ประวัติ Michael Dell ตอนที่ 5 : Future Plans

ตั้งแต่ได้มืออาชีพอย่าง Tom Meredith เข้ามาช่วยเรื่องการเงินก็ทำให้ Dell Computer นั้นเริ่มหันมาเน้นการเติบโตให้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการก็คือ มีเงินสดที่ใช้หมุนในกิจการ สร้างกำไร และ การเติบโตอย่างยั่งยืนนั่นเอง

ข้อดีของการได้มืออาชีพที่มีประสบการณ์ มาช่วยเหลือองค์กรของ Dell ก็คือ การมาช่วยปรับโครงสร้าง สร้างระบบและกระบวนการ จ้างพนักงาน รักษา และทำการพัฒนาทักษะของเหล่าพนักงานให้ดียิ่งขึ้นไป พร้อมที่จะสู่กับคู่แข่งไม่ว่าจะเล็กจะใหญ่ขนาดไหน Dell ก็พร้อมที่จะสู้แล้ว

ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 1993 ถือเป็นช่วงที่ท้าทายบริษัทมากที่สุด Michael ได้เริ่มที่จะร่างแบบแผนเพื่อปรับโครงสร้างของบริษัท และหนึ่งในสิ่งที่สำคัญก็คือ เขาเสนอที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก

Michael นั้นรู้ดีว่าในบริษัทของเขานั้น บางแผนกทำเงิน และมีอีกหลายแผนกที่ไม่ทำเงิน แต่เขาก็ไม่รู้ได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นแผนกไหนบ้าง ดังนั้นเขาจึงได้เลือกบริษัท Bain & Company เข้ามาช่วยเหลือ เพื่อทำการตรวจสอบ

Bain & Company ที่เป็นบริษัท Consult มาช่วยเหลือ Dell
Bain & Company ที่เป็นบริษัท Consult มาช่วยเหลือ Dell

ตัว Michael และผู้บริหารระดับสูงได้ทำงานกับ Bain โดยทำการแบ่งบริษัทออกเป็นส่วน ๆ ทำให้สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจนว่า ธุรกิจส่วนไหนที่ประสบความสำเร็จที่แท้จริง และส่วนไหนที่ไม่ประสบความสำเร็จ

และเมื่อเขาได้รู้ว่าส่วนไหนของบริษัทที่ไม่ทำเงินนั้น ก็จะทำการศึกษาและหาทางปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น และหากยังไม่ได้ผลอีก ก็จะปิดส่วนนั้นไปทันที และมาตรการดังกล่าวหลังจากมาทำการวิเคราะห์อย่างแท้จริงนั้นได้ยกระดับบริษัท Dell ให้มีประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างเหลือเชื่อ

ซึ่งเหมือนกับบริษัทอื่น ๆ ทั่วไป ที่ Dell Computer มีการแยกการทำงานออกเป็นแผนกต่าง ๆ เช่น แผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ แผนกการเงิน แผนกขาย และการตลาด และแผนกการผลิต ซึ่งเมื่อบริษัทเติบโตขึ้น ต่างฝ่ายต่างแข่งขันกัน ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานเป็นทีมขึ้น

และตัวของ Michael เองก็ไม่ต้องการเจอสภาพเดียวกับหลาย ๆ บริษัทที่ต้องพบเจอเมื่อองค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น มีตัวอย่างหลายบริษัทที่พุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และ ล้มหายตายจากไปเพียงในระยะเวลาไม่นานเช่นเดียวกัน หรือ บริษัทที่เหล่าผู้ก่อตั้งถูกขับจากบริษัทตัวเองที่สร้างมากับมือ Michael ไม่ต้องการที่จะเจอสภาพเดียวกับ สตีฟ จ๊อบส์ ที่ถูกขับออกจาก Apple ในปี 1985 หรือ กรณีของ รอด แคนนอน กับ compaq เคยเจอมานั่นเอง

แน่นอนว่าเขาต้องจ้างเหล่ามืออาชีพมาช่วยเหลือเขาให้มากที่สุด Mort Topfer เป็นอีกหนึ่งในผู้บริหารระดับสูงที่เข้ามาร่วมกับ Dell ในปี 1994 ตัว Mort เองนั้นเคยเป็นรองประธานบริษัทโมโตโรล่า และเป็นผู้นำของบริษัททางด้านอุปกรณ์สื่อสารและข้อมูลภาคพื้นดิน

เขามีประสบการณ์สำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานแบบแผนกไปสู่การทำงานแบบองค์กรโครงสร้างใหญ่ ๆ นั่นเป็นเหตุให้ Michael ต้องพึ่งพา Mort ในปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กรครั้งใหญ่นั่นเอง

โดย Michael นั้นจะมุ่งไปดูเรื่องผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และกลยุทธ์โดยรวมของบริษัท เป็นหลัก โดยให้ Mort มาดูแลเรื่อง Operation การขาย การตลาด เป็นหลักในฐานะรองประธานของบริษัท

Mort Topfer ที่เป็นมือดีมาช่วยงาน Michael Dell
Mort Topfer ที่เป็นมือดีมาช่วยงาน Michael Dell (ภาพจาก GettyImages)

ในปี 1994 นั้นดูเหมือนบริษัท จะอยู่ในเส้นทางที่สดใสมากขึ้น หลังจากได้เหล่ามืออาชีพเข้ามาช่วย Michael ในการกำหนดทิศทางของบริษัท และเป็นครั้งแรกที่มีการวางแผนงานของบริษัทได้เกินกว่า 12 เดือน และมีเวลาในการศึกษาศักยภาพของธุรกิจในระยะยาวได้อย่างจริงจังนั่นเอง

Mort นั้นชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องทำงานอย่างมีระเบียบ และวางแผนมากขึ้น ซึ่งแผนงานนั้นไม่ได้กำหนดเฉพาะรายไตรมาสเท่านั้น แต่ต้องดำเนินเรื่อย ๆ และไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะภายในบริษัทเพียงเท่านั้น แต่ต้องเกี่ยวข้องกับทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ค้าส่ง ลูกค้า ไปจนถึงเหล่าพนักงานในทุกระดับ

ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่บริษัทสามารถวางแผนสามปีล่วงหน้าได้ ซึ่งรวมถึงประเด็นที่สำคัญ ๆ ไมว่าจะเป็น เกี่ยวกับองค์กร ระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างองค์กร รวมถึงโอกาสในการเติบโต มองปลีกย่อยไปถึง ส่วนแบ่งการตลาดในแต่ละประเทศ แต่ละผลิตภัณฑ์ รวมถึงการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของคู่แข่ง รวมถึงเรื่องสำคัญอย่าง เรื่องต้นทุน ที่สามารถจะแข่งขันได้นั่นเอง

ซึ่งแน่นอนว่า กุญแจความสำเร็จจริง ๆ ของการวางแผนต่าง ๆ เหล่านี้ให้สำเร็จก็คือ แผนที่แม้จะมีความท้าทาย แต่สามารถทำได้จริง และมีข้อมูลที่ดีที่จะนำมาวิเคราะห์ ซึ่งการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญนี้ Dell มุ่งหน้าสู่บริษัทที่บริหารงานโดยใช้ข้อมูลอ้างอิงเป็นหลัก เพราะข้อมูลถือเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดที่ไม่ทำให้บริษัทเดินไปในทางที่ผิดนั่นเอง

และแน่นอนว่า แผนงานต่าง ๆ นั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เหล่าพนักงานของ Dell ทำงานโดยมีเป้าหมาย และมีเป้าหมายเดียวกันทั้งทีม ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญที่จะทำให้พวกเขาสามารถทำได้สำเร็จนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทไหนก็ตามที่ต้องการเติบโตต่อไปนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ

มาถึงตอนนี้จะเห็นได้ว่า Michael นั้นต้องการให้ Dell เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งยักษ์ใหญ่ได้ จึงได้พยายามทำทุกวิถีทาง ที่จะปรับองค์กร และจ้างมืออาชีพมาช่วยจัดการให้องค์กรของเขา มีประสิทธิภาพพร้อมที่จะแข่งขันในระยะยาวได้นั่นเอง ดูเหมือนทุกอย่างจะเริ่มลงตัว แล้วแผนต่อไปของ Michael คืออะไร จะพา Dell ไปถึงจุดสูงสุดได้แค่ไหน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 6 : Direct Sales 1.1

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Life’s Choices *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : https://ries.typepad.com/ries_blog/2009/07/the-demise-of-dell.html


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube