Smartphone War ตอนที่ 4 : Turning point

หลังจากความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงกับ ROKR ที่ทาง Apple ได้ร่วมมือกับ Motorola เพื่อหวังจะเป็นบันไดสำคัญในการก้าวเข้าสู่ธุรกิจมือถือของ Apple ซึ่งแน่นอนว่ามันทำให้ จ๊อบส์ นั้นโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง แทบจะไม่อยากเอ่ยถึงในเรื่องดังกล่าวเลยเสียด้วยซ้ำ

แต่การทดลองครั้งนี้ของ จ๊อบส์ และ Apple มันก็ไม่ได้เสียเปล่าไปเลยเสียทีเดียว เพราะมันทำให้ปลุกไฟของ จ๊อบส์ ให้มีความอยากที่จะสร้างมือถือที่จะปฏิวัติวงการไปแบบสิ้นเชิง มันได้ปลุกไฟของจ๊อบส์ ให้กลับมาลุกโชติช่วงอีกครั้งหลังจากได้ปฏิวัติวงการเพลงสำเร็จไปแล้วด้วย iPod

และแน่นอนว่า จ๊อบส์ ต้องการจับมือกับ Cingular เครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง แต่เขารับประกันว่าครั้งนี้จะไม่เลวร้ายเหมือนที่ได้ร่วมผลิต ROKR กับ Motorola อย่างแน่นอน

ซึ่งในขณะนั้น มือถือ ไม่ได้เป็นเป้าหมายแรกของจ๊อบส์ ที่จะปล่อยออกสู่ตลาด แต่มันคือ Tablet ที่ทีมงานของพวกเขากำลังสร้างอยู่ต่างหาก โดยตอนนั้น Apple กำลังพัฒนา Tablet แบบจอสัมผัส จ๊อบส์ จึงสั่งการให้ลูกทีมเปลี่ยนทิศทางของผลิตภัณฑ์มาที่มือถือทันที

แต่การสร้างมือถือตั้งแต่ศูนย์ นั้นมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับบริษัทที่สร้างคอมพิวเตอร์อย่าง Apple แม้กระทั่ง Palm เองก็ต้องดิ้นรนอย่างหนักกว่าจะประสบความสำเร็จในตลาด smartphone แต่มันก็กลายเป็นความสำเร็จเพียงชั่วครู่เท่านั้นสำหรับ Palm เพราะคู่แข่งรายใหญ่ที่น่ากลัวที่สุดมันกำลังจะเกิดขึ้น

อีกบริษัทหนึ่งที่กำลังสร้างผลงานในตลาดมือถือ ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ บริษัท รีเสิร์ช อิน โมชั่น (Research in Motion หรือ RIM) เป็นบริษัทจากแคนาดา ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอุปกรณ์ไร้สายที่มีจุดเด่นในการ “ส่งอีเมล” ถึงมือถือผู้ใช้ ทุกที่ ทุกเวลา โดยรู้จักกันในชื่อว่า “แบล็กเบอร์รี่ (Blackberry)”

ระยะแรกเมื่อปี 2001 “แบล็กเบอร์รี่” เป็นเพียงเพจเจอร์ (Pager) ขนาดเล็ก ที่ผู้ใช้แต่ละคนสามารถพิมพ์ข้อความรับ-ส่งหากันได้เอง โดยมีหน้าจอขาวดำ และ แผงปุ่มกดเหมือนแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์

และ Blackberry นี่เองที่ได้กลายเป็น smartphone ที่มีประโยชน์อย่างแท้จริงเครื่องแรก ๆ ของโลก เพราะมีทั้ง email รวมถึงสามารถเชื่อมต่อได้อย่างง่ายได้เมื่อเดินทางไปไหนมาไหน และจุดเด่นที่คนหลงรักก็คือ แป้นพิมพ์ QWERTY 

และรูปแบบการเข้ารหัสของข้อความที่ส่งผ่านกันในเครือข่าย Blackberry นั้น ทำให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ โดยเฉพาะด้านการเงิน นั้นมั่นใจที่จะใช้งาน เพราะข้อมูลที่มีมูลค่ามหาศาลของเหล่านักการเงินในบริษัทนั้นจะไม่ถูกขโมยออกไปอย่างแน่นอน

Blackberry ที่เน้นด้านความปลอดภัยของข้อมูล
Blackberry ที่เน้นด้านความปลอดภัยของข้อมูล

และทุกส่วนต่าง  ๆ ดังที่กล่าวนี้เองที่ทำให้ในปี 2006 RIM สามารถสร้างรายได้มากกว่า 835 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่ารายรับของ Palm ถึง 2 เท่า และมีกำไรสูงถึง 176 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่ากำไรของ Palm กว่า 10 เท่า สามารถจำหน่ายเครื่อง Blackberry ออกไปได้กว่า 1.8 ล้านเครื่องเลยทีเดียว

ส่วนฟากฝั่ง Microsoft นั้น ก็ดูเหมือนจะเป็นยักษ์ใหญ่ที่ตายใจ ตอนนั้น Microsoft ได้เข้ามาสู่ธุรกิจมือถือมาหลายปีแล้ว และ หลังจากการร่วมกับ Palm ก็หวังจะช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น 

ซึ่ง Microsoft นั้นใช้ Model เดียวกับธุรกิจระบบปฏิบัติการ Windows บน PC ก็คือ การขายสิทธิการใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows Mobile นั่นเอง โดยไม่ได้ลงไปเล่นในตลาด Hardware เหมือนเจ้าอื่น ๆ ที่ทำกัน โดยเน้นทำส่วนที่ตัวเองถนัดอย่าง Software มากกว่า

โดยในปี 2006 นั้น Microsoft สามารถขายสิทธิ์การใช้งาน Windows Mobile ไปยังผู้ผลิตมือถือ Brand ต่าง ๆ ได้ถึง 5.9 ล้านชุด  และหลังจากนั้นอีก 1 ปีให้หลัง สามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นได้เป็นสองเท่า โดยสามารถขายได้ 11 ล้านชุด และมันเป็นช่วงขาขึ้นอย่างชัดเจนสำหรับ Microsoft ในตลาดมือถือโลก

และในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ถ้าพูดถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้งานง่ายที่สุด ก็คงเป็น Windows Mobile ของ Microsoft เพราะมีการออกแบบมาตั้งแต่ต้นให้มาจัดการรูปแบบ email ของ Microsoft รวมถึงการท่องเว๊บ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และแน่นอนว่า Microsoft ต้องการเข้ามาผูกขาดตลาดมือถือให้ได้อีกครั้งหลังจากทำสำเร็จมาแล้วกับ Windows บน PC นั่นเอง

อนาคตของ Windows Mobile ที่ค่อนข้างสดใสมาก ๆ
อนาคตของ Windows Mobile ที่ค่อนข้างสดใสมาก ๆ

ส่วนฟากฝั่งของ Google หลังจากได้ Android ของ Rubin ตอนนี้ Google ก็พร้อมแล้วเช่นเดียวกันสำหรับการกระโจนเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะกลายเป็นอนาคตของอินเตอร์เน็ต Google ก็หวังจะกลายเป็นโปรแกรมการค้นหาอันดับ 1 บนมือถือให้ได้เหมือนกับที่เขาทำได้ผ่านเว๊บไซต์บน PC

จากตอนนี้ เราจะเห็นได้ว่า ช่วงปี 2006-2007 ถือเป็นรอยต่อครั้งสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจมือถือโลก ผู้ที่ดูเหมือนได้เปรียบที่สุด ที่จะกลายเป็นเจ้าตลาดมือถือ ควรจะเป็น Microsoft เพราะตอนนั้น พร้อมทุกอย่าง ทั้งระบบปฏิบัติการ บริการ email ที่อยู่เบื้องหลัง รวมถึงได้จับมือกับ Palm เพื่อช่วยเหลือด้าน Hardware อีกด้วย

รวมถึงเหล่าพัฒนาในขณะนั้น ก็เริ่มเทใจมาที่ Microsoft เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรียกได้ว่าทุกอย่างพร้อมไปเสียหมดสำหรับ Microsoft อีกเพียงนิดเดียวก็จะถึงเส้นชัยในการกินรวบตลาดแบบที่พวกเขาทำได้บน PC เสียแล้ว

แล้วจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ธุรกิจมือถือ ในปี 2007 ซึ่งเรียกได้ว่ามันเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ ก่อนยุค 2007 ไปอย่างสิ้นเชิง อุปกรณ์ที่เป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตั้งแต่โลกเราก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนบริษัท Apple ที่แทบจะไม่ติดอันดับในบริษัทยักษ์ใหญ่ Fortune 500 เสียด้วยซ้ำ ในขณะนั้น ให้ก้าวมาสู่บริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกอย่างที่เราเห็นได้อย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 5 : That’s iPhone

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube