Quantum Supremacy กับอนาคตการประมวลผลของ Google

จากรายงาน โดย Financial Times ที่ได้รายงานเกี่ยวกับเรื่องทางเทคนิคของนาซ่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักวิจัยของ Google ได้ประสบความสำเร็จในการสร้าง “quantum supremacy” กล่าวอีกนัยหนึ่งมันคือเทคโนโลยีควนตัมคอมพิวเตอร์ของพวกเขา ซึ่งสามารถให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วกว่าโปรเซสเซอร์คอมพิวเตอร์ทั่วไป 

“ สำหรับความรู้ของเราในการทดลองนี้นับเป็นการคำนวณโดยควอนตัมคอมพิวเตอร์ครั้งแรก ที่สามารถทำได้บนตัวประมวลผลเชิงปริมาณเพียงเท่านั้น” ซึ่งเอกสารยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจาก Google

การแข่งขันระหว่างควอนตัมคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมนั้นไม่ได้มีความใกล้เคียงกันเลย โดยหน่วยประมวลผลสมรรถนะสูงอย่าง “ Sycamore” ซึ่งเป็นของ Google นั้นมีความเร็วถึง 53 qubits ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาที่หากใช้คอมพิวเตอร์แบบเดิม ๆ นั้นต้องใช้เวลานานเป็น 10,000 ปี ถึงจะแก้ได้สำเร็จ

หลังจากมีข่าวออกมาถึงเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว Andrew Yang ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้เตือนบน Twitter ว่าคอมพิวเตอร์ของ Google สามารถใช้ในการทำลายการเข้ารหัสของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้ทั้งหมด แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการเข้ารหัสระดับสูงนั้นยังต้องใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมเพื่อถอดรหัสเป็นเวลาอีกหลายปี

ปัญหาคอมพิวเตอร์ควอนตัมของ Google ที่แก้ไขได้สำเร็จแล้วนั้น ก็อาจจะยังไม่เป็นประโยชน์แบบเห็นได้ชัดเจนมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกแห่งความเป็นจริงตามรายงานของ Physics World เนื่องจากงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการสุ่มของเลขฐานสอง ( Randomness of binary numbers ) ที่จะใช้ควอนตัมคอมพิวเตอร์มาแก้ไขปัญหานั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีกรณีการใช้งานจริงมากมายนักในปัจจุบัน

แต่มันก็ยังถือได้ว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญสำหรับพลังของการคำนวณโดยเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวเตอร์

References : https://physicsworld.com


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube