ในที่จริงแล้วปี 2022 ควรจะเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลอง สำหรับบริษัทเทคโนโลยีระดับภูมิภาคยักษ์ใหญ่อย่าง Grab หรือ Sea ซึ่งต้องบอกว่าทั้งสองนั้นเป็น icon ที่สำคัญของแวงวงนวัตกรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาอย่างยาวนาน
แต่ทุกสิ่งทุกอย่างกลับพลิกผัน นักลงทุนเริ่มหมดความอดทนกับผลการดำเนินงานของบริษัทมากขึ้น ในขณะที่มูลค่าของ Grab และ Sea ลดลงถึง 80%
ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว อัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อ และแนวโน้มเศรษฐกิจที่ถดถอย โดยเฉพาะในตลาดที่พัฒนาแล้ว ได้ส่งผลกระทบไปถึงเหล่าบริษัทสตาร์ทอัพเช่นเดียวกัน
กรรมมันดันไปตกอยู่กับเหล่าบริษัทสตาร์ทอัพที่ต้องการเติบโต ที่ต้องการพุ่งทะยานขึ้นมาเป็นบริษัทระดับยักษ์เฉกเช่นเดียวกับ Grab และ Sea ทำได้สำเร็จ
แต่ดูเหมือนว่า ด้วยความผิดหวังจากนักลงทุน เมื่อเห็นรุ่นพี่อย่าง Grab และ Sea ทำผลงานไม่เป็นดั่งหวัง ก็ส่งกระทบต่อสตาร์ทอัพที่ตามมาเบื้องหลังเช่นเดียวกัน
เหล่าบริษัทร่วมทุนเริ่มจำกัดการผลาญเงินอย่างบ้าคลั่งเหมือนเมื่อก่อนที่ เหล่าสตาร์ทอัพชั้นนำใช้จ่ายเงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การขยายกิจการแบบมั่ว ๆ ไปในถิ่นที่พวกเขาไม่ได้มีความแข็งแกร่งอย่างในแถบยุโรป ซึ่ง หลายรายก็ต้องม้วนเสื่อกลับบ้านอย่างรวดเร็ว
Grab เองเริ่มต้นการเดินทางในมาเลเซียในการเป็นแพลตฟอร์มเรียกรถสำหรับแท็กซี่และรถยนต์ส่วนตัว หลังจากกลายเป็น unicorn ในเพียงเวลาแค่สองปี พวกเขาก็ต้องเผชิญความท้าทายด้วยคู่แข่ง ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
แม้พวกเขาจะทำได้อย่างยอดเยี่ยมในการขยายธุรกิจในภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สามารถเพิ่มฐานผู้ใช้งานได้อย่างมหาศาล แต่นำมาซึ่งรายจ่ายที่มโหฬารเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้ Grab ยังประสบกับสภาวะขาดทุน
การเปิดตัวบริการอย่าง Grab Unlimited ซึ่งเป็นโปรแกรมสมาชิกรายเดือน ด้วยค่าบริการรายเดือนเพียงไม่กี่ดอลลาร์ โปรแกรมนี้ได้มอบสิทธิประโยชน์และข้อเสนอต่าง ๆ ให้กับบริการต่างๆ ใน Super App ของ Grab ตั้งแต่การจัดส่งฟรีไปจนถึงการเรียก Rider ที่มี Rating สูงเท่านั้น
ซึ่งบริการอย่าง Grab Unlimited นี่เองที่พวกเขาคาดว่าจะช่วยให้ธุรกิจจัดส่งอาหารมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะถึงจุดคุ้มทุนในไตรมาสที่สองของปี 2023
เรียกได้ว่าการกลับมาโฟกัสธุรกิจใหม่ของ Grab นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง Grab ยังได้เปิดตัวธุรกิจธนาคารดิจิทัลในสิงคโปร์ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยมีแผนที่จะเข้าสู่มาเลเซียและอินโดนีเซียในปีหน้า การลงทุนของบริษัทในการปล่อยสินเชื่ออนไลน์คาดว่าจะถึงจุดสูงสุดในปี 2023 และใช้เวลาอีกสามปีกว่าจะคุ้มทุน
ซึ่งก็ต้องบอกว่าการบูมขึ้นของบริษัทเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มต้นในปี 2010 ซึ่งประมาณ 5-10 หลังจากประเทศจีน ควบคู่ไปกับการแพร่กระจายของโทรศัทพ์มือถือสมาร์ทโฟนทั่วทั้งภูมิภาค
แต่ส่วนใหญ่บริษัทเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้ถูกเย้ยหยันว่า เป็น “ผู้โคลนนิ่ง” หรือ “ผู้ลอกเลียนแบบ” ของ ซิลิกอน วัลเลย์และจีน ตัวอย่างที่น่าสนใจนั่นก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Rocket Internet ของเยอรมนีในภูมิภาคนี้
ตัวอย่าง Lazada และ Foodpanda เอง นั้นก็ถูกเริ่มต้นจากการเลียนแบบโดย Rocket Internet ก่อนที่จะถูกซื้อกิจการไป
และด้วยกระแสในตอนนั้นทำให้กองทุนยักษ์ใหญ่อย่าง Vision Fund ของ Softbank ซึ่งลงทุนใน Grab และ Tokopedia ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซของ GoTo และ Tiger Global Management ได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคนี้
ในช่วงแรกด้วยเงินที่ถูกอัดฉีดเข้ามา ทำให้บริษัทสตาร์ทอัพสามารถอยู่ได้นาน และ รับเงินเพิ่มแม้จะขาดทุนอย่างหนักก็ตาม ซึ่งเหล่าเด็กรุ่นใหม่ที่รวยด้วยเงินสดที่หามาง่าย ๆ เหล่านี้มุ่งเน้นไปที่การขยายส่วนแบ่งการตลาดเป็นหลัก
ซึ่งเมื่อมองย้อนกลับไป สตาร์ทอัพเหล่านี้ควรเน้นที่ความสามารถในการสร้างกำไรมากกว่า แต่ก็ต้องบอกว่าสถานการณ์ในตอนนั้นการได้ส่วนแบ่งการตลาดเป็นยุทธศาสตร์ที่มีเหตุผล ซึ่งเกือบจะเป็นกฎที่สำคัญของสตาร์ทอัพในยุคก่อนหน้าที่แทบทุกรายต้องทำตาม
“ในสมัยก่อน คุณเพียงแค่ต้องการก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำคือให้ความสำคัญกับความเร็วในการขยายกิจการมากกว่าประสิทธิภาพในการใช้เงินทุน” Chua of Vertex กล่าว
“แต่ตอนนี้พวกเขาไม่สามารถทำ 50 อย่างได้อีกต่อไป แต่พวกเขาต้องทำ 5 สิ่งให้ดีแล้วสร้างผลกำไรให้มากขึ้น นี่คือวิวัฒนาการตามธรรมชาติ”
ซึ่งมันเป็นเทรนด์ที่คล้ายกันทั่วโลกจากปัญหาหลาย ๆ อย่างทั้งอัตราเงินเฟ้อ ดอกเบี้ย ราคาเชื้อเพลิง ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย หรือปัญหาสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน นั่นทำให้เหล่านักลงทุนให้ความสำคัญกับผลกำไรระยะสั้นมากยิ่งขึ้น และแน่นอนว่าสตาร์ทอัพบางรายนั้นอาจจะไม่สามารถรอดได้จากภาวะตกต่ำเช่นนี้นั่นเองครับผม
References :
https://www.ft.com/content/e2792f1a-0d75-4450-aefb-fe3ca77c0c12
https://asia.nikkei.com/Business/Business-Spotlight/From-Grab-to-Sea-ASEAN-tech-confronts-end-of-golden-decade
https://mothership.sg/2022/03/grab-stock-price-crash/
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA
Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ
Geek Forever’s Podcast
“Open Your World With Technology“
AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning
Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ