Cyberwar ตอนที่ 9 : Operation Global Grizzly

แน่นอนว่าสหรัฐอเมริกานั้น ไม่ได้เป็นเป็นเพียงประเทศเดียวสำหรับยุทธศาสตร์ของรัสเซีย เพื่ออธิบายเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่ใหญ่กว่าของปูตินในยุโรปตะวันออก มันมีการดำเนินงานในแผนใหญ่ที่มีชื่อว่า Operation Global Grizzly

โดยแผนนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ใช้ความสามารถทั้งหมดของรัสเซีย ตั้งแต่การแทรกแซงนโยบายต่างประเทศ และข้อตกลงด้านนำมันไปจนถึงการลอบสังหาร กลยุทธ์นี้เรียกว่า Asymmetric หรือ Hybrid Warefare ทรัพยากรทั้งหมดที่ไม่ต้องใช้ในสงครามแบบเปิดเหมือนยุคเก่า ๆ จะถูกนำไปใช้เพื่อฟื้นฟูอำนาจของรัสเซีย

ภายในปี 2017 รัฐที่ร่วมกับนาโต ซึ่งรวมถึงฝรั่งเศส สเปน ตุรกี กรีซ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร โปแลนด์ ฮังการี และ ยูเครน จะมีพรรคการเมืองหลัก ๆ ที่พร้อมที่จะขึ้นสู่อำนาจภายใต้แผนของปูติน

และเพื่อเป็นการสนับสนุนความพยายามเหล่านี้ ทรัพยากรทั้งหมดของ Global Grizzly มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนพรรคการเมืองที่เครมลินเป็นที่ชื่นชอบ และ มีการดำเนินการเพื่อผลักดันให้มีการลงประชามติเกี่ยวกับชาตินิยม

ต้องบอกว่าอเมริกาเองไม่ได้เป็นชาติที่โดดเดี่ยวที่เกิดจากการปฏิบัติการสงครามไซเบอร์ของรัสเซีย วิธีการของรัสเซียในการรุกคืบเข้าสู่การเมืองยุโรปตั้งแต่สมัยโซเวียตนั้นก็ไม่แตกต่างกันกับที่พวกเขากำลังดำเนินการอยู่ในตอนนี้

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หน่วยสืบราชการลับของรัสเซียต้องเข้าสู่สงครามอุดมการณ์กับตะวันตก เพื่อควบคุมยุโรป เนื่องจากความสามารถของทั้งสองฝ่ายในการทำลายล้างอีกฝ่ายด้วยอาวุธนิวเคลียร์ พวกเขาจึงต้องเผชิญหน้ากับกองกำลังทหารทั่วไป และเข้าร่วมในสงครามจารกรรมและอิทธิพลระดับโลก ซึ่งนั่นก็คือ สงครามเย็น

การเผชิญหน้าระหว่างสองกองทัพใหญ่ตามแนวชายแดนเยอรมันตะวันตก โดยในฝั่งตะวันออกคอมมิวนิสต์ได้สร้างพันธมิตรแปดชาติที่ยึดครองโดยโซเวียตเพื่อเป็นคู่แข่งกับนาโต

พันธมิตรได้ร่วมครึ่งหนึ่งของประเทศเยอรมนี (เยอรมันตะวันออก) โปแลนด์ บัลแกเรีย ฮังการี โรมาเนีย เชโกสโลวะเกีย แอลแบเนีย และ สหภาพโซเวียต

รัสเซียยึดประเทศเหล่านี้ผ่านอำนาจทางการทหาร และ แทนที่รัฐบาลประชาธิปไตยที่มีอยู่ก่อนสงครามด้วยผู้นำเผด็จการคอมมิวนิสต์ในท้องถิ่นของตน ดันนั้นครึ่งหนึ่งของยุโรป ถูกรัสเซียยึกครองเป็นเวลา 46 ปี ภาษารัสเซียเป็นภาษากลางสำหรับกิจการทางด้านการทหาร รัฐบาล และ วัฒนธรรมในตะวันออกของยุโรป

และเมื่อผ่านยุคสงครามเย็น และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ประเทศต่าง ๆ ก็เริ่มแข็งข้อกับรัสเซีย หลายประเทศปลดแอกจากอำนาจของสหภาพโซเวียตได้สำเร็จ แต่ พวกเขาก็ต้องพบเจอกับปฏิบัติการจารกรรมรูปแบบใหม่

ในปี 2007 รัสเซียทำให้เอสโตเนียเป็นอัมพาตด้วยการโจมตีแบบ (DDoS) ระดับประเทศ เมื่อรัฐบาลท้องถิ่นของเอสโตเนียต้องการย้ายรูปปั้นกองทัพโซเวียตในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง หน่วยข่าวกรองรัสเซีย ก็ได้เริ่มโจมตีและปิดอินเทอร์เน็ตของประเทศเล็ก ๆ อย่างเอสโตเนียทันที

ปีถัดไป ลิทัวเนีย ได้ผ่านกฏหมายที่ต่อต้านโซเวียต และอีกครั้งที่กองทัพหมีขาว ได้ทำการโจมตี โดยนำกลุ่มที่เรียกว่า “hack-wars.ru” พวกเขาได้ทำให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของลิทัวเนียเป็นอัมพาต

และต้องบอกว่าสหราชอาณาจักร เป็นฐานทดสอบสำหรับกลยุทธ์การจัดการการรับรู้ของรัสเซีย ระบบที่หน่วยข่าวกรองรัสเซียพัฒนาขึ้นสำหรับสหรัฐอเมริกาจะต้องมีรูปแบบการทดสอบที่เล็กกว่าเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนโปรแกรมและทดสอบประสิทธิภาพของกระบวนการทั้งหมด

Brexit แคมเปญออกจาก EU ของสหราชอาณาจักรใช้ทดสอบพลังของสงครามข้อมูลจากรัสเซีย (CR:Flickr)
Brexit แคมเปญออกจาก EU ของสหราชอาณาจักรใช้ทดสอบพลังของสงครามข้อมูลจากรัสเซีย (CR:Flickr)

สหราชอาณาจักรเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งที่สุดของอเมริกา และยังเป็นเสาหลักสำหรับสหภาพยุโรป แม้การการออกจากสหภาพยุโรปจะไม่สร้างความเสียหายร้ายแรงเทียบเท่าหากฝรั่งเศสถอนตัวก็ตาม แต่ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับสหราชอาณาจักร

รัสเซียเห็นว่าการลงประชามติของอังกฤษที่ประสบความสำเร็จ จะทำให้เหล่าอนุรักษ์นิยมขวาจัดของอเมริกาเห็นว่า “หากพวกเขาทำได้เราก็ทำได้เช่นกัน”

ต้องบอกว่าเครือข่ายอนุรักษ์นิยม ชาตินิยม ในยุโรปประสบความสำเร็จในการแทรกซึมความเชื่อที่ว่าการปกป้องแนวคิดอนุรักษ์นิยมหมายถึงการต่อต้านการอพยพ ต่อต้านมุสลิม

การทำลายสหราชอาณาจักรเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงที่สุดในการทำลายสหรัฐฯ และสำหรับเรื่องนี้ ปูตินต้องการพันธมิตรในสหราชอาณาจักร ซึ่งแทบไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังทำงานให้กับปูติน หากการลงประชามติของอังกฤษสามารถทำได้สำเร็จ

และด้วยแรงผลักดันจากความรู้สึกต่อต้านผู้อพยพ นักการเมืองกลุ่มยูโรอย่าง บอริส จอห์นสัน และ ไนเจล ฟาเรจ ได้ผลักดันให้เกิดการลงประชามติในสหราชอาณาจักรในการออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งถูกเรียกว่า “Brexit”

และในที่สุดแคมเปญ Brexit ในการลงประชามติมีผู้คนกว่า 30 ล้านคนออกมาลงคะแนนเสียง ซึ่งเห็นด้วยกับการออกจากสหภาพยุโรปด้วยเสียงสนับสนุน 51.9% และ 48.1% ไม่เห็นด้วย ทำให้ เดวิด คาเมรอนถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

วันที่ 11 กรกฏาคม ปี 2016 เทเรซา เมย์ ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายในวันที่ 2 ตุลาคม 2016 เธอประกาศว่าการออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการของอังกฤษจะเริ่มในเดือนมีนาคมปี 2017

แม้สมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคแรงงานหลายคนไม่เคยสนับสนุน Brexit ต้องบอกว่าเสียง Vote ของประชาชนในครั้งนี้ได้สร้างความตกใจให้กับเหล่านักการเมือง เฉกเช่นเดียวกับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในอีกหกเดือนถัดมา

กลยุทธ์ของรัสเซียนั้นดูเรียบง่าย ทำการสลายสหภาพอาณาจักรและสร้างความเสียหายให้กับสหภาพยุโรป หน่วยงานของรัสเซียจะกระตุ้นแคมเปญ Brexit และให้ความช่วยเหลือทุกอย่างโดยใช้สงครามไซเบอร์และการจัดการด้านการรับรู้ของประชาชน

พวกเขาจะหว่านแนวคิดความไม่ลงรอยกัน และสร้างความแตกแยก ให้เกิดกับประชากรผิวขาวที่เกลียดชังชาวมุสลิมอพยพ และแน่นอนว่าพวกเขาทำสำเร็จ

จากนั้นเมื่อสก็อตแลนด์ต้องการออกจากสหราชอาณาจักร RF-IRA จะใช้พลังเว็บเพื่อผลักดันการบรรยายเรื่องการลงประชามติของสก็อตแลนด์ ซึ่งความพยายามที่จะทำให้สหราชอาณาจักรแตกสลายเหลือเพียงเวลส์และอังกฤษ เกือบจะสัมฤทธิ์ผล

ด้วยความสำเร็จของการรณรงค์ที่มีอิทธิพลต่อการปลดอังกฤษออกจากสหภาพยุโรปในการโหวต Brexit และชัยชนะของอเมริกา หน่วยข่าวกรองของรัสเซียได้เริ่มความพยายามครั้งใหม่ในการเลือกตั้งในยุโรป และการเลือกตั้งครั้งต่อไปคือฝรั่งเศส

การเลือกตั้งฝรั่งเศสปี 2017 จัดขึ้นสองรอบ การลงคะแนนรอบแรกเกิดขึ้นในวันที่ 23 เมษายน 2017 มีการเผชิญหน้ากันระหว่าง เอ็มมานูเอล มาครง นักการเมืองดาวรุ่ง และ มารีน เลอ แปน ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มอนุรักษ์นิยมของฝรั่งเศสที่มีความใกล้ชิดกับรัสเซีย

เอ็มมานูเอล มาครง นักการเมืองดาวรุ่ง และ มารีน เลอ แปน ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มอนุรักษ์นิยมของฝรั่งเศสที่มีความใกล้ชิดกับรัสเซีย (CR:Agencia Brasil)
เอ็มมานูเอล มาครง นักการเมืองดาวรุ่ง และ มารีน เลอ แปน ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มอนุรักษ์นิยมของฝรั่งเศสที่มีความใกล้ชิดกับรัสเซีย (CR:Agencia Brasil)

เลอ เปน นั้นมุ่งเน้นไปที่การทำงานร่วมกับรัสเซียในการต่อต้านการก่อการร้ายในตะวันออกกลาง รองจากโดนัลด์ ทรัมป์ เธอเป็นผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียอย่างสมบูรณ์แบบสำหรับวิสัยทัศน์ของปูตินเกี่ยวกับยุโรปที่นำโดยเผด็จการ แต่ก่อนอื่นเธอต้องได้รับชัยชนะเสียก่อน

และเพียง 44 ชั่วโมง ก่อนเลือกตั้งคร้้งใหญ่ อีเมล 9 กิกะไบต์ถูกขโมยไปจากแคมเปญของมาครง ซึ่งอีเมลได้ถูกเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็วทั่วอินเทอร์เน็ต เอกสารและอีเมลส่วนตัวของ มาครง ประมาณหมื่นฉบับถูกรัสเซียแฮ็กและรั่วไหลออกไป

บริษัทรักษาความปลอดภัย Trend Micro ยับพบหลักฐานทางดิจิทัลที่มาจากหน่วยข่าวกรองรัสเซีย Advance Presistent Threat-29 มัลแวร์ FANCY BEAR ของ FSB ที่ใช้ในการพยายามแฮ็กการเลือกตั้งในสหรัฐฯ เมื่อปีก่อนหน้า

แต่ด้วยข้อมูลที่หลุดไปนั้นส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งรวมถึงใบแจ้งหนี้ สุนทรพจน์ คำแถลงการณ์และการบริหารงานประจำทั่วไป ทำให้ในท้ายที่สุด มาครง ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งด้วยผลโหวต 66% ส่วนเลอ แปน พ่ายแพ้ด้วยคะแนนเสียงที่ได้รับเพียงแค่ 34%

และต้องบอกว่า ยังมีอีกหลายชาติ ที่โดนการโจมตีรูปแบบคล้าย ๆ กัน ทั้งในเยอรมัน สวีเดน มอนเตเนโกร ฯลฯ ซึ่งการโจมตีทางไซเบอร์ในยุโรปเหล่านี้เกิดขึ้นเกือบพร้อม ๆ กัน กับการแฮ็กการเลือกตั้งของชาวอเมริกัน และมันไม่ใช่เป็นแค่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน

รัสเซียได้กลับเข้าสู่ส่วนลึกที่มืดมนที่สุดในประวัติศาสตร์ของการทำสงครามโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อให้เกิดผลตามแผนของพวกเขา ซึ่งเป้าหมายคงไม่ใช่แค่เพียงสหรัฐอเมริกาเพียงเท่านั้น

แต่พวกเขากำลังสร้าพันธมิตรจากประเทศที่จะนำโดยผูู้นำเผด็จการที่แข็งแกร่ง โดยพันธมิตรเหล่านี้จะใช้เครื่องมืออันทรงพลังในระบบประชาธิปไตยของพวกเขาเอง นั่นก็คือการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม เสรีภาพในการพูด สิทธิในการชุมนุมและสิทธิตามรัฐธรรมนูญอื่น ๆ

ด้วยเครื่องมือจารกรรมทางไซเบอร์ของมอสโก ปูติน เชื่อว่าพวกเขาสามารถที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างโลกใหม่จากการทะเลาะวิวาทกันเองของระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม ไปสู่ระบอบที่ทรงพลังทางเศรษฐกิจ ด้วยพันธมิตรอเมริกาและเสาหลักจากโลกตะวันตก โดยใช้คัมภีร์หลักที่ถูกฝังแนวคิดผ่านการใช้สงครามข้อมูลจากมอสโก นั่นเองครับผม

–> อ่านตอนที่ 10 : A Treasonous Aspect

ย้อนไปอ่านตั้งแต่ตอนแรก & Credit แหล่งข้อมูลบทความ