่วงต้นของการสร้างระบบปฏิบัติการของ “ ในขณะที่เรากังวลอย่างมากว่ากลยุทธ์มือถือของ Microsoft จะประสบความสำเร็จ” Schmidt กล่าวระหว่างการต่อสู้ทางกฎหมายกับ Oracle เกี่ยวกับ Java ในปี 2012 ในที่สุด Android ก็สามารถเอาชนะได้ทั้ง Windows Mobile และ Windows Phone และกลายเป็น Windows ในโลกมือถือจนถึงปัจจุบัน

Android จากจุดเริ่มต้นเล็กจนกลายเป็นระบบปฏิบัติการที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลก
Android จากจุดเริ่มต้นเล็กจนกลายเป็นระบบปฏิบัติการที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลก

แม้ว่าคำกล่าวของ Gates นั้นค่อนข้างน่าแปลกใจ ซึ่งหลายคนคิดว่าความผิดพลาดในตลาดมือถือของ Microsoft นั้นเป็นความผิดพลาดในยุคของ Steve Ballmer เราคงยังจำกันได้ในขณะที่ iPhone ได้เปิดตัวต่อสาธารณะชนในปี 2007 Ballmer หัวเราะและกล่าวถึง iPhone ว่า “ เป็นโทรศัพท์ที่แพงที่สุดในโลกและไม่ดึงดูดลูกค้าธุรกิจเพราะมันไม่มีคีย์บอร์ด” 

นี่เป็นส่วนสำคัญของความผิดพลาดในช่วงแรก ๆ ในมือถือของ Microsoft และ Microsoft ใช้เวลาหลายเดือนในการพิจารณาว่า บริษัทควรจะเลิกความพยายามในการพัฒนา Windows Mobile ซึ่งในเวลานั้นไม่ได้เป็นระบบสัมผัสและเกิดจากยุคเก่าของอุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วยสไตลัส Microsoft ตัดสินใจในการประชุมฉุกเฉินเดือนธันวาคม 2008 เพื่อยกเลิก Windows Mobile และรีบูตระบบปฏิบัติการมือถือใหม่ให้กลายเป็น Windows Phone อย่างสมบูรณ์

Ballmer ที่ประเมินการเปิดตัวของ iPhone ต่ำเกินไป
Ballmer ที่ประเมินการเปิดตัวของ iPhone ต่ำเกินไป

ในขณะที่อดีตหัวหน้า Windows อย่าง Terry Myerson และ Joe Belfiore ของ Microsoft มีส่วนร่วมในการประชุมฉุกเฉินครั้งนั้นและเป็นไปได้ว่า บริษัทอาจจะมีการขอคำแนะนำจาก Bill Gates ในบางเรื่อง โดยที่ Gates ก้าวลงจากตำแหน่ง CEO ในปี 2000 โดยรับตำแหน่งหัวหน้าสถาปนิกทางด้านซอฟต์แวร์

ในช่วงเวลาที่สำคัญซึ่งนำ Microsoft ไปสู่ ​​Windows Phone และ Windows Vista  แต่ท้ายในที่สุด Gates ก็ก้าวลงจากตำแหน่งหัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ในเดือนกรกฎาคม 2008 และดำรงตำแหน่งประธาน บริษัท จนกระทั่ง Satya Nadella เข้ารับตำแหน่ง CEO ในปี 2014

Gates อาจไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการตัดสินใจในเรื่องกลยุทธ์ทางด้านมือถือของ Microsoft แต่การลงจากตำแหน่งของเขาเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ Microsoft ตัดสินใจไม่ใช้ Android ซึ่งเมื่อเทียบกับอดีตซีอีโอไมโครซอฟท์อย่าง Steve Ballmer ที่กล่าวว่า Windows Vista เป็นความเสียใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาที่ไมโครซอฟท์ก่อนที่เขาจะอำลาไปด้วยคราบน้ำตาก่อนส่งไม้ต่อให้ Satya Nadella

ไมโครซอฟท์ดูเหมือนว่าจะมีความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัยทั้งที่ผ่านศึกในธุรกิจมือถือมาอย่างยาวนาน แต่ตอนนี้ธุรกิจ Cloud กำลังพาบริษัทกลับมารุ่งเรือง “ มันน่าอัศจรรย์สำหรับผมที่ทำผิดพลาดครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง แต่หลายสิ่งหลายอย่างของบริษัท ทั้งสินทรัพย์อื่น ๆ ของเราเช่น Windows และ Office ยังคงแข็งแกร่งมากดังนั้นเราจึงยังคงเป็นบริษัทชั้นนำ” Gates กล่าว . “ถ้าเรามีโอกาศที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่งเราจะกลายเป็นบริษัทชั้นนำ อันดับ 1 ของโลกได้อีกครั้ง.”

References : 
https://www.theverge.com/2019/6/24/18715202/microsoft-bill-gates-android-biggest-mistake-interview

ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 2 : From Rival to Respect

มันเป็นความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อน อย่างแปลกประหลาด ระหว่าง บิล เกตส์ และ สตีฟ จ๊อบส์ ยุคแรกของการปฏิวัติ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งคู่ เป็นคู่แข่งที่ขับเคี่ยวกันอย่างหนักมาก ๆ แทบจะเป็นศัตรู คู่อาฆาต กันเลยด้วยซ้ำ แถม บิล เกตส์ ยังมาลอกระบบปฏิบัติการ macintosh ที่เป็น User Interface แบบใหม่ในสมัยนั้น ไปทำแข่งกลายเป็น ระบบปฏิบัติการ Windows ที่เป็นที่นิยมทั่วโลก อย่าง Windows 1.x – 3.x

ต้นแบบของ windows ที่คนใช้กันทั่วโลกคือ macintosh ของ apple นั่นเอง
ต้นแบบของ windows ที่คนใช้กันทั่วโลกคือ macintosh ของ apple นั่นเอง

แต่เวลาเมื่อกาลเวลาเปลี่ยน จ๊อบส์ ได้เติบโตขึ้นอีกระดับ วุฒิภาวะทางอารมณ์ ของเขาก็ดีขึ้นกว่าเก่าเป็นอย่างมาก การกลับมาคุมบังเหียน apple ในรอบที่ 2 ด้วยสถานะของบริษัท apple ที่ไม่เหมือนเดิม ตอนนี้ apple ไม่ได้เป็นผู้นำระดับต้น ๆ ในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอีกต่อไป สถานะทางการเงินก็ง่อนแง่น ใกล้เข้าสู่ภาวะล้มละลายเต็มที มันคงถึงเวลาที่เขาต้องหันกลับมาพึ่งพา บิล เกตส์ ศัตรู คู่อาฆาต ในอดีตเสียแล้ว

Macworld Boston , สิงหาคม 1997

หลังจากการประกาศตัวรับตำแหน่ง CEO อย่างเป็นทางการของ จ๊อบส์ ก็ทำให้มูลค่าหุ้นของ apple นั้นพุ่งจาก 13$ ขึ้นไปถึง 20$ ภายในเดือนเดียวเพียงเท่านั้น

งานเปิดตัวครั้งแรกต่อหน้าสาวกตัวจริงของ apple คือ งาน Macworld Boston ในเดือนสิงหาคมปี 1997 เหล่าสาวกกว่า 5,000 ต่างรอคอยการกลับมาของ ฮีโร่ ของเขา เพียงแค่เริ่มการปรากฏตัวบนเวที  เหล่าสาวก ต่าง ตะโกนเรียกร้อง แห่เชียร์ เสียงร้อง สตีฟ สตีฟ สตีฟ ๆๆๆ  ดังสนั่นฮอล์ที่ใช้ในการจัดงานประชุม

สตีฟ จ๊อบส์ เปิดตัวต่อหน้าแฟน ๆ ในฐานะ CEO apple คำรบสอง
สตีฟ จ๊อบส์ เปิดตัวต่อหน้าแฟน ๆ ในฐานะ CEO apple คำรบสอง

มันเป็นการนำเสนอวิสัยทัศน์ ใหม่ของ apple หลังจากก่อนหน้านี้ ทุกสิ่งทุกอย่างของ apple กำลังแย่ลงไปเรื่อย ๆ ยอดขายตกไปกว่า 30% ภายในเพียงแค่ 2 ปี 

สิ่งที่ทำก่อนหน้าในช่วงที่เขาไม่อยู่นั้น เป็นการเดินทางที่ผิดพลาดของ apple มันไม่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาจาก apple เลย มันเปรียบเหมือนบริษัทที่เน้นจะขาย ๆ ๆ  และยัดเยียดให้กับลูกค้าเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจว่า เหล่าสาวกของ apple ต้องการอะไร

ลูกค้าของ apple ไม่เหมือนลูกค้าบริษัทอื่น ๆ พวกเขาต้องการความแตกต่าง ที่จะซื้อสินค้าของ apple แต่ทิศทางของบริษัทในอดีตก่อนหน้านี้ กลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม ทำให้ลูกค้าค่อย ๆ หายไปจาก apple 

จ๊อบกล่าวในเวทีดังกล่าว ว่า apple ในยุคใหม่นั้นจะต้องสร้างสิ่งที่เหล่าสาวก apple ต้องการ มันต้องเป็นสิ่งที่พิเศษ กว่าที่มีอยู่ในตลาด และต้องคิดแบบแตกต่างแบบเริ่มตั้งแต่ต้นใหม่ทั้งหมด

แม้คำกล่าวของ จ๊อบส์ ในงานดังกล่าว มันเป็นเพียงการปลุกขวัญกำลังใจให้กับเหล่าสาวก apple ว่า ตอนนี้ ถึงเวลาที่ apple กำลังจะกลับมาแล้ว ซึ่งมันเป็นคำพูดง่าย ๆ แบบเดิมที่จ๊อบส์ใช้พูดเป็นประจำ แต่มันมีความหมายต่อเหล่าสาวก apple เป็นอย่างมาก ระหว่างที่กำลังฟังจ๊อบส์พูดในงาน นั้น เหล่าสาวกต่างมองหน้ากัน จับมือกัน หลาย ๆ คนถึงกับกลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่ เพราะ ฮีโร่ ของเขา พร้อมที่จะกลับมาปลุก apple ให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งแล้ว

From Rival to Respect

สำหรับ จุด climax ของงาน Macworld Boston ครั้งนี้ จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกเสียจากการปรากฏภาพของ Microsoft มาเป็น พาร์ทเนอร์ ทางธุรกิจใหม่ของ apple ซึ่งเป็นสิ่งที่แฟน ๆ สาวก apple ถึงกับอึ้งกันเลยทีเดียวเมื่อเห็นภาพนี้ครั้งแรก

ประกาศความร่วมมือกับ microsoft เพื่ออนาคตของ apple ยุคใหม่
ประกาศความร่วมมือกับ microsoft เพื่ออนาคตของ apple ยุคใหม่

apple และ microsoft นั้นเป็นศัตรูกันมากว่า ทศวรรษ มีการต่อสู้ทั้งผลิตภัณฑ์ รวมถึงการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา มากมาย ที่อยู่ในชั้นศาล แม้ว่าในสมัย จอห์น สคัลลีย์ นั้นจะมีการเจรจายอมความ ให้ microsoft ชดใช้ค่าเสียหายจากการ copy User Interface แต่ก็ดูเหมือนท่าทีของสงครามระหว่างบริษัททั้งสองก็ยังคงไม่จบกันง่าย ๆ 

ไม่ต้องคิดถึงความเป็น พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ที่ทั้งสองบริษัท ไม่มีทางจะร่วมมือกันได้ในอดีต microsoft นั้นแทบจะไม่พัฒนา product หลักอย่าง microsoft word หรือ Excel ให้กับ ระบบปฏิบัติการ macintosh ของ apple เลย

แม้จะมีความพยายามเจรจากันในยุคของ เอเมลิโอ บ้าง แต่ด้วยเงื่อนไขทางธุรกิจที่ซับซ้อน ทำให้การเจรจาล่าช้าออกไปมาก จนถึงการกลับมาของ จ๊อบส์ ในรอบที่สอง

จ๊อบส์ ต้องการให้ deal ทุกอย่างกับ microsoft ง่ายขึ้น โดยมีการนัดคุยกันที่บ้านของจ๊อบส์ เพื่อตัดปัญหา เรื่องความยุ่งยากทั้งหมด โดยคุยกันแบบง่าย ๆ กับ เกตส์ และสุดท้าย ทั้งคู่ก็ได้ตกลงเป็น พาร์ทเนอร์ธุรกิจกันในที่สุด

ในงาน Macworld นั้น สิ่งที่ เซอร์ไพรซ์แฟน ๆ มากที่สุดคงจะเป็น การขึ้น projector หน้าจอขนาดใหญ่ และ บิลล์ เกตส์ ได้ทำการ วีดีโอ คอลผ่านระบบดาวเทียม (ในสมัยนั้น)  เข้ามายังงานดังกล่าวด้วย

เกตส์ โผล่หน้าผ่าน วีดีโอคอลเข้ามาในงาน macworld เป็นสิ่ง เซอร์ไพรซ์สุด ๆ
เกตส์ โผล่หน้าผ่าน วีดีโอคอลเข้ามาในงาน macworld เป็นสิ่ง เซอร์ไพรซ์สุด ๆ

มันเป็นการ deal กันทางธุรกิจ ล้วน ๆ เพื่อ apple สามารถที่จะก้าวต่อไปได้ จ๊อบส์ ต้องลดทิฐิ ตัวเองลง และหันไปจับมือกับ microsoft โดย microsoft นั้นจะนำผลิตภัณฑ์ หลักของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น word , excel มาลงในระบบปฏิบัติการ macintosh ตัวใหม่

จ๊อบส์ต้องการให้ software ชื่อดังอย่างตระกูล microsoft office มาลงน macintosh
จ๊อบส์ต้องการให้ software ชื่อดังอย่างตระกูล microsoft office มาลงน macintosh

และที่สำคัญนั้น microsoft ยังได้เข้ามาลงทุนใน apple ซึ่งเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมาก ๆ ว่าศัตรูเก่า คู่อาฆาต อย่าง microsoft จะเข้ามาลงทุนใน apple โดยลงเงินมูลค่า 150 ล้านเหรียญ ในบริษัท apple โดยเป็นหุ้นแบบไม่มีเสียงโหวตในคณะกรรมการบริษัท

ถึงตอนนี้ สถานะของ apple ก็เริ่มที่จะกลับมาอยู่ในเส้นทางที่จะก้าวเข้าไปข้างหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงอีกครั้ง ตอนนี้ จ๊อบส์เข้ามาเคลียร์สถานการณ์ ทุกอย่างของ apple ให้กลับมาปรกติเรียบร้อยแล้ว เรื่องสถานะทางการเงิน หลังจากได้ microsoft เข้ามาเป็นผู้ลงทุนรายใหม่ apple ก็พร้อมแล้วสำหรับอนาคตใหม่ที่จะเกิดขึ้น แล้วอนาคตใหม่ของ apple จะเดินไปทางไหนต่อ โปรดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 3 : Ive Mac

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ