Search War ตอนที่ 12 : Microsoft has Fallen

ล่วงเลยมาถึงปี 2011 สถานการณ์ของ Bing ก็ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น แผนกออนไลน์ของ Microsoft ที่รับผิดชอบ Bing นั้นขาดทุนย่อยยับกว่า 728 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่คู่แข่งคนสำคัญอย่าง google รายได้เติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า

มันเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ตอนนี้ Microsoft ถึงคราวพ่ายแพ้อย่างหมดรูปใน Search Engine มันเป็นตลาดเดียวกันแท้ ๆแต่ตัวเลขมันต่างกันลิบลับ และไม่มีทีท่าว่า Microsoft จะกู้สถานการณ์กลับมาได้เลย

ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมานั้น google สามารถทำกำไรได้กว่า 3 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่ง Search Engine นั้นเปรียบเสมือนเครื่องจักรผลิตเงินของ google ไปเสียแล้ว มันทำให้ google แข็งแกร่งขึ้น สามารถจ้างวิศวกรระดับหัวกะทิ แย่งชิงมาจาก Microsoft ได้จำนวนมาก ด้วยวัฒนธรรมการทำงานที่ใช้ DNA ของ Engineering เป็นหลัก

มันได้ทำให้คนรุ่นใหม่ ที่จบใหม่ ๆ  นั้นต่างใฝ่ฝันที่จะได้ทำงานกับ google ซึ่งเรียกได้ว่าตอนนี้ google ได้กลายมาเป็นภัยคุกคามใหญ่ของ Microsoft อย่างเต็มตัวแล้ว แถม Microsoft ยังเสียพนักงานสำคัญ ๆ จำนวนมากไปให้กับ google เสียอีกด้วย

และไม่ต้องพูดถึงฝั่งมือถือ แม้ Microsoft จะทำ Big Deal โดยการเข้าไป take over ธุรกิจมือถือของ Nokia มาได้สำเร็จ และมีการบรรลุข้อตกลงที่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Phone ของ Microsoft ซึ่งแน่นอนว่า Bing จะกลายเป็น Search Engine ค่าเริ่มต้นของเหล่ามือถือ Windows Phone ทั้งหมด

ตลาดมือถือ ก็พ่ายแพ้อย่างหมดรูปสำหรับ Microsoft
ตลาดมือถือ ก็พ่ายแพ้อย่างหมดรูปสำหรับ Microsoft

แต่ก็อย่างที่เราได้ทราบในปัจจุบันว่า ตอนนี้ มันแทบจะไม่เหลือที่ยืนให้ระบบปฏิบัติการ Windows Phone เสียแล้ว ความหวังของ Bing ที่จะมารุกไล่ google ในตลาดมือถือก็เป็นอันจบสิ้น

ตอนนี้มันได้พิสูจน์ว่า ความคิดของ บิลล์ เกตส์ ก็ไม่ได้ถูกไปเสียทุกเรื่อง การที่ Microsoft จะพลิกกลับมาทำลายบริษัทที่เพิ่งเกิดอย่าง google นั้นดูเหมือนมันจะเป็นเรื่องที่่ห่างไกลออกไปเรื่อย ๆ ยิ่งเวลาผ่านไป ช่องว่างระยะห่างระหว่าง Bing กับ google นั้นก็ดูเหมือนจะห่างขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกัน

แม้ Microsoft นั้นจะเคยรบชนะในศึกเทคโนโลยีมาหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกับ NetScape ในธุรกิจ Browser หรือแม้กระทั่งโปรแกรม Word Microsoft ก็ผ่านการรบราฆ่าฟันกับคู่ต่อสู้มานับไม่ถ้วน 

แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่า google นั้นเป็นคู่แข่งที่ไม่เหมือนใครจริง ๆ สิ่งสำคัญมันเป็นเรื่องของวัฒนธรรม รวมถึงความแตกต่างของรุ่นระหว่างผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองบริษัท google นั้นชนะในสงคราม Search Engine เพราะ Microsoft กำลังเข้าไปรบในดินแดนที่ตัวเองนั้นไม่คุ้นเคยแต่อย่างใด

และที่สำคัญยังมีการตัดสินใจผิดพลาดหลายครั้งในระหว่างการทำศึกคร้งนี้ รวมถึงการที่ Microsoft ประเมิน google ต่ำไป กว่าจะรู้ตัว ว่าตลาด Search Engine มันมีมูลค่าตลาดที่มหาศาล google ก็ได้พัฒนาไปไกลเสียแล้ว

บิลล์ เกตส์ นั้นต้องใช้เวลามากกว่า 15 ปีในการทำให้ Microsoft ขึ้นสู่จุดสูงสุดขององค์กรธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่การปล่อยให้ google ที่ประกอบไปด้วยเหล่าเด็กรุ่นใหม่ที่เพิ่งหัดทำธุรกิจ ได้แจ้งเกิดมาอย่างรวดเร็วนั้น หากมองในระยะยาว เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในที่สุด google นั้นได้กลายเป็นภัยคุกคามธุรกิจหลาย ๆ อย่างของ Microsoft อย่างเต็มตัว มาจวบจนถึงปัจจุบันอย่างที่เราเห็นนั่นเองครับ

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวของ สงคราม Search War จาก Blog Series ชุดนี้

สงคราม Search Engine มันได้เป็นตัวอย่างนึงที่แสดงให้เห็นถึง การต่อสู้ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ที่ผ่านศึกสงครามกับบริษัทต่าง ๆ มานับไม่ถ้วน และแทบจะไม่เคยพ่ายแพ้ให้กับบริษัทหน้าไหนมาก่อน

เมื่อเราลองจินตนาการกลับไปในยุคนั้น Microsoft เป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ พร้อมด้วยทุนทรัพย์มากมาย บิลล์ เกตส์ ก็เป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกติดอันดับหนึ่งอยู่หลายปี เรียกได้ว่า Microsoft นั้นพร้อมทุกๆ  อย่างถ้าคิดจะสู้กับบริษัทหน้าไหนก็ตาม

แต่ google บริษัทที่เกิดจากงานวิจัยที่บังเอิญ โดย ลาร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน นั้นได้เห็นศักยภาพที่สูงมากของ google แม้จะพยายามเสนอ idea รวมถึงขาย idea ไปยังบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ  แต่ก็ไม่มีคนสนใจ พวกเขาจึงต้องมาลุยในธุรกิจนี้ด้วยตัวเอง

ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งแรกที่เราเห็นจากสงครามครั้งนี้คือ การเลือกมืออาชีพอย่าง เอริก ชมิตต์ เข้ามาคอยดูแล google ในช่วงตั้งไข่ ซึ่งแม้จะมีศักยภาพแค่ไหน แต่การขาดผู้นำที่ดีก็อาจจะทำให้ google ไม่สามารถเติบโตระยะยาวได้อย่างมั่นคงมาจนถึงทุกวันนี้

ลองคิดดูว่าหากเป็น ทั้งเพจ และ บริน มาลุยเองตั้งแต่ช่วงแรก คงพ่ายแพ้ให้กับ Microsoft อย่างย่อยยับไปนานแล้ว การที่ ชมิตต์นั้น พยายามหลีกเลี่ยงการปะทะกับ Microsoft ให้มากที่สุด และพยายามทำทุกอย่างให้เงียบที่สุด เพราะเขาเคยปะทะกับยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft มาแล้วในสมัยที่ทำงานที่ Sun Microsystem และ Novell นั่นเอง และรู้ดีว่าไม่ควรจะไปสู้กับ Microsoft โดยตรง

เอริก ชมิตต์ ผู้เคยประมือกับ Microsoft มาก่อนหน้านี้แล้ว
เอริก ชมิตต์ ผู้เคยประมือกับ Microsoft มาก่อนหน้านี้แล้ว

เรื่องของประสบการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เหล่า startup ต้องมี mentor ที่ดีในช่วงตั้งไข่แบบที่ google มี เอริก ชมิตต์ เพราะหากลุยด้วยตัวผู้ก่อตั้งเองที่ประสบการณ์ยังไม่มี หรือมีน้อย และความมั่นใจในตัวเองที่สูงเกินไปนั้น โอกาสที่จะพ่ายแพ้นั้นสูงมากนั่นเอง

และด้วยเงินทุนที่น้อยกว่าอย่างเห็น ๆ  เมื่อเทียบกับ Microsoft google จึงใช้วัฒนธรรมการคิดแบบ engineering เป็นหลัก ทุก ๆ จุด ทุกรายละเอียด แม้กระทั่ง design หน้าจอในระดับ pixel หรือ เฉดสีที่แตกต่าง มันนำมาซึ่งผลที่แตกต่างกันอย่างมากหากมีการ Scale ระบบให้มีขนาดใหญ่อย่างที่ google ทำ เพราะสถิติต่าง ๆ แค่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยนั้น ก็มีโอกาสสร้างรายได้ให้กับบริษัทเพิ่มขึ้นได้อีกมหาศาลเช่นกัน

รายละเอียดเล็กน้อยเหล่านี้ แม้จะดูเหมือนไร้สาระ แต่ความจริงแล้ว ยิ่งบริษัทที่ทุนน้อยกว่าอย่าง google ทำให้สามารถที่จะต่อการกับ ยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ได้อย่างไม่เกรงกลัว และสุดท้าย พวกเขาก็สามารถเอาชนะไปได้ในที่สุดในศึก Search Engine ครั้งนี้นั่นเองครับ

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Beginning of Search *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube