อัลกอริทึม Social Media กับวิธีที่พวกมันส่งผลต่อการมองโลกของมนุษย์เรา

ต้องบอกว่าในโลกยุคปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารนั้นมีเยอะไปหมด เพราะทุกคนสามารถที่จะเข้ามาเป็นสื่อได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่มี account ใน social media แต่นั่นเองที่ทำให้เครือข่าย social media ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายกำลังควบคุมสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เราอ่านผ่าน อัลกอริธึมที่มีความซับซ้อนของพวกเขา

เราบอกลา feed ที่สามารถมองเห็นทุกอย่างทุกแง่มุมของข่าวสารต่าง ๆ มาเป็นเวลานานมากแล้ว แม้กระทั่ง เพจ ที่เราปักหมุดไว้ว่าเราต้องการดูมันเป็นอันดับแรก เหมือนที่เคยมีใน features อย่าง see first ของ facebook ตอนนี้มันก็ได้หายไปจากระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เราอยู่ในยุคที่ถูกคอนโทรลโดยสมบูรณ์ผ่าน ระบบเครือข่าย Social Media ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายที่จะป้อนข้อมูลอะไรมาให้เราอ่าน

ในบทความของ The Wall Street Journal ที่เขียนโดย Joanna Stren นั้นมีบทวิเคราะห์ในเรื่องนี้ได้อย่างน่าสนใจที่ผมอยากจะนำมาเล่าให้ฟัง

ปัญหานี้มันได้เกิดขึ้นมานาน โดยจุดเริ่มต้นน่าจะมาจากการเกิดขึ้นของ News Feed ของ Facebook ที่เริ่มถูกขับเคลื่อนโดยอัลกอริธึมในปี 2009 และพัฒนาต่อเนื่องมาจากความสนใจ และ พฤติกรรมของผู้ใช้งาน

แม้ facebook จะพยายามปรับอัลกอริธึมดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือน ปัญหาทั้งเรื่อง Fake News หรือ Bias Content นั้น ดูจะไม่มีทีท่าจะลดลงไปเลย ยิ่งโลกเราเกิดปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของ COVID-19 มันยิ่งทำให้ fake news กระจายเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น

ก่อนหน้านี้ ทั้งเรื่องปัญหาการก่อความไม่สงบ ผู้ก่อการร้าย หรือ ข้อมูลทฤษฏีสมคบคิดต่าง ๆ ได้แพร่กระจายเต็มไปหมดในโลก Social Media

มันได้เกิดสถานการณ์ร้ายแรงขึ้น แม้กระทั่งในประเทศบ้านเกิดของ Facebook เองอย่างประเทศอเมริกา การเกิดขึ้นของ QAnon , ชาตินิยมผิวขาว ที่สุดท้ายได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อย่างที่เกิดขึ้นในรัฐสภาของอเมริกา ซึ่งมันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศที่มีเสรีภาพเต็มเปี่ยมอย่างอเมริกามาก่อน ปัจจัยสำคัญก็ล้วนแล้วแต่เกิดจากเครือข่าย Social Media

แนวคิดที่น่าสนใจของ Joanna Stren ที่ได้แบ่งปันแนวคิด เพื่อแก้ปัญหาทั้งหมด โดยเธอได้เสนอ idea ไว้สามอย่างที่น่าสนใจ

แนวคิด #1 : ไม่มีอัลกอริธึม ไม่มีโฆษณา

แน่นอนว่า พื้นฐานหลักของเครือข่าย Social Media ก็คือโฆษณา ที่เป็นทุนสำคัญในการ-ขับเคลื่อนระบบของพวกเขา

แต่โฆษณา ก็เป็นสิ่งสำคัญในการผลักดันให้เกิดการสร้างข้อมูลผิด ๆ หรือ fake news ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาทางด้านการเมือง เนื้อหาทางด้านสุขภาพแบบผิด ๆ การกำจัดโฆษณา ก็ทำให้ไม่มีสมาชิกคนใดในแพล็ตฟอร์มสามารถเพิ่มเนื้อหาลงไปใน feed ของคนอื่นได้นั่นเอง

มีความน่าสนใจของ app ตัวนึงที่ชื่อว่า MeWe เครือข่าย Social Media ที่คิดมุมกลับ กับทุกสิ่งที่เราเห็นในแพล็ตฟอร์มใหญ่ ๆ ในทุกวันนี้ พวกเขาทำการตลาดตัวเองว่าต่อต้าน Facebook มี feed ที่ไม่ใช้อัลกอริธึมใด ๆ และสร้างรายได้จาก features แบบชำระเงิน รวมถึงตัวเลือกสมาชิกแบบพรีเมี่ยมเท่านั้น

MeWe เครือข่ายโซเชียลที่ทำการตลาดตัวเองว่าต่อต้าน Facebook มีฟีดที่ไม่ใช่อัลกอริทึม ภาพ: MEWE
MeWe เครือข่ายโซเชียลที่ทำการตลาดตัวเองว่าต่อต้าน Facebook มีฟีดที่ไม่ใช่อัลกอริทึม ภาพ: MEWE

แนวคิด # 2: จัดลำดับความสำคัญของข้อมูลใหม่

เหล่าผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้แพล็ตฟอร์มต่าง ๆ จริงจังกับการลดความสำคัญของ การสร้างความเกลียดชัง เรื่องทฤษฏีสมคบคิด และ ทำการจัดลำดับความสำคัญตามความน่าเชื่อถือของข้อมูลอย่างรอบคอบ

มีข้อพิสูจน์ที่น่าสใจว่าสิ่งเหล่านี้ทำได้ ถ้าเหล่าผู้บริหารแพลตฟอร์มตั้งใจจะทำมันจริง ๆ ไม่คิดถึงเรื่องเงินเป็นใหญ่ โดยในการศึกษาในปี 2020 ศาสตราจารย์ ฟาริด จาก UC Berkeley และ นักวิจัยคนอื่น ๆ พบว่า Youtube ได้ลดการโปรโมตวีดีโอที่เป็นทฤษฏีสมคบคิด หลังจากที่บริษัทได้เริ่มทำการเปลี่ยน อัลกอริธึม การแนะนำวีดีโอ

Facebook ก็ทำเช่นเดียวกัน ในช่วงหลายสัปดาห์ที่นำไปสู่การเลือกตั้ง Facebook และ Instagram ได้ดำเนินการเพื่อ จำกัด การแพร่กระจายของข้อมูลที่จัดว่าเป็นข้อมูลที่ผิด รวมถึงการอ้างสิทธิ์ที่ถูกหักล้างเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการฉ้อโกงบัตรเลือกตั้ง ซึ่งมันมีผลในการเพิ่มการแสดงผลให้กับแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้

แนวคิด # 3: ให้การควบคุมกลับคืนมาสู่ผู้ใช้งาน

“จะเป็นอย่างไรหากผู้คนสามารถพูดว่า ‘ฉันต้องการดูข่าวจากแหล่งข้อมูลทางการเมืองจากทุก ๆ แหล่งข้อมูล’ หรือ ‘ฉันต้องการดูโพสต์จากเพื่อนและครอบครัวเท่านั้น’” Jesse Lehrich ผู้ร่วมก่อตั้ง Accountable Tech องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่อุทิศตนเพื่อต่อต้านการบิดเบือนข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย กล่าว

อย่างน้อย Facebook ก็ช่วยให้เราเห็นข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับสาเหตุที่เราได้เห็นในบางสิ่งจากหน้า feed  เพียงแค่แตะจุดแนวนอนสามจุดบนโพสต์ใดก็ได้ในฟีดของคุณจากนั้น เพียงแค่คลิกที่ “ทำไมฉันจึงเห็นโพสต์นี้”

ฟีดตามลำดับเวลา คือคำตอบ ที่ดี่ที่สุด มีวิธีที่จะคืนค่าบริการบางอย่าง อย่างน้อยก็ชั่วคราว อย่างไรก็ตามการตั้งค่าเหล่านี้มักจะถูกซ่อนไว้ให้ใช้งานยาก

Facebook : ในเว็บเบราว์เซอร์ไปที่ไอคอนหน้าแรกที่ด้านบนของฟีดเลื่อนดูเมนูทางด้านซ้าย เลือก “ดูเพิ่มเติม” แล้วเลือก “ล่าสุด” ในแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ไปที่เส้นแนวนอนสามเส้นที่ด้านบนหรือด้านล่างขวาของหน้าจอแล้วมองหา “ล่าสุด” แต่มันจะไม่สามารถตั้งค่าถาวรได้

Twitter: Twitter ง่ายกว่ามาก รูปดาวเล็ก ๆ ที่มุมขวาบนของเว็บไซต์และแอปช่วยให้เรา “ดูทวีตล่าสุด” แทน “ทวีตยอดนิยม” 

Twitter ทำให้การเข้าถึงฟีดตามลำดับเวลาง่ายกว่าแอปโซเชียลมีเดียอื่น ๆ เพียงคลิกประกายไฟที่ด้านบนขวาของแอปและเว็บไซต์ ภาพ: TWITTER
Twitter ทำให้การเข้าถึงฟีดตามลำดับเวลาง่ายกว่าแอปโซเชียลมีเดียอื่น ๆ เพียงคลิกประกายไฟที่ด้านบนขวาของแอปและเว็บไซต์ ภาพ: TWITTER

YouTube: เราไม่สามารถปิดคำแนะนำอัลกอริทึมทั้งชุดได้ แต่สามารถเปลี่ยนเป็น “วิดีโอล่าสุด” ในแต่ละหมวดหมู่หรือคำค้นหา และยังสามารถปิดการเล่นอัตโนมัติ ในเว็บเบราว์เซอร์ให้มองหาปุ่มเปิด-ปิด เล็ก ๆ ที่มีปุ่มเล่นที่ด้านล่างของโปรแกรมเล่นวิดีโอ ในแอปให้มองหาปุ่มเปิด-ปิด เล็ก ๆ ที่ด้านบนของโปรแกรมเล่นวิดีโอ

Instagram: ไม่สามารถทำได้ ใช้ระบบการคัดเลือกโพสต์แบบอัลกอริทึมเท่านั้น โฆษกหญิงของ Facebook อธิบายว่าด้วยฟีดตามลำดับเวลาแบบเก่าผู้คนพลาดโพสต์ถึง 70% ในฟีดซึ่งเป็นโพสต์ของเพื่อนและครอบครัวเกือบครึ่งหนึ่ง หลังจากทำการเปลี่ยนแปลงฟีดอัลกอริทึม บริษัท พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วผู้คนเห็นโพสต์ของเพื่อนมากกว่า 90%

แน่นอนว่า หากข้อมูลใน feed เหล่านี้ป็นเพียงเรื่องของเพื่อนและครอบครัวของเรา นั่นก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่หลายปีที่ผ่านมา Social Media ไม่ได้เป็นเพียงแค่การติดตามเรื่องราวของเพื่อน ๆ หรือครอบครัวเราเท่านั้น แต่ตอนนี้มันได้กลายเป็นช่องทางที่สร้างมุมมองกับเราที่มีต่อโลก หรือ แอบยัดเยียดแนวคิดต่าง ๆ ให้กับเราด้วยนั่นเองครับผม

References : https://malinowski.house.gov/media/press-releases/reps-malinowski-and-eshoo-introduce-bill-hold-tech-platforms-liable-algorithmic
https://www.wsj.com/articles/social-media-algorithms-rule-how-we-see-the-world-good-luck-trying-to-stop-them-11610884800
https://farid.berkeley.edu/downloads/publications/arxiv20.pdf
https://www.wsj.com/articles/google-facebook-agreed-to-team-up-against-possible-antitrust-action-draft-lawsuit-says-11608612219


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube