Billion Dollar Loser ตอนที่ 14 : Spectacular Fall

WeWork เข้าสู่สุดสัปดาห์ที่สองของเดือนกันยายนอย่างชอกช้ำ แต่ก็ยังพอมีความหวัง Road Show ของบริษัท มีกำหนดจะเริ่มขึ้นในวันจันทร์ถัดไปเมื่อ Adam และ นายธนาคารจะออกทัวร์เพื่อแสวงหานักลงทุนที่พวกเขาคาดหวัง

WeWork ได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นกับ Softbank เพื่อซื้อหุ้น WeWork อีก 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นที่จะทำ IPO นอกจากนี้ WeWork ยังใกล้ที่จะสรุปข้อตกลงกับ Zoom เพื่อซื้อหุ้น WeWork มูลค่า 25 ล้านดอลลาร์

ในวันอาทิตย์ถัดไป นายธนาคารจาก JPMorgan และ Goldman Sachs ได้พบกันที่สำนักงานใหญ่ของ WeWork เพื่อกำหนดราคาสุดท้าย

หากการเสนอขายหุ้นของ WeWork ประสบความสำเร็จในการระดมทุน 3 พันล้านดอลลาร์ จะทำให้บริษัทสามารถเข้าถึงวงเงินสินเชื่อที่จัดเตรียมโดย JPMorgan มูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์ นั่นจะทำให้ WeWork มีเงินทุน 11,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับการขยายธุรกิจ

Son ได้เดินทางมายังแคลิฟอร์เนีย อยู่ในโรงแรมแห่งหนึ่งใน Pasadena ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาบริษัทในกองทุน Vision Fund ของเขา ซึ่ง Adam ควรจะมาเข้าร่วมงานนี้ แต่เขายังอยู่ที่นิวยอร์ก

Son ใช้เวลาส่วนใหญ่พูดคุยกับนักลงทุนและ CEO ของบริษัทที่ Vision Fund ได้เข้าไปลงทุนคนอื่น ๆ เกี่ยวกับ Adam ซึ่งส่วนใหญ่นั้นมีความเห็นว่าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการกำจัด Adam ออกไปให้พ้นทาง

Son ไม่ได้กล่าวถึง WeWork ในสุนทรพจน์ของเขาในการประชุมเลยแม้แต่น้อย แต่เขาเตือนบริษัทต่าง ๆ เกี่ยวกับความสำคัญของผลกำไร และการกำกับดูแลกิจการ การทำตัวบ้า ๆ มันไม่พออีกต่อไป

สถานการณ์ของ WeWork เปลี่ยนไป Adam พบว่าตัวเองกำลังต่อสู้เพื่อรักษาอำนาจในการควบคุมบริษัทที่เขาก่อตั้งขึ้นมากับมือ : การรัฐประหารกำลังก่อขึ้นในคณะกรรมการของ WeWork

ความพยายามดังกล่าวนำโดย Softbank ซึ่งมีสองใน 7 ที่นั่งของ WeWork เจ้าหน้าที่ของ Softbank นั้นรู้สึกผิดหวังกับเจ้านายอย่าง Son ที่ให้ความเอ็นดู Adam มากเกินไปมานานแล้ว

ในตอนนั้น Adam ใช้เวลาส่วนใหญ่ใน Hamptons และเขาเริ่มรู้ตัวแล้วว่าเขากำลังจะสูญเสียอำนาจในการควบคุมบริษัท แม้ในตอนนั้นเขาจะยังคงมีอำนาจและสามารถไล่คณะกรรมการ หากพวกเขาพยายามขับไล่ Adam ออกจากบริษัทก็ตามที

แต่ในจุดนั้น มันไม่คุ้มที่เขาจะทำอีกต่อไป เพราะจะทำให้บริษัทเสียหายหนัก และมันอาจจะทำให้มูลค่าของ WeWork ลดลง และส่งผลต่อสถานะทางการเงินของเขาได้อีกด้วย

มาถึงตอนนี้ Adam ได้ดึงวงเงินเครดิต 500 ล้าน ที่ใช้หุ้นของ WeWork ในการค้ำประกัน มาใช้ไปแล้วกว่า 380 ล้านดอลลาร์ เพื่อมาสนองตัณหาส่วนตัวของเขา ซึ่งแน่นอนว่าหาก WeWork ล่มสลาย จะทำให้เขาหมดตัวได้ทันที มันเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่ Adam จะต้องละทิ้งอัตตาและมุ่งเน้นไปที่อนาคตทางการเงินของครอบครัวของเขา

ต้องบอกว่าทั้ง JPMorgan , Softbank และนักลงทุนรายอื่น ๆ ของ WeWork นั้นสนับสนุน Adam มาโดยตลอด แต่เมื่อพฤติกรรมที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ของเขากำลังคุกคามชื่อเสียงของเขาเอง และมันกำลังจะส่งผลโดยตรงมายัง WeWork ความสัมพันธ์กับเหล่านักลงทุนก็ต้องถึงคราวที่จะต้องขาดสะบั้นลงไป

และแล้วมันก็ถึงวาระสุดท้ายของ Adam จริง ๆ เสียที เมื่อ Bruce Dunlevie , Michael Eisenberg ที่บินตรงมาจากอิสราเอล และ Steven Langman นักลงทุนที่ให้การสนับสนุน WeWork มาตั้งแต่ปี 2012 ได้นัด Adam มาทานมื้อค่ำในห้องส่วนตัวที่ร้านอาหารย่านมิดทาวน์

คนกลุ่มนี้เป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มแรก ๆ ที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุน Adam มาโดยตลอดไม่ว่าเขาจะทำตัวอย่างไร คนกลุ่มนี้ก็พร้อมที่จะยืนอยู่ข้าง Adam เสมอมา

แต่มื้อค่ำมื้อนี้ บรรยากาศมันเปลี่ยนไป มันเต็มไปด้วยความตึงเครียด แต่จริงใจ พวกเขาได้บอกกับ Adam ว่า มันถึงเวลาแล้วจริง ๆ ที่ Adam ควรก้าวลงจากตำแหน่ง CEO ของ WeWork เสียที

และเมื่อคณะกรรมการของ WeWork พบกันในเช้าวันถัดไป ชะตากรรมของ Adam กับ WeWork ก็ถูกปิดฉากไปในท้ายที่สุดนั่นเองครับผม

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวของ Adam Neumann และ WeWork จาก Blog Series ชุดนี้

ต้องบอกว่าว่าเรื่องราวของ Adam Neumann และ WeWork นั้น ได้ให้แง่คิดที่น่าสนใจ ผมว่ามีสองประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ ส่วนของคนที่ทำธุรกิจ Startup กับ ส่วนของการหาแหล่งเงินทุน

จากเรื่องราวของ WeWork หากเรามองวิเคราะห์ธุรกิจจริง ๆ ของเขานั้น แทบจะไม่มีอะไรใหม่ และมันไม่ใช่ธุรกิจที่เป็นเทคโนโลยีหรือเป็นแพล็ตฟอร์มด้วยซ้ำ ที่จะสามารถ Scale ได้ และ สร้าง Network Effect ให้เกิดขึ้นได้

เมื่อเทียบกับธุรกิจที่มีอยู่แล้วอย่าง IWG ที่ทำแบบเดียวกับที่ WeWork ทำนั้น มันก็แทบจะบอกได้ว่า มูลค่าของ WeWork นั้นมันสูงเกินจริงไปอย่างมาก

แต่แน่นอนว่าสิ่งที่น่าสนใจมันอยู่ที่ตัว Adam เอง ผู้ก่อตั้งที่มีบุคลิก ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่เรียกได้ว่าแตกต่างจาก ผู้ก่อตั้งบริษัท Startup เทคโนโลยีอื่น ๆ

นั่นเองที่ทำให้เสน่ห์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะจากคำพูด หรือบุคลิกลักษณะของเขานั้น กลายเป็นว่าสามารถที่จะหลอกล่อนักลงทุนระดับยักษ์ใหญ่ได้ ซึ่งคนเหล่านี้ต้องบอกว่าไม่ธรรมดา แม้กระทั่ง Masayoshi Son เองก็ตาม

เพราะฉะนั้น ในโลกธุรกิจ Startup เราจะเห็นได้ว่า มันไม่ใช่เพียงแค่มีโปรดักที่ดีเพียงอย่างเดียว หรือ มีผู้ก่อตั้งที่มี Skill ระดับเทพเหมือน Mark Zuckerberg เหมือน Jeff Bezos หรือ Elon Musk ที่สามารถที่จะดึงดูดเงินจากนักลงทุนได้

แต่การมีเอกลักษณ์พิเศษ แบบที่ Adam มี นั้น มันก็สามารถที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนมหาศาลได้อย่างง่าย ๆ เช่นเดียวกัน แม้ตัวธุรกิจ ยังมีหลายคนสงสัยว่า WeWork กำลังทำอะไรกันแน่ แต่สุดท้ายพวกเขาก็ได้เงินมา และเงินจำนวนไม่ใช่น้อย ๆ ในการระดมทุนแต่ละครั้งในระดับพันล้านดอลลาร์ ที่จะมาขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็วแบบที่ WeWork ทำ

มันคือจังหวะ เวลา และ โอกาส ที่ Adam นั้นสามารถเข้าไปอยู่ในที่ถูกที่และถูกเวลาเสมอ และเมื่อเข้าถึง Connection ในระดับเงินทุนมหาศาลอย่างกองทุน Vision Fund ของ Softbank นั้น

เราจะเห็นได้ว่า Son เองพร้อมที่จะเทเงินให้อยู่แล้ว และมันเป็นการตัดสินใจแบบรวดเร็วทุก ๆ ครั้ง เหมือนที่เขาทำ ซึ่งหลังจากผมได้อ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของ Son มาหลายเล่ม ส่วนตัวผมมีความเชื่อว่า Son นั้นอาจจะดูแค่โหงวเฮ้ง จริง ๆ ก็ได้

ถ้าพูดจาถูกคอถูกใจ เขาพร้อมจะทุ่มเงินให้ทันที เหมือนที่ Adam ร่ายมนต์เสน่ห์ให้เขาลงทุนได้สำเร็จทั้งที่ธุรกิจแทบจะไม่มีอะไรเป็นนวัตกรรมใหม่เลย และดูจะไม่มีเหตุผลอะไรที่บริษัทระดับ Softbank ต้องมาลงทุนกับธุรกิจแบบ WeWork เลยด้วยซ้ำ

และสุดท้าย เมื่อธุรกิจมันไม่สามารถไปต่อได้จริง ๆ แม้จะพยายามปรับธุรกิจให้กลายเป็นเทคโนโลยีอย่างไรก็ตาม เมื่อพื้นฐานทางธุรกิจมันไม่ใช่ สุดท้ายมันก็ไม่ใช่ และจุดจบมันก็เป็นอย่างที่เราได้เห็นในเรื่องราวจาก Blog Series ชุดนี้นั่นเองครับผม

ย้อนไปอ่านตั้งแต่ตอนแรก & Credit แหล่งข้อมูลบทความ

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube