วิธีที่ Samsung เอาชนะ Japan Inc. ด้วยการย้อนเกล็ดวิธีการของดินแดนอาทิตย์อุทัย

เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ทางธุรกิจที่น่าเหลือเชื่อมาก ๆ นะครับ กับวิธีการที่ Samsung เปลี่ยนจากบริษัทซัพพลายเออร์ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค ให้กลายมาเป็นแบรนด์ระดับโลกอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้

พวกเขาได้เปลี่ยนจากแค่บริษัทรับจ้างผลิตให้กับแบรนด์อื่น ๆ พลิกตัวเองให้กลายเป็น แบรนด์ผู้นำระดับโลกสำหรับทุกสิ่ง ไล่ตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค พีซี smartphone โทรทัศน์ ไปจนถึงหน่วยความจำและเซมิคอนดักเตอร์

ความน่าสนใจที่หลายคนไม่รู้ก็คือ บริษัทจากเกาหลีใต้ ใช้ตำราแบบเดียวกับบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น และทำให้ดีกว่า มีความมุ่งมั่นมากกว่าเพื่อเอาชนะ และในที่สุดก็สามารถเอาชนะบริษัทจากญี่ปุ่นได้ด้วยเกมของตัวพวกเขาเอง

Jong Yong Yun บุตรบุญธรรมของ Kun Hee Lee อดีตประธานกรรมการระดับตำนานของ Samsung Group ได้ใช้เวลาห้าปีในญี่ปุ่น

เขาได้ถูกส่งตัวไปญี่ปุ่นครั้งแรกในปี 1978 เพื่อเป็นหัวหน้าสำนักงานสาขาของบริษัทที่นั่น ในปี 1992 Yun กลับมายังญี่ปุ่นอีกครั้งในฐานะประธานและซีอีโอของสำนักงานใหญ่ Samsung ที่โตเกียว

Jong Yong Yun บุตรบุญธรรมของ Kun Hee Lee อดีตประธานกรรมการระดับตำนานของ Samsung Group ได้ใช้เวลาห้าปีในญี่ปุ่น (CR:Emaze)
Jong Yong Yun บุตรบุญธรรมของ Kun Hee Lee อดีตประธานกรรมการระดับตำนานของ Samsung Group ได้ใช้เวลาห้าปีในญี่ปุ่น (CR:Emaze)

ซึ่งถ้าย้อนกลับไปตอนนั้น ผู้บริหารและผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นไม่เคยเรียก Samsung ด้วยการออกเสียงที่ต้องการว่า “Samsung” แต่พวกเขาเรียกว่า “ซันเซ” ซึ่งแปลคำภาษาเกาหลีเป็นคำว่า “สามดาว” ในภาษาญี่ปุ่น

ทศวรรษ 1970 และ 1980 เป็นช่วงที่วุ่นวายสำหรับอุตสาหกรรมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคของญี่ปุ่น

JVC และ Sony มีส่วนร่วมในสงคราม VCR ที่ดุเดือด Sony ได้สร้างหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เรียกว่า Walkman บริษัทอย่าง Pioneer , RCA และ JVC ต่อสู้กันอย่างดุเดือดในศึกวีดีโอดิสก์แบบอนาล็อก ส่วน Sony และ Philips ได้ร่วมมือกับผลักดัน CD

ในทางตรงกันข้าม กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคของ Samsung ประกอบด้วย ทีวี วิทยุ เครื่องบันทึกเทปวิทยุ และเครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่งสำหรับ Samsung แล้ว VCR มีอุปสรรคในการเข้ามาร่วมแข่งที่สูงมากเป็นพิเศษ

ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำของญี่ปุ่นได้ทำงานร่วมกันเพื่อจัดทำข้อตกลงการอนุญาตให้ใช้สิทธิต่าง ๆ แต่ Samsung แทบไม่เคยมีทรัพย์สินทางปัญญาในการค้าขายมาก่อนเลยด้วยซ้ำ

Yun กล่าวว่า ในการสร้าง VCR “เราต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ไม่เพียงให้กับ JVC เท่านั้น แต่ยังต้องจ่ายให้ Sony และ RCA ด้วย เนื่องจาก VCR แต่ละตัวได้รวมเอาเครื่องรับสัญญาณทีวีที่ RCA จดสิทธิบัตรไว้ด้วย”

Yun ได้บรรยายถึง Samsung ในสมัยนั้นว่าเป็น “Kohatsu” หรือ “ผู้ที่มาช้าเกินไป” ในภาษาญี่ปุ่น มันเป็นความหมายแฝงในเชิงดูถูกเล็กน้อย เพื่อกีดกันชาวเกาหลีออกจากกลุ่มของพวกเขาในยุคนั้น ซึ่งเหล่าผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่น ไม่เคยปล่อยให้ Samsung เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม หรือ พันธมิตรของพวกเขาเลย

แต่เมื่อก้าวไปสู่ปี 2008 สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ Samsung เป็นผู้นำที่ไม่เคยมีปัญหาในตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคในโลกยุคดิจิทัล

ยักษ์ใหญ่จากเกาหลีไม่เคยคิดที่จะเข้าข้างกับ format ใด ๆ หรือมาตรฐานใด ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Blu-ray หรือ HD DVD หรือมาตรฐานเครือข่ายต่าง ๆ ภายในบ้าน Samsung แทบจะไม่สนใจ

Yun กล่าวว่า “เราลองทุกรูปแบบ เราแค่ไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้ชนะ นี่คือปรัชญาของเรา”

Chris Fisher ซีอีโอของ The Ether group ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาใน Silicon Valley ตั้งข้อสังเกตว่า “Samsung ยึดมั่นในปรัชญาที่ว่าผู้บริโภคนั้นไม่มีความแน่นอนและตลาดก็ไม่มีความแน่นอน ไม่มีบริษัทใดเข้าใจเรื่องนี้ได้ดีกว่า Samsung พวกเขาเดิมพันในเทคโนโลยีทั้งหมดที่จะชนะ”

ตัวอย่างที่น่าสนใจเกิดขึ้นในสงคราม MP3 ในขณะที่ Sony มี Walkman ที่พยายามผลักดันตัวเองให้เป็นเครื่องเล่นพกพา แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ให้กับ iPod ที่ Apple เลือก Samsung เพื่อจัดหาชิปที่ทำให้ iPod มีความบางเป็นอย่างมาก

ในทำนองเดียวกัน ยักษ์ใหญ่ของเกาหลีก็ได้ทำตลาดในช่วงแรกของตลาดโทรศัพท์มือถือ โดยมีวิสัยทัศน์ แพลตฟอร์มที่บรรจบกันทางดิจิทัล ทั้งหน่วยความจำ จอภาพ และเทคโนโลยี LSI ของตัวเองสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก

การเข้าสู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของเกาหลีใต้ในปี 1970 เป็นไปตามหลักการ 4 ประการ ที่คู่แข่งชาวญี่ปุ่นเคยปฏิบัติมาในช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งได้แก่ เน้นการผลิตจำนวนมาก เรียนรู้จากเทคโนโลยีต่างประเทศ และใช้กลยุทธ์ทำตามผู้นำ และใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนจากรัฐบาล

Samsung ได้ผลักดันให้หลักการเหล่านี้ขึ้นถึงขีดสุด

ในแต่ละปี Samsung ได้ว่าจ้างพนักงานมากถึง 5,000 คน โดย 90% เป็นวิศวกร หลายคนจบปริญญาตรีขึ้นไป ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลด้านวิศวกรรมที่แทบไม่มีที่สิ้นสุด

“Samsung มีทีมวิศวกรมากถึง 20 ทีม ซึ่งทำงานคู่ขนานกันเพื่อแก้ปัญหาเดียวกัน” Fisher ของ Ether Group กล่าว

ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเทคโนโลยีทีวีบนมือถือเคยเปิดเผยเรื่องราวที่น่าสนใจไว้ว่า

“ถ้าคุณทำงานกับ Nokia คุณจะรู้ว่าโปรเจ็กต์ของคุณอยู่ที่ไหน เว้นแต่จะมีใครทำเคสดี ๆ ที่ดีไซน์ของโทรศัพท์บางรุ่นใช้ไม่ได้ รุ่นของโทรศัพท์ที่คุณร่วมโปรเจ็กต์อยู่จะไม่ถูกยกเลิก”

ในทางตรงกันข้ามโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 70 ถึง 90 โครงการ ที่ Samsung ดำเนินการควบคู่กัน ณ เวลาเดียวกัน มีเพียง 25% เท่านั้นที่โปรเจกต์เหล่านี้จะเข้าสู่ตลาดจริง ๆ ได้สำเร็จ

ในเกาหลีใต้ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับแนวหน้าของโรงเรียนวิศวกรรมที่ดีที่สุดของประเทศ สามารถสอบและสมัครงานกับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ซึ่งรวมถึง Samsung

ผู้สำเร็จการศึกษาระดับแนวหน้าของโรงเรียนวิศวกรรมที่ดีที่สุดของประเทศ สามารถสอบและสมัครงานกับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ซึ่งรวมถึง Samsung (CR:Samsung Semiconductor)
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับแนวหน้าของโรงเรียนวิศวกรรมที่ดีที่สุดของประเทศ สามารถสอบและสมัครงานกับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ซึ่งรวมถึง Samsung (CR:Samsung Semiconductor)

เมื่อได้ร่วมงานกับบริษัทใหญ่ ๆ แบบ Samsung พวกเขาทำงานเป็นเวลาสามปีเพื่อแลกกับการสละสิทธิ์การรับราชการทหารสองปี และหากพวกเขาทำงานที่ Samsung เงินเดือนของพวกเขาจะได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลเกาหลี

ภายในปี 1982 เมื่อ Samsung เริ่มเข้าสู่ตลาดหน่วยความจำอย่างเต็มตัว ไม่มีใครจินตนาการว่าบริษัทอย่าง Samsung จะตามทันยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น แต่กลับกันพวกเขาไล่ล่าบริษัทจากญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว

อันที่จริงในช่วงปลายทศวรรษ 1980 บริษัทอย่าง Hitachi , NEC , Toshiba และบริษัทญี่ปุ่นอื่น ๆ ได้ครองตลาดโลกใน DRAM ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แต่ Samsung สู้ไม่ถอย เพราะถือว่าธุรกิจหน่วยความจำมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ในมุมมองของ Samsung การใช้ส่วนประกอบหลักของตัวเองจะช่วยลดการพึ่งพาซัพพลายเออร์จากญี่ปุ่นได้อย่างมาก ทำให้สามารถเพิ่มความสามารถใหม่ ๆ ในผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภคได้

Samsung ผสมผสานความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับจากต่างประเทศ เช่น Micron Technology เข้ากับทักษะที่พวกเขาสั่งสมมา บริษัทได้พัฒนา DRAM ในรุ่นต่อ ๆ มา และในปี 1995 ได้กลายเป็นบริษัทแรกที่เปิดตัว DRAM ขนาด 64 MB

ในทางตรงกันข้ามหลังจากฟองสบู่ของเศรษฐกิจญี่ปุ่นแตก ผู้ผลิตหน่วยความจำของญี่ปุ่นก็ขาดแคลนทรัพยากร แต่วิกฤติการเงินในเอเชียกระทบเกาหลีใต้อย่างมากในปี 1997 ที่ทำให้ Samsung มีหนี้สินล้นพ้นตัวจนใกล้จะล้มละลาย

ในปีนั้น Yun ได้รับเลือกจาก Lee ซึ่งเป็นประธานของกลุ่มบริษัท Samsung ให้เข้ารับตำแหน่งผู้นำของ Samsung Electronics

Yun ได้ลดพนักงานของ Samsung Electornics ลง 30% แต่พวกเขาได้เดิมพันกับธุรกิจหน่วยความจำ เพราะในตอนนั้นญี่ปุ่นแทบจะไม่ลงทุนในธุรกิจนี้ต่อไปอีกแล้ว 

Samsung รู้ถึงรากเหง้าของการผลิต และเชื่อมั่นในสัญชาตญาณในการผสานรวมในแนวตั้ง ทั้งที่ในตอนนั้นนักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ ได้กระตุ้นให้ Samsung เลิกสนใจธุรกิจอย่างหน่วยความจำได้แล้ว

และนั่นคือสิ่งที่เป็นผลตามมา ดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Motorola , Philips และ Siemens ในตอนนี้ พวกเขาไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขอดีตได้อีกต่อไปแล้ว เมื่อ Samsung ชนะในศึกหน่วยความจำ พวกเขาก็สามารถผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำคัญแทบจะทุกอย่างบนโลกใบนี้ อย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้นั่นเองครับผม

References :
https://bit.ly/3JBLJFh
https://bit.ly/3QpWJHU
https://bloom.bg/3SzMUJu


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube