Rare Earth น้ำมันแห่งศตวรรษที่ 21

Rare Earth เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตชิปเซ็ต คอมพิวเตอร์และบรรดาเหล่าอุปกรณ์ไฮเทคอีกมากมาย รวมถึงอาวุธ และมันเป็นสินค้าสำคัญอีกอย่างนึงยังไม่ได้ถูกขึ้นบัญชีเพิ่มภาษีนำเข้าโดยสหรัฐ จากสงคราม Trade War ครั้งนี้ เนื่องจากสหรัฐมีความจำเป็นต้องนำเข้าแร่ดังกล่าวจากจีนถึงถึง 80% จากปริมาณนำเข้าทั้งหมด

ธาตุโลหะหายากหรือที่เรียกภาษาอังกฤษว่า Rare Earth Element หรือ Rare Earth Metal คือธาตุ 17 ธาตุที่จริงๆ พบได้ในดินทั่วไปไม่ยากนัก แต่มักจะมีลักษณะกระจัดกระจาย โดยที่ทั้ง 17 ธาตุยังมีลักษณะคล้ายคลังกันอีก ซึ่งมันทำให้ส่งผลต่อการสกัดธาตุออกจากกันในระบวนการถลุงแร่นั้นต้องใช้ทั้งเทคนิคขั้นสูงและสร้างของเสียทางเคมีออกมาอย่างมหาศาล

และด้วยสาเหตุนี้ทำให้ชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐที่เคยเป็นผู้ผลิตและส่งออกแร่หายากในยุคทศวรรษที่ 60-80 ยอมถอยให้กับจีนที่มีแรงงานราคาถูก และไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเสียเท่าไหร่นัก

สำหรับสินแร่หายากที่นำมาใช้ในทางอุตสาหกรรมมีอยู่ 5 ประเภท คือสแคนเดียม (Scandium) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมัน โพรมีเทียม (Promethium) ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่พลังงานนิวเคลียร์ แลนทานัม (Lanthanum) ใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และกล้องถ่ายรูป อิตเทรียม (Yttrium) ใช้ในการผลิตโทรทัศน์และเตาอบไมโครเวฟ และเพรซีโอดีเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้อุตสาหกรรมผลิตใยแก้วนำแสงและเครื่องยนต์ของเครื่องบิน

แรงงานราคาถูก รวมถึงของเสียออกจากโรงงานเยอะ ทำให้จีนกลายเป็นเจ้าตลาดธาตุโลหะหายากพวกนี้
แรงงานราคาถูก รวมถึงของเสียออกจากโรงงานเยอะ ทำให้จีนกลายเป็นเจ้าตลาดธาตุโลหะหายากพวกนี้

ความยากเห็นในการได้มาซึ่งธาตุโลหะหายากนี้ก็ดูจะบ่งว่ามันมีความสำคัญไม่น้อยต่อโลกยุคปัจจุบัน ที่กำลังนำโดยเทคโนโลยี รวมถึงอุปกรณ์ไฮเทค Gadget ต่าง ๆ  โดยธาตุโลหะเหล่านี้ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีทั้งหลายในปัจจุบันเช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เลนส์กล้องถ่ายรูป ทีวีจอแบน เครื่องยิงแสงเลเซอร์สารพัด แบตเตอร์รี่รถยนต์แบบลิเธี่ยม แผงโซล่าร์เซลล์ กังหันลม แม่เหล็ก เซรามิค ระบบนำวิถีของจรวดมิสไซล์ เป็นต้น

ซึ่ง ณ ขณะนี้ จีนกลายเป็นเป็นผู้ผลิตธาตุโลหะหายากกว่า 90% ในโลก จีนได้ขยายการผลิตธาตุโลหะหายากส่วนใหญ่ของโลกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ดังที่เติ้ง เสี่ยว ผิง ประกาศในขณะเป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ในปี 1992 ว่า “ตะวันออกกลางมีน้ำมัน แต่จีนเรามีธาตุโลหะหายาก” และอัตราส่วนแบ่งตลาดก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาเป็นกว่า 90% ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการครองตลาดแทบจะเบ็ดเสร็จของจีนในการผลิตธาตุโลหะหายากเหล่านี้

แม้สถานการณ์ดังกล่าวดูเหมือนจะทำให้จีนมีอำนาจในตลาดอย่างมหาศาล จนในปี 2010 จีนตัดสินใจจำกัดการส่งออก “ธาตุโลหะหายาก” จริงๆ เป็นครั้งแรก โดยขู่จะตัดการส่งออกแร่หายากให้กับญี่ปุ่น เพื่อกดดันให้ญี่ปุ่นปล่อยตัวกัปตันเรือชาวจีนที่ขับเรือชนเรือยามฝั่งของญี่ปุ่น และการข่มขู่ดังกล่าวก็เหมือนจะได้ผลเมื่อญี่ปุ่นปล่อยตัวกัปตันเรือในทันที

ซึ่งเมื่อเทียบกับสถานการณ์ในตอนนี้ ในสงคราม Trade War ระหว่างจีนกับสหรัฐ จีนอาจใช้ Rare Earth เพื่อเป็นมาตรการตอบโต้ในช่วงเวลาที่สงครามการค้ากำลังดุเดือดมากขึ้น ซึ่งหากจีนใช้ Rare Earth เป็นตัวต่อรอง ด้วยการระงับการส่งออกหรือเพิ่มภาษีในอัตราที่สูงมาก ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศเช่นกัน แต่ก็อาจเป็นผลดีให้จีนเริ่งพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้แร่ชนิดนี้ เพื่อเพิ่มระดับความต้องการภายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น

ซึ่งทางฝั่งอเมริกาเอง ก็ได้เตรียมรับมือกับแผนนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยช่วงที่เกิดสงครามการค้า สหรัฐก็ได้เริ่มทำการรื้อฟื้นอุตสาหกรรม Rare Earth ในประเทศ หรือมองหาทางเลือกอื่นในการนำเข้าจากเวียดนามหรือเม็กซิโก  แถมยังมีแหล่งผลิตอีกมากมายทั่วโลก และมีช่องทางในการหลีกเลี่ยงการผูกขาดของจีนในอีกหลายทางนั่นเอง

References : 
https://thediplomat.com/2013/01/the-new-prize-china-and-indias-rare-earth-scramble/?allpages=yes&fbclid=IwAR1XnaGBNxA3gaY57PFLHSQTjrTqqshS70QEaKI4GsimDpWmFSIuMRVZazU


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube