เราจะปกป้องเด็ก ๆ จากภัยคุกคามความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างไร?

อายุเฉลี่ยของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์มือถือมีอายุน้อยลงไปเรื่อย ๆ ข้อมูลงานวิจัยที่ถูกเปิดเผยออกมาพบว่า 33% ของเด็กอายุ 12 ปีในสหรัฐอเมริกามีโทรศัพท์ใช้งานกันอยู่แล้ว

ยิ่งไปกว่านั้น 12% ของเด็กวัยหัดเดิน ซึ่งมีอายุเพียงแค่ 1-2 ขวบนั้น ก็ยังมีโทรศัพท์ใช้งานแล้ว มันได้กลายเป็นอุปกรณ์ที่กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของการดำรงชีวิตมนุษย์ไปเสียแล้ว และมันได้ถูกนำมาเป็นเครื่องมือที่เปรียบเสมือน “พี่เลี้ยงเด็ก” ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับเหล่าผู้ปกครองที่มีงานยุ่งมากมายในทุกวันนี้

กฎหมายของรัฐบาลเพื่อปกป้องเด็กออนไลน์

เพื่อต่อสู้กับปัญหาที่กำลังกลายเป็นประเด็นทางสังคมที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยทางด้านออนไลน์ การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Cyberbullying)

หน่วยงานรัฐจากทั่วโลกจำนวนมากกำลังควบคุมเว็บไซต์และแอปที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเหล่านี้ มีแอปมากมายที่ พ่อแม่ นักการศึกษา และสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยเฉพาะของสหรัฐอเมริกา ทำการแบนอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ดี การแบนนั้นอาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะเราจำเป็นต้องทำให้สิ่งที่มีอยู่นั้นปลอดภัยต่อการใช้งาน

ในสหรัฐอเมริกามีตัวอย่างที่น่าสนใจ Gavin Newsom ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ลงนามในร่างกฎหมายฉบับแรกในประเทศเพื่อคุ้มครองข้อมูลออนไลน์ของเด็ก

หน่วยงานรัฐกำลังพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ในกรณีที่ Meta เจ้าของแพลตฟอร์ม Facebook ได้ซ่อนงานวิจัยที่พิสูจน์ถึงอันตรายทางจิตใจและอารมณ์ที่ Instagram มีต่อเด็ก ๆ

Gavin Newsom ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ลงนามในร่างกฎหมายฉบับแรกในประเทศเพื่อคุ้มครองข้อมูลออนไลน์ของเด็ก (CR:Los Angeles Times)
Gavin Newsom ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ลงนามในร่างกฎหมายฉบับแรกในประเทศเพื่อคุ้มครองข้อมูลออนไลน์ของเด็ก (CR:Los Angeles Times)

ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเริ่มออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองเด็กออนไลน์ และกำหนดให้บริษัทสื่อสังคมออนไลน์รับผิดชอบต่อเนื้อหาบนแพลตฟอร์มของพวกเขา

แต่ดูเหมือนมันจะยังไม่เพียงพอ เพราะตอนนี้ยังมีข่าวพาดหัวรายวัน เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต การฆ่าตัวตาย และแนวโน้มอันตรายที่เกิดขึ้นต่อเด็ก แม้กระทั่งในประเทศไทย เด็ก ๆ ก็เป็นเหยื่อของสิ่งเหล่านี้มากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการเมือง

การศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยออนไลน์

กลุ่มคนรุ่นใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งในทุก ๆ ช่วงวัยก็ตาม ต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต และ การใช้งานที่เหมาะสมก่อนที่จะเริ่มใช้งาน

ต้องมีการตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นอัตรายใด ๆ เช่น เหล่าคนแปลกหน้าหรืออาชญากรที่เข้ามาหลอกลวงเด็กผ่านเครื่องมือออนไล์ การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะเรื่องภาพลักษณ์อันสวยหรูของร่างกายที่มาจากสื่อสังคมออนไลน์

ในบางบริษัทและองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรได้เริ่มใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจถึงความเสี่ยงเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรม Be Internet Awesome ของ Google หรือ NPO ของ Cyber Angels เป็นตัวอย่างที่ดีของสิ่งเหล่านี้

มันแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีการควบคุมโดยผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นในเดสก์ท็อปหรืออุปกรณ์พกพา กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก

นอกจากนี้ บริษัทที่ผลิตแอปบางแห่งยังได้จัดการด้วยตัวเอง TikTok ประกาศว่า กำลังสร้างเครื่องมือเพื่อให้ผู้ปกครองสามารถบล็อกบุตรหลานไม่ให้เข้าถึงเนื้อหาด้วยแฮชเแท็กหรือคีย์เวิร์ดเฉพาะ ในขณะที่ Instagram ได้เพิ่มฟีเจอร์การควบคุมโดยผู้ปกครอง เช่น “Quiet Mode” เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้หยุดพักจากหน้าจอไปทำอย่างอื่น

TikTok ที่เพิ่มเครื่องมือการควบคุมของผู้ปกครอง (CR:Lifewire)
TikTok ที่เพิ่มเครื่องมือการควบคุมของผู้ปกครอง (CR:Lifewire)

แอปที่ควบคุมโดยผู้ปกครอง

แอปที่ควบคุมโดยผู้ปกครองโดยตรงนั้น เป็นหนึ่งในเครื่องมือความปลอดภัยทางออนไลน์ที่ดีที่สุดสำหรับเยาวชน ซึ่งส่วนใหญ่นั้นอนุญาตให้มีการบล็อกผู้ติดต่อที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าถึงบุตรหลานของคุณได้

แอปสามารถที่จะตรวจสอบได้ว่ามีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ เช่น แอปควบคุมโดยผู้ปกครองของ FamilyKeeper ที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้เช่นกัน

แนวคิดเบื้องหลังของแอปเหล่านี้คือมอบเครื่องมือแก่ผู้ปกครองเพื่อให้เด็ก ๆ ได้สำรวจโลกดิจิทัลอย่างปลอดภัย หลัก ๆ คือการให้ลูก ๆ ของคุณสามารถเรียนรู้สิ่งที่ยอมรับได้ทางออนไลน์ ไม่ว่าจะในแง่ของคำพูด พฤติกรรม มารยาท และกิจกรรมต่างๆ จนกว่าพวกเขาจะมีประสบการณ์มากพอที่จะจัดการได้โดยไม่ต้องมีเครื่องมือเหล่านี้

ความต้องการของเด็กแต่ละช่วงวัยนั้นมีความแตกต่างกัน เด็กในช่วงหัดเดินก็ไม่เหมือนกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว การตรวจสอบเวลาที่อยู่กับหน้าจอ การแจ้งเตือนถึงตำแหน่งผู้ใช้ และการบล็อกแอป ทั้งหมดนี้สามารถปรับให้เข้ากับอายุของบตรหลานและความต้องการของบุตรหลานในแต่ละช่วงวัยได้

บทสรุป

เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ๆ ของรัฐบาลทั่วโลก แม้กระทั่งรัฐบาลไทยเอง หน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่่น ๆ ควรที่จะมีปฏิรูปในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

มันน่าสนใจนะครบ ประเด็นที่สำคัญมาก ๆ เช่นนี้ กลับมีการยกขึ้นมาถกเถียงหรือมีการพูดถึงในนโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ น้อยมาก ทั้งที่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ กับเยาวชนในประเทศ และอนาคตของประเทศเรา

มันกลายเป็นเรื่องราวดังกล่าวถูกผลักภาระไปให้กับผู้ปกครอง ซึ่ง แน่นอนว่ามีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันตามกำลังทรัพย์ หรือ วิธีการเลี้ยงดูของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันไป

ซึ่งผมมองว่า มันควรถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐาน หรือผลักดันให้เป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเสียด้วยซ้ำ ที่แทบไม่ต่างจากนโยบายในการยกระดับมาตรฐานการศึกษาของประเทศ เพราะเรื่องราวเหล่านี้ มีผลอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศเราโดยเฉพาะกับบุตรหลานของพวกเราในอนาคตนั่นเองครับผม

References :
https://www.pexels.com/photo/kids-sitting-back-to-back-using-smartphone-9785008/
https://www.commonsensemedia.org/articles/how-do-i-protect-my-young-child-from-cyberbullying
https://www.fastcompany.com/90898191/how-do-we-protect-kids-from-cybersecurity-threats
https://www.chubb.com/us-en/individuals-families/resources/how-to-protect-your-family-from-cyberbullies.html
https://www.gov.ca.gov/2022/09/15/governor-newsom-signs-first-in-nation-bill-protecting-childrens-online-data-and-privacy/
https://research.com/education/what-age-should-a-child-get-a-smartphone


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube