10 ปีผ่านไป ฉันยังสงสัยว่าฉันคิดผิดหรือเปล่าที่ให้สมาร์ทโฟนกับลูกสาว

เมื่อเวลาเป็นสิ่งที่ย้อนกลับไปแก้ไขอดีตไม่ได้ ก็ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีกับการเติบโตของเด็ก ๆ ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของเหล่าผู้ปกครองว่าควรที่จะมอบสมาร์ทโฟนแก่ลูก ๆ ดีหรือไม่

มันมีข้ออ้างมากมายว่าเด็ก ๆ ควรจะได้รับสมาร์ทโฟน เพราะพวกเขาจะกลายเป็นคนนอกสังคมที่ไม่มีโทรศัพท์ใช้ เพราะคนอื่น ๆ ต่างมีโทรศัพท์

ผู้ปกครองหลายคนก็คิดว่าโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ทำให้เด็กที่เกิดปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าสามารถที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้ปกครองได้

กลุ่มที่มีชื่อว่า Sapien Labs ซึ่งมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตของเด็ก ได้สำรวจความคิดเห็นจากผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี เกือบ 28,000 คน

Sapien ซึ่งได้ทำการวิจัยกับกลุ่มคน Gen Z อธิบายว่าคนกลุ่มนี้เป็น “กลุ่มคนรุ่นแรกที่ผ่านวัยรุ่นด้วยเทคโนโลยีนี้”

ไม่แปลกใจเลยที่การวิจัยของกลุ่มดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสภาพจิตใจของคน Gen Z นั้นแย่กว่าคนรุ่นก่อน ๆ

สุขภาพจิตของวัยรุ่นแย่ลงอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากที่สมาร์ทโฟนกลายเป็นกระแสหลัก และปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ปัญหาดังกล่าวรุนแรงขึ้น

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือ Sapien ติดตามช่วงอายุผู้ที่ตอบแบบสอบถามในการมีโทรศัพท์มือถือเป็นครั้้งแรกและเปรียบเทียบสิ่งนี้กับผลสุขภาพจิตที่รายงานออกมา

มันแสดงให้เห็นรูปแบบที่ชัดเจน เด็กที่รับโทรศัพท์ตั้งแต่อายุยังน้อยมีสุขภาพจิตที่แย่ลง โดยสัดส่วนของเด็กผู้หญิงที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพจิตมีตั้งแต่ 74% สำหรับผู้ที่ได้รับสมาร์ทโฟนเครื่องแรกเมื่ออายุ 6 ขวบ จนถึง 46% ของผู้ที่ได้รับสมาร์ทโฟนเมื่ออายุ 18 ปี ส่วนของเด็กผู้ชายนั้นตัวเลขอยู่ที่ 42% และ 36% ตามลำดับ

รูปแบบดังกล่าวมีความสำคัญอย่างหนึ่งในประเภทของสุขภาพจิตที่เรียกว่า “social self” ซึ่งจะติดตามว่าเรามองตนเองอย่างไรและเกี่ยวข้องกับผู้อื่นอย่างไร

Sapien ระบุว่ารูปแบบดังกล่าวนี้ไม่เพียงแต่มีแนวโน้มในการเสพติดการใช้เทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ลดลงด้วย

จากสถิติการใช้เวลา 5-8 ชั่วโมงต่อวันทางออนไลน์ในช่วงวัยเด็ก มีการคาดการณ์ว่าสิ่งนี้หากนับเป็นจำนวนชั่วโมงจะมากถึง 1,000 – 2,000 ชั่วโมงต่อปี แทนที่จะใช้เวลาไปปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบเห็นหน้าเห็นตากับผู้อื่นในสังคม

ก่อนที่เราจะพิจารณาผลกระทบอื่น ๆ ของเทคโนโลยี ตั้งแต่เรื่องของเนื้อหาที่เด็กสามารถดูได้ทางออนไลน์ ไปจนถึงการกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ต และความกดดันที่ต้องโต้ตอบกับโลกของโซเชียลมีเดียตลอดเวลา

Jonathan Haidt ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กล่าวว่า “โทรศัพท์โดยตัวมันเองนั้นไม่ได้เป็นอันตราย แต่สมาร์ทโฟนที่เต็มไปด้วยแอปเปรียบดั่งคำสาปของซาตาน”

Jonathan Haidt ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (CR:The Chronicle of Higher Education)
Jonathan Haidt ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (CR:The Chronicle of Higher Education)

เมื่อเด็กมีสมาร์ทโฟนเป็นของตัวเองและใช้งานได้ตามต้องการ พวกเขาจะประสบปัญหาร้ายแรงเกี่ยวกับการอดนอนและการเสพติดไปกับมัน

ทางออกคืออะไร?

ในปัจจุบันมีความคืบหน้าเกี่ยวกับเนื้อหาจากบริษัทด้านเทคโนโลยีที่เผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการควบคุมเนื้อหาบางอย่าง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ Youtube ได้ร่วมมือกับสมาคมโรคการกินผิดปรกติแห่งชาติของอเมริกาเพื่อจำกัดเนื้อหาที่เป็นอันตราย นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้มีอิทธิพลทางโซเชียลมีเดียรุ่นใหม่ เช่น Linda Sun และ Natacha Oceane ส่งเสริมทัศนคติเชิงบวกต่อร่างกายและรณรงค์ต่อต้านในเรื่องการทรมานตัวเองด้วยการอดอาหาร

Linda Sun Youtuber คนดังต้องช่วยให้ข้อมูลที่ถูกต้อง (CR:Youtube)
Linda Sun Youtuber คนดังต้องช่วยให้ข้อมูลที่ถูกต้อง (CR:Youtube)

แต่ก็ยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับคำถามที่ว่า เราควรห้ามเด็กเล็กไม่ให้ใช้สมาร์ทโฟนหรือไม่? หรืออย่างน้อยก็ระงับอุปกรณ์ที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ซึ่งก็ต้องบอกว่ามันเป็นเรื่องยากมาก ๆ สำหรับเหล่าผู้ปกครองหรือโรงเรียนในยุคปัจจุบันที่จะควบคุมหรือจำกัดการใช้โทรศัพท์มือถือ

ในขณะที่มีความเห็นว่าโรงเรียนควรขอให้เด็ก ๆ ทิ้งโทรศัพท์ไว้ในล็อกเกอร์ขณะอยู่ในชั้นเรียน แต่ผู้ปกครองอาจคัดค้านเนื่องจากพวกเขาต่างกังวลว่าจะติดต่อลูก ๆ ไม่ได้หากเกิดอะไรขึ้น เช่น เหตุกราดยิงในโรงเรียน

มีสัญญาณแห่งความหวังเล็ก ๆ ได้เกิดขึ้นในรัฐเท็กซัส มีการเคลื่อนไหวให้กำหนดว่าเด็ก ๆ ควรจะรอจนกว่าจะถึงเกรด 8 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2) ถึงจะใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้ โดยมีครอบครัวมากกว่า 45,000 คนที่ลงทะเบียนสนับสนุน

แน่นอนว่าหากใครมีลูกเล็ก ๆ ก็ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการต่อสู้ในเรื่องนี้ในอนาคตข้างหน้า เพราะอย่าไปหวังพึ่งเหล่าผู้ประกอบการที่หิวโหยเงินตรา ที่จะหวังว่าพวกเขาจะสร้างโทรศัพท์มือถือโง่ๆ ที่ปราศจากสิ่งล่อตาล่อใจจากอินเทอร์เน็ต เพราะท้ายที่สุดแล้วเด็กคือกลุ่มเป้าหมายหลักเป้าหมายแรกที่พวกเขาต้องการที่จะล่อลวงมาเสพติดเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ได้นั่นเองครับผม

References :
https://www.ft.com/content/da7bd5c6-1d29-4c40-8578-05966b84346b
https://www.todaysparent.com/family/parenting/yes-your-smartphone-habit-is-affecting-your-kid-heres-how/
https://www.nytimes.com/2016/07/21/technology/personaltech/whats-the-right-age-to-give-a-child-a-smartphone.html
https://www.theatlantic.com/family/archive/2019/09/i-wont-buy-my-teenagers-smartphones/597805/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube