ประวัติ Michael Dell ตอนที่ 2 : Going Public

ธุรกิจคอมพิวเตอร์ของ Michael Dell นั้นเป็นไปตามที่เขาคิดไว้ เพราะกิจการของเขานั้นเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ๆ ในช่วงแรกของการก่อตั้งนั้นแทบจะไม่มีระบบคอมพิวเตอร์มารองรับคำสั่งซื้อจำนวนมาก แต่ด้วยจำนวน order ที่มีเข้ามามากมายทำให้ Michael ต้องเดินไปรับคำสั่งซื้อจากพนักงานขาย เพื่อรวมรวมคำสั่งซื้อเหล่านี้ไว้บนแผ่นดิสก์ แล้วจึงนำไปประมวลในฐานข้อมูลต่อไป

เพียงแค่หนึ่งเดือนหลังจากย้ายจากหอพักมาอยู่ที่สำนักงานขนาด 1,000 ตร.ฟุต บริษัท Dell Computer ก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง จนต้องย้ายไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ขนาด 2,350 ตร.ฟุต และหลังจากนั้นเพียงไม่นานก็ต้องย้ายอีกครั้งไปอยู่สำนักงานขนาด 7,200 ตร.ฟุต

และในที่สุดเมื่อถึงปี 1985 บริเวณพื้นที่เดิมของบริษัท ก็ไม่สามารถรองรับไหว ทั้ง infrastructure พื้นฐานอย่างโทรศัพท์ รวมถึงโครงสร้างองค์กรที่ขณะนั้นเริ่มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ Michael ต้องพาทีมงานย้ายไปอยู่สำนักงานที่ใหญ่พอ ๆ กับสนามฟุตบอล เพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่เข้ามาอย่างมหาศาล

และด้วยการที่กิจการขยายอย่างรวดเร็ว ทำให้ Michael เองก็ต้องรับพนักงานเพิ่มอีกจำนวนมาก ทั้งนักบัญชี นักการตลาด หรือแม้กระทั่งฝ่าย IT เองก็ตาม ซึ่งตอนนั้น ก็จะกวาดต้อนเอาหัวกะทิจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสมาแทบจะทั้งหมดในทุกสาขาที่เขาต้องการ

และด้วยความที่ Michael เองนั้นเป็นคนที่ทำงานแบบลงมือปฏิบัติจริง และ เห็นผลจากการปฏิบัตินั้นจริง ๆ ทำให้เขาคิดตลอดเรื่องการที่จะทำให้ Dell Computer ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร

และจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่ทำให้ Dell Computer มีชื่อเสียงด้านบริการมาจวบจนถึงปัจจุบันนั้นต้องบอกว่ามาจากวัฒนธรรมตั้งต้นของบริษัท ที่ Michael สร้างมานั่นเอง ในบริษัทนั้น ทีมงานด้านการขาย ซึ่งอาจจะต้องมาประกอบเครื่องด้วยตัวเองในบางครั้ง แม้ว่าพวกเขาจะไม่ชอบงานแบบนี้ก็ตามที แต่มันทำให้พวกนักขายเหล่านี้ได้รู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้ดีขึ้นนั่นเอง และที่สำคัญยังทำให้ได้รู้ว่า ลูกค้าใช้ข้อมูลอะไรบ้างในการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง

ในปี 1986 บริษัทก็ได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นมืออาชีพเข้าไปอีกขั้นเมื่อได้ทำการจ้าง Lee Walker มาเป็นประธานบริษัท ซึ่ง Lee นั้นเป็นคนที่มีประสบการณ์สูงมาก เคยทำงานกับบริษัทคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่มาหลายแห่ง

โดย Lee ทั้งทำหน้าที่ในการช่วยจัดหาเงินทุนเพื่อมาลงทุนเพิ่มเติม รวมถึงการกำหนดรูปแบบคณะกรรมการบริษัทขึ้นมา และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทเพิ่มมากขึ้น เพราะ Lee นั้นเป็นมืออาชีพตัวจริงคนแรก ๆ ที่ได้ร่วมงานกับ Dell Computer

หลังจากนั้น Michael ก็ได้เริ่มสร้างต้นแบบของการขายตรงที่มีชื่อว่า “Direct From Dell” ขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการขายให้กับลูกค้าโดยตรงแบบไม่ผ่านตัวแทน ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่มาก ๆ สำหรับธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีกลุ่มลูกค้าตั้งแต่บุคคลทั่วไป จนถึง บริษัทขนาดใหญ่ที่ติดอันดับ Fortune 500

ในขณะที่คู่แข่งนั้นต่างคิดเองว่า คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้นจะต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง แต่ Michael กลับคิดต่าง เพราะลูกค้าจะบอกเองว่าพวกเขาต้องการอะไร ซึ่งที่ Dell นั้นเสนอแม้กระทั่งการทำคอมพิวเตอร์แบบพิเศษให้เฉพาะลูกค้าแต่ละราย

Direct From Dell ที่เน้นขายตรงให้กับลูกค้า
Direct From Dell ที่เน้นขายตรงให้กับลูกค้า

และเป็นเหตุให้ Dell ไม่จำเป็นต้องมีคลังสินค้าขนาดใหญ่เพื่อเก็บสินค้าเหมือนกับบริษัทอื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่งในตลาด และสามารถทำราคาได้ดีกว่ามาก และได้ฐานข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการจากลูกค้าได้โดยตรง

การที่ได้ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง ทำให้สามารถรู้ถึงความต้องการในตลาดได้ สามารถคาดเดาว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการคืออะไร เพราะคอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว ระบบส่งตรงของ Dell จึงเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญที่ทำให้ Dell Computer นั้น เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

และเมื่อถึงสิ้นปี 1986 Dell Computer มียอดขายรวมประมาณ 60 ล้านเหรียญต่อปี ตอนนั้นสถานการณ์ของ Dell อยู่ในจุดที่ดีมาก ๆ เหล่านักลงทุนเริ่มสนใจจะมาลงทุน ธนาคารก็ต้องการปล่อยกู้กับให้ Dell Computer เรียกได้ว่าตอนนั้น Dell เริ่มเนื้อหอมมาก ๆ ในสายตาเหล่านักลงทุน

ในปี 1987 Dell Computer ได้ขยายกิจการไปยังทวีปยุโรป ได้เปิด Dell UK ขึ้นที่ประเทศอังกฤษ แม้จะโดนสื่อมวลชนจากอังกฤษ สบประมาท ในกลยุทธ์เรื่องการส่งตรงที่ได้ผลดีในอเมริกา แต่เหล่าสื่อกลับมองว่า เป็นแนวคิดที่ใช้ไม่ได้ที่อังกฤษ เพราะในอังกฤษไม่มีใครซื้อคอมพิวเตอร์จากโรงงานโดยตรง

แต่ลูกค้าในอังกฤษกลับไม่คิดอย่างงั้น พวกเขารู้ดีว่าต้องการอะไรที่แท้จริงจากธุรกิจคอมพิวเตอร์ และ Dell ก็สามารถให้พวกเค้าได้ ซึ่งบริษัท Dell UK นั้นสามารถทำกำไรได้ตั้งแต่เปิดดำเนินการวันแรกมาจวบจนถึงปัจจุบัน ที่สามารถสร้างรายได้ไปกว่าหลายหมื่นล้านเหรียญ

และมันทำให้ Michael Dell นั้นคิดถึงการที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุนมาสร้างความเติบโตให้กับบริษัท และเพิ่มเครดิตจากบรรดาผู้ผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเหล่าลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ล้วนแต่ต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติมแทบจะทั้งสิ้น

และเป็น Lee ที่จัดการเรื่องดังกล่าว และมีการแต่งตั้งบริษัทเงินทุนเข้ามาจัดการเรื่องดังกล่าว และในเดือนมิถุนายนปี 1988 บริษัทสามารถเพิ่มทุนได้อีก 30 ล้านเหรียญ ซึ่งทำให้มูลค่ากิจการของ Dell Computer มีมูลค่าสูงถึง 85 ล้านเหรียญ และก้าวเข้าสู่หลักไมล์ครั้งสำคัญในการเป็นบริษัทมหาชนได้สำเร็จ

ต้องบอกว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก กับการสร้างธุรกิจด้วยเงินทุนเพียง 1,000 เหรียญ ของ Michael Dell ใช้เวลาเพียงแค่ 3 ปี ก็สามารถทำให้ Dell Computer กลายเป็นบริษัทมหาชนได้สำเร็จ ซึ่งสิ่งที่ Dell ทำนั้นกลายเป็นต้นแบบที่ปฏิวัติแนวคิดทางธุรกิจคอมพิวเตอร์ที่ใคร ๆ เคยทำมาก่อนจนหมดสิ้น แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ Dell Computer หลังจากได้รับเงินทุนมหาศาลเพื่อมาขยายกิจการ โปรดติดตามในตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 3 : Billion Dollar Company

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Life’s Choices *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : https://www.varchev.com/en/strong-earnings-power-global-shares-higher/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube