Klarna (buy-now, pay-later) กับเวทย์มนต์ที่สิ้นมนต์ขลังของ Sebastian Siemiatkowski

Sebastian Siemiatkowski ซีอีโอของ Klarna ผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติรูปแบบช้อปปิ้งออนไลน์แบบ Buy Now Pay Later (ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง) กำลังกลายเป็นจุดสนใจใหม่ในแวดวงเทคโนโลยี เมื่อ Klarna ได้ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 10% หรือประมาณ 700 คนในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

แม้ว่าความเกรงกลัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งคล้าย ๆ กับสิ่งที่ Elon Musk ได้กล่าวออกมา มันอาจจะเป็นเรื่องปรกติในเรื่องแผนการเลิกจ้างพนักงานในบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งในช่วงนี้

แต่มันไม่ใช่กับ Klarna ที่อิงแอบกับบุคลิกลักษณะของผู้ก่อตั้งอย่าง Siemiatkowski ไม่ต่างจากที่ WeWork บูชาลัทธิและคลั่งไคล้ในตัวของ Adam Neumann

Siemiatkowski ได้สร้างภาพลักษณ์อย่างสวยหรูในฐานะอัจฉริยะด้าน Fintech ซึ่งอ้างว่าสร้างอัลกอริธึมดั่งเวทมนต์สามารถทำนายได้ว่าใครสามารถจ่ายหนี้ได้อย่างน่าเชื่อถือและจะจ่ายเมื่อใด ซึ่งสามารถทำให้เขาเปลี่ยนตัวเองจากคนชายขอบกลายเป็นมหาเศรษฐีก่อนอายุ 40 ได้สำเร็จ

แต่ตอนนี้ดูเหมือนโมเดลธุรกิจดังกล่าว กำลังได้รับการตั้งคำถามเช่นเดียวกับที่ WeWork ถูกตั้งคำถามในธุรกิจ Co-Working Space

Klarna เองนั้นเป็นหนึ่งดาวรุ่งจากประเทศสวีเดน ที่กำลังมีเส้นทางที่สวยหรู แต่การระดมทุนรอบล่าสุดพบว่าทำให้บริษัทเหลือมูลค่าเพียงแค่ 30 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลง 30% เมื่อเทียบกับการระดัมทุนครั้งก่อนหน้า

Klarna ที่มีตัวเลขผู้ใช้งานที่สวยหรู อ้างว่ามีผู้ใช้งาน 16 ล้านคนในสหราชอาณาจักร แต่กำลังได้รับผลกระทบจากความกังวลจากนักลงทุน เกี่ยวกับการบังคับใช้กฏหมาย รวมถึงการแข่งขันที่มากขึ้นจากคู่แข่งแบบดั้งเดิมเช่นธนาคารพาณิชย์

ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด บริการแบบนี้มีหมดไปทั่วโลกในขณะนี้ ทุก ecommerce platform ต้องมีบริการเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น shopee ในไทย ก็ได้เสกบริการนี้ขึ้นมาและได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง

แต่ถามว่ามันมีนวัตกรรมใหม่อะไรในธุรกิจนี้ ก็ต้องบอกว่าน้อยมาก ๆ เพราะดูเหมือนใครก็สามารถทำมันได้ง่าย ๆ อยู่ที่ว่ากฏระเบียบของประเทศนั้น ๆ สามารถอนุญาติให้ทำได้หรือไม่

แน่นอนว่า Klarna ก็เหมือนบริการชื่อดังอื่น ๆ ที่อาศัยช่องโหว่ของกฏหมายที่ยังตามไม่ทันเทคโนโลยี แล้วสร้างมันขึ้นมาให้ได้รับความนิยมเสียก่อน แล้วกฎระเบียบต่าง ๆ ค่อยตามมาจัดการพวกเขาในภายหลัง

มันแทบไม่ต่างจาก Uber หรือ Airbnb ทำ มันเป็นธุรกิจที่ไม่ขาวสะอาดมากนัก ในเมื่อธุรกิจอื่น ๆ พวกเขาทำตามกฏหมาย เสียภาษีอย่างถูกต้อง

เช่น แท็กซี่ เขาก็ต้องเสียภาษีในรูปแบบรถยนต์รับจ้าง ไม่ใช่รถคนทั่วไปที่เสียภาษีกันอีกแบบ แล้ว บริการอย่าง Uber มันก็เกิดขึ้นมาแบบผิด ๆ จนมีแท็กซี่ประท้วงไปทั่วโลก

เฉกเช่นเดียวกับ Airbnb มันมีธุรกิจโรงแรมที่เสียภาษีต่าง ๆ อย่างถูกต้อง แต่อยู่ดี ๆ ก็มี Airbnb เข้ามาโดยใช้ห้องพักส่วนตัว บ้านส่วนตัว ให้คนแปลกหน้ามาอาศัยอยู่ ซึ่งมันไม่แฟร์กับธุรกิจเก่าเป็นอย่างมาก

และ Klarna ก็ต้องประสบพบเจอสิ่งเดียวกัน เมื่อกฏระเบียบต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น มาจัดการกับบริการที่ดูเทา ๆ เหล่านี้ และคู่แข่งที่เป็นธนาคารดั้งเดิม พวกเขาสามารถเสกบริการรูปแบบนี้ออกมาได้ง่าย ๆ อยู่แล้วหากมันสามารถทำได้อย่างถูกกฏหมาย และคงไม่แปลกหากบริการอย่าง Buy Now Pay Later เช่น Klarna ที่ต้องตกที่นั่งลำบากอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้นั่นเองครับผม

References :
https://www.fastcompany.com/90757129/klarna-ceo-layoffs-email-blast-controversy
https://finance.yahoo.com/news/klarna-faces-valuation-cut-amid-050000458.html
https://www.thetimes.co.uk/article/klarna-could-lose-billions-as-spotlight-falls-on-fintech-firm-cjfrhqrqp
https://www.protocol.com/newsletters/pipeline/fintech-startup-valuation-reset


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube