ข้อคิดสำคัญสำหรับ Driver ที่จะยึด Delivery Platform เป็นช่องทางทำมาหากินหลัก

พอดีผมได้มีโอกาสนั่งอ่าน ข่าวเกี่ยวกับ การรวมตัวประท้วงของพนักงานขนส่งของ Grab ที่ด้านหลังลานจอดรถห้างบิ๊กซีพัทยาใต้ เกี่ยวกับการเรียกร้องผลตอบแทนที่ดูเหมือนจะต่ำเตี้ยเรี่ยดินลงเรื่อย ๆ

นี่คือประเด็นสำคัญที่เหล่าพนักงาน Grab เข้ามาเรียกร้อง

“ครั้งล่าสุดที่เราชุมนุมประมาณเดือน พ.ย.62 ปรับจาก 50 กว่าบาทเหลือ 30 กว่าบาท และมาให้เราเก็บสะสมคะแนนเพื่อจะได้โบนัสมากขึ้น แต่ปัจจุบันมันลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ซึ่งเรามันไม่ไหวกับสิ่งที่ตอบแทน คือเก็บสะสมเพชรถ้าได้ 250 เพชรขึ้นไป เราจะได้เพชรเม็ดละ 30 สตางค์ ตีเป็นเงิน 75 บาท รวมกับค่ารอบที่เราได้ 30 บาท ซึ่งบางคนเคยได้ 1,000 กว่าบาท เหลือ 300-400 บาท ซึ่งรายได้นั้นมันก็พออยู่ได้แต่มันไม่คุ้มในการที่เอารถเรามาวิ่ง ไหนจะค่าสึกหลอของรถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ากิน ค่าโรงเรียนลูก ซึ่งวันนี้พวกเราจะหยุดบริการทั้งวันไม่รับออเดอร์ลูกค้า”

ซึ่งต้องมองตามความเป็นจริงว่า สิ่งที่บริษัทพวกนี้โดยเฉพาะบริการที่แข่งกันหนักอย่าง Delivery Service หรือ แม้กระทั่ง Platform Ecommerce อย่าง Shopee , Lazada ยอมขาดทุนมหาศาลทุก ๆ ปี

แน่นอนอยู่แล้วว่าพวกเขาต้องการ Data จากพฤติกรรมผู้บริโภคของเรา ว่าชอบสั่งอาหารแบบไหน มูลค่าเท่าไหร่ หรือช่วงเวลาใด และสุดท้ายพฤติกรรมเหล่านี้ก็จะกลายเป็นพฤติกรรมที่เราเคยชิน เหมือนที่เราเห็นใน platform Ecommerce อย่าง Lazada , Shopee ที่คนไทยเริ่มเสพติดกันหนักขึ้นเรื่อย ๆ

ด้วยการอัดโปรโมชั่นมากมายที่ดูเหมือนเป็นการสปอย Driver ที่เข้ามาร่วมในระบบ ทำให้มีคนเข้าไป join ใน platform เหล่านี้ แน่นอนว่า รายได้ในช่วงแรก ๆ ต้องกระฉูด เพราะเป็น เฟส เผาเงินที่ได้รับจากนักลงทุน มันไม่ใช่เงินจากการทำธุรกิจจริง ๆ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยในการอัดเงินให้ Driver มากมายขนาดนี้ ถ้าพวกเขาคิดจะใช้ Model นี้แบบยั่งยืนจริง ๆ

แต่บริษัทเหล่านี้ ไม่ใช่นักบุญแน่นอน มาหว่านเงินแจกเล่น เหมือนช่วงแรก ๆ พวกเขาเอาข้อมูลไปวิเคราะห์อยู่แล้ว ซึ่งสุดท้ายแล้วนั้น ธุรกิจ มันก็คือ ธุรกิจ ที่ต้องทำเงินสร้างผลกำไรออกมา

ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลย ในโมเดลก่อนหน้าที่เราได้เห็นกันอยู่ มันเป็นคณิตศาสตร์ตัวเลขง่าย ๆ ว่าทำยังไงก็ขาดทุน สอดคล้องกับข่าวที่ออกมาช่วง COVID-19 ที่บริการพวกนี้ขาดทุนกันเป็นว่าเล่น เรียกได้ว่า ยิ่งโตยิ่งขาดทุน

เพราะฉะนั้น สิ่งที่พี่ ๆ Driver ควรทำ platform กับเหล่านี้ คือ รีบโกยมาให้มากที่สุด ให้เร็วที่สุด และควรหาทางเลือกสำรองไว้ ที่เราสามารถ control ทุกอย่างได้บ้าง (ตัวอย่างกรณี Ecommerce เช่น การสร้างเว๊บไซต์ของตัวเองขึ้นมาแทน) เพราะยังไงหากเป็นบ้านของตัวเองก็ไม่มีใครสามารถมาเปลี่ยนอะไรเราได้อยู่แล้ว

แล้วเปลี่ยนมุมมองกับพวก platform ต่าง ๆ เหล่านี้ ที่เรากำลังพึ่งพานั้นเป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการหารายได้เพียงเท่านั้น อย่ามองเป็นช่องทางทำรายได้หลักเด็ดขาด เพราะวันนึง เค้าจะเปลี่ยนนโยบายอะไรก็ได้ เราไม่สามารถที่จะ control ได้เลย

ตัวอย่างมีให้เห็นมากมายแล้วที่อยู่ดี ๆ ก็เปลี่ยน policy ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสุดท้ายเราก็อยู่ไม่ได้ อย่างเช่นใน platform ใหญ่ ๆ อย่าง facebook , shopee , lazada หรือ อะไรก็แล้วแต่ ซึ่งสุดท้ายพวกนี้เค้าก็ต้องสร้างกำไรให้กับพวกเขาในท้ายที่สุดนั่นเองครับ

References Images : https://siamrath.co.th/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube