ทำไมกฏหมายในยุคนี้ถึงยังต้องตีความ?

การให้ความเห็นล่าสุด ของนักกฏหมายระดับประเทศ เรื่องที่เกี่ยวกับ สิทธิ์ในการเลือกนายก รวมถึงการจัดตั้งรัฐบาล ของผู้ชนะการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนี้ กำลังกลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากของสังคมไทย

ตอนนี้เรากำลังตีความ ในกฏหมายที่สำคัญ และ เป็นหลักยึดของประเทศอย่างรัฐธรรมนูญ ซึ่ง ต่างฝ่ายต่างอ้างในสิทธิ์อันชอบธรรมของตัวเองในการเลือกนายกรัฐมนตรี และ การจัดตั้งรัฐบาล

แล้วปัญหาคืออะไร ปัญหาใหญ่คือการตีความของเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือหลายๆ  คนอาจจะเรียกว่า แถ ฝ่ายนึงอ้าง Poppular Vote ประชาชนส่วนใหญ่เลือกพรรคพลังประชารัฐ อีกฝั่งอย่างเพื่อไทย ก็อ้างสิทธิความชอบธรรมจากจำนวนส.ส. ที่ได้รับคัดเลือกเข้ามามากที่สุด ซึ่งตามธรรมเนียมแล้ว ต้องเป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล รวมถึงเลือกนายกรัฐมนตรี

สำหรับโดยส่วนตัว ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าเราเขียนกฏหมายใหญ่อย่างรัฐธรรมนูญ ให้มันชัดเจนไปเลย แบบไม่ต้องตีความ แต่ก็อย่างว่า การตีความกฏหมายมันมีมากว่าหลายพันปี ตั้งแต่การเกิดขึ้นของกฏหมายครั้งแรกเท่าที่นักประวัติศาสตร์จะค้นพบ

มีการค้นพบ หลักฐาน ทางประวัติศาสตร์เก่าแก่ที่สุดที่นักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาค้นพบเกี่ยวกับกฏหมาย คือแท่งหินขนาดใหญ่ซึ่งมีฐานกว้าง 1.90 เมตร และมีความสูงถึง 2.25 เมตร โดยแท่งหินดังกล่าวนี้ขุดพบที่นครซูส ในกรุงบาบิโลน สันนิษฐานว่าเป็นหลักศิลาจารึกที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ไว้ในราว 1,500 ปีก่อนพุทธกาล หรือล่วงมาแล้วประมาณ 4,000 ปี ข้อความบนศิลาจารึกได้กล่าวถึง ข้อกำหนด กฎเกณฑ์และระเบียบต่าง ๆ ในสังคมขณะนั้น อาทิเช่น เรื่องดอกเบี้ย สัญญาครอบครัว ฯลฯ ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่า ศิลาจารึกดังกล่าวนี้ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยของพระเจ้าฮัมบูรามี ดังนั้นจึงเรียกหลักศิลาจารึกนี้ว่า”ประมวลกฎหมายฮัมบูรามี” 

มัน 4000 ปีมาแล้ว ที่กฏหมาย ใช้การตีความ เหตุผลนึงน่าจะเรื่องการเขียนกฏหมายให้ละเอียดคงเป็นเรื่องยากในสมัยนั้น ผู้คนต้องอ้างอิงสิ่งเดียวกันคือ หลักศิลาจารึก ชิ้นนั้น ให้เป็นกฏหมายปกครองคนส่วนใหญ่

คราวนี้ตัดภาพมาที่ยุคปัจจุบัน ทำไมเรายังต้องตีความใน ในยุคนี้ ที่ Data Center มีเยอะแยะ ฮาร์ดดิสก์ ราคาโคตรถูก จะเก็บกฏหมายละเอียดขนาดไหนก็ได้

ทำไมเราจะต้องมานั่งตีความอะไรอีกในยุคที่เก็บข้อมูลได้มหาศาลขนาดนี้ จะเก็บละเอียดขนาดไหนก็ได้ แถมยังไม่ต้องท่องจำอีกด้วย ปล่อย bot index ข้อมูลของเนื้อหาทางกฏหมาย แล้ว search ค้นหาเอาได้เลย คลิกเพียงคลิกเดียวก็หาข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการเจอ จะเก็บกฏหมายกี่ล้านฉบับกี่ล้านบรรทัด จะเก็บไปให้ละเอียดขนาดไหนก็สามารถเก็บได้ ในยุคต่อไปเราจะได้เลิกความศรีธนญชัย ของกฏหมายแบบที่เคยมีมา นี้เสียที

ผมมองไปถึงยุคอนาคต ที่เราอาจจะไม่จำเป็นต้องมีทนาย และ ผู้พิพากษาอีกต่อไปเลยด้วยซ้ำ เมื่อ งานพวกนี้ Robot หรือ AI สามารถที่จะทำงานแทนได้หมด ตอนนี้โลกเราพัฒนา AI ทั้งเทคนิคของ Natural Language Processing , Machine Learning , Sentiment Analysis , Neural Network

ตัวอย่างในต่างประเทศก็เริ่มมีให้เห็น AI NOW ซึ่งวิจัยโดย สถาบันวิจัยตรวจสอบผลกระทบทางสังคมของ AI ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมผู้สนับสนุนด้านกฎหมายวิทยาศาสตร์และทางด้านเทคนิคที่จะมุ่งเน้นไปที่การตัดสินใจเชิงอัลกอริทึมในหลากหลายด้านของกฎหมาย (เช่นการจ้างงาน ผลประโยชน์สาธารณะ หรือ กฏหมายด้านแรงงาน)

ตัวอย่างความแม่นยำในการวิเคราะห์คดีความต่าง ๆ เมื่อมนุษย์เทียบกับ AI
ตัวอย่างความแม่นยำในการวิเคราะห์คดีความต่าง ๆ เมื่อมนุษย์เทียบกับ AI

ซึ่งจากงานวิจัยนั้น มันทำให้เหล่า AI สามารถอ่านกฏหมาย วิเคราะห์กฏหมาย เปรียบเทียบความถูกต้องที่เป็น Logic แบบชัดเจน ไม่คลุมเคลือ ไม่ศรีธนญชัย แถมยังไม่ BIAS เข้าข้างใคร หรือมีอิทธิพลต่อใคร เหมือนที่เคยมีมา เพราะยังไงมนุษย์เราไม่ว่าจะเที่ยงตรง ยุติธรรมขนาดไหน สุดท้ายก็ต้องมีความ BIAS ไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่งเสมอนั่นเอง การหาความเป็นกลางของมนุษย์นั้น เป็นเรื่องนามธรรม ที่มันจับต้องได้ยากจริง ๆ 

References : interestingengineering.com


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube