Facebook และ Google ให้ทุนกับฟาร์ม clickbait ที่สร้างข้อมูลเท็จไปทั่วโลกอย่างไร

มันเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมาก ๆ ที่โดยพฤตินัยแล้วนั้น บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Google กำลังให้การสนับสนุนฟาร์ม Clickbait การพาดหัวข่าวเพื่อล่อให้คนคลิก หรือ ข้อมูลเท็จที่สามารถสร้างกันได้ง่ายมาก ๆในยุคปัจจุบัน และกระจายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็วมาก ๆ

ตัวอย่างที่น่าสนใจคือในประเทศเมียนมาร์บ้านใกล้เรือนเคียงของเรา เมื่อ ตำรวจและทหารเริ่มปราบปรามชาวมุสลิมโรฮิงญา และมีการผลักดันให้เกิดการโฆษณาชวนเชื่อที่ต่อต้านชาวมุสลิม

แน่นอนว่าพวกเขาอาศัยแพลตฟอร์มชื่อดังเหล่านี้ในการสร้างข่าวปลอม เพื่อผลประโยชน์ให้เกิดกระแสไวรัล ซึ่งมีการอ้างว่าชาวมุสลิมติดอาวุธที่กำลังรวมตัวกันเป็นกลุ่มก่อการร้าย 1,000 คน พวกเขากำลังจะฆ่าคุณ (ประชาชนชาวเมียนมาร์)

ทุกวันนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าข่าวปลอมส่วนใหญ่มาจากผู้มีบทบาททางการเมือง หรือ แรงจูงใจทางด้านการเงินมากกว่ากัน แต่ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ปริมาณข่าวปลอมและ clickbait ส่วนใหญ่เป็นเหมือนเชื้อเพลงที่จุดไฟให้เกิดความตึงเครียดทางเชื้อชาติ การเมือง ศาสนาที่อันตรายเอามาก ๆ อยู่แล้ว

ตัวอย่างที่เมียนมาร์มันชัดเจนมาก ๆ มันเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชนและยกระดับความขัดแย้ง ซึ่งสุดท้ายแล้วนำไปสู่การเสียชีวิตของชาวโรฮิงญา 10,000 คน และมีชาวโรฮิงญาที่ต้องผลัดถิ่นอีกกว่า 700,000 คน

การถือกำเนิดของฟาร์ม Clickbait

Facebook ได้เปิดตัวโปรแกรม Instant Articles ในปี 2015 ที่ทำให้ประสบการณ์การโหลดที่เร็วขึ้นด้วยรูปสายฟ้าบนบทความ ซึ่งก่อนหน้า Instant Articles ถือกำเนิดนั้น บทความที่โพสต์บน Facebook จะต้องวิ่งต่อไปยัง Browser แต่ Instant Articles จะเปิดขึ้นโดยตรงภายในแอปของ Facebook

ซึ่ง Facebook เองจะเป็นเจ้าของโฆษณาทั้งหมด หากผู้เผยแพร่โฆษณาที่เข้าร่วมเลือกที่จะสร้างรายได้ด้วยเครือข่ายโฆษณาของ Facebook ที่เรียกว่า Audience Network ซึ่ง Facebook สามารถแทรกโฆษณาลงในเรื่องราวของผู้จัดพิมพ์และหักรายได้ 30%

ในปี 2018 Facebook รายงานว่า ได้จ่ายเงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์ ให้กับผู้เผยแพร่และนักพัฒนาแอป แต่ Facebook กลับควบคุมคุณภาพเนื้อหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มีการสร้างบทความซ้ำ ๆ หรือพาดหัวเรียกให้คลิก ที่เรียกกันว่า Clickbait เป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างรายได้อย่างมหาศาล

แน่นอนว่ามันทำให้ ฟาร์ม Clickbait ทั่วโลกมองเห็นช่องโหว่ดังกล่าว ซึ่งพวกเขายังใช้กลยุทธ์จากช่องโหว่เหล่านี้มาจวบจนถึงปัจจุบันเพราะมันยังคงสร้างรายได้ให้กับพวกเขาอย่างเป็นกอบเป็นกำ

ตัวอย่างฟาร์ม Clickbait ในประเทศเมียนมาร์ สามารถสร้างสูตรการผลิตเนื้อหาที่เหมาะสมน่าสนใจ น่าดึงดูดให้คลิก ทำให้พวกเขาสามารถสร้างรายได้จากโฆษณาหลายพันเหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน หรือ เป็น 10 เท่าเมื่อเทียบกับรายได้ขั้นต่ำของประเทศ โดย Facebook จ่ายให้กับพวกเขาโดยตรง

และนั่นเองมันได้ทำให้เกิดฟาร์มต่าง ๆ ทั่วโลก ตัวอย่างที่น่าสนใจอีกเคสคือ ฟาร์ม clickbait ในมาซิโดเนียและโคโซโว ที่เข้าถึงชาวอเมริกันเกือบครึ่งล้านหนึ่งปีก่อนการเลือกตั้งในปี 2020

ฟาร์มต่าง ๆ ได้ทำทั้ง Instant Articles และ Ad Breaks ซึ่งเป็นโปรแกรมสร้างรายได้ที่คล้ายกันสำหรับเนื้อหาประเภทวีดีโอ ซึ่งมีข้อมูลว่าจำนวน 60% ของโดเมนที่ลงทะเบียนใน Instant Articles กำลังใช้กลยุทธ์การเขียนแบบสแปมที่ใช้โดยฟาร์ม clickbait

Google ก็มีความผิดเช่นกัน โปรแกรม Adsense เป็นตัวจุดเชื้อไฟให้กับฟาร์มใน มาซิโดเนียและโคโซโว ที่กำหนดเป้าหมายผู้ชมชาวอเมริกันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเท็จและสร้างเพื่อให้เป็นกระแสไวรัล

ปัจจุบันฟาร์ม Clickbait หลายแห่งสร้างรายได้จากทั้ง Instant Articles และ AdSense โดยได้รับเงินจำนวนมหาศาลจากทั้งสองบริษัท และเนื่องจากอัลกอริธึมของ Facebook , Google และ Youtube ช่วยกระจายข้อมูลทุกสิ่งที่ผู้ใช้ยิ่งมีส่วนร่วมมาก

Instant Articles , Ads Break และ Google Adsense แหล่งทำเงินของ ฟาร์ม Clickbait (CR:Abijita Foundation)
Instant Articles , Ads Break และ Google Adsense แหล่งทำเงินของ ฟาร์ม Clickbait (CR:Abijita Foundation)

นั่นเองที่ทำให้พวกเขาได้สร้างระบบนิเวศข้อมูลซึ่งเนื้อหาที่กระจายบนแพลตฟอร์มหนึ่งมักจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อเพิ่มการกระจายและสร้างรายได้สูงสุด ซึ่งฟาร์ม clickbait เหล่านี้คงอยู่ไม่ได้แน่ ถ้าไม่ได้รับเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่ได้รับจากแพล็ตฟอร์มทั้งสองนั่นเอง

บทสรุป

แม้ว่า Facebook ได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการกำจัดฟาร์ม clickbait ออกจาก Instant Articles และ Ad Breaks ในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 ตามรายงานภายในของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เริ่มมีการตรวจสอบผู้จัดพิมพ์เพื่อหาต้นฉบบับจริงของเนื้อหาและทำลายล้างผู้ที่โพสต์เนื้อหาส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ต้นฉบับ

แต่การตรวจสอบอัตโนมัติเหล่านี้มีจำกัด โดยเน้นที่การประเมินความสร้างสรรค์ของวิดีโอเป็นหลัก ไม่ใช่ว่าบทความนั้นถูกลอกเลียนแบบหรือไม่ ซึ่งแม้ว่าพวกเขาจะทำเช่นนั้น AI ก็ตรวจสอบได้ยากอยู่ดี

ระบบดังกล่าวจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในภาษาที่กำหนดเท่านั้น ประเทศที่มีภาษาที่ไม่ได้จัดลำดับความสำคัญโดยชุมชนการวิจัย AI จะได้รับความสนใจน้อยกว่ามาก ตัวอย่าง ในกรณีของเอธิโอเปีย มีประชากร 100 ล้านคนและหกภาษา Facebook รองรับเพียงสองภาษาเหล่านั้นสำหรับระบบตรวจสอบที่สมบูรณ์

ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นกลยุทธ์ WIN-WIN ที่ได้ผลประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายแพลตฟอร์มเองที่ได้รายได้จากการชม หรือ คลิกโฆษณา ส่วนเหล่าฟาร์ม clickbait ก็ได้รับผลประโยชน์จากส่วนแบ่งที่เกิดขึ้น

หรือแม้ในประเทศเราเองก็ตามผมก็มองว่า ภาษาไทยอาจจะไม่ได้รับการลำดับความสำคัญไว้สูงสุดเช่นกัน ในการทำงานของระบบเหล่านี้ เมื่อเราได้เห็น ฟาร์ม clickbait เกิดขึ้นมากมาย และสร้างรายได้ให้กับพวกเขาอย่างมหาศาลเฉกเช่นเดียวกัน

ความน่ากลัวของเรื่องราวทั้งหมดนี้ คือหากไม่มีการจัดการอย่างชัดเจนจากแพลตฟอร์มเทคโนโลยีทั้งหลาย ซึ่งตอนนี้มันได้สร้างพฤติกรรมที่แตกแยกและสุดโต่งที่เราเห็นในปัจจุบัน ซึ่งมันอาจจะเป็นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น สิ่งที่เราเห็นในเมียนมาร์และตอนนี้กำลังเห็นในเอธิโอเปียเป็นเพียงบทเริ่มต้นของเรื่องเท่านั้น แล้วตอนจบของมันจะเป็นอย่างไร คงไม่มีใครอาจคาดเดาได้นั่นเองครับผม

References : https://screenrant.com/google-facebook-battling-funding-misinformation-report/
https://bit.ly/3E3Vp7D
https://www.wsj.com/articles/facebook-opens-up-instant-articles-to-all-publishers-1455732001


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube