เมื่อสไตล์พฤติกรรมของมนุษย์เราไม่มีผลต่อการขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งขององค์กร

ในโลกเราในปัจจุบัน เราจะได้เห็นผู้นำที่มีบทบาท ทั้งทางเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละคนก็มีสไตล์พฤติกรรม ที่แตกต่างกัน และมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก

แค่ในประเทศไทย เราก็ได้พบเจอเหล่าผู้นำสูงสุดอย่างนายกรัฐมนตรี ที่มีหลากหลายสไตล์ ไม่ว่าจะเป็นนายกคนปัจจุบันอย่าง พลเอก ประยุทธ์ ที่ดูเหมือนจะเป็นคนที่โผงผาง ตัดสินใจรวดเร็ว  ไม่ค่อยฟังผู้อื่น ซึ่งบางทีอาจดูขวานผ่าซากไปบ้าง

หรือเราอาจจะเคยได้เห็น นายก อย่างท่าน ชวน หลีกภัย ที่เป็นคน ยึดติดกับรายละเอียด มีเหตุผล มีหลักการ เน้นความชัดเจนถูกต้อง เป็นคนละเอียดถี่ถ้วน มีระเบียบ ซึ่งบางทีก็ดูเหมือนจะทำให้ทุกอย่างมันล่าช้าไปบ้าง

ซึ่งจากตัวอย่างที่ผมยกนั้น แน่นอนว่า มันคือเรื่องของสไตล์พฤติกรรมของแต่ละบุคคล ซึ่งไม่ได้เป็นข้อจำกัดในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือ ขึ้นเป็น CEO หรือ เบอร์หนึ่งขององค์กรในภาคเอกชน ซึ่งเราก็ได้เห็นถึงความหลากหลายเหล่านี้ ในหลาย ๆ บริษัท

และหลาย ๆ คนน่าจะรู้จักในเรื่องของ DISC ที่เป็นโมเดลที่สะท้อนลักษณะพฤติกรรมของมนุษย์ ที่จำแนกเป็น 4 รูปแบบหลักๆ ที่เรียกย่อๆว่า D, I, S และ C ( D มาจากคำเต็มว่า Dominance, I มาจากคำเต็มว่า Influence, S มาจากคำเต็มว่า Steadiness และ C มาจากคำเต็มว่า Conscientious )

และผมก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจในเรื่องของประวัติเหล่านักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในเรื่องของเทคโนโลยี อย่างที่เคยเขียนเป็น Blog Series ไว้ในหลายๆ ชุด ซึ่งพิสูจน์ว่าเรื่องดังกล่าวนั้นเป็นจริง ที่ว่า สไตล์พฤติกรรมของมนุษย์เราไม่มีผลต่อการขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งขององค์กร

ซึ่งวันนี้ผมจะมาขอยกตัวอย่างที่ชัดเจน เห็นภาพที่สุดองค์กรหนึ่ง นั่นก็คือบริษัท Apple นั่นเอง ซึ่งผมจะเปรียบเทียบให้เห็น สไตล์ ของ CEO คนก่อนที่จากโลกนี้ไปแล้วอย่าง Steve Jobs และ CEO คนใหม่ อย่าง Tim Cook ซึ่งผมก็ได้เคยเขียนเรื่องราวของพวกเขาไว้ใน Blog Series แล้ว

ผ่านมา 8 ปี เราจะเห็นได้ว่า Tim Cook สามารถลบคำสบประหม่าต่าง ๆ รวมถึงจากนักวิจารณ์จากสื่อชื่อดังต่าง ๆ ที่ต่างคิดว่า Apple จะต้องถึงคราล่มสลาย เมื่อ Jobs ได้ลาจากโลกนี้ไป

Steve Jobs นั้นดูเหมือนเป็นนักสร้างสรรค์ นักนวัตกรรม แต่ เขามีคุณลักษณะนิสัยแบบก้าวร้าว แข็งกร้าว เอาแต่ใจ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่ค่อยฟังผู้อื่น ดื้อดึง มั่นใจในตัวเองมาก ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของคน Type D ( Dominance ) ใน DISC

แต่ Tim Cook นั้นแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางด้านการบริหารที่แทบจะตรงข้ามกับ Jobs และสไตล์พฤติกรรมของเขาก็เป็นขั้วตรงข้ามกับคน Type D เพราะเขา ใจเย็น สงบนิ่ง ทำอะไรเป็นระบบ ละเอียดรอบคอบ ถ่อมตัว ประนีประนอม ชอบเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด และมักแสดงความเห็นด้วยกับผู้อื่นตลอดเวลา ซึ่งตรงกับลักษณะของคน Type S (Steadiness) อย่างชัดเจน

เราจะเห็นได้ว่า สไตล์พฤติกรรมของผู้นำทั้งสองของ Apple ในการบริหารงานบริษัทอยู่ในจุดที่สูงที่สุดของโลกอย่าง Apple แต่มีสไตล์พฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกันแทบจะทุกอย่างเลยก็ว่าได้ แต่ Tim Cook ก็สามารถทำให้ Apple ประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน และประสบความสำเร็จได้อย่างยิ่งใหญ่ ไม่แพ้สิ่งที่ Jobs เคยทำมา

ต้องบอกว่าโลกเรามีผู้นำองค์กร หรือ ผู้นำการเมืองในหลากหลายรูปแบบ คุณไม่จำเป็นต้องเหมือนใครแล้วจะประสบความสำเร็จด้วยการกลายเป็นเบอร์หนึ่งขององค์กรของคุณ

เพราะฉะนั้น เรา ทุกคน ไม่ว่าจะมีบุคลิกลัษณะแบบไหน เป็น คนแข็งกร้าว คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คนที่นอบน้อมถ่อมตน หรือ คนที่คิดอะไรแบบละเอียดไตร่ตรองถี่ถ้วนที่ดูเหมือนจะขัดใจหลาย ๆ คน ทุกบุคลิกลักษณะของมนุษย์เรานั้น ไม่ได้เป็นข้อจำกัดแต่อย่างใดในการก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดในอาชีพได้ มันอยู่ที่ความสามารถ มันสมอง ของคุณมากกว่านั่นเองครับผม

–> อ่าน Blog Series : Tim Cook The Genius Who Took Apple to Next Level

–> อ่าน Blog Series : How iPod Builds an Apple Empire

References Image : https://www.zdnet.com/article/the-iphone-decade-apples-transition-from-steve-jobs-to-tim-cook/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube