หุ่นยนต์กับการเรียนรู้ด้านภาษาศาสตร์

ในบรรดาหลายๆ สิ่งที่มนุษย์มีวิวัฒนาการเหนือกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ คือเรื่องของภาษาที่ซับซ้อนของเรา แน่นอนว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ก็มีความสามารถในการพูดคุยกันได้ แต่เรามีหลากหลายภาษาที่เป็นภาษาเขียน ซึ่งมีความซับซ้อนทั้งในเรื่องไวยากรณ์และการพูด 

โดยนักวิจัยที่ Brown University ได้สร้างหุ่นยนต์ทำสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ในเรื่องของภาษา: หลังจากมีการฝึกฝนการเขียนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยมือแล้วหุ่นยนต์ก็เริ่มคัดลอกคำแบบเดียวกันในภาษาอื่น ๆ ที่ไม่เคยเขียนมาก่อน รวมถึงภาษาฮินดี กรีก และอังกฤษเพียงแค่ดูตัวอย่างลายมือนั้นเพียงเท่านั้น 

ก้าวข้ามเรื่องการสื่อสารด้วยภาษาต่าง ๆ ของมนุษย์
ก้าวข้ามเรื่องการสื่อสารด้วยภาษาต่าง ๆ ของมนุษย์

เช่นเดียวกับการก้าวเดินได้ด้วยสองขา การเขียนด้วยลายมือก็ถือเป็นหนึ่งในเสน่ห์ที่เรียบง่ายของมนุษย์ที่ดูแล้วเหมือนจะมีความซับซ้อน เมื่อคุณเขียนคำใด ๆ คำหนึ่ง คุณก็จะต้องรู้ว่าจะวางปากกาของคุณนานแค่ไหนในการวาดเส้นและการวางทิศทางในการเขียน ซึ่งมันไม่เป็นเรื่องง่ายเลยที่หุ่นยนต์จะสามารถเลียนแบบความสามารถนี้ของมนุษย์ได้

ดังนั้นเพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเขียนได้เหมือนกับมนุษย์  จะต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดรูปแบบตัวอักษรแต่ละตัว   Stefanie Tellex และ Atsunobu Kotani  นักพัฒนาหุ่นยนต์ของ Brown University ผู้เป็นพัฒนาระบบ กล่าว “ และนั่นคือสิ่งที่อัลกอริทึมเรียนรู้ที่จะทำตามรูปแบบของมนุษย์”

ระบบการเรียนรู้ของหุ่นยนต์แบ่งออกเป็นสองรูปแบบที่แตกต่างกัน แบบแรก นั้นรับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับจังหวะของปากกา ดังนั้นการเล็งไปในทิศทางที่ถูกต้องและกำหนดวิธีที่จะหาจังหวะสิ้นสุดของการเขียน และแบบที่สอง นั้นมีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายการเขียนของหุ่นยนต์ไปยังตัวอักษรถัดไป

ในการฝึกอบรมหุ่นยนต์นักวิจัยได้ป้อนคลังข้อมูลของตัวอักษรญี่ปุ่นและให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่องค์ประกอบของตัวอักษารแต่ละตัว “ จากนั้นมันจะเรียนรู้แบบจำลองที่ดูที่ระดับพิกเซลของภาพและคาดการณ์ว่าจะต้องเริ่มจังหวะต่อไปที่ใดและต้องเคลื่อนที่ในขณะที่กำลังวาดเส้นเพื่อสร้างตัวอักษรให้ออกมาได้” Tellex กล่าว

จากนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจที่จะทำให้หุ่นยนต์สับสนโดยการเขียนคำว่า “Hello” บนกระดานไวท์บอร์ดในภาษาฮินดี, ทมิฬและภาษายิดดิช ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้รูปแบบการเขียนที่ไม่เหมือนใคร 

และไม่น่าเชื่อว่าหุ่นยนต์จะสามารถใช้เทคโนโลยี Machine Vision และเขียนคำศัพท์ของตัวเอง แม้ว่าตัวมันจะฝึกการเขียนเฉพาะภาษาญี่ปุ่นเพียงเท่านั้น 

จากนั้นเมื่อมีเด็ก ๆ อนุบาลหลายคนไปเยี่ยมห้องทดลองของ Tellex  แม้เด็ก ๆ จะใช้การเขียนด้วยลายมือที่ไม่ดี แต่เจ้าหุ่นยนต์มันเลียนแบบพวกเขาได้อย่างง่ายดาย “ เพียงเพื่อดูแล้วทำซ้ำ ซึ่งการเขียนด้วยลายมือที่อ่านได้ยากของเด็กน้อยอายุ 6 ปีเหล่านี้ มันเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่ไม่เคยเห็นมาก่อนและเจ้าหุ่นยนต์ก็ไม่เคยฝึกฝนในเรื่องนี้” Tellex กล่าว

เลียนแบบการวาดภาพของมนุษย์
เลียนแบบการวาดภาพของมนุษย์

แต่ไม่มีทำได้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากนักวิจัยฝึกฝนหุ่นยนต์กับภาษาญี่ปุ่นยุคใหม่ซึ่งเขียนจากซ้ายไปขวา หุ่นยนต์อาจคุ้นชินกับภาษาอังกฤษซึ่งเขียนในทิศทางเดียวกันได้ แต่มันก็ดูเหมือนจะได้ไม่ดีนักกับภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้ายในทิศทางกลับกันนั่นเอง

และตอนนี้หุ่นยนต์จากงานวิจัยชิ้นนี้ กำลังพัฒนาก้าวไปสู่การสื่อสารรูปแบบใหม่ระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร แม้อาจจะไม่เห็นผลมากนักในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่สักวันอาจมีหุ่นยนต์ที่สามารถทิ้งโน้ตที่เขียนด้วยลายมือของเราก็เป็นได้นั่นเองครับ

References :  
https://www.wired.com/story/robot-writing/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube