CHIP WAR ศัตรูของศัตรูคือมิตรกับเส้นทางการเติบโตในอุตสาหกรรมชิปของเกาหลีใต้

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงหลังสงครามของญี่ปุ่นให้กลายเป็นประเทศเจ้าตลาดของอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ 

องค์กรธุรกิจของสหรัฐฯ ได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ให้กับนักฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น ในขณะที่ผู้กำหนดนโยบายในวอชิงตันได้ทำการรับรองว่าบริษัทญี่ปุ่นอย่าง Sony สามารถที่จะเข้ามาค้าขายในตลาดสหรัฐฯ ได้อย่างเสรี

จุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนประเทศญี่ปุ่นให้เป็นประเทศแห่งนายทุนประชาธิปไตยเริ่มทำงาน แต่ชาวอเมริกันบางคนถามว่ามันทำงานได้ดีเกินไปหรือไม่ กลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพธุรกิจของญี่ปุ่นดูเหมือนจะบ่อนทำลายความได้เปรียบทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของอเมริกาในท้ายที่สุด

นั่นเองที่ทำให้อเมริกาต้องมองหาทางเลือกใหม่โดยเล็งไปที่ประเทศอย่างเกาหลีใต้ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเทศที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบในเชิงบวกจากการไปตั้งฐานการผลิตชิปของอเมริกา

หากย้อนกลับไปยุคหลังสงครามโลก มันแทบจินตนาการไม่ออกเลยว่าเกาหลีใต้ในยุคนั้นสภาพแย่ขนาดไหน บ้านเมืองเต็มไปด้วยซากปรักหักพังจากสงคราม ผู้คนก็ไร้ซึงการศึกษา พวกเขาต้องเจอกับการยึดครองแบบกดขี่มาอย่างยาวนาน ไม่สามารถที่จะปลดแอกตัวเองออกมาได้

แต่ทว่าจุดเปลี่ยนก็คือหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่สหรัฐอเมริกาเริ่มเข้าไปมีบทบาท ซึ่งเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าไปช่วยเหลือประเทศไหนก็มีส่วนในการเข้าไปพัฒนาประเทศนั้นๆ ตามไปด้วย

Lee Byung-Chul ผู้ก่อตั้งซัมซุงซึ่งแต่เดิมทีทำธุรกิจเล็กๆ เป็นธุรกิจค้าของชำ ปลาแห้ง หรือแม้กระทั่งขายผักโดยเป็นการนำผลผลิตจากเกาหลีและส่งไปยังจีนตอนเหนือเพื่อป้อนให้กับเหล่าทหารญี่ปุ่นในช่วงยุคสงครามเกาหลี

เกาหลีเป็นประเทศที่ยากจนไม่มีอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีอะไรเลย แต่ Lee เองมีความฝันที่จะสร้างธุรกิจที่ยิ่งใหญ่และสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศของพวกเขา

Lee ได้เริ่มขยายธุรกิจหลังสงครามโดยที่ทำสิ่งต่างๆเพื่อผลประโยชน์ของประเทศทำให้เหล่านักการเมืองก็หันมาสนับสนุน Lee ในการผลักดันให้กิจการของเขาเติบโตขึ้น ขยายธุรกิจไปตั้งแต่การแปรรูปหนัง สิ่งทอ ปุ๋ย การก่อสร้าง การธนาคาร รวมถึงธุรกิจด้านประกันภัย

ซึ่งตอนนั้นเศรษฐกิจของเกาหลีก็เริ่มเฟื่องฟูในช่วงปี 1960 และปี 1970 แต่ Lee มีความฝันที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นต้องการที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยเขาได้เฝ้าดูบริษัทยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นโตชิบาและฟูจิตสึซึ่งครองตลาดชิป DRAM ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 และต้นทศวรรษที่ 1980

สถานการณ์ในเกาหลีใต้เองก็คล้ายๆกับสิ่งที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นยุคสร้างชาติขึ้นมาใหม่ นั่นก็คือทางสหรัฐอเมริกาก็ได้ให้ทุนสนับสนุนในการสร้างสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลี ชาวเกาหลีจำนวนมากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐหรือได้รับการฝึกอบรมในเกาหลีโดยอาจารย์ที่มีการศึกษาในสหรัฐฯ

แม้ว่าการที่จะก้าวข้ามจากประเทศยากจนไปเป็นประเทศที่ใช้แรงงานทักษะสูงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะว่าการผลิตชิปเป็นเรื่องที่ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเป็นอย่างมาก แต่ว่า Lee เองก็ไม่เคยย่อท้อ

ในปี 1982 เขาได้ไปเยี่ยมชมโรงงานของ Hewlett Packard (HP) แล้วก็ประหลาดใจมากกับเทคโนโลยีของบริษัทซึ่งหาก HP สามารถเติบโตจากอู่ซ่อมรถไปสู่ยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีได้ แน่นอนว่าร้านขายปลาและผักอย่างซัมซุงก็ สามารถทำได้เช่นกันเพราะว่าหากเข้าไปสู่อุตสาหกรรมชั้นสูงอย่างเซมิคอนดักเตอร์พวกเขาก็สามารถเปลี่ยนสภาพกลายมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงได้ เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น

Bill Hewlett and Dave Packard สร้าง HP ขึ้นมาจากโรงรถ (CR : Kid News)
Bill Hewlett and Dave Packard สร้าง HP ขึ้นมาจากโรงรถ (CR : Kid News)

การที่ฝันของ Lee จะเป็นจริงก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแน่นอนว่าเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ด้วยความที่มีคอนเนคชั่นที่ดีมากๆ กับหน่วยงานรัฐบาลอยู่แล้วทางรัฐบาลก็ยืนยันที่จะสนับสนุน Lee ในการเดิมพันในการผลิตชิปของซัมซุง และถือเป็นการเดิมพันในการสร้างชาติใหม่สู่ยุคความรุ่งเรืองอีกด้วย

สถานการณ์ของการแข่งขันธุรกิจชิปกับญี่ปุ่นทำให้อเมริกามองว่าเกาหลีน่าจะเป็นพันธมิตรที่มีศักยภาพมากๆ เพราะว่าพวกเขามีแรงงานที่ต้นทุนต่ำกว่าทางญี่ปุ่นด้วยซ้ำ ซึ่งในท้ายที่สุดเกาหลีก็อาจจะตัดราคาเหล่าผู้ผลิตชาวญี่ปุ่น

Intel เองก็เริ่มที่จะสนับสนุนให้ผู้ผลิต DRAM ของเกาหลีลุกขึ้นมาต่อสู้ซึ่งเป็นการนำโดยซัมซุงนั่นเอง โดยมีการสร้างกิจการร่วมค้ากับทางซัมซุงขายชิปที่ซัมซุงผลิตภายใต้แบรนด์ของ Intel และยังช่วยเหลืออุตสาหกรรมชิปของเกาหลีรวมถึงลดภัยคุกคามของญี่ปุ่นต่อซิลิคอนวัลเลย์

ในเรื่องต้นทุนที่เกาหลีได้เปรียบญี่ปุ่นอยู่แล้ว ดังนั้นบริษัทเกาหลีอย่างซัมซุงก็มีโอกาสที่จะชนะในการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดได้

ฝั่งสหรัฐอเมริกาไม่ได้เป็นเพียงแค่ตลาดสำหรับชิป DRAM ของเกาหลีใต้เท่านั้นเพราะว่าผู้ผลิตในซิลิคอนวัลเลย์เองก็มีการส่งต่อเทคโนโลยีให้กับซัมซุงด้วย เพราะว่าตอนนั้นมีการแข่งขันจากญี่ปุ่นเอง ทำให้บริษัทอเมริกันส่วนใหญ่ใกล้จะล่มสลายเต็มทีจึงได้ถ่ายโอนเทคโนโลยีชั้นสูงไปยังเกาหลี

Lee จึงได้ออกใบอนุญาตการออกแบบสำหรับชิป 64K DRAM ของ Micron ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพหน่วยความจำซึ่งตอนนั้นขาดเงินทุนเป็นอย่างมาก  ซึ่งมันเป็นทางลัดที่สำคัญมากๆของซัมซุงในการก้าวขึ้นมากลายเป็นมหาอำนาจทางด้านเซมิคอนดักเตอร์ แถมมันเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวของทางสหรัฐอเมริการวมถึงบริษัทในซิลิคอนวัลเลย์

Micron ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพหน่วยความจำซึ่งตอนนั้นขาดเงินทุนเป็นอย่างมาก (CR: MarketWatch)
Micron ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพหน่วยความจำซึ่งตอนนั้นขาดเงินทุนเป็นอย่างมาก (CR: MarketWatch)

พวกเขายินดีที่จะร่วมงานกับบริษัทเกาหลีเพื่อช่วยตัดราคาคู่แข่งจากญี่ปุ่นและช่วยทำให้เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตชิปหน่วยความจำชั้นนำของโลก รวมถึงความตึงเครียดทางด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯกับญี่ปุ่นทำให้เกาหลีใต้ได้รับผลประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ไปเต็ม ๆ

ทางวอชิงตันเองก็ขู่จะเก็บภาษีเพิ่มเติมจากบริษัทของญี่ปุ่น เว้นแต่ทางญี่ปุ่นจะยุติการทุ่มตลาดนั่นก็คือการขายชิป DRAM ราคาถูกในตลาดสหรัฐอเมริกา

ในปี 1986 ทางญี่ปุ่นก็ตกลงที่จะจำกัดการขายชิปไปยังสหรัฐฯ แล้วก็สัญญาว่าจะไม่ขายในราคาที่ต่ำซึ่งเป็นการเปิดช่องให้บริษัทเกาหลีขายชิป DRAM ได้มากขึ้นในราคาที่สูงขึ้น พร้อมการเติบโตแบบก้าวกระโดดของเกาหลี

แม้ชาวอเมริกันจะไม่ได้ตั้งใจให้ข้อตกลงดังกล่าวเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทเกาหลีแต่ว่าสุดท้ายแล้วพวกเขาก็รู้สึกดีมากกว่าที่ได้เห็นใครก็ตามที่ไม่ใช่ญี่ปุ่นผลิตชิปที่พวกเขาต้องการ

ซึ่งตรรกะทั้งหมดทั้งมวลมันเป็นที่เข้าใจได้ง่ายมากๆ ดังที่ Jerry Sanders ผู้ก่อตั้ง AMD บริษัทชิปชั้นนำของโลกในปัจจุบัน ได้อธิบายปรากฏการณ์เรื่องนี้ไว้ว่า “ศัตรูของศัตรูก็คือมิตรของฉัน” นั่นเองครับผม

References :
เรียบเรียงจากหนังสือ Chip War: The Fight for the World’s Most Critical Technology โดย Chris Miller
https://knowledgegeekss.wordpress.com/2013/07/23/lee-byung-chul-founder-of-samsung-group/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube