ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับเคล็ดลับในการทำงาน และสิ่งที่ควรทำอย่างแท้จริง

เมื่อคุณอยู่ในช่วงแรกสุดของอาชีพการงานของคุณ ต้องบอกว่ามีหลากหลายคำแนะนำในการทำงาน เช่น การสร้างความประทับใจที่ดี หรือ วิธีการเติมเต็มแรงบันดาลใจในการทำงานแต่สิ่งที่พูดถึงไม่บ่อยคือคำแนะนำที่คุณไม่ควรปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

เคล็ดลับในการประกอบอาชีพที่พบบ่อยที่สุดที่เรามักได้ยินกัน เช่น แค่เป็นตัวของตัวเอง การให้ความสำคัญกับจุดแข็งของคุณ ทำตามสิ่งที่คุณรัก

ต้องบอกว่าสิ่งเหล่านี้มันเป็นคำพูดที่เพ้อฝัน และอย่านำไปทำในโลกแห่งความเป็นจริง แม้ว่าคำแนะนำจะรู้สึกมีความถูกต้องโดยสัญชาตญาณของเรา ข้อมูลและการวิจัยที่เกิดขึ้นจริงส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่าเราน่าจะทำได้ดีกว่าหากทำสิ่งตรงกันข้ามกับคำแนะนำสวยหรูเหล่านี้

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับการประกอบอาชีพบางส่วนที่เราควรเพิกเฉยและสิ่งที่เราควรทำ :

“แค่เป็นตัวของตัวเอง.”

นี่อาจเป็นคำแนะนำด้านอาชีพที่ใช้บ่อยที่สุดและเป็นอันตรายมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ในสภาพแวดล้อมการทำงาน โดยเฉพาะการสัมภาษณ์งานผู้สัมภาษณ์มักไม่ต้องการเห็นบุคลิกที่ไม่กลั่นกรองมาก่อน และเป็นตัวของตัวเองของเราจนเกินไป

เหล่าคนสัมภาษณ์งาน พวกเขาสนใจที่จะเห็นเวอร์ชันที่ดีที่สุดของเรา ซึ่งนั่นก็คือเราจะมีพฤติกรรมที่ดีที่สุดในการบอกพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาต้องการฟัง แม้ว่ามันจะไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการจะพูดก็ตาม

การปฏิบัติตามมารยาททางสังคมการแสดงความยับยั้งชั่งใจ และการควบคุมตนเองรวมถึงการนำเสนอตัวเองจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้งานในขณะที่การ “เป็นตัวของตัวเอง” อาจทำให้เราดูเหมือนหลงตัวเอง และถูกมองผ่านในการสัมภาษณ์งานได้

สิ่งที่ต้องทำแทน : ในสถานการณ์ที่มีเดิมพันสูง เช่น การสัมภาษณ์งาน เราจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่าหากเราจัดการและควบคุมภาพลักษณ์ของเราให้เหมาะสม 

ให้ทำในสิ่งที่เราต้องการให้คนอื่นเห็น แม้ว่าสิ่ง ๆ นั้น จะไม่ได้มากจากตัวตนของเราจริง ๆ 100% ก็ตามที

วิทยาศาสตร์ของการแสดงผลทางสังคมบอกว่าวิธีที่ดีที่สุดคือการทำความเข้าใจกับสิ่งที่คนอื่นต้องการ และแสดงมันออกมาในสิ่งที่คนอื่นคาดหวังจากเรา จากนั้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราเพื่อไม่ให้พวกเขาผิดหวัง 

ให้ความสำคัญกับบริบท ตัวอย่างเช่น หากเราสัมภาษณ์งานกับบริษัท Startup ทางด้านเทคโนโลยี เราก็ไม่ควรสวมชุดเดียวกันที่เราอาจจะใส่ไปสัมภาษณ์ที่ธนาคารใหญ่ ๆ หรือ บริษัทที่มีแนวคิดหัวโบราณ

บริษัท ที่ต้องการจ้างเรานั้น สิ่งต่าง ๆ อาจแตกต่างไป ในห้าปีต่อมาเมื่อเราอยู่ในตำแหน่งที่มั่นคงในบริษัท และมีชื่อเสียงมากเพียงพอ แต่เราต้องเล่นไปตามเกมก่อนที่เราจะทำผิดกฎได้ กฎของเราอาจจะดีกว่า แต่การสัมภาษณ์งานไม่มีเวลามากพอนักที่เราจะแสดงอะไรโง่ ๆ ออกมา

“ให้ความสำเร็จของคุณพูดแทนตัวเอง”

โลกจะน่าอยู่ขึ้นหากผู้คนประสบความสำเร็จเพราะความสามารถมากกว่าความมั่นใจ ในโลกที่สมบูรณ์แบบ เราไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการโปรโมตตัวเอง เพื่อสร้างแบรนด์ให้กับตัวเอง

แต่น่าเศร้าที่เรื่องดังกล่าวไม่ใช่ความจริง การมีสไตล์จะทำให้เราไปได้ไกลกว่าการไม่มีสไตล์ ในงานการวิจัยได้แสดงให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าว่าความเชื่อมโยงของการพยายามสร้างตัวตน หรือ สร้างแบรนด์ให้กับตัวเอง มีแนวโน้มที่จะเอาชนะคนที่มีเพียงแค่ความสามารถและศักยภาพเท่านั้น

สิ่งที่ต้องทำแทน : แบรนด์ของเราเป็นตัวขับเคลื่อนความสำเร็จในอาชีพการงานที่ยิ่งใหญ่กว่างานจริงของเรา ซึ่งหมายความว่าแม้แต่คนที่มีความสามารถส่วนใหญ่ก็ได้รับประโยชน์มากมายจากการสร้างแบรนด์ให้กับตัวเอง

การปลูกฝังความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับเจ้านายและทำให้แน่ใจว่าคนที่มีอำนาจเห็นคุณค่า และต้องมีการเรียนรู้วิธีที่จะอยู่อย่างถ่อมตัว 

สถานการณ์ในอุดมคติ ก็คือ การให้เจ้านายของเราคิดว่าเราเป็นคนเจียมเนื้อเจียมตัวพอ ๆ กับที่เค้าเห็นเราเป็นคนที่มีความสามารถ การเปิดเผยหรือแสดงออกมากเกินไป สามารถย้อนกลับมาทำร้ายเราได้ในภายหลัง

สังเกตผู้คนในตำแหน่งที่มีอำนาจ และพยายามทำความเข้าใจว่าพวกเขากำลังพยายามแก้ไขปัญหาอะไร จากนั้นแสดงและบอกพวกเขาว่าเราสามารถช่วยได้อย่างไร นี่เป็นสูตรสำเร็จที่ดีกว่าการเพิกเฉยและไม่สนใจต่อผู้อื่นในโลกของการทำงาน

“มุ่งเน้นไปที่จุดแข็งของคุณ”

คนทั่วไปมักชอบคำแนะนำแบบนี้เพราะง่ายกว่าการปฏิบัติในรูปแบบอื่น ๆ แต่ปัญหาคือจุดแข็งเกิดจากแนวโน้มที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนที่เกิดขึ้นเองของตัวเราที่ยกระดับสถานะและชื่อเสียงของเราจากผู้อื่น

และในขณะที่ทุกคนต่างมีจุดแข็ง มันทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิตเว้นแต่เราจะเรียนรู้ที่จะตรวจสอบจุดอ่อนของตัวเราเองด้วย

ตัวอย่างเช่น เราอาจเป็นคนที่ฉลาดที่สุดในโลก แต่ถ้าเราขาดความเอาใจใส่และความถ่อมตัว ความฉลาดของเราจะทำให้เราดูหยิ่งและเย็นชา เราอาจเป็นนักเขียนที่มีความสามารถมากที่สุด แต่ถ้าเราไม่มีการควบคุมตนเอง เราจะไม่มีวันสร้างงานหรือส่งมอบงานให้ตรงเวลาได้นั่นเอง

ยิ่งไปกว่านั้นหากใช้มันมากเกินไปจุดแข็งของเราก็จะกลายเป็นจุดอ่อนในที่สุด: ความมั่นใจที่มากเกินไปจะกลายเป็นความหลงผิด ความเมตตาที่มากเกินจะนำไปสู่การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

สิ่งที่ต้องทำแทน :  การปรับตัวให้เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงและสร้างความประทับใจให้กับผู้อื่นซึ่งจะมีประโยชน์มากที่สุดในช่วงเริ่มต้นอาชีพของเรา ให้สร้างความมั่นใจกับจุดแข็งของเรา แต่ก็ต้องพยายามหาจุดอ่อนตัวเราด้วยเช่นกัน

ผู้ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ มักจะมีการวิจารณ์ตัวเอง ซึ่งความทะเยอทะยานของพวกเขาเป็นผลมาจากความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะเอาชนะข้อจำกัด และไม่สามารถพอใจกับความสำเร็จเก่า ๆ ของพวกเขาได้

ในทำนองเดียวกันเมื่อเรารู้ว่าจุดอ่อนของเราคืออะไร เราจะรู้สึกไม่สบายใจ ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวนั้นอาจผลักดันให้เราสามารถทำสิ่งที่ดีขึ้นได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะผลักดันให้เราเติบโตได้เร็วขึ้น

“ทำตามความหลงใหลของคุณ”

แม้ว่าจะช่วยให้มีความคิดที่ชัดเจนว่าเราต้องการทำอะไรในชีวิต แต่การทำตามความหลงใหลของเรามักเป็นเพียงสูตรสำเร็จเท่านั้น หากความปรารถนาของเราสอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและความสามารถที่แท้จริงของเรา

และแน่นอนว่าเป็นความจริงเช่นกันที่ว่า ความหลงใหลเป็นสิ่งที่ไม่จีรังกว่าที่เราคิด ตัวอย่างเช่น ปีนี้เราอาจหลงใหลในการถ่ายภาพ แต่ในปีหน้าเราอาจหลงใหลในวิทยาศาสตร์ การเขียน หรือแอนิเมชั่น

ในกรณีส่วนใหญ่หากเรามองหาโอกาสในอาชีพการงานที่เรารักเท่านั้น แทนที่จะขยายมุมมองของเรา และพิจารณาสิ่งที่จะทำให้เราเติบโต เราอาจจะต้องเสียสละงานที่สามารถพัฒนาอาชีพของเราในสายงานได้

นอกจากนี้ยังเป็นการทิ้งโอกาสสำคัญในการค้นพบตัวเองนั่นคือโอกาสที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการและไม่ต้องการ หรือทดลองกับสิ่งใหม่ ๆ ที่เราอาจจะทำได้ดีหรือชอบมากกว่า

จำไว้ว่าการทำตามความปรารถนาของเรานั้นอาจเป็นวิธีในการปกป้องตัวเองวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราอยู่ใน comfort zone และขัดขวางการพัฒนาของเรานั่นเอง

สิ่งที่ต้องทำแทน :  โดยปกติแล้วยิ่งเราอายุน้อย เราก็จะต้องทำการค้นหาตัวเองให้มากขึ้นเท่านั้น ในช่วงอายุ 20 ปี เราควรคิดอย่างหนักเกี่ยวกับความสนใจและศักยภาพของเรากับโอกาสที่มีอยู่และคว้าสิ่งที่จะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้และเติบโต

ในช่วงอายุ 30 ปีเราอาจต้องการเปลี่ยนโฟกัสจากการได้รับผลตอบแทนระยะสั้นเป็นการสร้างผลกระทบในระยะยาว และในทั้งสองขั้นตอนก็ควรที่จะมีความยืดหยุ่น

ในท้ายที่สุดการทำตามความหลงใหลของเราก็มีประโยชน์น้อยกว่าการหาคนที่ทุ่มเทอย่างจริงจังเพื่อช่วยให้เราสามารถเติบโตในระยะยาวได้นั่นเอง

ในระยะสั้นสิ่งที่ดีที่สุดที่เราทำได้คือเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งหมายถึงการเปิดกว้างและพยายามประเมินข้อดีข้อเสีย ของแต่ละเส้นทางที่เรามีโอกาสได้ลองอย่างรอบคอบ

หลังจากนั้นโอกาสความสำเร็จของเราอาจเพิ่มมากขึ้น หากเราเพิ่มความเหมาะสมระหว่างศักยภาพ ความสนใจ และโอกาสของเราให้มากที่สุดนั่นเองครับ

References : https://hbr.org/2020/10/4-pieces-of-career-advice-its-okay-to-ignore


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube