ประวัติ เอ็ดวิน แลนด์ ผู้คิดค้นกล้อง Polaroid

เอ็ดวิน แลนด์ เกิดในเมืองบริดจ์ รัฐคอนเนตทิคัต ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุตรของ มาร์ธา (โกลด์ฟาเด้น) และแฮร์รี่ แลนด์เจ้าของกิจการเศษเหล็ก ทั้งพ่อและแม่ของเขาเป็นคนเชื้อสายชาวยิวในยุโรปตะวันออก และเขาได้เข้าโรงเรียนมัธยมเอกชนภายในเมือง และจบการศึกษาในปี 1927  เมื่อเข้าสู่มหาลัยเขาได้เข้าเรียนต่อด้านเคมีที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ก็ต้องละทิ้งจากการเรียน และมุ่งหน้าสู่เมืองนิวยอร์กหลังจากเรียนได้แค่ปีเดียวเท่านั้น

ในนครนิวยอร์กเขาได้คิดค้นฟิลเตอร์ที่มีราคาไม่แพงครั้งแรกที่มีความสามารถในการ polarizing แสง ซึ่งเขาเรียกมันว่าฟิล์มโพลารอยด์ และเนื่องจากเขาขาดเครื่องมือของห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม ทำให้เกิดความลำบากในการสร้างสิ่งที่เขาต้องการขึ้นมา ดังนั้นเขาจึงแอบเข้าไปในห้องปฏิบัติการที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียตอนดึกเพื่อใช้อุปกรณ์ของมหาลัยเพื่อทดลอง

และเขาก็ได้กลับไปที่ Harvard University หลังจากพัฒนาฟิล์มโพลาไรซ์ได้สำเร็จ แต่ตอนนั้นเขายังไม่จบการศึกษาหรือได้รับปริญญาใด ๆ โดยหลังจากที่เขากลับมาที่ ฮาร์วาร์ดนั้น ได้ร่วมทุนกับ จอร์จ วีลไรท์ อาจารย์สอนฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในการก่อตั้ง Land-Wheel wright Laboratories ในเมืองเคมบริดจ์ เพื่อขายเทคโนโลยีทางด้านโพลาไรซ์ของเขา

เอ็ดวิน แลนด์ กับการประดิษฐ์คิดค้น ฟิล์ม โพลาไรซ์ของเขา
เอ็ดวิน แลนด์ กับการประดิษฐ์คิดค้น ฟิล์ม โพลาไรซ์ของเขา

ได้รับเงินทุนจากนักลงทุนจาก Wall Street จำนวนหนึ่ง เพื่อขยายกิจการต่อไป บริษัท เปลี่ยนชื่อเป็นโพลารอยด์คอร์ปอเรชั่น ในปี 1937 ซึ่งหลังจากได้รับเงินทุนเขาก็ได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีโพลาไรซ์อีกหลากหลาย

ไม่ว่าจะเป็นการช่วยพัฒนาวงการแว่นตา วงการภาพยนตร์ หรือ แม้กระทั่ง จอ LCD เองก็ตาม จนสามารถที่จะขยายธุรกิจและได้รับความเชื่อถือเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

และ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเขาทำงานร่วมกับทหาร ซึ่งรวมถึงการพัฒนาแว่นตาดำเพื่อเล็งเป้าหมาย และยังรวมถึงระบบนำวิถีให้กับระเบิดสมาร์ทบอมบ์ และระบบการรับชมภาพสามมิติแบบพิเศษที่เรียกว่า Vectograph ซึ่งเผยตำแหน่งข้าศึกที่พรางตัวในการถ่ายภาพทางอากาศ

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญกับกล้อง Polaroid

ในระหว่างการหยุดพักผ่อนในปี 1946 หนูน้อย เจนนิเฟอร์ วัย 3 ขวบ ได้ตั้งคำถามอย่างไร้เดียงสากับผู้เป็นพ่อขณะท่องเที่ยวพักผ่อนและถ่ายรูปด้วยกันว่า “ทำไมหนูถึงเห็นรูปเดี๋ยวนี้เลยไม่ได้คะ”

ซึ่งเป็นการจุดประกายความคิดครั้งสำคัญให้กับ เอ็ดวิน แลนด์ ผลิตกล่องที่สามารถพิมพ์ภาพถ่ายออกมาได้ทันทีหลังจากการถ่ายรูปได้สำเร็จ โดยใช้เทคโนโลยีพื้นฐานที่เขาเคยทำมาในอดีต

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1947 แลนด์ ได้เปิดตัวกล้องถ่ายรูป ที่ตอนแรกถูกเรียกว่า Land Camera โดย โพลารอยด์ผลิตมาเพียงแค่ 60 ตัวเท่านั้นโดย 57 ตัวถูกนำไปวางขายที่ห้างสรรพสินค้า Jordan Marsh ในบอสตันก่อนวันหยุดคริสต์มาสปี 1948 

เอ็ดวินด์ แลนด ขณะสาธิตการใช้งานกล้องโพลารอยด์
เอ็ดวินด์ แลนด ขณะสาธิตการใช้งานกล้องโพลารอยด์

ซึ่งเหล่านักการตลาดของโพลารอยด์เดาผิดคิดว่ากล้องและฟิล์มจะยังคงเหลืออยู่ในสต็อกนานพอที่จะรอการผลิตในระยะที่สองตามความต้องการของลูกค้า แต่กล้อง 57 ตัวแรกนั้น ถูกขายหมดเพียงในวันแรกของการสาธิต การใช้งานของกล้องเท่านั้น

และ โพลารอยด์ ก็ได้กลายเป็นสินค้ายอดฮิต ดังเป็นพลุแตกในที่สุด เพราะทุกคนต่างตกตะลึงกับการได้ภาพถ่ายหลังจากที่ลั่นชัตเตอร์ของกล้องเพียงไม่นาน ซึ่งมันดูเหมือนเวทมนต์ที่เสกรูปออกมาได้นั่นเอง

แม้ว่าเขาจะเป็นผู้นำของ Polaroid Corporation และกลายมาเป็นผู้บริหารระดับสูง แต่ แลนด์ ก็เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกและเป็นคนที่สำคัญที่สุด

และเขายังคงมุ่นมั่นที่จะวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่อไป และได้ทำการทดลองในแทบจะทุก ๆ วัน แม้เขาจะไม่ได้รับปริญญาใด ๆ อย่างเป็นทาง แต่เหล่าพนักงาน เพื่อน และสื่อมวลชน ก็ล้วนเคารพความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ของเขาโดยเรียกเขาว่า ดร. แลนด์ นั่นเองครับ

  References : https://en.wikipedia.org


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube