Anthony Tan ผู้ก่อตั้ง Grab กับกองเรือรบที่กำลังจะพิชิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไม่มีใครคาดคิดว่า Grab จะยิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้ แม้แต่ผู้ก่อตั้งก็ยังต้องดิ้นรอนต่อสู้ในช่วงแรกของการก่อตั้งบริษัท แต่หลังจากจัดการเอาชนะคู่แข่งได้หลายครั้ง และหลังจากเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมใหม่ครั้งสำคัญ ตอนนี้กองเรือรบของ Anthony Tan กำลังจะพิชิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สำเร็จ

Grab ก็เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ด้วยเงินที่หลั่งไหลเข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ บริษัทให้บริการเรียกรถในมาเลเซียแห่งนี้ได้ครอบคลุมวิถีชีวิตของผู้ใช้จำนวนมาก

และด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงประสบความสำเร็จในการครอง ecoysystem ทั้งหมดของการใช้ชีวิตของเหล่าผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ นำโดย Anthony Tan

ชีวิตในวัยเด็ก

Anthony Tan เกิดในปี 1982 เมื่อตอนที่เขายังเล็ก Tan เป็นคนพูดน้อย ทำให้หลายคนคิดว่าเขาเป็นคนโง่ บางคนถึงกับคิดว่าเขาเป็นคนหูหนวกเลยด้วยซ้ำ

แต่ในขณะนั้น Tan อยู่ในสังคมที่พูดภาษาต่างๆ มากเกินไป ในประเทศอย่างมาเลเซีย ผู้คนพูดภาษาจีนกลาง ฮกเกี้ยน ภาษามาเลย์ และภาษาอังกฤษ ทำให้ Tan ไม่สามารถปรับตัวได้ดีนัก

“ไม่ ผมไม่ได้หูหนวกหรือใบ้ ผมเข้าใจภาษา ผมแค่สับสน มีภาษามากมาย… ถูกพูดอยู่รอบตัวผม เรามีคนขับชาวอินเดียซึ่งมีสำเนียงต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นทุกอย่างก็สับสนไปหมด” Tan กล่าว

Tan เป็นหลานชายของ Tan Yuet Foh อดีตคนขับแท็กซี่ ผู้ก่อตั้ง Tan Chong Motor Holdings, Bhd. ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ 

Tan Yuet Foh ประสบความสำเร็จในการก่อตั้งบริษัทด้วยเครือข่ายการจัดจำหน่ายที่กว้างขวางในประเทศมาเลเซีย ซึ่งในที่สุด บริษัทก็ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้จัดจำหน่ายรถยนต์นิสสันรายใหญ่ในประเทศมาเลเซีย

Tan Heng Chew พ่อของ Tan เป็นหนึ่งในผู้ชายที่ร่ำรวยที่สุดในมาเลเซียในปี 2015 และสำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมโยธา เขาสืบทอดธุรกิจของครอบครัว แม่ของ Tan ทำงานเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในมาเลเซีย

บ่อยครั้งที่ Tan ต้องได้ยินเกี่ยวกับการต่อสู้ที่ยากลำบากที่ปู่ของเขาต้องทนก่อนที่จะประสบความสำเร็จในที่สุด

พ่อแม่ของเขามักพูดถึงวิธีที่ปู่ของ Tan ท้าฝน 14 ชั่วโมง โดยรอประธานบริษัทรถญี่ปุ่น Datsun อยู่หน้าสถานทูตญี่ปุ่นเพื่อโน้มน้าวให้เขาขายรถเพียงสองคัน

“’แต่คุณไม่มีประสบการณ์เลย’” ประธานจากญี่ปุ่นตอบ Tan กล่าวว่า แม้ปู่ของเขาไม่ยอมตอบคำถามดังกล่าว แต่สิ่งที่ตามมามันคือประวัติศาสตร์

“เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องราวที่ติดอยู่ในหัวของผมเป็นเวลานานมาก สิ่งสำคัญที่ผมได้เรียนรู้จากการเป็นผู้ประกอบการคือ อย่าพูดว่า ‘ไม่’ คุณต้องตอบว่า ‘ใช่’ เสมอ” Tan กล่าว

ด้วยประสบการณ์ครอบครัวที่หลากหลาย Tan ได้รับการสอนให้เป็นนักธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น แม้จะเป็นน้องคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องสามคน Tan ยังเป็นทายาทของธุรกิจครอบครัวของเขาด้วย

Tan เล่าว่าความสนใจในการเป็นนักธุรกิจครั้งแรกของเขาเกิดขึ้นเมื่ออายุได้ 6 ขวบ และลงมือทำครั้งแรกเมื่อขายหนังสือการ์ตูน X-Men เมื่ออายุ 11 ขวบ

ในเวลานั้น หนังสือการ์ตูนเป็นของเขาเอง ที่พ่อซื้อให้เมื่อครอบครัวไปงานประชุมการ์ตูนนานาชาติที่สิงคโปร์ เมื่อเขากลับมาที่มาเลเซีย เพื่อนของเขาอยากจะมีการ์ตูนบ้างแต่ไม่มีอะไรจะแลกกับการ์ตูนเลย ด้วยเหตุนี้ เพื่อนของเขาจึงซื้อมันมาจาก Tan ด้วยเงิน แทนที่จะแลกเปลี่ยนกันอย่างที่ Tan ต้องการ

“เหมือนกับเด็กเล็กๆ ทุกคน ผมติดการ์ตูน รัก X-Men ผมเห็นเด็กคนอื่นๆ ต้องการสิ่งที่ผมมี เราก็เลยพูดว่า ‘เฮ้! มาแลกเปลี่ยนกัน’ หลังจากที่เราเริ่มซื้อขายได้ไม่นาน ผมก็รู้ว่าพวกเขาไม่มีอะไรต้องแลกมากนัก ดังนั้นผมจึงรับเงินสดและได้เงินพอสมควร” Tan เล่า

นี่เป็นช่วงเวลาที่ Tan เข้าใจแนวคิดของธุรกิจ

เขาได้เรียนรู้ว่าการขายการ์ตูนของเขาทำให้เขาสามารถหาเงินได้ และเงินนั้นสามารถซื้อการ์ตูน (สินค้า) มาขายได้มากขึ้น

เหตุการณ์สำคัญครั้งที่สองของเขาคือเมื่ออายุได้ 14 ปี เมื่อเขาอาสาที่จะหาเงินบริจาคให้กับมูลนิธิโรคเอดส์

ด้วยคติประจำครอบครัว “อย่าปฏิเสธ” Tan สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมด้านเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะจากมหาวิทยาลัยชิคาโก และเข้าเรียนที่ Harvard Business School

ก่อตั้ง My Teksi

ที่มหาวิทยาลัย Harvard Tan เริ่มสนใจในการเป็นผู้ประกอบการอย่างจริงจัง

เมื่อตอนที่เขาอยู่ใน Harvard Business School Tan มีความฝันที่จะสร้างองค์กรของตัวเอง ซึ่งสามารถดูแลสวัสดิการสังคมและอื่นๆ อีกมากมาย

อยู่มาวันหนึ่ง Tan Hooi Ling เพื่อนของเขาบ่นกับเขาเกี่ยวกับสภาพที่เลวร้ายของอุตสาหกรรมรถแท็กซี่ในมาเลเซีย

ในเวลานั้น Ling มาที่มาเลเซียและนั่งแท็กซี่ไปและถูกคนขับโกง เธอโกรธและบ่นกับ Tan และถามเขาว่าทำไมเขาถึงทำอะไรกับมันไม่ได้

เพื่อนไม่แน่ใจว่าคนขับใช้เส้นทางที่ถูกต้องหรือไม่ และค่าโดยสารควรเป็นเท่าใด

“ทำไมแท็กซี่ถึงห่วย” Ling ถามทัน “ปู่ของคุณเคยเป็นคนขับแท็กซี่ ปู่ของคุณก่อตั้งธุรกิจรถยนต์ในมาเลเซีย แต่เพื่อนผู้หญิงของคุณยังคงประสบปัญหาด้านความปลอดภัยมากมายเมื่อนั่งแท็กซี่ ทำไมคุณไม่ทำอะไรกับมันบ้าง” Ling ถาม Tan

Tan Hooi Ling เพื่อนคนสำคัญที่ชี้ให้เห็นปัญหาเรื่องรถแท็กซี่ในมาเลเซีย (CR:GettyImage)
Tan Hooi Ling เพื่อนคนสำคัญที่ชี้ให้เห็นปัญหาเรื่องรถแท็กซี่ในมาเลเซีย (CR:GettyImage)

เหตุการณ์นี้ทำให้ Tan คิด สิ่งนี้กระตุ้นให้เขาในการทำบางสิ่งบางอย่าง ที่จะทำให้การนั่งแท็กซี่ปลอดภัยยิ่งขึ้นในมาเลเซีย

มันเริ่มต้นด้วยแผนธุรกิจที่เรียกว่า “แอปมือถือที่เชื่อมต่อผู้ต้องการรถแท็กซี่โดยตรงกับคนขับรถแท็กซี่ที่ใกล้กับตำแหน่งของพวกเขามากที่สุดในสภาพแวดล้อมในเมืองที่วุ่นวายของมาเลเซีย” อาจารย์ของทั้งสองบางคนคิดว่าโครงการนี้น่าสนใจ แต่ดำเนินการจริงได้ยาก

“Tan! ชีวิตก็ลำบากพอสมควร  แนวคิดนี้ยากเกินไป ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ในโลกแห่งความเป็นจริง มันดีบนกระดาษ ในกรณีนี้ เป็นเรื่องที่ดีที่ได้ยิน แต่ยากเกินไปที่จะนำไปใช้” อาจารย์กล่าว

อย่างไรก็ตาม แผนธุรกิจดังกล่าวได้รับรางวัลรองชนะเลิศในการแข่งขัน Harvard Business School New Venture ในปี 2011 ซึ่งได้รับเงินรางวัลรวมทั้งสิ้น 25,000 เหรียญสหรัฐ

หลังจากสำเร็จการศึกษา Tan ได้ก่อตั้งแอป My Teksi ในมาเลเซียในปี 2012 ร่วมกับ Tan Hooi Ling  ซึ่ง My Teksi เริ่มต้นด้วยเงินทุนเริ่มต้น 25,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทั้งสองได้รับจากการแข่งขันที่ Harvard Business School และจากเงินทุนส่วนตัวของ Tan

แม้ว่าทั้งคู่จะเริ่มต้นบริษัท แต่ Tan ก็ประสบปัญหา

การดิ้นรนต่อสู้ของ Tan

ประการแรก Ling ต้องกลับไปที่ McKinsey & Company หลังจากสำเร็จการศึกษาเพื่อใช้ทุนของเธอกับบริษัทที่ปรึกษา ที่เป็นเงื่อนไขในการสนับสนุนการศึกษาของเธอ ต่อมาเธอย้ายไปทำงานกับ Salesforce บริษัทซอฟต์แวร์ในซานฟรานซิสโก เงื่อนไขนี้ทำให้ Tan ต้องทุกอย่างด้วยตัวเอง

เมื่อไม่มี Ling แล้ว Tan ก็พยายามอย่างเต็มที่เพื่อสร้างบริษัทของเขา

Tan กล่าวว่าเขาจำได้ชัดเจนในตอนเปิดตัวครั้งแรกว่าเขาต้องชักชวนให้แท็กซี่ในมาเลเซียใช้แอปของเขา แต่เหล่าคนขับแทบไม่สนใจเลย

Tan ตระหนักว่าเขาจำเป็นต้องรู้สิ่งต่างๆ เพิ่มเติมจากฝั่งผู้บริโภค ไม่ใช่เฉพาะด้านคนขับเท่านั้น ดังนั้น Tan จึงใช้เวลาหลายวันในการนั่งแท็กซี่เพื่อทำความเข้าใจปัญหาการเดินทางโดยใช้วิธีการขนส่งในประเทศมาเลเซีย

จากนั้นเขาก็กลายเป็นคนขับรถให้ My Teksi เพียงเพื่อทำความเข้าใจว่าต้องแก้ไขอะไรในด้านคนขับ

Tan เชื่อมั่นในปรัชญาญี่ปุ่นว่า ‘เห็นด้วยตัวเอง ทำด้วยตัวเอง รักษาด้วยตัวเอง’

“ทุกครั้งที่เราจ้างใครสักคนที่ GrabTaxi เรามักจะพูดถึงคุณค่าของเรา เกี่ยวกับความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เกี่ยวกับชื่อเสียง ผมบอกพนักงานว่า คุณต้องเป็นคนขับแท็กซี่หนึ่งวัน คุณต้องคุยกับคนขับ รู้สึกถึงความเจ็บปวดของเขา เราทุกคนรู้ดีว่าการเป็นผู้โดยสารเป็นอย่างไร แต่ให้มองที่คนขับเสมอเมื่อคุณสร้างผลิตภัณฑ์ คุณต้องสร้างจากมุมมองของพวกเขาเสมอ” Tan กล่าว

ประการที่สอง เพื่อแสวงหาเงินทุนก่อนกำหนดและการพัฒนาที่มากขึ้น Tan ที่อุทิศตนเพื่อสร้างบริษัทของเขาจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายซัพพลายเชนและการตลาดที่ Tan Chong Group ซึ่งเป็นตำแหน่งงานที่เขาทำในธุรกิจครอบครัวในขณะนั้น .

สิ่งนี้ทำให้ครอบครัวของเขาโกรธ โดยเฉพาะพ่อของเขา แถมยังขู่ว่าจะกีดกันเขาจากสิทธิ์ในการรับมรดกทรัพย์สินของครอบครัว แต่แม่ของเขาเองต่างหากที่ยืนหยัดเพื่อเขา และได้กลายเป็นนักลงทุน Angel คนแรกของบริษัท

ในเวลานั้น แม่ของเขายอมรับว่าเธอไม่เข้าใจรูปแบบธุรกิจของโครงการที่ลูกชายของเธอมีส่วนร่วม แต่เธอหวังเพียงว่า Tan จะทำมันให้ดีที่สุด

สยายปีกธุรกิจ

“มันยากสำหรับครอบครัวของผมที่จะเข้าใจว่าผมกำลังจะทำอะไร และผมไม่โทษพวกเขา” Tan กล่าว “ก่อนเริ่มการเดินทางครั้งนี้ คุณต้องตระหนักว่าสำหรับสตาร์ทอัพ หากคุณต้องการที่จะชนะและเติบโตอย่างรวดเร็ว คุณต้องเสียสละเรื่องส่วนตัวอย่างมาก”

การเริ่มต้นธุรกิจครั้งนี้จึงถูกรีแบรนด์เป็น GrabTaxi และขยายไปยังฟิลิปปินส์ในเดือนสิงหาคม 2013 รวมถึงสิงคโปร์และไทยในปีนั้นด้วย

แนวทางของ Tan กับบริษัทของเขาไม่เหมือนกับ Uber ที่แข่งขันกับบริษัทแท็กซี่ตั้งแต่เริ่มต้น Tan ร่วมมือกับบริษัทแท็กซี่แทน

เมื่อ Jixun Foo หุ้นส่วนผู้จัดการในปักกิ่งของบริษัทร่วมทุนระดับโลก GGV ได้พบกับ Tan ที่ Starbucks ในสิงคโปร์ในปี 2013 เพื่อหารือในการร่วมลงทุนใน GrabTaxi

เขาสงสัยในตัว Tan  “เขากลับมาจากฮาร์วาร์ด มีงานรอในธุรกิจของครอบครัว และแทบจะคาบช้อนเงินช้อนทองมาตั้งแต่เกิด ผมถามเขาว่าแรงจูงใจของเขาคืออะไร” Foo กล่าว Tan ตอบว่าแรงบันดาลใจของเขามาจากปู่ของเขาที่เป็นคนขับแท็กซี่ และจากนั้นก็สร้างธุรกิจของตัวเองขึ้นมา

GrabTaxi สามารถระดมทุนได้อย่างรวดเร็ว จากลุ่มการลงทุนทั้ง GGV ที่เข้ามาสนับสนุน GrabTaxi ในปี 2014 และตามมาด้วย Tiger Global, Hillhouse Capital และ SoftBank ของญี่ปุ่น Masayoshi Son ที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด

SoftBank ของ Masayoshi Son ที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของ Grab (CR:BEAMSTART)
SoftBank ของ Masayoshi Son ที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของ Grab (CR:BEAMSTART)

ในปี 2014 GrabTaxi ได้ร่วมมือกับ HDT Holdings และเปิดตัวแท็กซี่ไฟฟ้า BYD e6 จำนวน 100 คันในสิงคโปร์ เพื่อสร้าง e-taxi ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความมั่นใจ Tan ได้ขยายบริการ GrabTaxi ไปยังเวียดนาม

ในปี 2014 GrabTaxi ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ของบริษัทจากมาเลเซียไปยังสิงคโปร์

เมื่อรู้ว่าบริษัทของเขาเริ่มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว Tan จึงเปิดตัว GrabCar เพื่อสร้างรากฐานในธุรกิจต่อไป GrabCar ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกของการขนส่งที่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลแทนรถแท็กซี่ผ่านพันธมิตรที่ได้รับอนุญาต เพื่อที่จะเอาชนะการขาดแคลนระบบขนส่งสาธารณะในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน 

นอกจากนี้ในปี 2014 GrabTaxi ได้เปิดตัวบริการ GrabBike เป็นครั้งแรกในนครโฮจิมินห์ในฐานะบริการทดลองใช้งาน

ปีต่อมาในปี 2015 Ling กลับมาและเริ่มทำงานเต็มเวลากับ Tan ที่ Grab เมื่อกลับมาเธอก็รับตำแหน่ง COO ทันที

ในที่สุดทั้งสองก็ทำงานร่วมกันแบบเคียงข้างกัน ทำให้ GrabTaxi สามารถเจาะตลาดในเวียดนามและอินโดนีเซียได้สำเร็จ

ในปี 2016 Tan ได้เปลี่ยนชื่อแบรนด์จาก GrabTaxi เป็น Grab

สู่อาณาจักร Grab

ด้วยการตั้งชื่อที่ง่ายกว่าและจำง่ายกว่า Grab ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ของบริษัททั้งหมด: GrabCar (รถยนต์ส่วนบุคคล), GrabBike (แท็กซี่มอเตอร์ไซค์), GrabHitch (รถยนต์โดยสาร) และ GrabExpress (การจัดส่งไมล์สุดท้าย)

ในปี 2016 Grab ได้เพิ่มฟีเจอร์การส่งข้อความของ GrabChat สำหรับผู้โดยสารและคนขับ รวมถึง GrabShare ซึ่งให้บริการแท็กซี่และรถยนต์ร่วมกัน

ในปี 2017 Grab เปิดตัว GrabCoach สำหรับการจองรถขนาดใหญ่ GrabFamily สำหรับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก และ JustGrab ที่มีโครงสร้างค่าโดยสารแบบเรียบที่เรียบง่าย

ในปี 2018 Grab ได้เปิดตัว GrabWheels ซึ่งเป็นบริการเช่า eScooter และ GrabCar Plus ซึ่งให้บริการรถยนต์ขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อแลกกับค่าธรรมเนียมพรีเมียม 20%

ในเวลานี้เองที่ Grab กลายเป็นสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดและทรงพลังที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Grab Against Uber: พิชิตปฏิบัติการของอเมริกา

ในเดือนมีนาคม 2018 Grab ได้ควบรวมกิจการกับการดำเนินงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Uber

การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ Grab เข้าครอบครองทรัพย์สินและการดำเนินงานของ Uber ซึ่งรวมถึง UberEats ซึ่งทำให้ Grab ขยายไปยังบริการจัดส่งอาหาร

Grab สามารถเอาชนะ Uber ได้ในเกมของตัวเอง สาเหตุหลักมาจากกลยุทธ์ของ Grab ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใจถึงวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น การทำเช่นนี้ บริษัทสามารถจัดการการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แม้ว่าในตอนแรกผู้คนส่วนใหญ่จะเชื่อว่า Grab จะถูกทำลายโดย Uber ซึ่งในขณะนั้นเป็นบริษัทให้บริการรับส่งผู้โดยสารออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ Tan ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า Grab สามารถป้องกันบริษัทอเมริกันจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้

เอาชนะ Uber ด้วยการเข้า่ใจวัฒนธรรมท้องถิ่น (CR:VNExpress)
เอาชนะ Uber ด้วยการเข้า่ใจวัฒนธรรมท้องถิ่น (CR:VNExpress)

และด้วยการลาออกของผู้ก่อตั้ง Uber Travis Kalanick เนื่องจากปัญหาการจัดการของบริษัทและปัญหาข่าวเชิงลบ Tan ได้ผลักดันให้ Grab เข้าครอบครองสิ่งที่ Uber ทิ้งไว้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว

Grab Against Gojek: ศึกชิงแชมป์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หลังจากคว้าชัยชนะเหนือ Uber ชัยชนะของ Tan ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ประสบผลสำเร็จ และคู่แข่งรายใหม่ที่น่าเกรงขามอย่าง Gojek ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น

Gojek ก่อตั้งขึ้นในปี 2010 โดย Nadiem Makarim เป็น Decacorn ของอินโดนีเซีย และเป็นหนึ่งในบริษัทที่สามารถชะลอการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Grab ได้มากที่สุด 

ด้วยแนวทางเดียวกับ Grab ซึ่งพยายามปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น บริการ Gojek เป็นสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย และขยายขอบเขตการเข้าถึงไปยังประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ด้วยแนวทางที่คล้ายคลึงกัน Grab มองว่า Gojek เป็นคู่ต่อสู้ที่น่าเกรงขามมากกว่า Uber

และที่นี่ การแข่งขันระหว่างพวกเขาเป็นเหมือนการต่อสู้เพื่อเกียรติยศของฝ่ายหนึ่งเพื่อต่อต้านอีกฝ่าย

ในตอนแรก Gojek ต้องการเปลี่ยนอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในอินโดนีเซีย แต่ Gojek ก็ได้พัฒนารวดเร็วอย่างที่ไม่คาดคิด 

เมื่อ Grab เข้าซื้อกิจการ Uber ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Gojek มีมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ และได้พิชิตตลาดที่แข็งแกร่งในอินโดนีเซียได้สำเร็จแล้ว

ทั้ง Gojek และ Grab มีแนวคิดเดียวกันในการพัฒนา “super app” ซึ่งเป็นแนวทางทางธุรกิจที่เปิดตัวครั้งแรกโดยแอปจีน เช่น WeChat ของ Tencent ทั้ง Grab และ Gojek กำลังพัฒนาไปในทิศทางนี้ โดยการรวมอาณาจักรขนาดใหญ่ทั้งหมดไว้ในแอปของตน

มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผู้ก่อตั้ง Gojek มีข้อพิพาทกับ Tan โดยเชื่อว่า Tan ขโมยโมเดลแพลตฟอร์ม Super Application ของเขาไป Tan ตอบว่า: “การมีความคิดที่ดีไม่ได้รับประกันความสำเร็จ”

มีรายงานว่าทั้ง Makarim และ Tan เป็นเพื่อนกันจริงๆ พวกเขารู้จักกันเป็นการส่วนตัวเพราะเป็นเพื่อนร่วมชั้นระหว่างเรียนที่ฮาร์วาร์ด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแข่งขันทางธุรกิจ ตอนนี้พวกเขา “พูดคุยกันน้อยมาก”

แม้ว่า Gojek จะเป็นคู่ต่อสู้ที่น่าเกรงขามที่สุดในธุรกิจเรียกรถและธุรกิจ “super app” แต่ Grab ก็ถูกมองว่ามีความสามารถมากกว่า

นี่คือเหตุผลที่ Grab อาจจะมีการควบรวมกับ Gojek และเมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น Tan ก็แสวงหาตำแหน่ง CEO   Tan ยังต้องการควบคุมบริษัทได้แบบเบ็ดเสร็จ และรักษาอำนาจของเขาในฐานะ CEO หากการควบรวมเกิดขึ้นจริง

Grab นั้นใหญ่กว่า Gojek เพราะมีมูลค่าที่สูงกว่าและมีสถานะทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่กว่า หากคู่แข่งทั้งสองรวมกัน Grab ก็ควรจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในขั้นต้น Gojek ขอหุ้น 40% ของ Grab ซึ่ง Grab กล่าวว่า มันมากเกินไปเนื่องจากมองว่าตัวเองมีความปลอดภัยทางการเงินมากกว่าคู่แข่งของเขาอย่าง Gojek

ดูเหมือนการเดินทางของ Super App แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น จะยังไม่มีผู้ชนะอย่างชัดเจน เราก็ต้องมาติดตามกันต่อไปนะครับ ว่าความฝันอันยิ่งใหญ๋ของ Tan นั้นจะทำได้สำเร็จหรือ ไม่ และหากควบรวมกับ Gojek จริง จะเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจเหล่านี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่อย่างไรก็ตาม เราจากเรื่องราวของ Tan ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ ให้เหล่านักธุรกิจรุ่นใหม่ โดยเขาได้เคยกล่าวถึงแนวทางการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไว้ว่า

“เราเชื่อว่าเมื่อเรานำเสนอบริการที่ปรับให้เข้ากับท้องถิ่นมากขึ้นในแต่ละวัน จะมีผู้ใช้มากขึ้นและการมีส่วนร่วมที่สูงขึ้นทั่วทั้งฐานผู้ใช้ของวเรา และเมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น มันจะดึงดูดพันธมิตรมากขึ้น และเป็นวัฏจักรการขาขึ้นที่ดี ที่เหมาะสำหรับธุรกิจในระยะยาว” Anthony Tan

References : https://www.ft.com/content/41b26841-b88d-4f9d-9da2-b1b8f2c6c734
https://www.eyerys.com/articles/people/anthony-tan-and-his-fleet-conquered-southeast-asia
https://www.straitstimes.com/business/companies-markets/grab-ipo-how-harvard-connection-opened-the-door-to-worlds-biggest-spac
https://www.allamericanspeakers.com/celebritytalentbios/Anthony+Tan/398905
https://apacentrepreneur.com/anthony-tan-a-man-with-a-mission-to-drive-southeast-asia-forward/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube