กฎหมายควบคุม AI กับความท้าทายใหม่ของรัฐบาลทั่วโลกที่ต้องเข้ามาจัดการอย่างเร่งด่วน

มันได้กลายเป็นปัญหาใหม่ และปัญหาใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับรัฐบาลทั่วโลก เมื่อเทคโนโลยีอย่าง Generative AI กำลังแพร่กระจายไปยังคนหมู่มากได้ใช้งาน ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ยังไม่ได้รับการประเมินอย่างถี่ถ้วน ว่าจะกระทบกับวิถีการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมโลกอย่างไรบ้าง

Sam Altman CEO ของ OpenAI เรียกร้องให้ฝ่ายนิติบัญญติพิจารณาควบคุม AI ในระหว่าง การให้ปากคำกับวุฒิสภา เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2023 ที่ผ่านมา คำแนะนำดังกล่าว ทำให้เกิดคำถามในสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้

สำหรับ โซลูชั่นที่ Altman เสนอนั้น คือการสร้างหน่วยงานกำกับดูแลด้าน AI และกำหนดให้บริษัทต่าง ๆ ต้องได้รับใบอนุญาติ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า แม้กระทั่ง OpenAI ซึ่งเป็นคนสร้างเทคโนโลยีดังกล่าว ก็ยังแสดงความกังวลกับผลกระทบที่จะตามมา

มีผู้เชี่ยวชาญมากมายได้ให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวที่มีความสำคัญพอ ๆ กัน ทั้งความโปร่งใสในการฝึกอบรมข้อมูล และ การกำหนดกรอบที่ชัดเจนสำหรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ AI

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจที่ยังไม่มีการพูดถึงก็คือ เมื่อคำนึงถึงเศรษฐศาสตร์ของการสร้างโมเดล AI ขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมอาจได้เห็นการเกิดขึ้นของการผูกขาดทางเทคโนโลยีประเภทใหม่นี้ได้เช่นเดียวกัน

หน่วยงานที่ควบคุม AI

ฝ่ายนิติบัญญัติและผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก (ยังไม่เห็นในไทย) ได้เริ่มกล่าวถึงประเด็นบางประเด็นในคำให้การของ Altman แล้ว

พระราชบัญญัติ AI ของสหภาพยุโรป ได้อิงตามแบบจำลองความเสี่ยงที่กำหนดให้แอปพลิเคชั่น AI มีความเสี่ยงสามประเภท ได้แก่ ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ ความเสี่ยงสูง และ ความเสี่ยงต่ำหรือความเสี่ยงที่น้อยที่สุด

การจัดหมวดหมู่ดังกล่าวนี้ทำให้ตระหนักถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่กำลังใช้เทคโนโลยี AI เช่น Social Credit ที่ถูกใช้โดยรัฐบาลบางประเทศ และเครื่องมืออัตโนมัติต่าง ๆ สำหรับการคัดกรองการจ้างงาน ซึ่งล้วนมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป

สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIST) ก็ได้จัดทำกรอบการจัดการความเสี่ยงด้าน AI ที่สร้างขึ้นด้วยข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่ม รวมถึงหอการค้าสหรัฐ , สมาพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน ตลอดจนสมาคมธุรกิจและวิชาชีพอื่น ๆ บริษัททางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ

หน่วยงานของรัฐบาลกลาง เช่น คณะกรรมการการจ้างงานที่เท่าเทียม และ คณะกรรมาธิกาการค้าแห่งสหพันธรัฐ ได้ออกแนวทางเกี่ยวกับความเสี่ยงบางประการที่มีอยู่ใน AI แม้กระทั่ง คณะกรรมการความปลอดภัยของสินค้าอุปโภคบริโภค และหน่วยงานอื่น ๆ ก็กำลังมีบทบาทเช่นเดียวกัน

ซึ่งแทนที่จะสร้างหน่วยงานใหม่ที่จะมาจัดการเรื่องราวเหล่านี้ รัฐสภาพได้นำกรอบจัดการความเสี่ยงของ NIST ไปใช้ทั้งในภาครัฐและเอกชน และออกกฎหมายต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่ออัลกอริธึม เช่นเดียวกับกฎหมายอย่าง กฎหมาย Sarbanes-Oxley และข้อบังคับอื่น ๆ รวมถึง สภาคองเกรสยังสามารถใช้ กฎหมายที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

ซึ่งการควบคุม AI นั้น ควรเป็นความร่วมมือระหว่างนักวิชาการ อุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบาย และหน่วยงานระหว่างประเทศ

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเปรียบเทียบแนวทางดังกล่าวนี้กับ องค์กรระหว่างประเทศ เช่น European Organization for Nuclear Research หรือที่รู้จักกันในชื่อ CERN หรือ องค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ภาคประชาสังคม อุตสาหกรรม และผู้กำหนดนโยบาย เช่น Internet Corporation for Assigned Names and Numbers และ World Telecommunication Standardization Assembly ตัวอย่างเหล่านี้เป็นแบบจำลองสำหรับอุตสาหกรรมและผู้กำหนดนโยบายในปัจจุบัน

ผู้ออกใบอนุญาต ไม่ควรเป็นองค์กรธุรกิจ

แม้ว่า Altman จาก OpenAI จะแนะนำว่าบริษัทต่าง ๆ สามารถได้รับอนุญาตให้เผยแพร่เทคโนโลยี AI สู่สาธารณะ แต่เขาก็ชี้แจงว่าเขาหมายถึง เทคโนโลยี AI ทั่วไป

เทคโนโลยี AI ที่ควรได้รับการออกใบอนุญาติ คือ AI ในอนาคตที่มีศักยภาพซึ่งจะมีสติปัญญาเหนือกว่ามนุษย์ซึ่งอาจจะเป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติ มันคล้ายกับบริษัทที่ได้รับสัมปทาน หรือ ใบอนุญาตในเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย เช่น พลังงานนิวเคลียร์

ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ได้กล่าวว่า ปัญหาเรื่องความลำเอียงและความเป็นธรรมของ AI ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการเทคนิคเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีแนวทางปฏิบัติในการลดความเสี่ยงที่ครอบคลุมมากขึ้น

การเสริมสร้างกฎหมายที่มีอยู่เกี่ยวกับความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และการคุ้มครองผู้บริโภค จะช่วยให้ระบบ AI ซับซ้อนน้อยลง สิ่งที่สำคัญก็คือต้องมีความตระหนักว่าความรับผิดชอบและความโปร่งใสของข้อมูลที่มากขึ้นอาจะกำหนดข้อจำกัดใหม่ๆ ให้กับองค์กรเช่นเดียวกัน

ต้องมีกรอบการทำงานเพื่อรับรู้ถึงอันตรายของการทำงานของ AI ในสาขาต่าง ๆ เช่น การจ้างงาน การประกันภัย และการดูแลสุขภาพ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับใบอนุญาต เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการยุติธรรมมีความยุติธรรมเพียงพอและปกป้องในเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

อย่างไรก็ตาม ก็ต้องมีการถกเถียง ระหว่าง นักพัฒนา AI และผู้กำหนดนโยบาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการนำ AI ไปใช้ในวงกว้าง เช่นเดียวกัน

AI ผูกขาด?

ประเด็นนี้ค่อนข้างมีความสำคัญมาก ๆ สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าข้อมูลการฝึกอบรมทั้งหมดสำหรับเครื่องมือต่าง ๆ เช่น ChatGPT มันยังไปรุกล้ำข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยหยาดเหงื่อแรงกายของมนุษย์คนอื่น ๆ เช่น ผู้ร่วมเขียน wikipedia บล็อกเกอร์ และผู้แต่งหนังสือ แต่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากเครื่องมือเหล่านี้ จะตกอยู่กับบริษัทเทคโนโลยี ที่มาหากินที่ปลายทางเพียงเท่านั้น

ในอนาคต มันจะยิ่งเป็นเรื่องที่ยากขึ้น ในการพิสูจน์อำนาจการผูกขาดของบริษัทเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ยิ่งพัฒนาขึ้น ก็จะมีความได้เปรียบจากการเรียนรู้ข้อมูลที่มากขึ้น

ทั้งที่ฐานข้อมูลหลักนั้น มาจากหยาดเหงื่อแรงกายของคนจำนวนมาก แต่พวกเขากลับมาหากิน ในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ ผ่านการเรียนรู้ของ AI ซึ่งถือว่าเป็นการเอาเปรียบบุคคลอื่นค่อนข้างมาก

กฎระเบียบที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ และรัฐบาลทั่วโลกต้องเริ่มให้ความสำคัญ แม้กระทั่งรัฐบาลไทย ที่เราเป็นเพียงผู้ใช้งานฝั่งปลายน้ำ เพียงเท่านั้น

เพราะหากไม่ทำอะไรเลย มันจะส่งผลอย่างมาก ต่อโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ของประเทศนั้น ๆ เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้ ไม่ได้รับการตรวจสอบผลกระทบอย่างดีเพียงพอ ทั้งในแง่บวก หรือ แง่ลบ

เพราะนโยบายต่าง ๆ ที่ทางรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งวาดฝันไว้ ก็อาจจะไม่สามารถผลักดันให้เกิดขึ้นจริงได้ เพราะโครงสร้างทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ ที่มันกำลังจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงนั่นเองครับผม

References :
https://www.fastcompany.com/90902547/pov-heres-how-congress-can-regulate-ai
https://www.washingtonpost.com/opinions/2023/05/26/ai-regulation-congress-risk/
https://hbr.org/2023/05/who-is-going-to-regulate-ai
https://www.nytimes.com/2023/05/16/technology/openai-altman-artificial-intelligence-regulation.html


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube