Long live apps เมื่อยุคทองของการสร้างแอปได้จบสิ้นลงแล้ว

คุณดาวน์โหลดแอปใหม่ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่? เป็นคำถามที่หลายคนน่าจะเจอประสบการณ์ที่คล้าย ๆ กันที่ว่า ตอนนี้เราแทบจะไม่ดาวน์โหลดแอปใหม่ ๆ กันแล้ว การแจ้งเกิดของแอปใหม่ ๆ ที่มีให้รกเครื่องนั้นเป็นสิ่งที่ยากมาก ๆ

ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีทั้งคลาวด์ และ การเขียนโค้ดที่ง่ายขึ้นมากอย่าง no-code นั้นทำให้กำแพงในการสร้างแอปที่เมื่อก่อนต้องลงทุนสูง และใช้ทักษะที่ค่อนข้างสูง กลายเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับทุกคน

นั่นทำให้เกิดฟองสบู่ของแอปอย่างที่เราได้เห็นในทุกวันนี้ แม้ใน App Store หรือ Play Store จะมีแอปมากมายให้เราเลือกสรรค์ แต่มีเพียงแอปแค่หยิบมือเท่านั้นที่ถูกดาวน์โหลดไปใช้งานจริง ส่วนใหญ่จะเป็นขยะเสียมากกว่า

ในเวลาไม่ถึงทศวรรษ เราเปลี่ยนจากพฤติกรรมการอยากมีแอปสำหรับทุก ๆ สิ่ง แต่ตอนนี้เรียกได้ว่าแม้จะมีแอปเกิดขึ้นมากมาย แต่มีเพียงไม่กี่แอปที่ทำในสิ่งที่เราต้องการได้

นั่นทำให้ไม่แปลกใจที่ตอนนี้แนวคิดของ Super App ที่ถูกคิดค้นโดยประเทศจีนนั้นจะกลายเป็นที่นิยม หลาย ๆ แพลตฟอร์มอยากก้าวขึ้นเป็น Super App ในภูมิภาคของตนเอง

Wechat จากจีนเองที่ถือเป็นต้นแบบสำคัญ ช่วยผู้ใช้ไม่เพียงแค่การแชทเท่านั้น แต่ยังซื้อของ จ่ายบิล และเข้าถึงบริการของรัฐได้มากมาย ด้วยความสะดวกสบาย

เราได้เห็นบริการอย่าง Grab , Line หรือแม้กระทั่งน้องใหม่ในประเทศไทยอย่าง Robinhood ที่ต้องการที่จะเข้าไปยังเป้าหมายเดียวกันนี้

ในโลกตะวันตกแม้จะไม่เป็นที่ยอมรับในเรื่องนี้มากนัก แต่ไอเดียที่ถูกเปิดขึ้นโดย Elon Musk ที่ได้ทำการเข้าซื้อ Twitter เพื่อก้าวข้ามความเป็นแพลตฟอร์มโซเชียล เพื่อให้เป็น Super App แห่งแรกของโลกตะวันตก และดูเหมือนว่าพวกเขาจะมีศักยภาพสูงเช่นเดียวกันที่จะไปถึงจุดนั้น

อีกแนวคิดที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นกับ Web3 ที่เชื่อว่าระบบนิเวศของแอปแบบกระจายศูนย์ และโลกนี้จะให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลมากขึ้น และพยายามทำลายอิทธิพลที่มากล้นของบริษัท Big Tech ที่ครอบงำตลาดแอปอยู่ในปัจจุบัน

Web 1.0 คืออินเทอร์เน็ตของศตวรรษ 1990 ไม่ว่าจะเป็น Search Engine หรือ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แต่จะอยู่เฉพาะในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเดสก์ท็อป ส่วน Web 2.0 คืออินเทอร์เน็ตที่เรารู้จักในปัจจุบัน โดยมีเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น การสตรีมวีดีโอและเพลง ซึ่งมันเติบโตบนอุปกรณ์พกพา

Web 3.0 ได้รับการเปิดเผยครั้งแรกในปี 2006 จาก The New York Times ที่เขียนเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตในยุคที่ 3 ซึ่งจะเป็นยุคที่เว็บของข้อมูลสามารถประมวลผลได้ด้วยเทคโนโลยี AI , Machine Learning , Data Mining ตัวอย่างเช่น อัลกอริธึมจะช่วยตัดสินใจและแนะนำว่าใครควรซื้ออะไรใน Amazon นั่นคือภาพรวมของ Web 3.0

นอกจากฟีเจอร์เหล่านี้แล้วก็มีแนวคิดที่ว่าควรจะรวมเอาเครือข่ายแบบ Peer-to-peer ที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์และไม่มีตัวกลางในการจัดการของการไหลของข้อมูล ซึ่ง Ethereum จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับวิสัยทัศน์ของ Web 3.0

Web 3 จึงได้กลายเป็นแนวคิดคร่าวๆ ว่าเว็บควรรวมแอปพลิเคชั่น smart contract และโทเค็นต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งรวมถึง metaverse ที่เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่กำลังกลายเป็นกระแสในขณะนี้

Web 3 และ metaverse มีความหมายเหมือนกันในเชิงโครงสร้าง ซึ่งแกนหลักของทั้งสองเทคโนโลยีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างอินเทอร์เฟซและระบบที่ใช้สินทรัพย์ blockchain  ซึ่งรวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น การมีเนื้อหาในเกมแบบ NFT ที่ใช้งานได้ในเกมต่างๆ หรือโทเค็นที่ปลดล็อกบริการต่าง ๆ

และนี่คือสิ่งสำคัญที่ทำให้ Facebook รีแบรนด์ตัวเองเป็น Meta และกำลังสร้างโลกของ Metaverse เช่นเดียวกัน

แน่นอนว่าหลายบริษัทโดยเฉพาะยักษ์ใหญ่เช่น Meta ที่ต้องอาศัยใน ecosystem ของคนอื่นอย่าง iOS ของ Apple หรือ Android ของ Google นั้นก็ต้องการที่จะปลดแอกตัวเองออกจากพันธนาการเหล่านี้

ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วเทคโนโลยีอย่าง Web3 อาจจะกลายเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ที่จะเข้ามาลดทอนอำนาจของบริษัท Big Tech อย่าง Apple หรือ Google ในเร็ววันนี้ก็อาจจะเป็นไปได้นั่นเองครับผม

Image References : https://thenextweb.com/news/apps-are-dead-long-live-apps


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube