บทเรียนสตาร์ทอัพ ที่ใหญ่ที่สุดจาก Elizabeth Holmes กับ Theranos

Elizabeth Holmes ไม่ได้เป็นนักธุรกิจคนแรกที่มีความทะเยอทะยาน และมีความพยายามที่จะหลีกหนีจากความเป็นจริง ซึ่งส่งผลให้เกิดธุรกิจลวงโลก และเธอจะไม่ใช่คนสุดท้าย แล้วอะไรคือบทเรียนจากการทำสตาร์ทอัพที่ทำให้ผู้ก่อตั้ง Theranos เติบโตและตกต่ำอย่างน่าเหลือเชื่อ?

ข้อสรุปที่ชัดเจนจากคำตัดสินของศาลของรัฐบาลกลางในซานโฮเซในวันที่ 3 มกราคม กรณี Theranos ที่จะเปลี่ยนเรื่องราวของเทคโนโลยีชีวภาพไปตลอดกาล ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่ Theranos ได้รับวัฒนธรรมมาจาก Silicon Valley มากจนเกินไป หรือว่าเป็นตัวของ Holmes บริษัทของเธอและกลุ่มนักลงทุนของเธอที่ไม่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจในด้านการดูแลสุขภาพ

นอกเหนือจากคำถามเกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวจากการทดลองของ Theranos แล้ว สิ่งที่น่าสนใจคือ ตัว Holmes เองที่แสวงหาเส้นทางแห่งความทะเยอทะยานมากจนเกินไป

วัฒนธรรมของสตาร์ทอัพ ที่ยกยอปอปั้นผู้ก่อตั้งที่มุ่งแต่จะคิดและขายวิสัยทัศน์ ดังนั้นคำแนะนำในการเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพจำนวนมาก จึงเน้นที่ขั้นตอนสำคัญแรกนั่นก็คือ การระดมทุน หากไม่มีวิสัยทัศน์ คุณจะไม่มีทีม ไม่มีการสนับสนุนทางการเงิน ไม่มีหุ้นส่วน และอาจไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะพากเพียรพยายามสร้างบางสิ่งจากความว่างเปล่า

ดังนั้นจึงต้องมีการจุดประกายที่มาจากการคาดหวังว่าคุณจะเป็นคนพิเศษที่จะประสบความสำเร็จในสิ่งที่คนอื่น ๆ ทำไม่สำเร็จ คุณจะเป็นผู้ที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพด้วยเลือดเพียงไม่กี่หยด และนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Holmes

ดังนั้นด้วยความเชื่อที่ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  และทำให้ตัว Holmes เองแทบจะไม่สนใจคำวิจารณ์ต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามา  ดังที่ Holmes กล่าวในการสัมภาษณ์ปี 2015 เพื่อพยายามตอบโต้ผู้คลางแคลงใจเกี่ยวกับ Theranos: “ก่อนอื่นพวกเขาคิดว่าคุณบ้า แล้วพวกเขาก็ต่อสู้กับคุณ แล้วทันใดนั้นคุณก็เปลี่ยนโลก”

Adam de la Zerda ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์มาก่อนแล้วค่อยเป็นผู้ประกอบการ เขาเป็นผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Visby ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่มีบทบาทสำคัญในการรับมือโรคระบาด โดยการสร้างเครื่อง PCR แบบพกพาเครื่องแรกของโลกที่สามารถตรวจหาเชื้อโควิดได้ภายใน 30 นาที 

Adam de la Zerda ซีอีโอของ Visby (CR:med.stanford.edu)
Adam de la Zerda ซีอีโอของ Visby (CR:med.stanford.edu)

ในขณะที่การทดสอบเฉพาะสำหรับโควิด-19 ออกสู่ตลาดในเวลาประมาณหกเดือน De la Zerda ได้ทำงานเกี่ยวกับแนวคิดนี้มาหลายปีจนนำไปสู่การอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินของ FDA ในเดือนกันยายน 2020

เมื่อ De la Zerda ไตร่ตรองถึงสิ่งที่ Holmes บอกว่าเธอพยายามจะทำที่ Theranos ตัว De la Zerda เองซึ่งอยู่ในคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และเขาก็สอนในวิชาชีววิทยาโครงสร้างและวิศวกรรมไฟฟ้า

“มีบางอย่างที่เตือนเราถึงสิ่งที่เรารับรู้มาตลอดว่าอะไรเป็นพื้นฐานสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความจริงและข้อมูล” เขากล่าว 

ที่สแตนฟอร์ด เขากล่าวว่าคณาจารย์ใช้เวลาจำนวนมหาศาลในการฝึกอบรมนักศึกษาเพื่อขจัดอคติที่มี นักวิทยาศาสตร์ที่ดีได้เรียนรู้เทคนิคดีๆ ในการถามคำถาม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาได้ผลลัพธ์ตามที่หวังไว้ พวกเขาอาจมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์อย่างไร ในทางวิทยาศาสตร์ โครงสร้างภายนอกเช่นการทดลองทางคลินิกมีไว้เพื่อขจัดความลำเอียงและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่มีอยู่ในกระบวนการ ( ต้องสังเกตว่า Theranos ไม่ได้อยู่ภายใต้การวิจัยที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพส่วนใหญ่ทำ)

ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการที่ต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง แม้จะมีข้อสงสัยเพียงน้อยนิดก็ตาม แต่มันเป็นสิ่งสำคัญต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง

De la Zerda กล่าวว่า”ในทางวิทยาศาสตร์ ความสงสัยไม่ได้ทำให้เราเลิกล้มความตั้งใจที่จะดำเนินโครงการที่มีความเสี่ยงสูงและให้ผลตอบแทนสูง” 

ประเด็นของ De la Zerda นั้นเป็นตัวอย่างง่าย ๆ สำหรับเหล่าผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นคนเดียวกับที่เชื่อว่าการสงสัยในตนเองมากเกินไปนั้นตรงกันข้ามกับความสำเร็จของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ 

สิ่งที่ de la Zerda กำลังพูดถึงคือความสำคัญของการรักษากรอบความคิดในการเรียนรู้ ความอ่อนน้อมถ่อมตนที่ควรจะรู้ว่าสิ่งใดที่คุณไม่รู้ ตั้งคำถามกับสมมติฐานของคุณ และเปลี่ยนความเชื่อของคุณเมื่อเผชิญกับหลักฐานที่น่าเชื่อถือ 

กล่าวโดยสรุป คือ นั่นเป็นทุกสิ่งที่ Holmes ไม่เต็มใจจะทำ ผู้นำธุรกิจจำนวนมากยังดำเนินการด้วยความคิดที่คล้ายคลึงกัน หากไม่ถึงขั้นที่พวกเขากระทำการฉ้อโกง พวกเขาก็ไม่อยากจำกัดการเติบโตของตนเอง เพราะพวกเขามั่นใจในความคิดของตนเองมากเกินไปและทำให้ไม่สามารถที่จะปรับตัวได้ในท้ายที่สุด

Cheryl Cheng นักลงทุนด้านเทคโนโลยีด้านสุขภาพและผู้ก่อตั้งบริษัทการลงทุน Vive Collective กล่าวเสริมว่า: “ผู้ก่อตั้งต้องระวังให้มากกับการอ้างสิทธิ์ในสิ่งที่พวกเขาทำ สิ่งที่คุณสามารถทำได้ในวันนี้แตกต่างจากแรงบันดาลใจในสิ่งที่คุณคิดจะทำ” เธอกล่าว “ถ้าระหว่างทางคุณมีข้อสงสัยว่าบางอย่างว่ามันจะได้ผลหรือไม่ คุณก็ต้องมีความกล้าที่จะแบ่งปันสิ่งนั้นออกมาด้วยเช่นกัน”

References :
https://www.inc.com/rebecca-deczynski/visby-medical-portable-pcr-test-covid-19-adam-de-la-zerda.html
https://www.washingtonpost.com/technology/2022/01/04/biggest-fraud-trials-holmes/
https://www.inc.com/lindsay-blakely/elizabeth-holmes-theranos-doubt-entrepreneur.html
https://www.forbes.com/sites/edwardsegal/2022/01/05/the-guilty-verdicts-in-elizabeth-holmes-trial-are-a-wake-up-call-for-all-business-executives/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube