ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 6 : Alibaba

การออกจากปักกิ่งครั้งนี้ ไม่ใช่ว่าแจ๊คนั้นหมดหนทางเลือกเลยเสียทีเดียว ก่อนที่แจ๊คจะออกจากปักกิ่ง นั้น YAHOO และ โชวหู (Sohu) ก็ได้ยื่นโอกาสให้แจ๊ค โดย YAHOO ต้องการผู้จัดการสาขาประจำประเทศจีน เจอร์รี่ หยาง นึกถึงแจ๊คทันที และพยายามง้อแจ๊คหลายครั้ง แต่แจ๊ค ก็ตอบปฏิเสธเจอร์รี่ หยาง มาโดยตลอด เพราะเขาวางอนาคตของตัวเองแล้วว่าจะสร้างบริษัทที่ยิ่งใหญ่ของตัวเองขึ้นมา

ส่วน โชวหู นั้น ตอนนั้น ถือเป็นเว๊บที่โด่งดังมาก ๆ ของจีน และต้องการผู้บริหารระดับสูงในตำแหน่ง COO ( Chief Operation Officer)  ซึ่งคน ๆ นั้นก็คือแจ๊ค ผู้เปรียบเสมือนเป็น บิดาแห่ง internet จีนนั่นเอง แต่แจ๊คก็ได้ตอบปฏิเสธไปเหมือนกัน เพราะเขามีเป้าหมายเดียวคือการสร้างบริษัทของตนเองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

เว๊บ Sohu ซึ่งตอนนั้นเป็นธุรกิจที่ร้อนแรงมาก ๆ ของจีน
เว๊บ Sohu ซึ่งตอนนั้นเป็นธุรกิจที่ร้อนแรงมาก ๆ ของจีน

การที่จะสร้างบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลกให้ตาม ตามวิสัยทัศน์ของแจ๊ค นั้น ก็ต้องมีชื่อแบรนด์ที่ใช้ได้ทั่วโลกเช่นกัน ทีมงานทุกคนต่างถูกปลุกให้ระดมสมอง ทุกคนก็พยายามสรรหาชื่อที่เหมาะสม พวกเขา list รายชื่อได้ร้อยกว่าชื่อ แต่กลับไม่มีชื่อไหนถูกใจแจ๊ค

ปลายปี 1998 แจ๊คไปติดต่องานที่อเมริกา ขณะกินอาหารที่ร้านธรรมดาแห่งหนึ่ง เขากำลังคิดโยงไปถึงนิทานปรัมปราที่ทุกคนรู้จักดีแต่ก็เริ่มลืมเลือนไปแล้ว internet เหมือนขุมทรัพย์วิเศษ รอให้ผู้คนไปขุดคุ้ย บุกเบิกและนำไปใช้ มันเหมือนกับเทพนิยายอาลีบาบา ใน อาหรับราตรี

ชื่อมาจาก เทพนิยาย อาหรับราตรี
ชื่อมาจาก เทพนิยาย อาหรับราตรี

ครุ่นคิดได้ไม่นาน เขาก็ระงับความตื่นเต้นกับชื่อนี้ไม่ไหว รีบเดินสู่ถนนใหญ่หน้าร้านอาหาร สอบถามผู้คนที่เดินไปมาอยู่แถว ๆ ร้านอาหาร ว่ารู้จัก อาลีบาบา ไหม  ซึ่งเป็นคำตอบที่ได้จากทุกคนที่เขาถาม “Alibaba — Open Sesame!”

และที่ล้ำค่าที่สุด อาลีบาบาออกเสียง “a-li-ba-ba” ในเกือบทุกภาษาของโลก เป็นชื่อที่ไม่ว่าจะใช้ภาษาอะไรก็ไม่มีผิดเพี้ยน ยิ่งทำให้แจ๊ค รู้สึกตื่นเต้นกว่าเดิม หากใช้ชื่อนี้ แน่นอนว่านักธุรกิจทั่วโลก ต้องรู้จักมันอย่างไม่ยากเย็น และ ฟังแล้วเข้าใจทันที แจ๊ค จึงตัดสินใจใช้ “alibaba.com” ซึ่งเป็นชื่อภาษาอังกฤษที่ออกเสียงตรงกันกับภาษาจีนอีกด้วย

ในเดือนมกราคม ปี 1999 แจ๊คและทีมงานก็ได้เคลื่อนพลจากปักกิ่ง กลับ หังโจว ทันทีที่ถึงหังโจว เขาก็เรียกประชุมทีมงานที่บ้านของเขาทันที โดยเป็นการหารือ เรื่องการสร้างธุรกิจใหม่ ซึ่ง เขาต้องการให้ทีมงานทุกคน นำเงินส่วนตัวมาลงขัน โดยต้องไม่มีการยืมมาจากญาติพี่น้อง ต้องเป็นเงินส่วนตัวเท่านั้น และสำคัญต้องไม่ทำให้ครอบครัวของตัวเองเดือดร้อนด้วย

สุดท้ายทั้งหมดก็ควักเงินมารวมกันได้ 500,000 หยวน โดยแบ่งเป็นคนละ 10,000 – 20,000 หยวน โดยเงินทั้งหมดหมดก้อนแรกนี้ ถือ เป็นเงินทุนตั้งต้นของอาลีบาบา ซึ่งอุดมการณ์ของแจ๊ค คือ เขาต้องการให้พนักงานทุกคนถือหุ้น ให้ธุรกิจในอนาคต เป็นธุรกิจหุ้นส่วนอย่างแท้จริง 

ปัญหาใหญ่อีกอย่างของแจ๊ค คือ ตอนนี้ alibaba.com นั้นได้ถูกจดทะเบียนไว้ก่อนแล้วโดยนักธุรกิจของแคนาดา ซึ่งแจ๊คต้องใช้เงินกว่าหมื่นเหรียญในการซื้อ ชื่อ Domain ดังกล่าว ซึ่งจากเงินลงทุน 500,000 หยวน นั้น หมื่นเหรียญถือเป็นเงินไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว แต่แจ๊คก็ต้องจำใจซื้อมันมา เพราะ ต้องการใช้ชื่อ Brand Alibaba.com อย่างจริงจัง

ใช้เงินกว่าหมืนเหรียญในการซื้อ domain alibaba.com
ใช้เงินกว่าหมืนเหรียญในการซื้อ domain alibaba.com

การกลับมาหังโจวครั้งนี้ นั้น ความจริงแจ๊ค นั้นมีความคิดเบื้องต้นของเขาไว้อยู่แล้วสำหรับโมเดลของธุรกิจใหม่ใน alibaba.com  สภาพของประเทศจีนในตอนนั้นเว๊บไซต์ เริ่มเกิดขึ้นตามมาเป็นดอกเห็ด เว๊บอีคอมเมิร์ซ เกิดขึ้นมากมาย ธุรกิจ online กำลังกลายเป็นกระแสในธุรกิจของจีน

แต่แจ๊ค นั้นมองอีกอย่าง เขามองว่า อีคอมเมิร์ซ แบบ B2C หรือ Business to Customer นั้นเป็นเรื่องที่จีนยังไม่มีความพร้อม ทั้งเรื่องการชำระเงิน ธนาคารก็ยังไม่มี model รูปแบบการชำระเงินรองรับการซื้อขายแบบ online เลยเสียทีเดียว ส่วนเรื่องระบบ logistics นั้นยิ่งแล้วใหญ่ ยังไม่มีความพร้อมใด ๆ กับการส่งสินค้าไปให้ลูกค้า หากตลาดมันเกิดใหญ่ขึ้นมาจริง ๆ ในตอนนั้น มันต้องเป็นสภาพที่ทุลักทุเลเป็นอย่างมากแน่นอน 

แจ๊ค รู้สึกทันทีว่า โมเดลแบบอเมริกา นั้น ยังไม่เหมาะกับประเทศจีน เขาจะผลักดันโมเดลใหม่คือ B2B (Business to Business) ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานกับกระทรวงการค้าต่างประเทศที่ปักกิ่ง ทำให้แจ๊คสามารถมองเห็นภาพรวมในแง่ของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 

และมันยังทำให้แจ๊คเข้าใจหลักการหนึ่ง คือ ธุรกิจ SME คือผู้ที่ต้องการ อีคอมเมิร์ซมากที่สุด การให้ SME สร้างโลกใบใหม่ที่เป็นเอกเทศโดยใช้ internet นี่จะเป็นการปฏิวัติ internet อย่างแท้จริง

เว๊บไซต์ ที่เขาคิดจะทำต้องเป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ สำหรับให้ร้านค้าปลีกต่าง ๆ มาตั้งร้านในโลกออนไลน์ ในฐานะที่จีนเป็นประเทศซึ่งพัฒนาอย่างรวดเร็ว แพลตฟอร์มตัวนี้จะกลายเป็นตลาดขายส่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ในอนาคต ผู้คนจะสามารถพบและขายของได้ทุกอย่างที่แพลตฟอร์มแห่งนี้ ทั้ง ถุงเท้า ดอกไม้ประดิษฐ์ หลอดกาแฟ เครื่องกีฬา อุปกรณ์ห้องน้ำ เครื่องประดับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิค ต่าง ๆ 

ต้นเดือน กุมภาพันธ์ 1999 โมเดลของแจ๊ค ก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น และอาลีบาบาก็ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในที่สุด

ในที่สุด alibaba.com เว๊บไซต์โมเดลใหม่ของแจ๊คก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ในที่สุด alibaba.com เว๊บไซต์โมเดลใหม่ของแจ๊คก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการ

ถึงตอนนี้ต้องบอกว่าแจ๊คนั้น กำลังทำในสิ่งที่ผู้คนในตลาดส่วนใหญ่ ไม่ได้มีใครนึกถึง ในตอนนั้น ผู้คนแห่กันไปทำ เว๊บไซต์ เลียนแบบอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น YAHOO , Ebay หรือ Amazon แต่ แจ๊ค กำลังคิดต่าง จากประสบการณ์การทำงานในกระทรวงการค้าต่างประเทศกว่าหนึ่งปีนั้น ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้แจ๊ค ได้เห็น model บางอย่างที่เป็นช่องว่างของตลาดอยู่ นั่นก็คือ เหล่า SME ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศจีน พวกเขาเหล่านี้ต้องการ อีคอมเมิร์ซมากที่สุด แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ อาลีบาบา ธุรกิจใหม่ของแจ๊ค โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 7 : 18 Founders

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube